Sunday, 2 June 2024
นายกรัฐมนตรี

‘นิด้าโพล’ เผย Top 5 นายกฯ ของคนกรุงเทพฯ ‘กรณ์’ ติดโผ โปรไฟล์ ‘ศก.-การเมืองรุ่นใหม่’ พาเบียด

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น ‘นิด้าโพล’ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง ‘คนที่ใช่ พรรคที่ชอบ ของคน กทม.’ ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 21-27 ตุลาคม 2565 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และมีสิทธิเลือกตั้งในกรุงเทพมหานคร ครอบคลุมพื้นที่ทั้ง 50 เขต กระจายทุกระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมทั้งสิ้น จำนวน 2,000 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับคนที่ใช่ พรรคที่ชอบ ของคน กทม. การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ ‘นิด้าโพล’ สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงบุคคลที่คนกรุงเทพมหานครจะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีในวันนี้ พบว่า…

อันดับ 1 ร้อยละ 20.40 ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล) เพราะ เป็นคนมีความมุ่งมั่น มีความรู้ความสามารถ เป็นคนรุ่นใหม่ และชื่นชอบนโยบายของพรรคก้าวไกล 

อันดับ 2 ร้อยละ 15.20 ระบุว่าเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เพราะ เป็นคนมีความซื่อสัตย์ ชื่นชอบผลงาน ทำให้บ้านเมืองสงบ และต้องการให้บริหารประเทศอย่างต่อเนื่อง 

อันดับ 3 ร้อยละ 14.10 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร (อุ๊งอิ๊งค์) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) เพราะ เป็นคนมีความรู้ความสามารถ และต้องการเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่เข้ามาบริหารประเทศ 

นายกฯ ส่งสารแสดงความเสียใจถึงผู้นำเกาหลีใต้ ต่อเหตุการณ์โศกนาฏกรรมอิแทวอน

‘ประยุทธ์’ ส่งสารแสดงความเสียใจถึงประธานาธิบดีและประชาชนเกาหลีใต้ แสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์โศกนาฏกรรมอิแทวอน

เมื่อวันที่ 1 ต.ค.พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ส่งสารแสดงความเสียใจ ต่อเหตุการณ์โศกนาฏกรรมที่ย่านถนนอิแทวอน กรุงโซล เกาหลีใต้ ถึงนายยุน ซ็อก-ย็อล ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ ว่า ตามที่ได้เกิดเหตุการณ์โศกนาฏกรรมในงานเทศกาลคืนวันฮาโลวีนที่ย่านถนนอิแทวอน กรุงโซล เกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา ในนามของรัฐบาลไทย ข้าพเจ้ารู้สึกเสียใจอย่างยิ่งที่ต่อเหตุการณ์แตกตื่นในวันฮัลโลวีนที่ย่านอิแทวอน ในกรุงโซล เมื่อวันที่ 29 ต.ค. 2565 ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมากซึ่งรวมถึงชาวไทยด้วย 

ในนามของรัฐบาลไทยและประชาชนชาวไทย ข้าพเจ้าขอแสดงความเสียใจต่อท่านและประชาชนเกาหลีใต้พร้อมครอบครัวที่สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักในโศกนาฏกรรมครั้งนี้ ขณะเดียวกันเราหวังว่าผู้บาดเจ็บจะหายเป็นปกติดีโดยเร็ว มั่นใจว่าภายใต้การนำและการกำกับดูแลของท่านและ รัฐบาลเกาหลีใต้จะสามารถคืนสถานการณ์ให้กลับสู่ภาวะปกติได้โดยเร็ว ทั้งนี้ประเทศไทยยืนหยัดเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกับชาวเกาหลีใต้ในช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้

นอกจากนี้ นายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรมว.ต่างประเทศได้มีข้อความสารถึงนายปัก จิน รมว.ต่างประเทศเกาหลีใต้ แสดงความเสียใจในนามของรัฐบาลไทยต่อเหตุการณ์ดังกล่าวด้วยเช่นกัน 

'นายก' เตือน!! ลอยกระทง ขอให้ระมัดระวังอุบัติเหตุ และคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ย้ำ!! อย่าให้กระทบกับแหล่งน้ำธรรมชาติ

ลอยกระทง ขอให้ระมัดระวังเรื่องอุบัติเหตุ และคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม อย่าให้กระทบกับแหล่งน้ำธรรมชาติ

พลเอกประยุทธ์  จันทร์โอชา  
นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม  
กล่าวเมื่อวันที่ 7 พ.ย.65

นายกรัฐมนตรี ย้ำ เทศกาลลอยกระทงต้องปลอดภัย และรักษาสิ่งแวดล้อม พร้อมระบุห่วงปัญหาอุทกภัยพื้นที่ภาคใต้ เร่งเยียวยา หลังภาคเหนือ -อีสาน -กลาง  น้ำลด  ขอขอบคุณเอกชน- ประชาสังคม  บริจาคผ่อนคลายความเดือดร้อน

ผู้เสียหายเหตุก่อสร้างสะพานข้ามถนนพระราม 2 ซึ้งลุง ขอบคุณที่ 'ช่วยเหลือ-แก้ปัญหา' ให้ทุกเรื่อง

โฆษกรัฐบาล เผย ผู้เสียหายจากเหตุก่อสร้างสะพานข้ามถนนพระราม 2 ขอบคุณนายกฯ ที่ช่วยเหลือให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ปัญหาตามข้อร้องเรียน จนได้รับเงินเยียวยาจากผู้รับเหมาแล้ว

นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 8 พ.ย. เวลา 08.45 น. ณ โถงกลาง ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการอำนวยความเป็นธรรมและเร่งรัดการปฏิบัติราชการ นำนายณัฐพล เดชเกศรินทร์ ผู้เสียหายจากเหตุก่อสร้างสะพานข้ามถนนพระราม 2 ซึ่งได้รับเงินชดเชยเยียวยาตามข้อร้องเรียนแล้ว พร้อมญาติ เข้าพบ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เพื่อแสดงความขอบคุณกรณีเหตุการณ์อุบัติเหตุรถบรรทุกพุ่งชนแผงคอนกรีต ที่ปิดกั้นพื้นที่ก่อสร้างบนทางหลวงหมายเลข 35 (ถนนพระราม 2) ทางหลักขาออกกรุงเทพฯ ประมาณกิโลเมตรที่ 35+475 จนทำให้ผู้เสียหายต้องสูญเสียขา 1 ข้าง 

'บิ๊กตู่' ตั้งเป้าพาไทยก้าวสู่อนาคตภายใต้บริบทโลกใหม่

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ‘ประยุทธ์ จันทร์โอชา Prayut Chan-o-cha’ เมื่อวันที่ 9 พ.ย. 65 ก่อนจะเดินทางไปประชุมสุดยอดอาเซียน ระหว่างวันที่ 10-13 พ.ย. ที่ประเทศกัมพูชา โดยระบุว่า  พี่น้องประชาชนชาวไทยที่รักครับ

ในช่วงวันที่ 10-13 พฤศจิกายนนี้ ผมมีภารกิจสำคัญในต่างประเทศ ในฐานะนายกรัฐมนตรี และตัวแทนประชาชนชาวไทย ในการเข้าร่วมประชุมสุดยอดในกรอบอาเซียน รวมทั้งกล่าวถ้อยแถลงในการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวม 16 การประชุม ณ ประเทศกัมพูชา ทั้งในลักษณะพหุภาคีและทวิภาคี ซึ่งนอกจากจะมีผู้นำ/ผู้แทนประเทศสมาชิกอาเซียน ประเทศคู่เจรจา อาทิ จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น สหรัฐฯ ออสเตรเลีย แคนาดา อินเดีย และนิวซีแลนด์แล้ว ยังมีเลขาธิการสหประชาชาติ ประธานคณะมนตรียุโรป เลขาธิการองค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ ตลอดจนหัวหน้า/ผู้แทนระดับสูงขององค์การระหว่างประเทศ ได้แก่ ธนาคารโลก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ธนาคารพัฒนาเอเชีย สถาบันวิจัยเศรษฐกิจเพื่ออาเซียนและเอเชียตะวันออก และคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิก ก็จะเข้าร่วมประชุมที่เกี่ยวข้องด้วย

ประเด็นสำคัญในการหารือกันในครั้งนี้ อยู่ภายใต้หลักคิด “อาเซียน เอ.ที.ซี. : รับมือความท้าทายร่วมกัน (ASEAN A.C.T. : Addressing Challenges Together)” ซึ่งครอบคลุมสิ่งที่อาเซียนและโลก ยังคงต้องเผชิญหน้าอยู่ ณ ช่วงเวลานี้ ในหลายมิติ ทั้งจากผลกระทบของโควิด-19 ความผันผวนทางภูมิรัฐศาสตร์ และสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างประเทศ ที่ล้วนส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางในทุกภูมิภาคของโลก โดยประเทศไทยของเราจะนำเสนอหลักคิดสำคัญ คือ “สร้างปัจจุบันให้เข้มแข็ง – ร่วมแรงสู่อนาคต – เคารพวิถีอาเซียน” ในการที่จะแสวงหาความร่วมมือกันในสาขาต่างๆ อาทิ 

'บิ๊กตู่' เสนอ 2 แนวทางอาเซียนเดินหน้า ท่ามกลางความท้าทายต่างๆ ที่โลกกำลังเผชิญ

พลังของอาเซียน ดึงฝ่ายต่าง ๆ ให้มาพบปะ
สัปดาห์นี้ มีการประชุมสุดยอดอาเซียน / G20 
ไทยเองก็จะเป็นเจ้าภาพประชุมเอเปค 
เราควรใช้โอกาสนี้เป็นเวที
สร้างปฏิสัมพันธ์ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา 
นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม
กล่าวในที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 41
เมื่อวันที่ 11 พ.ย. 65

นายกรัฐมนตรีร่วมประชุมการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 41 อย่างไม่เป็นทางการ เสนอแนวทางเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่กลไกที่อาเซียนมีบทบาทนำ พร้อมกระชับความสัมพันธ์กับคู่เจรจาและหุ้นส่วนภายนอกให้แน่นแฟ้น เพื่อดำเนินความสัมพันธ์อย่างสมดุล

เมื่อเวลา 10.30 น. ที่ห้อง Ballroom III ชั้น Lobby (L) โรงแรมสกคา พนมเปญ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 41 อย่างไม่เป็นทางการ (Retreat) มีผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียน 9 ประเทศ (เมียนมาไม่เข้าร่วม) และเลขาธิการอาเซียน เข้าร่วมประชุม เพื่อหารือเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับภาคีภายนอก และแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นต่อสถานการณ์และพัฒนาการที่สำคัญในภูมิภาคและระหว่างประเทศ นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยสาระสำคัญ ดังนี้

นายกรัฐมนตรี กล่าวเสนอ 2 แนวทางที่อาเซียนควรดำเนินการไปพร้อมๆ กัน ท่ามกลางสถานการณ์ความท้าทายต่างๆ ที่โลกกำลังเผชิญ ดังนี้

หนึ่ง เสริมสร้างความเข้มแข็งแก่กลไกที่อาเซียนมีบทบาทนำ โดยดึงศักยภาพของแต่ละกรอบมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และการดำเนินการของแต่ละกรอบมีการสอดประสานกัน ซึ่งจะช่วยส่งเสริมความเป็นแกนกลางของอาเซียน และสามารถรักษาคุณค่าทางยุทธศาสตร์ของโครงสร้างสถาปัตยกรรมภูมิภาคที่มีอาเซียนเป็นแกนกลาง  
สอง กระชับความสัมพันธ์กับคู่เจรจาและหุ้นส่วนภายนอกอื่น ๆ ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น บนพื้นฐานของความไว้วางใจระหว่างกัน ความเคารพซึ่งกันและกัน และผลประโยชน์ร่วมกัน โดยอาเซียนดำเนินความสัมพันธ์อย่างสมดุล เพื่อส่งเสริมเสถียรภาพและความมั่นคงในภูมิภาค 

‘บิ๊กตู่’ มั่นใจ ประชุมเอเปก 2022 จะสร้างประโยชน์ให้กับประเทศหลายด้าน วอนทุกคนช่วยกันต้อนรับแขกผู้มีเกียรติสู่ประเทศ

วันที่ 12 พ.ย. 65 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Prayut Chan-o-cha ระบุว่า…

เรียน พี่น้องประชาชนที่รักทุกท่าน

ในช่วงสัปดาห์ข้างหน้านี้ จะมีผู้นำและผู้แทนจากทั่วทั้งเอเชียแปซิฟิกและประเทศอื่นๆ เดินทางมาประเทศไทยเพื่อเข้าร่วมการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปก 2565 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง นับเป็นช่วงเวลาสำคัญของประเทศไทยที่ทั่วโลกจะมองมาที่เราในฐานะเป็นหนึ่งในเขตเศรษฐกิจที่มีบทบาทนำในการร่วมกำหนดนโยบายและบรรทัดฐานทางเศรษฐกิจของภูมิภาคและของโลก

เป็นสิ่งที่ประชาชนคนไทยทุกคนสามารถร่วมภาคภูมิใจได้ว่า ประเทศไทยของเราได้เดินหน้า และได้รับการยอมรับในด้านต่างๆ ในระดับโลก ทั้งเรื่องการเป็นหนึ่งในประเทศที่บริหารจัดการสถานการณ์โควิดได้ดีที่สุดในโลก และล่าสุด เมื่อวานนี้ ประเทศไทยได้รับการยอมรับจากองค์กรจัดอันดับความน่าเชี่อถือชั้นนำของประเทศญี่ปุ่น (Japan Credit Rating Agency) ปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทยขึ้นเป็นระดับ A ซึ่งรวมถึงปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือตราสารหนี้สกุลเงินบาท ขึ้นเป็นระดับ A+ และคงมุมมองความน่าเชื่อถือของประเทศไทยอยู่ในระดับมีเสถียรภาพ 

นายกรัฐมนตรี เสนอกุญแจสำคัญ 3 ดอก เพื่อร่วมพัฒนาอาเซียนให้เติบโตอย่างสมดุล มุ่งส่งเสริมความยืดหยุ่น ปรับตัว และยั่งยืน ในการประชุม ASEAN Global Dialogue ครั้งที่ 2 

เมื่อเวลา 08.20 น.วันที่ 13 พ.ย.ที่กรุงพนมเปญ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เข้าร่วมการประชุม ASEAN Global Dialogue ครั้งที่ 2 ในหัวข้อ “การเสริมสร้างประชาคมอาเซียนที่มีความยืดหยุ่นในการปรับตัวและมีความยั่งยืนในยุคหลังโควิด-19 (Building Resilient and Sustainable ASEAN in the Post COVID-19 Era)” 

โดยการประชุมนี้ เป็นการประชุมแบบ เต็มคณะ มีสมเด็จอัคคมหาเสนาบดีเดโชฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชาเป็นประธานการประชุม ประกอบด้วย 25 ประเทศ/หน่วยงาน 9 ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียน ญี่ปุ่น สหรัฐฯ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ จีน แคนาดา อินเดีย รัสเซีย สหภาพยุโรป และผู้แทนระดับสูงจากองค์การระหว่างประเทศ อาทิ สภาเศรษฐกิจโลก (WEF) องค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ (SCO) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ธนาคารโลก (World Bank) คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียแปซิฟิก (ESCAP) ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) และ สถาบันวิจัยเศรษฐกิจเพื่ออาเซียนและเอเชียตะวันออก (ERIA) รวมทั้ง องค์การอนามัยโลก (WHO) ซึ่งเข้าร่วมโดยส่งข้อความผ่านการบันทึกเทปล่วงหน้า 

การประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมครั้งที่ 2 จากที่เคยจัดเมื่อปี 2555 ซึ่งกัมพูชารื้อฟื้นกรอบการประชุมนี้ขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการนำเสนอวิสัยทัศน์ของผู้นำอาเซียนเกี่ยวกับการฟื้นตัวที่ยั่งยืนจากวิกฤตโควิด-19 เป็นเวทีแลกเปลี่ยนความเห็น ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ และแนวปฏิบัติที่ดีระหว่างอาเซียนกับองค์การระหว่างประเทศและร่วมกันกำหนดยุทธศาสตร์การฟื้นตัวอย่างยั่งยืนและครอบคลุม ตลอดจน ส่งเสริมความร่วมมือระดับภูมิภาคและความร่วมมือระหว่างประเทศ และส่งเสริมประชาคมอาเซียนที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง

นายกรัฐมนตรี กล่าวชื่นชมการรื้อฟื้นการประชุมนี้ เพื่อให้ผู้นำอาเซียนและผู้แทนระดับสูงจากองค์การระหว่างประเทศได้แลกเปลี่ยนทัศนะและร่วมกันหาแนวทางการฟื้นตัวและการเติบโตที่ยั่งยืนภายหลังสถานการณ์โควิด-19 โลกกำลังฟื้นตัวอย่างช้า ๆ แต่ยังมีความท้าทายอื่น ๆ อีกมาก ซึ่งเป็นเครื่องย้ำเตือนว่า อาเซียนจะต้องเร่งดำเนินการเพื่อสร้างอนาคตที่ยั่งยืนแก่ประชาชน โดยส่งเสริมความสมดุลและความยั่งยืนอย่างแน่วแน่ ซึ่งจะเป็นสิ่งสำคัญพื้นฐานที่จะช่วยให้เราสามารถปรับตัวต่อสภาวการณ์ต่าง ๆ และประคับประคองตนเองในสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนและไม่คาดคิด


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top