Friday, 4 April 2025
พลังงานสะอาด

‘สนพ.’ เตรียมเปิดรับฟังความเห็น ‘5 แผนพลังงานชาติ’ คาด!! แล้วเสร็จ-พร้อมยื่น ครม.พิจารณาภายใน ก.ย.นี้

‘แผนพลังงานแห่งชาติ’ เป็นหมุดหมายสำคัญที่จะกำหนดทิศทางว่า ประเทศไทยจะขับเคลื่อนการพัฒนา และวางนโยบายด้านพลังงานไปในทิศทางใด โดยเฉพาะเมื่อโลกให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม ซึ่ง ‘พลังงานสะอาด’ เป็นกุญแจสำคัญที่พาประเทศไทยมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality)

รวมทั้งการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ตามเป้าหมายที่วางไว้ ควบคู่กับการเสริมศักยภาพเศรษฐกิจ ดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ จึงเป็นที่จับตามองว่า แผนพลังงานที่จะออกมาในเดือนกันยายนนี้ จะมีหน้าตาเป็นอย่างไร

>> 1 แผนหลัก 5 แผนรอง

สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เตรียมเปิดรับฟังความคิดเห็น ‘แผนพลังงานชาติ’ (National Energy Plan 2024) ซึ่งประกอบไปด้วย 5 แผน ดังนี้ 1.แผนพัฒนากำลังผลิตพลังไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP) 2.แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP) 3.แผนอนุรักษ์พลังงาน (EEP) 4.แผนบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ (Gas Plan)

และ 5.แผนบริหารจัดการน้ำมันเชื้อเพลิง (Oil Plan) ซึ่งประเมินว่า จะเปิดรับฟังความคิดเห็นภายในเดือนเมษายน จากนั้นจะมีกระบวนการปรับปรุงแผน คาดว่าจะแล้วเสร็จและพร้อมยื่นให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาได้ภายในกันยายน 2567

>> PDP 2024 เพิ่มพลังงานสะอาด

สำหรับแผน PDP ฉบับใหม่จะพิจารณาถึง 3 ส่วนสำคัญ ได้แก่ 1.ความมั่นคงของระบบ 2.ราคาที่ประชาชนเข้าถึงได้ และ 3.สิ่งแวดล้อม ด้วยเหตุนี้จึงได้ปรับโครงสร้างการผลิตไฟฟ้าให้มีสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนอยู่ประมาณ 50% ของกำลังการผลิตไฟทั้งหมด ซึ่งเพิ่มขึ้น 30% จากสัดส่วนเดิมของแผน PDP 2018 เพื่อการเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาดของประเทศไทย

โดยพลังงานแสงอาทิตย์หรือพลังงานโซลาร์จะมีสัดส่วนเยอะที่สุด ตามด้วยพลังงานลม พลังงานน้ำและพลังงานชีวมวล รวมถึงจะบรรจุเรื่องการใช้เทคโนโลยี อย่างการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Capture Utilization and Storage)

ด้าน นายวีรพัฒน์ เกียรติเฟื่องฟู ผู้อำนวยการ สนพ. กล่าวว่า ขณะนี้ได้มีการพูดคุยกับทางสมาคมพลังงานลมบ้าง ถึงการเพิ่มสัดส่วนพลังงานลมในแผน PDP 2024 จากเดิมที่ระบุไว้ในแผน PDP 2018 ที่มีประมาณ 3,000 เมกะวัตต์ ซึ่งปัจจุบันก็จำหน่ายไฟฟ้าเข้าระบบแล้ว 1,500 เมกะวัตต์ และกำลังรอเปิดเพิ่มอีกที่เหลือจนครบ แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีข้อจำกัดเรื่องระยะความปลอดภัยที่ต้องหารือกัน

นอกจากนี้ แผน PDP ฉบับล่าสุดยังเพิ่มพลังงานทางเลือกใหม่อีก 5% อาทิ พลังงานไฮโดรเจนที่กำลังอยู่ระหว่างการศึกษาความคุ้มค่า หรือแม้แต่พลังงานนิวเคลียร์ที่หายไปจากแผน PDP 2018 ก็กลับมาอีกครั้งในรูปแบบ Small Modular Reactor (SMR) ซึ่งตั้งกำลังผลิตไว้ประมาณ 70 เมกะวัตต์ พร้อมบรรจุเป้าหมายของโรงไฟฟ้าชุมชนไว้ในแผนฉบับใหม่นี้ด้วย

>> รักษาระดับไฟฟ้า Base Load

แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อรองรับความต้องการใช้ไฟที่เพิ่มขึ้น โดยข้อมูลล่าสุดจากสำนักงานกำกับกิจการพลังงาน ณ วันที่ 8 เมษายน 2567 พบว่า ค่าความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (ไฟพีก) ของปี 2567 เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2567 เวลา 20.54 น. มีค่าเท่ากับ 34,656.4 เมกะวัตต์ ซึ่งใกล้เคียงกับไฟพีกระบบที่เกิดขึ้นเมื่อปีก่อน มีค่าเท่ากับ 34,826.5 เมกะวัตต์ แต่ทาง สนพ.คาดว่า มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นไปถึง 35,000-36,000 เมกะวัตต์

ดังนั้นกำลังผลิตของพลังงานฟอสซิลที่เป็นโรงไฟฟ้า Base Load ก็ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยรักษาความมั่นคงของระบบ รวมถึงรองรับพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าที่เปลี่ยนไปจากในช่วงกลางวันเป็นช่วงกลางคืนมากขึ้น โดยปรับลดสัดส่วนกำลังผลิตลงเหลือประมาณ 30%

“เรายังไม่สามารถระบุกำลังผลิตทั้งหมดของพลังงานหมุนเวียน เพราะไฟฟ้าที่อยู่ในระบบกับไฟฟ้าที่สามารถผลิตได้จริงต่างกัน ประเมินว่า สามารถผลิตไฟฟ้าได้จริง 1 ใน 3 ของไฟฟ้าที่อยู่ในระบบ ซึ่งเราต้องผลิตให้พอดีกับความต้องการใช้ไฟให้ได้ ถ้าสมมุติว่าความต้องการใช้ไฟฟ้าอยู่ที่ 10,000 เมกะวัตต์ ก็ต้องทำไฟฟ้าในระบบให้ได้ 30,000 เมกะวัตต์เป็นอย่างน้อย

เนื่องจากพลังงานหมุนเวียนมีข้อจำกัดหลายอย่าง โดยเฉพาะพลังงานโซลาร์ที่ไม่สามารถผลิตไฟได้ตลอด 24 ชั่วโมง รวมถึงต้องอาศัยปัจจัยดินฟ้าอากาศ ทำให้เราต้องมาประเมินว่า ไฟฟ้าที่เราสามารถพึ่งพาได้จากพลังงานหมุนเวียนมีเท่าไหร่” นายวีรพัฒน์ กล่าว

>> จ่อเพิ่มสัดส่วน RE อีก 40%

รายงานสถิติพลังงานประเทศไทย 2566 ระบุสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชนิดต่าง ๆ ปี 2565 ว่า เชื้อเพลิงที่นำมาใช้ผลิตไฟฟ้ามากที่สุด ได้แก่ 1.ก๊าซธรรมชาติ 114,637 จิกะวัตต์ต่อชั่วโมง หรือคิดเป็น 53% 2.ลิกไนต์/ถ่านหิน 35,523 จิกะวัตต์ต่อชั่วโมง หรือประมาณ 17% 3.การนำเข้า 35,472 จิกะวัตต์ต่อชั่วโมง หรือคิดเป็น 16%

4.พลังงานหมุนเวียน 21,876 จิกะวัตต์ต่อชั่วโมง หรือประมาณ 10% 5.พลังงานน้ำ 6,599 จิกะวัตต์ต่อชั่วโมง ซึ่งคิดเป็น 3% และ 6.น้ำมัน 1,731 จิกะวัตต์ต่อชั่วโมง หรือ 0.8% โดยประมาณ

โดยสามารถแยกแหล่งที่มาพลังงานหมุนเวียนในระบบของการไฟฟ้าปี 2565 ดังนี้ ไฟฟ้าจากพลังงานก๊าซ มีกำลังผลิตรวมอยู่ที่ 338.73 เมกะวัตต์

ขณะที่ไฟฟ้าจากพลังงานชีวมวลอยู่ที่ 2,077.71 เมกะวัตต์ ส่วนไฟฟ้าพลังงานน้ำจากในประเทศอยู่ที่ 123.80 เมกะวัตต์ โดยมีแผนติดตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำ (Floating Solar) ควบคู่กันไปด้วย ซึ่งบรรจุไว้ในแผน PDP 2018 กำลังผลิตอยู่ที่ 2,725 เมกะวัตต์ ปัจจุบันติดตั้งสำเร็จแล้วที่เขื่อนสิรินธร กำลังผลิตรวม 45 เมกะวัตต์ ส่วนการนำเข้าพลังงานน้ำอยู่ที่ 4,461.903 เมกะวัตต์ อีกทั้งยังมีไฟฟ้าจากพลังงานลมมีกำลังผลิตรวม 1,502.31 เมกะวัตต์ และไฟฟ้าจากพลังงานโซลาร์อยู่ที่ 2,917.33 เมกะวัตต์

>> ส่องพลังงานหมุนเวียนรายภาค

จากข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน พบว่า สัดส่วนการผลิตพลังงานหมุนเวียนในปี 2565 รายภูมิภาค มีความแตกต่างกันตามศักยภาพการผลิตและวัตถุดิบที่จะใช้ในการผลิต

โดยสามารถแยกได้ดังนี้ ภาคเหนือมีกำลังการผลิตพลังงานหมุนเวียนรวม 1,101.80 เมกะวัตต์ แบ่งเป็นพลังงานโซลาร์ 48% พลังงานชีวมวล 41% พลังงานลม 5% พลังงานน้ำ 5% และพลังงานก๊าซ 1%

ส่วนภาคกลางและภาคตะวันตก มีกำลังผลิตรวม 2,614.87 เมกะวัตต์ ซึ่ง 72% ของกำลังผลิตรวมมาจากพลังงานโซลาร์ ส่วนพลังงานชีวมวลอยู่ที่ 23% ตามด้วยพลังงานก๊าซ 3% และพลังงานน้ำ 2%

สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีกำลังผลิตรวม 2,575.68 เมกะวัตต์ โดยมีพลังงานลมคิดเป็นสัดส่วน 50% ตามมาด้วยพลังงานชีวมวล 27% พลังงานโซลาร์ 18% พลังงานก๊าซ 4% และพลังงานน้ำ 1%

และสุดท้ายภาคใต้ มีกำลังผลิตรวมอยู่ที่ 661.53 เมกะวัตต์ แบ่งเป็นพลังงานชีวมวล 48% พลังงานลม 22% พลังงานก๊าซ 22% พลังงานโซลาร์ 6% และพลังงานน้ำ 2%

ดังนั้น หากแผน PDP 2024 ต้องการเพิ่มกำลังผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนให้ได้ 50% ภายในปี 2580 นั่นหมายความว่า ต้องเพิ่มสัดส่วนกำลังการผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนอีก 40% นับเป็นความท้าทายของภาคพลังงานไทยครั้งใหญ่ที่จะเดินหน้าตามเป้าหมายที่วางไว้ และนี่จะเป็นจุดเปลี่ยนของการลงทุนผลิตพลังงานหมุนเวียนในแต่ละภูมิภาคด้วย

ERDI-CMU ร่วมกับ บมจ. เจริญชัยหม้อแปลงไฟฟ้า เดินหน้าต่อเนื่อง นำเสนอโครงการ Platform บริหารจัดการพลังงานสะอาด

หม้อแปลง Low Carbon, Solar, Energy Storage, EV แก้ปัญหา Net Zero, Near Zero, Peak Demand, Demand Response" ต่อคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาการส่งเสริมและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม สภาผู้แทนราษฎร  

“รศ.ดร. สิริชัย และ ผศ.ดร.พฤกษ์” รับรองผลการประหยัด Platform บริหารจัดการ พลังงานสะอาด ประหยัดจริง 9%

รศ.ดร. สิริชัย คุณภาพดีเลิศ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์, ผศ.ดร.พฤกษ์ อักกะรังสี และดร. ณัฐวุฒิ จารุวสุพันธุ์ และบริษัท เจริญชัย หม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด นำเสนอโครงการ "Platform บริหารจัดการพลังงานสะอาด หม้อแปลง Low Carbon, Solar, Energy Storage, EV แก้ปัญหา Net Zero, Near Zero, Peak Demand, Demand Response" ต่อ นายซูชัย มุ่งเจริญพร ประธานคณะอนุกรรมาธิการ และ คณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาการส่งเสริมและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม สภาผู้แทนราษฎร ณ ประชุมกรรมาธิการ N 408 ชั้น 4 อาคารรัฐสภา ในวันพุธที่ 24 เมษายน 25567

ด้วยสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับบริษัท เจริญชัย          หม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด ได้ร่วมวิจัยและได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ให้ดำเนินงานวิจัยหม้อแปลง IoT และระบบบริหารจัดการพลังงานทดแทน Solar กับ Energy Storage ด้วยโปรแกรม Sustainable Green Energy Management System ภายใต้โครงการ “Low Carbon Transformer ระบบจัดการหม้อแปลงไฟฟ้า เพื่อรองรับพลังงานสะอาดอย่างมั่นคง Net Zero, Near Zero, Peak Demand และ Demand Response” ซึ่งจากการดำเนินงานพบว่าหม้อแปลงที่ใช้ในการดำเนินโครงการที่กล่าวในข้างต้น ตอบโจทย์ด้านการประหยัดพลังงานและอนุรักษ์พลังงาน ในภาคอุตสาหกรรม Smart Factory, Smart Building ในด้าน Net Zero & Near Zero, Peak Demand, Demand Response การประหยัดพลังงานและอนุรักษ์พลังงาน โดยสามารถลดการใช้พลังงาน ลดต้นทุนค่าไฟฟ้า และลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ และมีระยะเวลาคืนทุนภายในเวลา  2 – 5  ปี ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการแก้ปัญหาด้านการประหยัดพลังงานและอนุรักษ์พลังงาน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ สังคม ประชาชนและผู้ประกอบการ ด้านความมั่นคงระบบไฟฟ้าพลังงานสะอาด

หม้อแปลง Low Carbon เป็นหม้อแปลงบริหารระบบจัดการพลังงานที่บริหารจัดการการสิ้นเปลืองให้เกิดประสิทธิภาพและมีความเสถียรภาพกับการใช้พลังงานไฟฟ้าที่มั่นคงและยั่งยืน ทำให้โรงงานอุตสาหกรรม, อาคาร สถานประกอบการ ลดค่าไฟฟ้า 5-20% (Energy Saving) ลดคาร์บอน 5-20% (Low Carbon) มากกว่า 100 ล้านตัน ลดมลพิษ (Low Emission) ทำให้อุปกรณ์อายุการใช้งานยาวนานขึ้น (Long Life Equipment) เพื่อเป็นการตอบโจทย์ให้ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม สถานประกอบการ เจ้าของอาคาร ตามนโยบายของรัฐบาลในการลดก๊าซเรือนกระจก ลดโลกร้อน และลดอุณหภูมิโลก

ERDI-CMU ประสบความสำเร็จระดับโลก เดินหน้าต่อเนื่อง นำเสนอโครงการ 3 Significant Platform บริหารจัดการพลังงานสะอาด

หม้อแปลง Low Carbon, Solar, Energy Storage, EV แก้ปัญหา Net Zero, Demand Response และ Saving Energy 9% ต่อ ผู้อำนวยการกองพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านพลังงาน กระทรวงพลังงาน และหัวหน้ากลุ่มมาตรฐานประสิทธิภาพการอนุรักษ์พลังงาน

ผศ.ดร.พฤกษ์ อักกะรังสี ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานและผู้แทนพิเศษ สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และดร. ณัฐวุฒิ จารุวสุพันธุ์ หัวหน้ากลุ่มงาน smart energy & innovation และ นักวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำเสนอโครงการ "Platform บริหารจัดการพลังงานสะอาด หม้อแปลง Low Carbon, Solar, Energy Storage, EV แก้ปัญหา Net Zero, Demand Response และ Saving Energy" ต่อ คุณมัณลิกา สมพรานนท์ ผู้อำนวยการกองพัฒนาทรัพยากรบุคคล ด้านพลังงาน และดร. ศุภชัย สำเภา หัวหน้ากลุ่มมาตรฐานประสิทธิภาพการอนุรักษ์พลังงาน  ณ กระทรวงพลังงาน ในวันพุธที่ 24 เมษายน 25567

ด้วยสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับบริษัท เจริญชัย      หม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด ได้ร่วมวิจัยและได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ให้ดำเนินงานวิจัยหม้อแปลง IoT และระบบบริหารจัดการพลังงานทดแทน Solar กับ Energy Storage ด้วยโปรแกรม Sustainable Green Energy Management System ภายใต้โครงการ “Low Carbon Transformer ระบบจัดการหม้อแปลงไฟฟ้า เพื่อรองรับพลังงานสะอาดอย่างมั่นคง Net Zero, Demand Response และ Saving Energy” ซึ่งจากการดำเนินงานพบว่าหม้อแปลงที่ใช้ในการดำเนินโครงการที่กล่าวในข้างต้น ตอบโจทย์ด้านการประหยัดพลังงานและอนุรักษ์พลังงาน ในภาคอุตสาหกรรม Smart Factory, Smart Building ในด้าน Net Zero, Near Zero, Peak Demand, Demand Response การประหยัดพลังงานและอนุรักษ์พลังงาน โดยสามารถลดการใช้พลังงาน ลดต้นทุนค่าไฟฟ้า และลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ และมีระยะเวลาคืนทุนภายในเวลา 2 – 5  ปี ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการแก้ปัญหาด้านการประหยัดพลังงานและอนุรักษ์พลังงาน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ สังคม ประชาชนและผู้ประกอบการ ด้านความมั่นคงระบบไฟฟ้าพลังงานสะอาด

หม้อแปลง Low Carbon เป็นหม้อแปลงบริหารระบบจัดการพลังงานที่บริหารจัดการการสิ้นเปลืองให้เกิดประสิทธิภาพและมีความเสถียรภาพกับการใช้พลังงานไฟฟ้าที่มั่นคงและยั่งยืน ทำให้โรงงานอุตสาหกรรม, อาคาร สถานประกอบการ ลดค่าไฟฟ้า 5-20% (Energy Saving) ลดคาร์บอน 5-20% (Low Carbon) มากกว่า 100 ล้านตัน ลดมลพิษ (Low Emission) ทำให้อุปกรณ์อายุการใช้งานยาวนานขึ้น (Long Life Equipment) เพื่อเป็นการตอบโจทย์ให้ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม สถานประกอบการ เจ้าของอาคาร ตามนโยบายของรัฐบาลในการลดก๊าซเรือนกระจก ลดโลกร้อน และลดอุณหภูมิโลก    

'GPSC' ชนะประมูลโซลาร์ฟาร์ม 1,050 เมกะวัตต์ ในอินเดีย เพิ่มสัดส่วนพลังงานสะอาดจากโครงการ 'ใหม่-เก่า' ได้ถึง 62%

เมื่อวานนี้ (30 พ.ค.67) นายวรวัฒน์ พิทยศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC แกนนำนวัตกรรมธุรกิจไฟฟ้ากลุ่ม ปตท. เปิดเผยว่า บริษัท อวาด้า เอนเนอร์ยี่ ไพรเวท จำกัด (Avaada Energy Private Limited) หรือ Avaada Energy ในกลุ่มอวาด้า (Avaada Group) ผู้ดำเนินธุรกิจพลังงานหมุนเวียนชั้นนำของประเทศอินเดีย ซึ่ง GPSC ถือหุ้นในสัดส่วน 42.93% ผ่านบริษัท โกลบอล รีนิวเอเบิล ซินเนอร์ยี่ จำกัด (GRSC) ได้ประกาศผลชนะการประมูลในโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ กำลังการผลิต 1,050 MW (เมกะวัตต์) ของ National Thermal Power Corporation Limited หรือ NTPC

ซึ่งนับเป็นโครงการที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของบริษัทฯ จากการประมูลเพียงครั้งเดียว โดยมีกำหนดก่อสร้างแล้วเสร็จภายใน 24 เดือนหลังจากการลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) ระยะเวลา 25 ปี ที่ราคา 2.69 รูปีอินเดีย/กิโลวัตต์ชั่วโมง (~0.03 ดอลลาร์) โดยจะดำเนินการโครงการด้วยความสามารถในการออกแบบ จัดซื้อตลอดจนการก่อสร้างโครงการขององค์กรเอง (In-house capabilities and EPC) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการทั้งต้นทุนโครงการและต้นทุนการเงิน

ทั้งนี้ โครงการจะสามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนได้ประมาณ 1,800 ล้านหน่วยต่อปี ซึ่งจะมีบทบาทที่สำคัญในการจัดหาพลังงานสีเขียวของอินเดีย ที่จะป้อนไฟฟ้าให้กับภาคครัวเรือนมากกว่า 12 ล้านครัวเรือน รวมทั้งยังสามารถมีส่วนต่อการลดการปล่อย CO2 ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศเทียบเท่า 1,681,200 ตันต่อปี  

นับเป็นความสำเร็จอีกครั้งของ Avaada Energy ในการชนะการประมูลในโครงการต่าง ๆ ในปี 2567 ที่ส่งผลให้มีกำลังการผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนในอินเดีย รวมทั้งสิ้นประมาณ 15 GW (กิกะวัตต์) ซึ่งมีผลให้การดำเนินธุรกิจขยายตัวได้เร็วกว่าเป้าหมายเดิมที่กำหนดไว้ที่ 11 GW ในปี 2569 แสดงถึงศักยภาพในการขับเคลื่อนธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพในตลาดพลังงานของประเทศอินเดีย ที่มีอัตราการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

ประกอบกับนโยบายของรัฐบาลอินเดียที่ต้องการเปลี่ยนมาสู่การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น สอดรับกับทิศทางของการดำเนินธุรกิจ เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาสังคมสีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดย GPSC และ Avaada Group พร้อมที่จะเดินหน้าในการพัฒนาพลังงานสะอาดและนวัตกรรมพลังงาน สู่การดำเนินการทางธุรกิจเพื่อความยั่งยืน

ทั้งนี้ การชนะการประมูลโครงการพลังงานหมุนเวียนของ Avaada Energy ได้ตอกย้ำถึงศักยภาพของ GPSC และ Avaada Group ในความร่วมมือกัน เพื่อแสวงหาโอกาสในการขยายกำลังการผลิต ให้สามารถตอบโจทย์ความต้องการพลังงานหมุนเวียนในประเทศอินเดียอย่างต่อเนื่อง

สอดรับกับกลยุทธ์ของ GPSC ในการพัฒนาธุรกิจสู่ความยั่งยืน ที่มีเป้าหมายในการเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนของบริษัทฯ ให้มากกว่า 50% ภายในปี 2573 ซึ่งปัจจุบันเมื่อรวมกำลังการผลิตทั้งโครงการใหม่และเก่าในประเทศอินเดีย ส่งผลให้ GPSC มีสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนถึง 62% หรือจำนวน 7,232 MW จากกำลังการผลิตรวมทั้งสิ้น 11,756 MW

CEO ใหม่ ปตท. รับลูกรัฐบาล หนุน 'ไฮโดรเจน-พลังงานสะอาด' ช่วยไทยก้าวสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์

(14 มิ.ย. 67) นายคงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปตท. พร้อมรับนโยบายรัฐบาลมาปฏิบัติตาม เพื่อร่วมผลักดันให้เป็นไปตาม ‘แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2567-2580 หรือ PDP 2024’ ฉบับใหม่ โดยเฉพาะในด้านการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดให้มากขึ้นในสัดส่วน 51% ของการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด

โดย ปตท. เป็นบริษัทพลังงานแห่งชาติ ดังนั้นจึงจะเข้ามามีบทบาทในการผลักดันการใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนในประเทศ และ ผลักดันโครงการดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ Carbon Capture and Storage (CCS) (โดยในร่างแผน PDP 2024 กำหนดสัดส่วนการใช้ไฮโดรเจน 5% นำไปผสมในเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ สำหรับผลิตไฟฟ้า) เนื่องจากไฮโดรเจนถือเป็นพลังงานสะอาด ที่จะเข้ามามีบทบาทช่วยลดคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ไทยก้าวสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ในปี พ.ศ. 2608 และ CCS ถือเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยลดคาร์บอนไดออกไซด์ในอนาคตด้วย

สำหรับปัจจุบัน ปตท. ได้เข้าไปลงทุนในแหล่งไฮโดรเจนในต่างประเทศเพื่อศึกษาและเรียนรู้เทคโนโลยี เช่น ในแหล่งตะวันออกกลาง หากเริ่มมีความคุ้มค่าต่อการลงทุน ปตท. ก็พร้อมขยายการลงทุนเพิ่ม ประกอบกับถ้ารัฐบาลไทยเริ่มส่งเสริมให้นำไฮโดรเจนมาผสมรวมในท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ทาง ปตท. ก็พร้อมดำเนินการตามนโยบายรัฐบาลเช่นกัน รวมถึงจะขยายการใช้ไฮโดรเจนไปสู่ธุรกิจโมบิลลิตี้ (Mobility) ด้วย  

นอกจากนี้ในส่วนของราคาน้ำมันตลาดโลกที่ผันผวนนั้น ทาง ปตท. ได้ช่วยเหลือประชาชนด้วยการพยายามควบคุมราคาให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ที่ผ่านมา ปตท. ได้นำน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์มาผสมในดีเซล เพื่อช่วยแก้ปัญหาราคาปาล์มน้ำมันตกต่ำ และพยายามให้ผลประโยชน์ไปถึงเกษตรกรโดยตรงมากที่สุด

ส่วนกรณีที่ภาครัฐเดินหน้าผลักดันความร่วมมือในการสำรวจปิโตรเลียมในแหล่งพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา (OCA) ปตท.ยืนยันจะเข้าไปมีส่วนร่วมกับภาครัฐแน่นอน เนื่องจากเป็นเรื่องความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ  

อย่างไรก็ตาม ปตท. ในฐานะบริษัทพลังงานแห่งชาติ จะนำนโยบายรัฐบาลมาดำเนินการให้สอดคล้องกับบริบทของธุรกิจ ปตท. โดยคำนึงถึงประชาชน และผู้มีส่วนได้เสียอย่างเหมาะสม บนพื้นฐานของความสมดุลทั้งด้านความมั่นคงทางพลังงาน กำไรที่เหมาะสม และการคำนึงถึงสังคม สิ่งแวดล้อม

สำหรับในด้านธุรกิจนั้น ปตท.เตรียมทบทวนกลยุทธ์ทางธุรกิจตามแผนการลงทุน 5  ปีใหม่ (2568-2572) ภายในเดือน ส.ค. 2567 นี้ โดยจะต้องนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการ ปตท. (บอร์ด ปตท.) อนุมัติต่อไป คาดว่า จะเห็นความชัดเจนได้ในช่วงเดือน ก.ย.- ต.ค. 2567 นี้ ทั้งวงเงินลงทุน ธุรกิจที่จะเร่งเดินหน้าต่อ และธุรกิจที่อาจจะปรับลดขนาด หรือถอยการลงทุนลง เป็นต้น ซึ่ง ปตท.จะดำเนินการอย่างระมัดระวัง และเชื่อว่าจะเป็นผลดีต่อการสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนหลังเห็นแผนการลงทุนที่ชัดเจนออกมาในอนาคต

'บีโอไอ' เผยผลสำเร็จไทยเยือนซาอุฯ ยอดเจรจาธุรกิจ 100 คู่ จ่อลงทุนไทย ขนเงินลุย 'แลนด์บริดจ์-เกษตร-อาหารแปรรูป-การแพทย์-พลังงานสะอาด'

(15 ก.ค.67) นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยภายหลังการจัดคณะหน่วยงานภาครัฐและเอกชนไทย นำโดยนายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เดินทางเยือนประเทศซาอุดีอาระเบีย ระหว่างวันที่ 13 – 15 กรกฎาคม 2567 พร้อมเป็นประธานเปิดสำนักงานบีโอไอ ณ กรุงริยาด ประเทศซาอุดีอาระเบีย อย่างเป็นทางการในวันที่ 14 กรกฎาคม 2567 ว่า...

การจัดงานประชุมภาคธุรกิจ 'Thai – Saudi Investment Forumอ และการเจรจาจับคู่ธุรกิจ ณ กรุงริยาด ประเทศซาอุดีอาระเบียในครั้งนี้ประสบความสำเร็จอย่างดี ได้รับความสนใจจากนักธุรกิจไทยและซาอุดีอาระเบีย รวมถึงนักธุรกิจจากประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคตะวันออกกลาง เข้าร่วมงานอย่างคับคั่งกว่า 300 คน จากกว่า 200 บริษัท/หน่วยงาน และเกิดการเจรจาธุรกิจกว่า 100 คู่ 

นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ด้านความร่วมมือทางธุรกิจรวม 11 ฉบับ ในหลากหลายสาขา เช่น อุตสาหกรรมการเกษตร, อาหาร, ชิ้นส่วนยานยนต์, วัสดุก่อสร้าง, การจัดอีเวนต์และเทศกาล, เกมและอีสปอร์ต, การผลิตน้ำหอม และธุรกิจที่ปรึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

สำหรับบริษัทเอกชนของไทยที่เข้าร่วมกิจกรรม Investment Forum และการเจรจาธุรกิจในครั้งนี้ ถือเป็นบริษัทชั้นนำในกลุ่มอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น อุตสาหกรรมสุขภาพและการแพทย์ (โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล้วยน้ำไท สมิติเวช และพระราม 9) อุตสาหกรรมพลังงาน (บริษัท ปตท. บ้านปู และกัลฟ์ เอ็นเนอร์จี) อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร (กลุ่มซีพี บริษัท เบทาโกร และสหฟาร์ม) อุตสาหกรรมบริการสนับสนุนการท่องเที่ยว (ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล) สถาบันการเงิน (ธนาคาร EXIM และธนาคารอิสลาม) เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีผู้บริหารจากหอการค้าไทยและสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยร่วมคณะด้วย 

โดยจากการเจรจาธุรกิจกว่า 100 คู่ พบว่า นักลงทุนซาอุดีฯ หลายรายให้ความสนใจลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายของไทย ทั้งกลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารแปรรูป สุขภาพและการแพทย์ พลังงานสะอาด ชิ้นส่วนยานยนต์ และธุรกิจบริการ 

คณะฯ ยังได้เข้าพบกับบริษัทชั้นนำของซาอุดีอาระเบีย เพื่อหารือแผนการลงทุนในประเทศไทยและการสนับสนุนจากภาครัฐ เช่น บริษัท Saudi Agricultural and Livestock Investment Company (SALIC) ผู้นำด้านการเกษตรและปศุสัตว์ ได้หารือแผนการลงทุนในไทยในสาขาที่ไทยมีศักยภาพ เช่น การเกษตร ปศุสัตว์ การประมง และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ บริษัท CEER Motors ผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้าของซาอุดีอาระเบีย ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกองทุน Public Investment Fund (PIF) ของซาอุดีฯ Foxconn จากไต้หวัน และ BMW จากเยอรมนี โดยฝ่ายไทยได้เชิญชวนให้บริษัทพิจารณาการลงทุนในประเทศไทยและร่วมมือกับบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทยในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของห่วงโซ่การผลิตยานยนต์ไฟฟ้าของทั้งสองประเทศ รวมทั้งหารือถึงโอกาสที่ผู้ประกอบการชิ้นส่วนรถยนต์ของไทยจะไปลงทุนที่ซาอุดีอาระเบียเพื่อป้อนชิ้นส่วนยานยนต์ให้ตลาดตะวันออกกลางในอนาคต

นอกจากนี้ ในการประชุมทวิภาคีระหว่าง นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และ H.E. Mr. Khalid Abdulaziz Al-Falih รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการลงทุนแห่งซาอุดีอาระเบีย ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบที่จะผลักดันความร่วมมือไทย - ซาอุดีอาระเบียใน 4 ด้าน ได้แก่...

1) ความมั่นคงทางอาหารและเกษตร 2) ความมั่นคงทางพลังงาน รวมถึงพลังงานสะอาด 3) ความมั่นคงทางมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาอุตสาหกรรมสุขภาพและการแพทย์ และ 4) การเสริมสร้างความเข้มแข็งของห่วงโซ่การผลิตของโลก (Global Supply Chain) 

ทั้งนี้ ทางรัฐบาลไทยและซาอุดีอาระเบียต่างเห็นพ้องที่จะช่วยอำนวยความสะดวกเพื่อให้ภาคเอกชนเป็นตัวหลักในการขับเคลื่อนความร่วมมือด้านธุรกิจและการลงทุน โดยซาอุดีอาระเบียนับเป็นประเทศที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ในภูมิภาคตะวันออกกลาง ในขณะที่ไทยเป็นประตูสู่ทวีปเอเชีย มีที่ตั้งเชิงยุทธศาสตร์สามารถเชื่อมโยงตะวันออกกลางให้เข้าถึงตลาดขนาดใหญ่ในอาเซียน เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกที่มีประชากรรวมกว่า 4,000 ล้านคน โดยอาศัยจุดแข็งของทั้งสองประเทศ 

ทั้งนี้ รัฐบาลไทยและซาอุดีอาระเบียอยู่ระหว่างการดำเนินการจัดทำความตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน (Bilateral Investment Treaty: BIT) เพื่อสนับสนุนความสัมพันธ์ด้านการลงทุนระหว่างกัน นอกจากนี้ ไทยและซาอุดีอาระเบียยังมีกำหนดจัดการประชุมสภาความร่วมมือซาอุดี - ไทย ในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2567 โดยการประชุมดังกล่าวจะเป็นเวทีหารือในประเด็นความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมระหว่างกันในทุกมิติต่อไป

ความสำเร็จในการเยือนซาอุดีฯ ครั้งนี้ สะท้อนถึงความสัมพันธ์ที่แนบแน่นระหว่างสองประเทศ รวมถึงความมุ่งมั่น ตั้งใจในการเร่งผลักดันความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการลงทุนระหว่างกัน เพื่อให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น และถือเป็นโอกาสของไทยในการเข้าไปมีส่วนร่วมในแผนส่งเสริมการลงทุนครั้งสำคัญของซาอุดีฯ เพื่อสร้างระบบห่วงโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมที่หลากหลาย ลดการพึ่งพารายได้จากการส่งออกน้ำมัน รวมถึงการพัฒนาสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ ตามวิสัยทัศน์ซาอุดีอาระเบีย 2030 (Saudi Vision 2030) ซึ่งสอดรับกับวิสัยทัศน์ Ignite Thailand ของรัฐบาลไทย

การเปิดสำนักงานบีโอไอ ณ กรุงริยาด ประเทศซาอุดีอาระเบีย ซึ่งเป็นสำนักงานในต่างประเทศแห่งที่ 17 ของ  บีโอไอ และเป็นแห่งแรกในภูมิภาคตะวันออกกลาง จะเป็นกลไกสำคัญในการเชื่อมโยงการลงทุนระหว่างไทยและซาอุดีอาระเบีย รวมทั้งประเทศในภูมิภาคตะวันออกกลาง เช่น คูเวต กาตาร์ บาห์เรน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และตุรกี ซึ่งซาอุดีฯ ให้ความสนใจในการใช้ประเทศไทยเป็นฐานการลงทุนและเป็นฮับแห่งใหม่ของซาอุดีฯ ในภูมิภาคนี้ โดยบีโอไอพร้อมใช้เครื่องมือสิทธิประโยชน์และบริการด้านต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการลงทุนไม่ว่าจะเป็นการเข้ามาตั้งฐานการผลิต การจัดตั้งสำนักงานภูมิภาค หรือการร่วมกับธุรกิจไทย

CATL ผนึกกำลังเครือ ปตท. เดินหน้าพัฒนาระบบนิเวศพลังงานไทย ชูเป้าหมายใหญ่ เปลี่ยนผ่านจากพลังงานฟอสซิลไปสู่พลังงานสะอาด

เมื่อวานนี้ (28 ส.ค. 67) บริษัท เอ ซี เอนเนอร์ยี่ โซลูชั่น จำกัด A C Energy Solution (ACE) และ Contemporary Amperex Technology Co., Ltd. (CATL) จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อศึกษาและพัฒนาระบบนิเวศพลังงานไทย ณ สำนักงานใหญ่ CATL เมืองหนิงเต๋อ สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมี ดร.บุรณิน รัตนสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) พร้อมด้วย Mr. LiBin Tan Chief Customer Officer & Co-President of the Market System CATL, นายเอกชัย ยิ้มสกุล กรรมการผู้จัดการ ACE และ Mr. See Tzu Cheng (ขวาล่าง) General Manager of APAC & Strategic Projects CATL ร่วมเป็นเกียรติในพิธี

🚗#กลุ่มยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle) จากนโยบายการสนับสนุนการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ทำให้ปริมาณการใช้ EV มีการเติบโตอย่างเนื่อง โดยปัจจุบัน ACE และ CATL ได้มีความร่วมมือในการจัดตั้งโรงงานประกอบ EV battery pack โดยใช้เทคโนโลยีชั้นนำจาก CATL และ EV value chain จากกลุ่ม ปตท. โดยมุ่งเน้นการผลิต ประกอบ battery pack ที่มีประสิทธิภาพสูง นอกจากนี้ ความร่วมมือดังกล่าวยังมีแผนในการศึกษาการพัฒนา ระบบ green factory เพื่อรองรับ Net Zero ในอนาคต เพื่อลดการปล่อยก๊าชเรือนกระจกและมลพิษทางอากาศ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้การพัฒนาระบบ Green factory โดยการนำ Renewable energy และ ระบบ battery มาประยุกต์ใช้ ยังสามารถต่อยอดธุรกิจไปได้หลากได้ด้าน ทั้ง PPA และ Private PPA ภายในประเทศในอนาคตอันใกล้

⚡#กลุ่มการชาร์จยานยนต์ไฟฟ้า (EV Charging) การเติบโตอย่างรวดเร็วของยานยนต์ไฟฟ้า จำเป็นต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการชาร์จยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อให้ผู้ใช้สามารถชาร์จไฟได้สะดวกและรวดเร็ว แต่อย่างไรก็ตามสถานีชาร์จปัจจุบัน ยังพึ่งพาระบบโดยทั้งหมดจากการไฟฟ้า ทำให้เกิดปัญหาในหลายมิติ อาทิเช่น Grid stability, Low priority power เป็นต้น โดยความร่วมมือดังกล่าวจะร่วมศึกษาความเป็นไปได้ในการบริหารจัดการพลังงานในสถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้า ทั้งการติดตั้งระบบ BESS ร่วมกับ Solar system เพื่อลดภาระการใช้งานพลังงานจาก Grid เพิ่มความเสถียรของระบบไฟฟ้าในสถานีชาร์จ โดยการจัดการกับความผันผวนของการใช้พลังงานและลดความเสี่ยงจากการขาดแคลนพลังงาน และรองรับการชาร์จเร็ว (Super-fast charging) ได้ถึง 4C - 6C เป็นต้น

🔋#กลุ่มระบบกักเก็บพลังงานและพลังงานหมุนเวียน เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงระบบพลังงานของประเทศไทยสู่ความยั่งยืน ความร่วมมือนี้มุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการเก็บและจัดการพลังงานจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม และนำมาใช้ในช่วงเวลาที่มีความต้องการสูง ระบบ ESS นี้จะช่วยลดการสูญเสียพลังงานและเพิ่มความเสถียรของระบบไฟฟ้า และลดค่าใช้จ่ายในการใช้พลังงานในช่วงเวลาที่มีค่าไฟฟ้าสูง (peak hours) โดยการใช้พลังงานที่เก็บไว้ในแบตเตอรี่แทน นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการพลังงานและลดภาระการใช้พลังงานจาก Grid นอกจากนี้ยังมีความร่วมมือในการศึกษาการสร้าง ESS production line และ Battery cell production line เพื่อรองรับการเติบโตและเป็นการสนับสนุนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะในประเทศไทย

🚉#กลุ่มระบบการขนส่ง การพัฒนายานยนต์ไฟฟ้า ไม่ใช่แค่รองรับรถยนต์ส่วนบุคคลเท่านั้น การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) มีความเกี่ยวข้องอย่างมากกับการขนส่งที่ยั่งยืน (Sustainable Transportation) เนื่องจากการขนส่งเป็นส่วนสำคัญของชีวิตประจำวันและมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ความร่วมมือดังกล่าวได้ร่วมศึกษาพัฒนาระบบกักเก็บพลังงาน เทคโนโลยี การวางแผนเมืองโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ให้รองรับการขนส่ง อย่างมีประสิทธิภาพ อาทิเช่น ระบบบริหารจัดการพลังงาน ระบบการชาร์จ ระบบ renewable energy ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

'รัฐมนตรี อว.' เยี่ยมชมนวัตกรรมคนไทย หม้อแปลง Low Carbon ประหยัดค่าไฟฟ้า, ลดค่าไฟฟ้าและลดคาร์บอนเครดิต พร้อม Platform บริหารจัดการพลังงานสะอาด Solar , Energy Storage สู่ Net Zero สนับสนุนส่งเสริมโดย NiA, BOI ด้านการประหยัดพลังงานและอนุรักษ์พลัง

บริษัท เจริญชัยหม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด นำโดยคุณประจักษ์ กิตติรัตนวิวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการ รู้สึกเป็นเกียรติจาก คุณศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.), ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม, ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, ผู้แทนประธานคณะกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่ง ประเทศไทย ที่ให้เกียรติเยี่ยมชมบูธ หม้อแปลง Low Carbon ประหยัดค่าไฟฟ้า, ลดค่าไฟฟ้าและลดคาร์บอนเครดิต พร้อม Platform บริหารจัดการพลังงานสะอาด Solar , Energy Storage  สู่ Net Zero สนับสนุนส่งเสริมโดย NiA, BOI ด้านการประหยัดพลังงานและอนุรักษ์พลัง ในงานมหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยและนวัตกรรมประจำปี 2567 (TRIUP FAIR 2024)’ 

ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 24-26 กันยายน 2567 ณ พารากอน ฮอลล์ ชั้น 5 ศูนย์การค้าสยามพารากอน เพื่อผลักดันผลงานวิจัยและนวัตกรรมของไทยให้ถูกนำไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม และช่วยยกระดับความสามารถของภาคอุตสาหกรรม สร้างรายได้ สร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ

 

ผู้ผลิตรถไฟจีนสุดเจ๋ง เปิดตัวรถไฟพลังงานไฮโดรเจน ทำความเร็ว 200 กม./ชม. ปล่อยมลพาเป็นศูนย์

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า ซีอาร์อาร์ซี คอร์เปอเรชัน ลิมิเต็ด (CRRC) ผู้ผลิตรถไฟของจีน ได้เปิดตัวรถไฟพลังงานไฮโดรเจน 'ซิโนวา เอช2' (CINOVA H2) ที่งานมหกรรมการค้าเทคโนโลยีการขนส่งนานาชาติ หรืออินโนทรานส์ (InnoTrans) ปี 2024 ในกรุงเบอร์ลินของเยอรมนี เมื่อไม่นานนี้

รถไฟพลังงานไฮโดรเจน ซิโนวา เอช2 สามารถทำความเร็วสูงถึง 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พร้อมปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ และวิ่งไกลถึง 1,200 กิโลเมตร ณ ความเร็ว 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พร้อมบรรทุกผู้โดยสาร 1,000 คน ด้วยเชื้อเพลิงไฮโดรเจนเต็มถัง

ทั้งนี้ รถไฟพลังงานไฮโดรเจน ซิโนวา เอช2 ซึ่งใช้ไฮโดรเจนน้อยกว่า 0.3 กรัมต่อผู้โดยสารต่อกิโลเมตร จะช่วยลดการปล่อยคาร์บอน 730 ตันต่อปี เมื่ออ้างอิงระยะทางการเดินรถราว 3 แสนกิโลเมตรต่อปี

‘อินโนพาวเวอร์’ กวาดรายได้ครึ่งปีกว่า 150 ล้านบาท มั่นใจ!! เดินหน้าสู่เป้าหมายเติบโต 100% ภายในสิ้นปี

(21 ต.ค. 67) “อินโนพาวเวอร์” เปิดรายได้ครึ่งปีแรก 2567 เติบโตต่อเนื่อง มีรายได้รวม 151.4 ล้านบาท คิดเป็น 159% เมื่อเทียบกับรายได้ในช่วงเวลาเดียวกันของปี 2566 สะท้อนภาวการณ์เติบโตที่แข็งแกร่ง ในธุรกิจพลังงานสะอาดและเทคโนโลยีเพื่อความยั่งยืน หลังจากที่บริษัทประสบความสำเร็จในการขยายธุรกิจในปี 2566 และได้ประกาศตัวเป็น Decarbonization Partner มุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero Emissions 

นายอธิป ตันติวรวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อินโนพาวเวอร์ จำกัด เปิดเผย ผลประกอบการครึ่งปีแรกของปี 2567 ด้วยรายได้รวม 151.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นคิดเป็น 159% เมื่อเปรียบเทียบกับรายได้ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2566 โดยเฉพาะส่วนของ Future of Mobility (วิถีการเดินทางแห่งอนาคต) เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านยานยนต์สันดาปไปสู่ยานยนต์เชื้อเพลิงสะอาด ได้แก่ โซลูชั่นด้าน EV Fleet การติดตั้งสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า จำหน่ายเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งเติบโตสูงถึง 272% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกับปีก่อน 

ในส่วนของธุรกิจการซื้อขายใบรับรองเครดิตการผลิตพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Certificate :REC) เติบโตเพิ่มขึ้น 10% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันกับปีก่อน และมี Backlog ของ REC ที่ครอบคลุมการดำเนินงานต่อเนื่อง 

ทั้งนี้ธุรกิจหลักอื่น ๆ อย่าง ธุรกิจ Future of Energy (พลังงานแห่งอนาคต) ธุรกิจการให้คำปรึกษาและพัฒนานวัตกรรมทางด้านพลังงานและโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับพลังงานสะอาด รวมถึงการให้คำปรึกษาด้าน Sustainability และการจัดการก๊าซคาร์บอนในองค์กรก็เติบโตอย่างต่อเนื่อง ดัชนีดังกล่าวสะท้อนถึงการเติบโตที่แข็งแกร่งในธุรกิจพลังงานสะอาดและเทคโนโลยีเพื่อความยั่งยืนและบ่งชี้ให้เห็นศักยภาพของบริษัทในการบรรลุเป้าหมายรายได้เติบโต 100% ตามที่ตั้งเป้าไว้สำหรับปีนี้ ซึ่งได้ประกาศตัวเป็น “Decarbonization Partner” ที่มุ่งเน้นการตอบโจทย์เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์(Net Zero Emissions) และการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน

บริษัทฯ เริ่มดำเนินธุรกิจในปี 2565 และสามารถมีกำไรสุทธิเป็นบวกได้ในปี 2567 ซึ่งเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ถึงหนึ่งปี แสดงถึงความสามารถในการบริหารจัดการธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เพียงแต่ให้ความสำคัญกับรายได้เท่านั้น แต่บริษัทยังมุ่งเน้นการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยคำนึงถึงความพึงพอใจของลูกค้าและการสร้างคุณค่ากลับคืนสู่สังคมและสิ่งแวดล้อม ผ่านการสนับสนุนพันธมิตรในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งขณะนี้ได้ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปแล้วกว่า 805,000 ตัน 

นอกจากนี้ บริษัทได้บรรลุเป้าหมายในการสร้างพันธมิตรและลูกค้าเกินกว่า 100 ราย ได้เร็วกว่ากำหนดภายในครึ่งแรกของปี 2567 สะท้อนถึงความสำเร็จในการขยายเครือข่ายทางธุรกิจและการสร้างความร่วมมือในด้านการขายและการเป็นพันธมิตรที่แข็งแกร่ง 

"การเติบโตแบบก้าวกระโดดในปีที่แล้วที่รายได้เพิ่ม 700% เป็นเพียงจุดเริ่มต้น โดยในปี 2567 จะเห็นสัญญาณการขยายตัวของธุรกิจที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง และจะเป็นปีที่ดีอีกปีหนึ่งในการขับเคลื่อนพันธมิตรของเราไปสู่การลดคาร์บอน ด้วยการให้คำแนะนำ นำเสนอโซลูชันที่เหมาะสมที่สุดกับลูกค้าที่ช่วยให้สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่าต่อการลงทุน โดยในส่วนแผนงานครึ่งปีหลัง 2567 เรามุ่งมั่นที่จะผลักดันการเติบโตอย่างต่อเนื่องและมุ่งหวังให้สามารถเติบโต 100% ได้" นายอธิปกล่าว


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top