Friday, 23 May 2025
ประวัติศาสตร์ไทย

‘ผู้เขียนบท 2475 รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ’ เผยความโชคร้ายของไทยคือการเกิด ‘ศาลพิเศษ’ ในยุคของ จอมพล ป.

เมื่อวันที่ 6 ส.ค. 67 พรรครวมไทยสร้างชาติ ได้จัดกิจกรรมเสวนา 'มายาธิปไตย 2475 #เทสที่สร้างร่างที่เป็น' และรับชมภาพยนตร์ 2475 รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ ณ ห้องประชุมชั้น 12 อาคารศรีศรัทธา คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

สำหรับการเสวนาในหัวข้อ 'มายาธิปไตย 2475 #เทสที่สร้างร่างที่เป็น' นั้น หนึ่งในวิทยากรที่ขึ้นบรรยายได้แก่ นางสาวปัณฑา สิริกุล ผู้เขียนบทภาพยนตร์แอนิเมชัน ‘2475 Dawn of Revolution รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ’ ได้เล่าถึงเส้นเรื่องของประวัติศาสตร์และตั้งข้อสังเกตถึงบางช่วงบางตอนของประวัติศาสตร์ที่ไม่ปรากฏในตำราและหนังสือใด ๆ โดยเฉพาะการฉ้อโกง และดำเนินคดีกับผู้เห็นต่างทางการเมืองของคณะราษฎร ประกอบกับการนำข้อมูลของศาลพิเศษของหลวงพิบูลสงครามมาเป็นข้อมูลประกอบในหนังสือซึ่งขาดความน่าเชื่อถือ เพราะจากการสืบค้นและตรวจสอบข้อมูลพบว่า การให้การภายในศาลพิเศษนั้น ล้วนเต็มไปด้วยคำให้การเท็จเป็นจำนวนมาก

ในบางช่วงบางตอน โดยนางสาวปัณฑาระบุถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากเกิดเหตุกบฏบวรเดชว่า “ความโชคร้ายของประเทศไทย คือ…กบฏบวรเดชทำให้เกิดหลวงพิบูลสงครามขึ้น และต่อมาก็เกิดศาลพิเศษ ที่จำเลยไม่มีทนาย ไม่มีการอุทธรณ์หรือฎีกา เมื่อพิพากษาเสร็จให้บังคับคดีได้เลย”

11 ตุลาคม พ.ศ. 2476 ‘กบฏบวรเดช’ การก่อกบฏครั้งแรกของชาติไทย ศึกชิงอำนาจ ‘ขุนนางเก่าฝ่ายอนุรักษ์ฯ กับ คณะราษฎร’

เหตุการณ์ “กบฏบวรเดช” เกิดขึ้นในวันที่ 11 ตุลาคม 2476 ถือเป็นการก่อกบฏครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทย อันเป็นผลมาจากความขัดแย้งระหว่างขุนนางเก่าฝ่ายอนุรักษ์นิยมกับฝ่ายคณะราษฎรผู้ทำการอภิวัตน์การปกครองในปี 2475

โดยคณะทหารในนาม “คณะกู้บ้านกู้เมือง” นำโดย “พลเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช” อดีตเสนาบดีกระทรวงกลาโหม “พลตรี พระยาจินดาจักรรัตน์ (เจิม อาวุธ)” “พลตรี พระยาทรงอักษร (ชวน ลิขิกร)” และ “พันเอก พระยาศรีสิทธิสงคราม (ดิ่น ท่าราบ)” ได้นำกองกำลังทหารหัวเมืองจากนครราชสีมา สระบุรี และพระนครศรีอยุธยา บุกเข้ายึดดอนเมืองและพื้นที่ทางด้านเหนือของพระนคร โดยตั้งกองอำนวยการใหญ่อยู่ที่สโมสรทหารอากาศ กรมอากาศยาน ดอนเมือง ระหว่างวันที่ 11 - 25 ตุลาคม 2476

แล้วยื่นหนังสือเรียกร้องให้ฝ่ายรัฐบาลลาออก โดยอ้างเหตุผลว่า คณะรัฐมนตรีปล่อยให้มีการดูหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และไม่พอใจที่ “หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์)” ซึ่งคณะผู้ก่อการมองว่ามีความคิดแบบคอมมิวนิสต์ กลับมาร่วมคณะรัฐบาล

“พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)” นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ตอบปฏิเสธและส่งกำลังกองผสมนำโดย “หลวงพิบูลสงคราม (จอมพล ป.พิบูลสงคราม)” เข้าปราบปรามจนได้ชัยชนะในวันที่ 25 ตุลาคม 2476

จากนั้น “พลเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช” ได้เสด็จลี้ภัยการเมืองไปยังอินโดจีนของฝรั่งเศส ต่อมารัฐบาลได้ก่อสร้าง “อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ” (คนทั่วไปรู้จักกันในชื่อ “อนุสาวรีย์หลักสี่”) ขึ้นที่บริเวณหลักสี่ เขตบางเขน เพื่อเป็นที่ระลึกถึงเหตุการณ์ปราบกบฏในครั้งนี้

เหตุใด? ‘รัชกาลที่ ๔’ ต้องการ ‘ปราสาทขอม’ | THE STATES TIMES Story EP.155

เมื่อไม่นานมานี้ ในโซเชียลมีเดียได้มีการเผยแพร่เรื่องราวประวัติศาสตร์เกี่ยวกับ ‘พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว’ รัชกาลที่ ๔ และปราสาทนครวัดจำลองในพื้นที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม 

ซึ่งปราสาทจำลององค์นี้ ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๔ มีพระราชบัญชาให้ขุนนางได้จำลองมาไว้ ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องของการรื้อถอนปราสาทหินจากเขมรเพื่อนำมาไว้ในสยาม แต่ข้อมูลที่แชร์ในโซเชียลนั้นไม่บอกไว้ว่า เหตุใดล้นเกล้ารัชกาลที่ ๔ ถึงต้องรื้อปราสาทหินมาไว้ในพระนคร มีก็เพียงแต่ต้องการที่จะให้ชาวพระนครได้ชมปราสาทหินเขมร ซึ่งมันคือ ‘เรื่องปลายทาง’

วันนี้ THE STATES TIMES Story จึงอาสามาเล่าถึงเหตุผลจริง ๆ ของการจำลองปราสาทหินจากเขมร เรื่องราวจะสนุกขนาดไหน ไปฟังกัน…

ย้อนรอย ‘จอมขมังเวทย์’ ร่ายอาคม ลอบปลงพระชนม์เชื้อพระวงศ์ชั้นสูง | THE STATES TIMES Story EP.156

เรื่องเวทมนตร์ ไสยศาสตร์ อาคม ล้วนแต่เป็นความเชื่อที่อยู่คู่สังคมไทยมาช้านาน แม้ในปัจจุบันจะมีเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าล้ำสมัยมาก ๆ แล้ว แต่ความเชื่อในสิ่งที่มองไม่เห็น ก็ยังอยู่คู่คนไทยไม่จางหาย

ทั้งนี้ในอดีตประเทศของเรามี ‘กรมแพทยา’ ซึ่งคอยกำกับดูแลผู้ใช้จอมขมังเวทย์ คุณไสย และไต่สวนความผิดอันเนื่องมาจากการใช้เวทมนตร์ คาถา แต่สุดท้ายก็ถูกลดบทบาทและจางหายไปตามกาลเวลา

วันนี้ THE STATES TIMES Story มีเรื่องสนุกๆ เกี่ยวกับเวทมนตร์ คุณไสย และการใช้คุณไสย อาคมในการลอบปลงพระชนม์เชื้อพระวงศ์ชั้นสูง มีเกล็ดน่าสนใจมากมาย ไปฟังกัน…

ร.9 เสด็จพระราชดำเนินอีสาน: จุดเปลี่ยนประวัติศาสตร์จอมพล ป. | THE STATES TIMES Story EP.159

พฤศจิกายน 2498 การเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรภาคอีสานของในหลวง ร.๙ ไม่ใช่เพียงการพบปะประชาชนครั้งประวัติศาสตร์ แต่ยังกลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้สถานะของจอมพล ป. พิบูลสงคราม สั่นคลอนลงอย่างไม่คาดฝัน

ติดตามเรื่องราวการต่อรองอันแยบยล ความศรัทธาที่เปี่ยมล้นของประชาชน และบทเรียนทางการเมืองที่สะท้อนถึงพลังของ "ผู้นำที่แท้จริง"

ตำนานวันปีใหม่ไทย เปลี่ยนผ่านจาก 1 เมษา สู่ 1 มกรา | THE STATES TIMES Story EP.160

รู้หรือไม่? ประเทศไทยเคยเริ่มต้นปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน! 
จากบทเพลง 'เถลิงศก' สู่ 'พรปีใหม่' เพลงพระราชนิพนธ์ที่คนไทยร้องรับพรกันในวันปีใหม่ทุกปี 🎶
มาร่วมย้อนรอยตำนานการเปลี่ยนแปลงวันปีใหม่ไทย ที่สะท้อนประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และน้ำพระทัยของพระมหากษัตริย์ไทย 💛

บางกอกมีนไทม์: พระอัจฉริยะของรัชกาลที่ ๔ กับการสร้างเวลามาตรฐานสยาม | THE STATES TIMES EP.163

เคยสงสัยไหมว่า…
เวลาของประเทศไทยเริ่มต้นขึ้นอย่างไร?

ย้อนไปในยุครัชกาลที่ ๔ พระองค์ไม่เพียงแค่คำนวณสุริยุปราคาได้อย่างแม่นยำ แต่ยังวางรากฐาน "บางกอกมีนไทม์" (Bangkok Mean Time) เวลามาตรฐานแห่งสยาม ด้วยความรู้ด้านดาราศาสตร์และภูมิศาสตร์ล้ำยุค

ตั้งแต่ "นาฬิเก" ที่ลอยน้ำ...
สู่การตั้งหอนาฬิกาหลวงกลางพระบรมมหาราชวัง...
จนกลายเป็นเส้นเวลาของชาติ ก่อนที่โลกจะมี GMT อย่างเป็นทางการถึง 16 ปี!

เรื่องเล่าเบาๆ ที่จะทำให้คุณภูมิใจในพระปรีชาสามารถของพระมหากษัตริย์ไทยมากยิ่งขึ้น 

พระยาประดิพัทธภูบาล: ข้าราชการผู้ภักดี ถึงตายก็ไม่หวั่น! | THE STATES TIMES Story EP.164

มันจะฆ่า...ก็ไม่เสียดายชีวิต"
คำกล่าวสะเทือนใจจาก “มหาอำมาตย์ตรีพระยาประดิพัทธภูบาล” ผู้แสดงความจงรักภักดีต่อราชวงศ์จักรีอย่างเต็มหัวใจ ไม่หวั่นแม้ภัยจากคณะราษฎร

ชายผู้ไม่เพียงมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์การเมืองสยาม แต่ยังเป็นผู้ริเริ่มสร้างถนน สร้างแยก ช่วยเศรษฐกิจ นำสน-ปาล์มน้ำมันเข้ามาในประเทศ

เรื่องเล่าแห่งเกียรติยศ ความกล้าหาญ และคุณูปการที่ยังคงปรากฏอยู่จนถึงวันนี้ 

รัชกาลที่ ๓ : เจ้าสัวแห่งสยาม ผู้กู้เศรษฐกิจด้วยการค้าเสรี | THE STATES TIMES Story EP.16

ในห้วงเวลาที่สยามเพิ่งตั้งตัวได้ไม่เต็มที่...
ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๓ ทรงปรับเศรษฐกิจครั้งใหญ่ ด้วยสายพระเนตรอันยาวไกล เปิดการค้าเสรี ยกเลิกผูกขาด สร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และเตรียมสยามให้พร้อมเผชิญการล่าอาณานิคม

พระองค์ทรงได้รับการขนานนามว่า “เจ้าสัว” ด้วยพระปรีชาที่ผลักดันการค้าขายไปสู่ความรุ่งเรืองที่สุดในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ มีทั้งสนธิสัญญาเบอร์นี รายได้จากการค้าเสรี และนโยบายที่เปิดโอกาสให้สยามพัฒนาตัวเองโดยไม่ตกเป็นอาณานิคม

เรื่องเล่าอ่านเพลิน ๆ ที่จะทำให้คุณมองเห็น 'หัวใจเศรษฐกิจสยาม' ผ่านสายตาของกษัตริย์นักพัฒนา

พระผู้ซื่อตรงกลางพายุการเมือง สมเด็จฯ ศรี วัดระฆัง | THE STATES TIMES Story EP.166

ท่ามกลางความวุ่นวายในปลายกรุงธนบุรี...
พระอาจารย์ศรี วัดบางหว้าใหญ่ ถูกผลักตกต่ำเพราะยึดมั่นในพระธรรม แต่ด้วยความสัตย์ซื่อและความรู้แท้จริง ในที่สุดพระองค์ได้รับการเชิดชูคืนศักดิ์ เป็น สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก และกลายเป็นกำลังหลักสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งแรกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์

เรื่องราวแห่งการทนทุกข์ ความศรัทธา และชัยชนะของธรรมะ ที่ไม่ได้ไหว้กันเพราะ "ตัวบุคคล" แต่ไหว้ใน "ความสูงส่งของเพศบรรพชิต"


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top