Thursday, 2 May 2024
ธรรมะ

ธรรมะประจำวันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม 2566 : หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ

ทำดีได้ความดี ทำชั่วได้ความชั่ว
ทำเหตุให้เกิดทุกข์ ก็ได้ความทุกข์
ทำเหตุให้เกิดสุข ก็ได้ความสุข
ทำเหตุให้เกิดความเสื่อม เราก็ได้ความเสื่อม
ทำเหตุให้เกิดความเจริญ เราก็ได้ความเจริญ
เราหนีจากผลที่เราทำไว้ไม่ได้

ธรรมะประจำวันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม 2566 : หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร

การเป็นคนดี...
ไม่ใช่อยู่ที่ความหล่อ หรือ สวย
มิใช่อยู่ที่ความร่ำรวย หรือ ยากจน
แต่อยู่ที่การฝึกตนให้เป็นคนมีศีลธรรม

ธรรมะประจำวันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม 2566 : หลวงปู่อุ่นหล้า ฐิตธมฺโม

ลองสังเกตดูนะว่า...
“คนที่ล้มเหลว”
มักเป็นประเภท “น้ำเต็มแก้ว”
ไม่เคยฟังใคร...
มีเหตุผลแก้ตัวให้ตนเองเสมอ
และที่สำคัญ ...
มักจะโยน “ความผิด” ให้คนอื่นเสมอ

ธรรมะประจำวันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2566 : สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

อยู่ให้เขาเบาใจ
ยามจากไปให้เขาอาลัยถึง
ไม่ใช่อยู่ให้เขาหนักใจ
จากไปให้เขาไล่ส่ง

ธรรมะประจำวันอาทิตย์ที่ 5 มีนาคม 2566

อายุมากขึ้น เราก็ใกล้ศพมากขึ้น
จากเดิมวัยเด็ก ไปงานศพนั่งไหนก็ได้
พอโตมา เจ้าภาพเรียกไปนั่งหน้าเรื่อย ๆ
จนในที่สุดก็ระดับเป็นเจ้าภาพ
พอใกล้มากขึ้นนั่งนานขึ้น
บ่อยเข้าเราก็เมื่อย พอเมื่อยถึงจุดหนึ่ง
เราก็เปลี่ยนจากนั่ง...มาเป็นนอนเอง

แด่...พุทธศาสนิกชน สมเด็จพระสังฆราชฯ ประทานพระคติธรรม  เนื่องในวันมาฆบูชา 6 มี.ค.2566

(5 มี.ค. 66) เพจสำนักงานเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช โพสต์ข้อความระบุว่า เนื่องในวันมาฆบูชา 6 มีนาคม 2566 เจ้าพระคุณ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประทานพระคติธรรม ความว่า…

“ดิถีมาฆบูชาได้เวียนมาบรรจบอีกคำรบหนึ่งแล้ว ดิถีเช่นนี้ชวนให้พุทธบริษัททุกหมู่เหล่ารำลึกถึงเหตุการณ์ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ ประทานแก่พระอรหันตสาวก 1,250 รูป ซึ่งล้วนอุปสมบทโดยวิธีเอหิภิกขุ เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น ณ ดิถีเพ็ญเดือน 3 อย่างไรก็ดี หากปีใดเป็นปีอธิกมาส วันมาฆบูชาจะตรงกับดิถีเพ็ญเดือน 4 ดังเช่นที่เกิดขึ้นในปีนี้

สารัตถะประการหนึ่งในโอวาทปาติโมกข์นั้นคือ การไม่ทำบาปทั้งปวง อันเป็นหัวใจพระศาสนาประการต้นที่พุทธบริษัททั่วหน้า พึงยึดถือเป็นหลักประพฤติให้ได้ ก่อนจะก้าวไปสู่การบำเพ็ญความความดีและการชำระใจให้บริสุทธิ์ บาปทั้งปวงตามหลักพระพุทธศาสนานั้น ประมวลอยู่ในอกุศลกรรมบถ 10 ประการ จำแนกเป็น กายกรรม 3 กล่าวคือการฆ่า การเอาของที่เจ้าของไม่ได้ให้ และการประพฤติผิดในกาม วจีกรรม 4 กล่าวคือ คำโกหก คำส่อเสียด คำหยาบคาย คำเพ้อเจ้อ และ มโนกรรม กล่าวคือ การเพ่งเล็งอยากได้ของเขา การคิดปองร้ายผู้อื่น และความเห็นผิด ครั้นเมื่อได้กระทำกรรมใดกรรมหนึ่งในอกุศลกรรมบถ 10 จึงถูกจัดว่าเป็นบาป

พุทธศาสนิกชนจึงมีหน้าที่ลด ละ และเลิกการกระทำบาปทั้งปวงแม้เล็กน้อย ซึ่งล้วนให้ผลเป็นความทุกข์ทำให้จิตใจเสื่อมคุณภาพ ยังอุปนิสัยให้กลายเป็นคนถนัดทำชั่ว จนท่วมท้นไปด้วยบาป ดั่งพระพุทธพจน์ที่ว่า

อุทพินฺทุนิปาเตน                 อุทกุมฺโภปิ  ปูรติ

อาปูรติ  พาโล  ปาปสฺส        โถกํ  โถกํปิ  อาจินํ.


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top