Friday, 17 May 2024
วัคซีนโควิด

สมุทรปราการ - มาแล้ว!! ‘โมเดอร์น่า’ เข็ม 4 ‘นันทิดา’ นายก อบจ.สมุทรปราการ เดินหน้าเปิดรับลงทะเบียน ฉีดโมเดอร์น่า เข็ม 4

ตามมติที่ประชุมคณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ครั้งที่ 10/2564 วันพุธที่ 22 ธันวาคม 2564 วันนี้อบจ.สมุทรปราการ นำโดย นางสาว นันทิดา แก้วบัวสาย นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ เปิดให้ประชาชนทั่วไปสามารถลงทะเบียนรับวัคซีนโมเดอร์น่า เป็นเข็มที่ 4 โดยสามารถลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2565 ตั้งแต่เวลา 8.00 น.เป็นต้นไป ผ่านทางเว็บไซต์ www.spkmoderna.com

ซึ่งมีกำหนดเริ่มฉีดเป็นเข็มที่4 ปลายเดือน ก.พ. 2565 นี้

พร้อมดำเนินการตามลำดับกลุ่มเป้าหมาย ดังนี้

1. บุคลากรทางการแพทย์

2. บุคลากรด่านหน้าผู้ปฏิบัติหน้าที่ให้บริการประชาชน

3. ผู้ปฏิบัติงานด่านหน้าที่สัมผัสใกล้ชิดประชาชน

4. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่มีโรคเรื้อรัง

5. ประชาชนทั่วไป(เริ่มฉีดหลังจากกลุ่มเป้าหมายที่ 1-4 ได้รับวัคซีนครบแล้ว)

>> เกณฑ์การรับวัคซีนเป็นไปตามข้อมูลการฉีดวัคซีนดังนี้

- วัคซีนเข็มที่ 1-2-3 ตามหลักเกณฑ์และคำแนะนำ ของกระทรวงสาธารณสุข (ทั้งจากผู้ผลิตเดียวกัน/สูตรไขว้)

- สามารถรับวัคซีนโมเดอร์น่าเป็นเข็มที่ 4 ตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป หลังได้รับเข็มที่ 3

‘หมอยง’ ไขข้อสงสัย ฉีดวัคซีนโควิดกี่เข็มถึงเพียงพอ ชี้ อย่างน้อยต้องมีเข็ม 3 ให้ร่างกายได้รู้จักเชื้อ

หมอยง เผย การฉีดวัคซีนโควิด 3 เข็ม ยังจำเป็นช่วยลดอาการของโรค และสร้างความจำให้ร่างกายได้รู้จักโควิด แนะสิ่งสำคัญคือต้องดูแลร่างกายให้แข็งแรง - อยู่แบบวิถีชีวิตใหม่

เมื่อวันที่ 3 มี.ค. 65 ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า โควิด-19 วัคซีน จะฉีดวัคซีนกี่เข็มพอ

เราเริ่มเรียนรู้มากขึ้น วัคซีนที่เราให้ เพื่อป้องกันลดความรุนแรงของโรค ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้

ไวรัสโควิดมีระยะฟักตัวสั้น และมีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์มาโดยตลอด

วัคซีนที่ใช้ ใช้สายพันธุ์ดั้งเดิมตั้งแต่อู่ฮั่น ถึงแม้ว่าจะใช้สายพันธุ์ใหม่ ไวรัสมีการเปลี่ยนแปลง ประสิทธิภาพก็ไม่ได้แตกต่างจากเดิม

การติดเชื้อในธรรมชาติ เมื่อวัดภูมิต้านทานต่อหนามแหลม ก็ไม่ได้สูงมาก วัคซีนที่ทำมาจากจำเพาะหนามแหลม สร้างภูมิต้านทานที่สูงมาก ก็ยังไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้

ภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นจากวัคซีน ที่มีความจำเพาะต่อหนามแหลม จะขึ้นสูงมากก็จริง แต่ก็จะลดลงตามกาลเวลา จึงไม่มีวัคซีนเทพ สูงมากก็ลงเร็วมาก เป็นกฎเกณฑ์ของร่างกาย

การฉีดวัคซีนจะกี่เข็มก็ตาม ยี่ห้ออะไรก็ตาม ขึ้นสูงก็ลงเร็ว ขึ้นน้อยก็ลงช้า ประสิทธิภาพของวัคซีนจึงสูงสุดเมื่อ 14 ถึง 28 วัน หลังจากนั้นก็จะลดลงอย่างรวดเร็ว

สายพันธุ์โอมิครอน สามารถติดต่อได้ง่าย แต่ความรุนแรงของโรคลดลง ประกอบกับการมีภูมิต้านทานเป็นบางส่วน จากการที่เคยติดเชื้อมาก่อนหรือได้รับวัคซีน เป็นส่วนประกอบให้ความรุนแรงของโรคลดลง

เมื่อความรุนแรงของโรคลดลง และติดต่อได้ง่าย โดยเฉพาะมีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก ที่มีอาการน้อยหรือไม่มีอาการ ก็สามารถแพร่โรคได้โดยไม่รู้ตัว ก็คงหนีไม่พ้นจากการรับเชื้อโดยไม่รู้ตัว การสืบสวน Time Line เมื่อมีการติดเชื้อจำนวนมาก ก็จะไม่มีการพูดถึงแล้ว

ในปัจจุบัน อายุของการติดเชื้อลดลงมาอย่างมาก ลงมาสู่วัยเด็ก โดยที่มีอาการน้อย และในอนาคตเด็กต้องไปโรงเรียน ถึงแม้ว่าเด็กฉีดวัคซีนแล้ว ก็มีโอกาสติดเชื้อได้

 ลดความสูญเสียให้น้อยที่สุด! ‘หมอยง’ ย้ำ ‘วัคซีนยังจำเป็น’ โดยเฉพาะ ‘กลุ่มเสี่ยง-ผู้สูงอายุ’!

(19 มี.ค.65)  ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ระบุว่า...

“ โควิด 19 วัคซีน การลังเลในการรับวัคซีน

ยง ภู่วรวรรณ 19 มีนาคม 2565

การรับวัคซีน covid 19 เป็นไปโดยสมัครใจ จะเลือกวัคซีนชนิดใด ก็สามารถทำได้
การให้ความรู้ที่ถูกต้อง เกี่ยวกับวัคซีน ประโยชน์ในการได้รับวัคซีน และอาการไม่พึงประสงค์
การตัดสินใจ อยู่กับผู้รับ ไม่ได้มีการบังคับ โดยคำนึงถึง น้ำหนักของประโยชน์และความเสี่ยงมาเปรียบเทียบกัน

ผมจะข้ามถนนที่สีลม ความเสี่ยงที่เกิดขึ้น มีแน่นอน ความจำเป็นที่จะต้องข้ามถนน ก็ต้องตัดสินใจ ความเสี่ยงในการข้ามถนนที่สีลม อาจจะมีมากกว่าความเสี่ยงจากการได้รับวัคซีน เราจะเห็นได้จากอุบัติเหตุทางท้องถนน

กลุ่มเสี่ยง โดยเฉพาะที่เราเรียกว่า 608 คือผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เมื่อติดเชื้อโควิด 19 จะทำให้เกิดความรุนแรง ต้องนอนโรงพยาบาล หรืออาจจะเข้า ICU และอาจทำให้ถึงชีวิตได้

ดังที่เราเห็นยอดการเสียชีวิตทุกวันนี้ ส่วนใหญ่ เป็นผู้สูงอายุ มีโรคประจำตัวเรื้อรัง
กลุ่มดังกล่าวจึงมีความจำเป็น ที่จะต้องได้รับการป้องกัน และดูแลเป็นพิเศษ สิ่งหนึ่งในการลดความรุนแรงคือ วัคซีน

ทั่วโลกขณะนี้ฉีดวัคซีนไปแล้ว 11,000 ล้านโดส วัคซีนขณะนี้มีเพียงพอ ให้เลือกชนิดของวัคซีนได้เลย
เราจะต้องอยู่กับ โควิด 19 จำเป็นที่จะต้องลดความสูญเสียให้น้อยที่สุด”

ที่มา :เฟซบุ๊ก Yong Poovorawn

https://siamrath.co.th/n/332426

‘หมอยง’ ย้ำวัคซีนโควิด ช่วยลดป่วยตายได้ดี ชี้ เข็ม 4 จำเป็น เพื่อกระตุ้นภูมิให้อยู่นานขึ้น

‘หมอยง’ ยืนยัน ‘วัคซีนโควิด’ สามารถลดป่วยหนัก-เสียชีวิตได้ดี จำเป็นต้องฉีดเข็ม 4 เพื่อกระตุ้นภูมิให้อยู่ได้นานขึ้น อย่าหลงเชื่อวัคซีนไม่มีประโยชน์

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือ "หมอยง" โพสต์เฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ถึงแนวทางการฉีด "วัคซีนโควิด" โดยระบุว่า 

โควิด-19 วัคซีน วัคซีนมีประโยชน์ป้องกันความรุนแรง และ เสียชีวิต

เป็นที่แน่นอนและมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ วัคซีนกระตุ้นให้เกิดภูมิต้านทานทั้งระบบ B เซลล์สร้างภูมิต้านทาน และระบบ T เซลล์ช่วยในการกำจัดไวรัสและลดความรุนแรงของโรค

ปธน.โจ ไบเดน เผย เสนอวัคซีนโควิดช่วยเกาหลีเหนือ แต่ไร้เสียงตอบรับ แม้ผู้ป่วยพุ่งถึง 2.5 ล้านคนก็ตาม ด้านผู้เชี่ยวชาญหวั่นกลายเป็นหายนะใหญ่

นายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ที่อยู่ระหว่างการเยือนประเทศเกาหลีใต้ ระบุเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคมที่ผ่านมาว่า สหรัฐอเมริกาเสนอส่งวัคซีนโควิด-19 ให้กับรัฐบาลเกาหลีเหนือแล้ว แต่ “ไร้เสียงตอบรับ” จากทางการเกาหลีเหนือ แม้ว่าในเวลานี้เกาหลีเหนือจะมีผู้ป่วยทะลุ 2.5 ล้านคนไปแล้วก็ตาม

รายงานระบุว่า เกาหลีเหนือมีรายงานผู้ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนครั้งแรกในช่วงต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา และแม้ว่าเกาหลีเหนือจะมีมาตรการตอบสนองต่อการแพร่ระบาดระดับสูงสุด เวลานี้ไวรัสก็แพร่ระบาดไปในหมู่ประชาชนจำนวนมากถึงกว่า 2.5 ล้านคน จากประชากรทั้งประเทศ 25 ล้านคนซึ่งยังไม่ได้ฉีดวัคซีนแม้แต่เข็มเดียวแล้ว ขณะที่ล่าสุดมีผู้เสียชีวิตแล้ว 66 ราย

'หมอมนูญ' เผยใครฉีดวัคซีนmRNA 3 เข็ม หลังติดโควิด อาจไม่จำเป็นต้องรับเข็ม 4

นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ แพทย์เฉพาะทางด้านโรคระบบการหายใจ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ โพสต์เฟซบุ๊ก หมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ FC ระบุว่า…

เป็นที่ทราบดี ถึงแม้จะฉีดวัคซีน 3 เข็มหรือ 4 เข็มก็ยังอาจติดเชื้อได้ แต่ความรุนแรงของโรคโดยเฉพาะคนที่ได้รับเข็มกระตุ้น mRNA จะน้อยกว่าคนที่ไม่เคยรับ mRNA แม้แต่เข็มเดียว สำหรับคนที่ได้รับวัคซีน mRNA 3 เข็ม หรือวัคซีนแอสตร้าเซเนก้า 2 เข็มตามด้วย mRNA 1 เข็ม หลังติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอน อาจจะไม่จำเป็นต้องไปรับเข็ม 4 เพราะมีภูมิคุ้มกันแข็งแรงมากจากภูมิคุ้มกันที่เกิดจากวัคซีน 3 เข็มบวกกับภูมิคุ้มกันจากการติดเชื้อธรรมชาติ

แต่คนที่ไม่เคยได้วัคซีน mRNA เช่นได้รับซิโนแวค 2 เข็ม ตามด้วยแอสตร้าเซเนก้า 1 เข็ม หรือได้รับแอสตร้าเซเนก้า 2 เข็ม แล้วติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอน ควรรับเข็มกระตุ้นด้วยวัคซีน mRNA อีก 1 เข็ม

ศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อ เปิดให้บริการถึง 30 ก.ย.นี้ สามารถเข้ารับวัคซีนได้ทั้งการจองคิวและ Walk-in

เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2565 เพจ 'ไทยรู้สู้โควิด' ได้โพสต์ถึงการให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ณ ศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อ เป็นเดือนสุดท้ายว่า...

#เดือนสุดท้ายByeCovid19

ศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อ ขอแจ้งเปิดให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโควิดเต็มรูปแบบเป็นเดือนสุดท้าย โดยจะให้บริการถึงวันที่ 30 กันยายน 2565 นี้เท่านั้น

เข็มที่ 1 และเข็มที่ 2 walk-in ได้เลย ส่วนเข็มกระตุ้น (booster doses ตั้งแต่เข็มที่ 3 เป็นต้นไป) มีให้บริการทั้งแบบ walk-in และจองคิวล่วงหน้าผ่านค่ายมือถือทั้ง 4 ค่าย 

เข้ารับบริการได้ที่ ประตู 2 เวลา 9.00-16.00 น. ทุกวัน (ไม่เว้นวันหยุดราชการ) #เปิดตลอดทั้งเดือนกันยา

‘อนุทิน’ ชี้!! แนวโน้มผู้ป่วยโควิดทั่วโลกเพิ่มขึ้นช่วงฤดูหนาว ห่วงกลุ่ม 608 แนะเข้ารับวัคซีนกระตุ้นสร้างภูมิคุ้มกัน

อนุทิน ห่วงใยประชาชน หลังพบ แนวโน้มผู้ป่วยโควิด-19 ทั่วโลกเพิ่มขึ้นในช่วงฤดูหนาว แนะกลุ่ม 608 เข้ารับวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกัน 

(21 พ.ย. 65) น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข มีความห่วงใยประชาชนจากแนวโน้มจำนวนผู้ป่วยโควิด-19 ที่เพิ่มขึ้นในหลายประเทศเนื่องด้วยขณะนี้เป็นฤดูหนาวที่เอื้อต่อการแพร่เชื้อไวรัส ประกอบกับทั่วโลกมีการผ่อนคลายมาตรการป้องกันโรค ขณะที่ไทยก็ได้เปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวซึ่งมีผู้เดินทางมาจากทั่วโลก

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า การดูแลป้องกันตนเอง เช่น สวมหน้ากากอนามัย เมื่ออยู่ในที่แออัด การล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ ตลอดจนการสร้างภูมิคุ้มกันโดยการรับวัคซีนจึงมีความจำเป็นสำหรับประชาชนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่ม 608 ซึ่งมีความเสี่ยงสูง ต้องเข้ารับวัคซีนตามเกณฑ์ และเข็มกระตุ้นเมื่อครบระยะเวลา เพื่อลดอาการป่วยหนักหรือเสียชีวิต โดยประชาชนสามารถติดต่อเข้ารับวัคซีนสถานพยายาลใกล้บ้าน ซึ่งปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขกระจายวัคซีนสำหรับประชาชนทุกกลุ่มไปยังสถานพยาบาลทั่วประเทศและเพียงพอกับความต้องการ

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า แม้สถานการณ์แพร่ระบาด หรือการมีจำนวนผู้ป่วยหนักในไทยไม่ได้อยู่ในระดับสูงหรือน่ากังวล แต่ฤดูหนาวจะเป็นช่วงที่ไวรัสมีการแพร่กระจายรวดเร็ว และตอนนี้หลายประเทศที่อากาศหนาวจัดก็มีผู้ป่วยมากขึ้น นายอนุทินจึงมีความห่วงใย และขอให้ประชาชนเข้ารับวัคซีน ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้กระจายวัคซีนสำหรับทุกกลุ่มไปยังสถานพยาบาลพร้อมบริการให้ประชาชนทั่วประเทศ

‘กรมควบคุมโรค’ ยัน!! ‘วัคซีนโควิด’ มีความปลอดภัยสูง ไม่ทำให้เกิด ‘กล้ามเนื้ออ่อนแรง-มะเร็ง’ ตามสื่อโซเชียลอ้าง

(11 ส.ค.66) นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวถึงกรณีที่มีการโพสต์คลิปบนสื่อโซเชียลมีผู้ที่ฉีดวัคซีนโควิด 19 พบภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงทั่วไป หรือเป็นโรคมะเร็ง ว่า กรมฯ ได้ตรวจสอบข้อมูลและขอชี้แจงว่า ข่าวดังกล่าวเป็นข้อมูลเท็จ ปัจจุบันยังไม่พบรายงานการเกิดกล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือการเกิดมะเร็งที่เป็นผลมาจากการฉีดวัคซีนโควิด และจากข้อมูลรายงานเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ จากคณะกรรมการเฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์ภายหลังการได้รับวัคซีน (AEFI) ที่ประกอบด้วยทีมผู้ทรงคุณวุฒิร่วมพิจารณา พบว่า ผลข้างเคียงส่วนใหญ่ที่พบหลังการฉีดวัคซีน ได้แก่ ไข้ ปวดบริเวณที่ฉีด ปวดเมื่อยตัว เวียนศีรษะ คลื่นไส้ ปกติจะหายได้เองภายใน 2-3 วัน และไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อร่างกายในระยะยาว

"ส่วนอาการที่รุนแรง เช่น กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ พบอุบัติการณ์ต่ำกว่า 1 ในล้านโดส ซึ่งมีความเสี่ยงต่ำกว่าการติดเชื้อโควิดที่มีโอกาสป่วยหนักจนเสียชีวิตในผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีน" นพ.ธเรศกล่าว

นพ.ธเรศกล่าวว่า นอกจากนี้ ผู้ป่วยบางรายที่ไม่เคยฉีดวัคซีนจะมีอาการหลงเหลือในระยะยาว (Long COVID) เนื่องจากในขณะที่ติดเชื้อโควิด ร่างกายมีการสร้างแอนติบอดีบางตัวขึ้นมา ไปจับกับเซลล์ของอวัยวะบางส่วนในร่างกาย และเกิดการทำลายอวัยวะ โดยอาการ Long COVID เป็นอาการเจ็บป่วยที่ไม่มีลักษณะตายตัว อาจเหมือนหรือต่างกันในแต่ละบุคคล เกิดผลกระทบขึ้นได้ทั่วร่างกาย ตั้งแต่ระบบหายใจ ระบบประสาท หัวใจและหลอดเลือด ทำให้ผู้ที่หายป่วยบางรายยังไม่สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้อย่างเดิม จะเห็นได้ว่าการติดเชื้อโควิดส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวมากกว่าผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีน ดังนั้นขอประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลบิดเบือนดังกล่าว และไม่แชร์ข้อมูลต่อ หากมีปัญหาความปลอดภัยที่อาจเกิดจากวัคซีน กรมควบคุมโรคจะมีการประกาศแจ้งให้ประชาชนทราบโดยทั่วกัน

ด้าน นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า อัตราการเสียชีวิตของผู้ติดเชื้อโควิดมีแนวโน้มลดลงมาก หลังประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศฉีดวัคซีนโควิดครบ 2 เข็ม ปัจจุบันมีผลงานการฉีดวัคซีนสะสมกว่า 147 ล้านโดส หรือมากกว่าร้อยละ 80 ของประชากรทั้งหมด ส่งผลให้จำนวนผู้เสียชีวิตจากโควิดในประเทศไทยลดลงอย่างชัดเจน จากข้อมูลของคณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล ระบุว่า วัคซีนโควิดสามารถปกป้องชีวิตคนในประเทศไทยมากกว่า 490,000 คน ดังนั้น ขอย้ำว่าวัคซีนโควิดช่วยลดอาการป่วยรุนแรงและลดการเสียชีวิตจากการติดเชื้อ เพิ่มความปลอดภัยให้ผู้รับวัคซีน ครอบครัว และสังคม จนปัจจุบันแทบจะไม่มีผู้ฉีดวัคซีนครบโดสตามด้วยเข็มกระตุ้นติดโควิดเสียชีวิต ซึ่งไทยมีอัตราการเสียชีวิตจากโควิดต่ำกว่าตัวเลขของประเทศทางตะวันตกหลายเท่า สะท้อนถึงการบริหารจัดการสถานการณ์โควิดที่มีประสิทธิภาพจากนโยบายและมาตรการที่ใช้ จนเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศด้านความมั่นคงด้านสุขภาพ

'หมอยง' เลคเชอร์ 10 ข้อ 'วัคซีนโควิด' บทสรุป 4 ปี กาลเวลาเป็นเครื่องพิสูจน์

(25 ธ.ค.66) นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสภา โพสต์เฟซบุ๊ก Yong Poovorawan เรื่อง ‘โควิด-19 วัคซีนกาลเวลาเป็นที่พิสูจน์’ ดังนี้…

โควิด-19 วัคซีน กาลเวลาเป็นที่พิสูจน์

ในระยะแรกที่เริ่มมีการใช้วัคซีนในประเทศไทย ที่มีวัคซีนอย่างจำกัดมาก มีความต้องการสูง ประเทศไทยได้วัคซีนเชื้อตายเข้ามาเริ่มแรก ผมและคณะได้ทำการศึกษาวิจัยอย่างละเอียด มีการฉีดสูงไขว้ และเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง แต่มีการว่ากล่าวให้ร้าย (bully) อย่างมาก ถูกดึงเข้าสู่การเมือง ขณะนี้กาลเวลาที่ผ่านมาเป็นเครื่องพิสูจน์แล้วว่า ข้อมูลที่กล่าวไว้ ถูกต้องทุกประการ ปีนี้เป็นปีที่ 4 ของการระบาด ขอให้เป็นสังคมอุดมปัญญา จะขอสรุปข้อมูลเกี่ยวกับโควิดวัคซีน เพื่อให้สังคมได้เข้าใจ

1.วัคซีนโควิด-19 มี 4 ชนิด คือ ก. เชื้อตาย (inactivated vaccine; sinovac, sinopharm) ข. ไวรัสเวกเตอร์ (AstraZeneca; AZ) ค. mRNA วัคซีน ได้แก่ (Pfizer, Moderna) ง. โปรตีนสับยูนิต ได้แก่ Novavax

2.วัคซีนทุกตัวมีประสิทธิภาพไม่แตกต่างกัน จะมีประสิทธิภาพดีในเดือนแรกๆ หลังฉีด และระยะเวลาที่นานขึ้น จะไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ แต่เป็นส่วนหนึ่งของการลดความรุนแรงของโรค ประสิทธิภาพจึงไม่แตกต่างกัน ไม่มีวัคซีนเทพ

3.วัคซีนเชื้อตาย กระตุ้นภูมิต้านทานได้เท่ากับการติดเชื้อในธรรมชาติ แต่ต่ำกว่า วัคซีนไวรัสเวกเตอร์และ mRNA

4.วัคซีนที่ใช้มากที่สุดในโลก คือ เชื้อตาย ใช้มากกว่าครึ่งหนึ่งของปริมาณวัคซีนที่ฉีดในโลก  โดยเฉพาะใช้มากในเอเชียและแอฟริการวมทั้งอเมริกาใต้ ประเทศที่ใช้วัคซีนดังกล่าวอัตราการเสียชีวิต ไม่ได้สูงมากเท่าประเทศที่ใช้ mRNA วัคซีน อเมริกามีผู้ป่วยเสียชีวิตกว่า 1 ล้านคน ซึ่งห่างกับประเทศจีนมาก หรือแม้กระทั่งอินโดนีเซีย และไทย อัตราการเสียชีวิตก็ต่ำกว่าอเมริกา และยุโรปมาก

5.วัคซีนทุกตัว มีอาการแทรกซ้อนเกิดขึ้นได้ ตามหลักการของวัคซีน ถ้าเป็นวัคซีนเชื้อตายจะใช้เทคโนโลยีเดิม เช่นเดียวกับวัคซีน ไวรัสตับอักเสบ A, Polio ที่เป็นเชื้อตาย อาการข้างเคียง เช่น มีไข้ ปวดเมื่อย น้อยกว่าวัคซีนไวรัสเวกเตอร์และ mRNA มาก รวมทั้งอาการของหลอดเลือดและกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และโรคที่เกี่ยวกับระบบภูมิต้านทาน ก็พบได้น้อยกว่า

6.วัคซีนเชื้อตายราคาถูกกว่า mRNA มาก และการใช้ก็เก็บได้ง่าย เชื้อตายขวดละ 1 คน ขณะที่ mRNA ขวดละ  7-10 คน ทำให้เหลือทิ้งมาก และต้องเก็บที่อุณหภูมิลบ 70 องศา แต่วัคซีนเชื้อตายเก็บที่ตู้เย็นธรรมดาคือ 4 องศา การบริหารจัดการง่ายกว่า ความสูญเสียทิ้งน้อยกว่า

7.การให้วัคซีนสูตรไขว้ เป็นทางออกที่ทำให้ผลลัพธ์สุดท้าย ของวัคซีนเชื้อตายมีระดับภูมิต้านทานสูง เช่น ฉีดวัคซีนเชื้อตาย 2 เข็ม และกระตุ้นด้วย mRNA ผลลัพธ์ที่ได้ จะเท่ากับการให้ mRNA 3 เข็ม ข้อมูลเผยแพร่ในวารสาร PGH (doi: 10.1080/20477724.2022.2108646) และเป็นที่ยอมรับทั่วโลก องค์การอนามัยโลกก็ยอมรับสูตรไขว้

8.การให้สูตรไขว้ที่ใช้ในประเทศไทย เข็มแรกให้เชื้อตาย sinovac แล้วตามด้วย ไวรัสเวกเตอร์ AZ ภูมิต้านทานที่ได้ดีกว่าการให้ เชื้อตาย 2 เข็ม หรือไวรัสเวกเตอร์ 2 เข็ม และเป็นที่ยอมรับขององค์การอนามัยโลก

9.วัคซีนเชื้อตายอาการข้างเคียงเช่นไข้และอื่นๆ น้อยกว่าไวรัสเวกเตอร์และ mRNA  มาก วัคซีนไวรัสเวกเตอร์ AZ จะมีอาการข้างเคียงมากในเข็มแรก และจะน้อยลงในเข็มที่ 2 และ 3 ขณะเดียวกันภูมิต้านทานก็เกิดขึ้นได้น้อย เพราะ vector ถูกทำลายด้วยระบบภูมิคุ้มกันของเราที่เกิดขึ้นจากเข็มแรก ส่วน mRNA อาการข้างเคียงในเข็มที่ 2 จะมากกว่าเข็มแรก และจะมากขึ้นอีกถ้ามีการให้หลายๆ ครั้ง เช่น ต่อมน้ำเหลืองโต กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ การให้สูตรไขว้ทำให้ได้ mRNA จำนวนครั้งลดน้อยลง และระดับภูมิต้านทานไม่ได้แตกต่างกัน ประสิทธิภาพในการลดความรุนแรงก็ขึ้นอยู่กับจำนวนเข็มของวัคซีนและในทางปฏิบัติการให้ครบ หมายถึงให้อย่างน้อย 3 เข็ม

10.การได้รับวัคซีนไม่ว่าจะกี่เข็ม ก็สามารถเกิดการติดเชื้อได้ เพราะวัคซีนไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อเพียงแต่ว่าลดความรุนแรง เพราะระยะฟักตัวของโควิด 19 สั้นมากเพียง 2 วัน ภูมิต้านทานที่เกิดขึ้น จึงไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ จึงไม่มีวัคซีนเทพ ประสิทธิภาพที่แจงกันมาแต่แรก ส่วนใหญ่จากการศึกษาระยะสั้น ถ้าติดตามยาวออกไปก็จะรู้ว่าไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้

เมื่อผ่านมาครบ 4 ปีแล้ว ประชากรส่วนใหญ่หรือมากกว่าร้อยละ 90  ติดเชื้อไปแล้วร่วมกับได้รับวัคซีน ภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นของประชากรส่วนใหญ่ จึงเป็นภูมิคุ้มกันแบบลูกผสม เป็นภูมิคุ้มกันที่ค่อนข้างสมบูรณ์ ไวรัสก็วิวัฒนาการลดความรุนแรงลง ความจำเป็นที่จะต้องได้รับวัคซีนกระตุ้นก็ลดลง โรคได้เปลี่ยนเป็นโรคประจำฤดูกาลคล้ายกับไข้หวัดใหญ่ และมียารักษาที่ดีขึ้นและเพียงพอ ไวรัสไม่ได้หายไปไหน การปฏิบัติตัวเพื่อลดการแพร่กระจายของโรคทางเดินหายใจ เป็นการทำที่มีประโยชน์ ไม่ใช่เฉพาะโรคโควิด 19 เท่านั้นยังรวมถึงโรคหายใจอื่นๆ อีกด้วย


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top