Tuesday, 20 May 2025
ฉะเชิงเทรา

แฉวีรกรรมแก๊ง ป.4 จัดหนักห้องเรียนซะเละ 'ทุบคอมพ์-ตัดสาย-เอากาวเท' ผอ.สั่งปิดข่าว

เมื่อวานนี้ (30 ม.ค. 67) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า แอคเคาต์เอ็กซ์ @RedSkullxxx ได้เปิดสภาพห้องเรียนของตึก EP ของโรงเรียนประถมแห่งหนึ่งใน จ.ฉะเชิงเทรา พังยับเยิน โดยอ้างว่าเป็นการกระทำของกลุ่ม นักเรียนชั้น ป.4 ที่รวมกลุ่มทำลายข้าวของ โดยระบุว่า

“นี่คือสภาพห้องเรียนของตึก EP ของโรงเรียนประถมแห่งหนึ่ง ในอำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา จากการถูกกลุ่มเด็กนรก ป.4 รวมกลุ่มกันทำลายข้าวของและจะเผาโรงเรียน

ข้าวของของโรงเรียนเสียหายมาก คอมพิวเตอร์โดนตัดสาย เอาค้อนทุบจอแตกหมดทุกเครื่อง เครื่องปริ้นก็เอากาวเท รวมทั้งโต๊ะครูด้วย สมุด หนังสือเรียนโดนเผา

แต่ประเด็นคือ ผอ.ห้ามครูพูด ห้ามให้เผยแพร่รูปภาพ ห้ามให้เป็นข่าว โดยบอกว่าเด็กแค่เล่นกันเป็นเรื่องปกติ เป็นแค่อุบัติเหตุโดยที่ไม่มีการลงโทษเด็กใดๆ ทั้งสิ้นด้วย

จนไอ้พวกเด็กที่ทำลอยหน้าลอยตา แล้วอวดในโรงเรียนว่าพวกกูนี่แหละเป็นคนทำ ไม่มีใครทำอะไรได้ ตอนนี้ ผอ.สั่งปิดข่าว ห้ามครูพูดที่ไหน ห้ามให้ส่งรูป ห้ามให้เรื่องดัง ถ้าเรื่องดังครูจะโดนโทษ เหตุเกิดเมื่อวาน (29 ม.ค.) สดๆ ร้อนๆ”

ทั้งนี้ ยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกว่า เมื่อวันศุกร์ที่แล้วคณะครูไปแฟมิลี่เดย์ พอกลับมาวันจันทร์เลยมาเจอห้องเป็นแบบนี้ ผอ.แค่เรียก ผปค.เด็กมารับทราบ และไม่ลงโทษเด็ก ผู้ชาย 3 ผู้หญิง 1 แต่โทษครูว่าไม่ล็อกห้อง จะล็อกยังไง กุญแจก็ไม่มีให้ และไม่เคยเกิดเรื่องแบบนี้เลย

อาทิตย์ที่แล้วพัสดุที่อยู่ตรงป้อมยามก็โดนเด็กกลุ่มนี้รื้อทิ้งเสียหาย ผอ.ก็โทษครูที่สั่งของมาเอง ทีนี้พอครั้งนั้นไม่โดนลงโทษก็ยังทำอีกรุนแรงกว่าเดิม กลัวจะเกิดเรื่องที่เสียหายกว่านี้ มีเด็กอนุบาลเยอะด้วย

ก่อนจะทิ้งท้ายว่า “ถ้าได้ภาพจากกล้องวงจรปิด จะส่งให้ ไม่แน่ใจว่า ผอ.สั่งลบรึยัง แต่มีแน่ๆ เพราะหลักฐานทุกอย่างที่จับได้ว่าใคร ได้มาจากกล้องวงจรปิด คิดว่าน่าจะกลัวเรื่องดังเลยต้องให้รีบๆ จบ”

ฉะเชิงเทรา-สภาอุตสาหกรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา มอบรถวีแชร์ ให้กับคนพิการและกลุ่มเปราะบางในจังหวัดฉะเชิงเทรา

วันนี้ 15 ก.พ. 67 ที่ โรงแรมซันธารา เวลเนส รีสอร์ท แอนด์ โฮเทล อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา นายกำพล สิริรัตตนนท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา ประธานพิธีมอบรถวีแชร์พื่อมอบให้ให้กับคนพิการและกลุ่มเปราะบางในจังหวัดฉะเชิงเทรา โดยมีนายจีรทัศน์ แจ่มไพบูลย์ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา กล่าวรายงาน พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการต่างๆที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมฯ

โดยสภาอุตสาหกรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา กล่าวว่าเนื่องด้วยปีมหามงคลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 พระชนมพรรษา 6 รอบ หรือ 72 พรรษา  (ผู้ร่วมบริจาค รวมจำนวนทั้งสิ้น 72 คัน มูลค่า 192,600 บาท) และจัดการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2567 และเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารสภาอุตสาหกรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา วาระปี 2567 – 2569  ณ ห้องชลธี 1  โรงแรมซันธารา เวลเนส รีสอร์ท แอนด์ โฮเทล อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา เวลา 14.00 – 15.00 น. จัดการรับฟังบรรยายพิเศษ เรื่อง  “ทิศทางยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมภาคตะวันออกและการขับเคลื่อน EEC” โดย ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ประธานสถาบันการสร้างชาติ เวลา 15.00-17.00 น. ร่วมประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2567 และเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารฯ วาระปี 2567 – 2569 ต่อไป

ผู้บริหารนิคมอุตสาหกรรม ฉะเชิงเทรา บลูเทค ซิตี้ เข้าร่วมรับฟังการบรรยายพิเศษและการประชุมใหญ่สามัญสมาชิกหอการค้าจังหวัดฉะเชิงเทรา ครั้งที่ 58 ประจำปี 2567

เมื่อวันที่ 27 มี.ค.67นางสาวกุลพรภัสร์ วงศ์มาจารภิญญา ประธานผู้บริหารนิคมอุตสาหกรรม ฉะเชิงเทรา บลูเทคซิตี้ ได้เข้าร่วมรับฟังการบรรยายพิเศษและการประชุมใหญ่สามัญสมาชิกหอการค้าจังหวัดฉะเชิงเทรา ครั้งที่ 58 ประจำปี 2567 ที่ ณ ห้องบางตลาด โรงแรม ที วินเทจ อําเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยมีท่านชลธี ยังตรง ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา ให้เกียรติเป็น ประธานกล่าวเปิดงาน พร้อมด้วยสมาชิก หอการค้าจังหวัดฉะเชิงเทรา 
โดย ดร.จิตรกร เผด็จศึก ประธานหอการค้าจังหวัดฉะเชิงเทรา กล่าวว่า หอการค้าจังหวัดฉะเชิงเทรา ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2528 เป็นเวลา 39 ปีเต็ม ที่หอการค้าจังหวัดฉะเชิงเทราได้มุ่งมั่น ดำเนินงานและกิจกรรมต่างๆ ตามภารกิจ "ส่งเสริมการค้า พัฒนาเศรษฐกิจ สร้างคุณค่าชีวิต" โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ซึ่งเป็นฐานสำคัญของความเข้มแข็ง ความมั่นคงของระบบเศรษฐกิจชุมชนท้องถิ่น ภายใต้ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่สามารถต่อยอดกับการพัฒนาด้านอื่นๆ ในพื้นที่ ทั้งเศรษฐกิจ สังคมชุมชน วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน โดยในการคำเนินโครงการกิจกรรมต่างๆ ของหอการค้าจังหวัดฉะเชิงเทรา มุ่งสู่การพัฒนาจังหวัดฉะเชิงเทรา ให้มีความเจริญเติบโต และเพิ่มขีดความสามารถรองรับโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ที่มุ่งเน้นการพัฒนาพื้นที่ 3 จังหวัด ในภาคตะวันออก ได้แก่ ระยอง ชลบุรี และฉะเชิงเทรา ซึ่งแผนการพัฒนาเล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาพื้นที่ ทั้งทางกายภาพและทางสังคม เพื่อเป็นการยกระดับ ความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน

ทั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรายงานผลการดำเนินงานในรอบปีที่ผ่านมา และร่วมกันแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาหอการค้าจังหวัดฉะเชิงเทรา และได้มีการ จัดบรรยายพิเศษแก่ผู้เข้าร่วมงาน หัวข้อ "EEC ต่อการพัฒนาเมืองฉะเชิงเทรา" โดยนางธัญรัตน์ อินทร รองขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และ จิตรรังสรรค์ ผู้อำนวยการโรงเรียนสุจิปุลิ โรงเรียนแนวคิดใหม่ในจังหวัดฉะเชิงเทรา

อนุชุมชนฯ ลงพื้นที่ฉะเชิงเทรา ขับเคลื่อนการเชื่อมโยงประโยชน์จากการลงทุนสู่ประชาชนและชุมชนในพื้นที่ อีอีซี

เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2567 คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการเชื่อมโยงประโยชน์จากการลงทุนสู่การพัฒนาพื้นที่และชุมชน นำโดย รองศาสตราจารย์มณฑล แก่นมณี ประธานอนุกรรมการ พร้อมด้วย นายธนาคม จงจิระ รองประธานฯ และอนุกรรมการ รวมทั้งผู้บริหาร สกพอ. นางธัญรัตน์ อินทร รองเลขาธิการฯ สายงานพื้นที่และชุมชน และเจ้าหน้าที่ สกพอ. นายอาทร เสริมศักดิ์ศศิธร ประธาน YEC และผู้ผแทน YEC ได้เดินทางลงพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อเรียนรู้แนวทางการช่วยเหลือเกื้อกูลกันของนิคมอุตสาหกรรม ฯ และชุมชนรอบโครงการอย่างเป็นรูปธรรม และการยกระดับผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นให้มีมูลค่าสูงขึ้นของวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ รวมถึงร่วมประชุมหารือกับหน่วยงานในพื้นที่และผู้นำท้องถิ่นเกี่ยวกับแนวทางการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกผ่านโครงการ EEC Tambon Mobile Team คณะอนุกรรมการฯ ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของ สกพอ. ได้ลงพื้นที่ประชุมหารือและศึกษาแนวทาง การดำเนินงาน 'เขาดิน โมเดล' 

ซึ่งเป็นตัวอย่างความสำเร็จของการช่วยเหลือเกื้อกูลและสนับสนุนส่งเสริมกันของนิคมอุตสาหกรรมฉะเชิงเทรา บลูเทค ซิตี้ และชุมชนรอบโครงการทั้งด้านที่ดิน ด้านอาชีพ และด้านสิ่งแวดล้อม ณ ศูนย์เรียนรู้ “ทุ่งสมุนไพรป่าชายเลน” แห่งแรกของประเทศไทย โดยมีนางสาวกุลพรภัสร์ วงค์มาจารภิญญาประธานผู้บริหารนิคมอุตสาหกรรมฉะเชิงเทรา บลูเทคซิตี้ ให้การต้อนรับ ทั้งนี้ ได้มีการหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางส่งเสริมผลิตภัณฑ์สมุนไพรในชุมชนให้มีมูลค่าสูงขึ้น และสามารถขยายช่องทางการตลาดได้มากขึ้น ซึ่งจะนำไปขยายผลในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมอื่น ๆ ต่อไป จากนั้น ได้เข้าเยี่ยมชมโรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนและระบบกักเก็บพลังงานแบบครบวงจร ของบริษัท บริษัท อมิตา เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นโรงงานที่ทันสมัยและใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน เกิดจากการร่วมลงทุนระหว่างกลุ่มบริษัทพลังงานบริสุทธิ์ กับ บริษัท อมิตา เทคโนโลยี (ไต้หวัน) ผลผลิตของโรงงานแห่งนี้ถือเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญในการขับเคลื่อนการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายในพื้นที่ อีอีซี  

นอกจากนี้ คณะอนุกรรมการฯ ได้ร่วมประชุมหารือร่วมกับนายศักรินทร์ ศรีสมวงศ์ นายอำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา และผู้นำท้องถิ่น ประกอบด้วย นายหิรัญ หริ่มเจริญ กำนันตำบลหนองตีนนก นายสมศักดิ์ ไหลไผ่ทอง ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 4 และนายเมืองแมน มนจ้อย ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 5 ตำบลหนองตีนนก และนายวิลาศ สุวินัย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองตีนนก เป็นต้น เกี่ยวกับแนวทางการทำงานร่วมกันในการสร้างการรับรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่ อีอีซี รวมทั้งการเตรียมพื้นที่และชุมชนให้มีความพร้อมและศักยภาพที่จะรองรับการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย ผ่านโครงการ EEC Tambon Mobile Team จากนั้น ได้เข้าเยี่ยมวิสาหกิจชุมชนเกษตรผสมผสานและการแปรรูปตำบลหนองตีนนก ซึ่งได้รับรางวัลชมเชยจากการประกวดวิสาหกิจชุมชนดีเด่น ระดับจังหวัด ประจำปี 2567 วิสาหกิจชุมชนแห่งนี้เกิดขึ้นจากการรวมกลุ่มกันของประชาชนในชุมชนเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารให้แก่สมาชิก ด้วยการปลูกผักและเลี้ยงสัตว์ด้วยวิธีการธรรมชาติ ให้สมาชิกมีอาหารที่ปลอดภัยอย่างเพียงพอ ส่วนรายได้ที่เกิดจาการจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรจะนำมาปันผลให้แก่สมาชิก และช่วยเหลือสมาชิกยามเจ็บป่วย มีการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อลดต้นทุนการผลิตและรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งสอดคล้องกับการประกอบธุรกิจแบบ BCG โดยคณะอนุกรรมการฯ จะนำข้อมูลและบทเรียนแห่งความสำเร็จไปเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนการเชื่อมโยงจากการลงทุนสู่พื้นที่และชุมชน ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญของคณะอนุกรรมการฯ ต่อไป

'เสธ.นุ้ย' นำทีม 'นักศึกษา วปอ.66' ทำกิจกรรมเพื่อสังคมในภาคตะวันออก  มอบ 'อุปกรณ์การแพทย์-เวชภัณฑ์-กีฬา' ยอดมูลค่าทะลุ 10 ล้านบาท

(21ก.ค.67) เพจ 'Wassana Nanuam' ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กถึงกิจกรรม CSR ของนักศึกษา วปอ.66 ระบุว่า...

One End : Ten ways

นักศึกษา วปอ.66 เดินหน้าทำกิจกรรม CSR พร้อมลงพื้นที่ดูงาน ภาคตะวันออก ตามแนวคิด 'วปอ.เพื่อสังคม' มียอดมูลค่าทะลุ 10 ล้านบาท มอบ อุปกรณ์การแพทย์ เวชภัณฑ์ อุปกรณ์กีฬา ในพื้นที่ 

'เสธ.นุ้ย' พลโท ฐิตวัชร์ เสถียรทิพย์ ประธาน นักศึกษา วปอ.66 และ คณะนักศึกษา วปอ.66 เดินหน้าทำกิจกรรม CSR ตามแนวคิด 'วปอ.เพื่อสังคม' โดยมียอดมูลค่า CSR ทะลุ 10 ล้านบาท 

ในการลงพื้นที่ ดูงานภาคตะวันออก ... ลูกหลานชาวระยอง ที่เรียน วปอ.66 นำโดย 'ดร.เอ้' ศ.ดร.สุชชีวีร์ หัวหน้าฝ่าย CSR คณะนักศึกษา วปอ.66 มอบอุปกรณ์ทางการแพทย์ เครื่องช่วยหายใจ เวชภัณฑ์และเครื่องกรองน้ำให้กับโรงพยาบาลประจำตำบล (รพ.สต.) ในพื้นที่อำเภอบ้านค่าย 15 แห่งและบริจาคเงินสิ่งของให้กับวัดหลวงพ่อโสธร รวมทั้งมอบเวชภัณฑ์และสิ่งของให้สถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการ จังหวัดฉะเชิงเทราด้วย

วปอ.66 ได้ทำกิจกรรม CSR ต่อเนื่องในทุกพื้นที่ที่ได้เข้าไปศึกษาดูงาน โดยเป็นสิ่งของบริจาคจาก นศ.วปอ.66 โดยไม่ใช้งบประมาณของทางราชการ ได้แก่ อุปกรณ์เครื่องช่วยหายใจ ยาและเวชภัณฑ์ อุปกรณ์กีฬา ข้าวสาร น้ำยาทำความสะอาดและสิ่งของจำเป็นสำหรับผู้เปราะบาง 

รวมทั้งได้ต่อยอดเป็นกิจกรรม CSV ตามโครงการ The Ten ของพลเอก ทรงวิทย์ หนุนภักดี ผบ.ทหารสูงสุด ภายใต้แนวคิด One End : Ten ways ซึ่งจะได้ประเมินผลและนำไปเป็นต้นแบบให้กับหลักสูตรต่างๆ หรือหน่วยงานอื่นๆ ต่อไป

ตะลึง!! อิทธิฤทธิ์ 'หมอคางดำ' ไม่จบแค่ทางน้ำ-ทางบก แต่พบมาทางอากาศจากนกกินปลา สำรอกสู่แหล่งน้ำใหม่

(23 ก.ค. 67) นายสมยศ จันทร์เกษม อายุ 67 ปี อดีตกำนัน ต.สองคลอง อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา ได้เปิดเผยว่า การระบาดอย่างรวดเร็วของปลาหมอคางดำในประเทศไทยตามที่กำลังตกเป็นกระแสข่าวใหญ่อยู่ในขณะนี้ นอกจากการแพร่ระบาดจะมาจากคนที่เป็นตัวการนำเข้ามาแล้ว ยังพบว่าการแพร่กระจายเข้ามายังในพื้นที่ ต.สองคลอง อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา นั้น มีการไหลมาตามกระแสน้ำในลำคลองที่เชื่อมต่อถึงกัน จากในเขตพื้นที่ ต.คลองด่าน อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ รวมถึงยังมีชายฝั่งทะเลอยู่ติดกันอีกด้วยนั้น

ปลาหมอคางดำยังสามารถแพร่กระจายเข้ามาทางอากาศได้ด้วย จากนกกินปลา ทั้งนกกระยางและนกกาน้ำที่สามารถดำดิ่งลงไปงมจับปลาจากได้น้ำขึ้นมากินได้ ก่อนที่จะคาบนำบินขึ้นไปสู่ท้องฟ้า และในขณะที่กำลังลอยอยู่บนอากาศ นกตัวที่กินอิ่มมากจนเต็มท้องแล้ว ยังมีการสำรอกหรือขย่อนตัวปลาที่ยังไม่ตายออกมา จนปลาหลุดจากปากที่กำลังคาบอยู่ ตกลงไปยังในแหล่งน้ำธรรมชาติ และบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของชาวบ้าน จึงทำให้การแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำสามารถกระจายตัวไปได้กว้างไกลมากยิ่งขึ้นด้วย

นอกจากนี้ ไข่ของปลาหมอคางดำ ที่มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมสูง ตามที่มีการเผยแพร่ข่าวกันว่าที่ จ.สมุทรสงคราม เกษตรกรตากบ่อปลาทิ้งเอาไว้เป็นเวลานานกว่า 2 เดือนแล้ว ยังสามารถฟักออกมาเป็นตัวได้อีก จึงเชื่อว่าปลาหมอคางดำที่ถูกนกกระยาง และนกกาน้ำ ซึ่งเป็นนกที่มีอยู่ในพื้นที่ อ.บางปะกง นั้น กินเข้าไปแต่ในตัวปลายังมีไข่อยู่ในท้องด้วย เมื่อนกถ่ายมูลออกมาลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ หรือชายฝั่งทะเลในบริเวณนี้แล้ว ไข่ปลาอาจจะยังไม่ตายและฟักเป็นตัวออกมาก็อาจเป็นไปได้ จึงถือเป็นช่องทางที่ทำให้เกิดการแพร่ระบาดกระจายตัวไปได้ไกลเพิ่มมากขึ้น อีกทางหนึ่งด้วย

โดยเฉพาะพื้นที่ในตำบลสองคลองนั้น ชาวบ้านส่วนใหญ่เกือบทุกครัวเรือน ล้วนแต่ประกอบอาชีพเกี่ยวกับทางด้านประมง และเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ จึงมีแหล่งน้ำทั่วไปอยู่เต็มพื้นที่ และอาจเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของปลาหมอคางดำที่ลอยมาจากบนฟ้าได้ด้วย ซึ่งชาวบ้านแถวนี้เคยพบเห็นกันบ่อยในบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ที่มักจะมีปลาหลงเข้ามาปะปนอยู่ในบ่อเลี้ยง ทั้งที่ไม่ได้เลี้ยงปลา หรือปล่อยปลาลงไปในบ่อเลี้ยง เช่น บ่อเลี้ยงหอยแครง บ่อเลี้ยงกุ้ง จึงเรียกปลาที่หลุดเข้ามาในบ่อจากทางอากาศว่า ‘ปลาลอยฟ้า’

“และเมื่อนำปลาหมอคางดำที่จับมาได้ นำมาผ่าท้องดู แม้จะเห็นว่าเป็นปลาหมอคางดำตัวขนาดเล็กแค่เพียงประมาณ 3 นิ้ว ในท้องก็ยังพบว่ามีไข่อยู่เต็มท้องแล้ว” นายสมยศ กล่าว

สมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทยจัดโครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการให้ความช่วยเหลือคนพิการทางจิตและการบูรณาการความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชนรุ่นที่ 5 ภาคตะวันออก

เมื่อวันอังคารที่ 6 สิงหาคม 2567 นายกำพล สิริรัตตนนท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงานโครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการให้ความช่วยเหลือคนพิการทางจิต 
และการบูรณาการความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน รุ่นที่ 5 ภาคตะวันออก พร้อมด้วย นางนุชจารี คล้ายสุวรรณ  นายกสมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทย / กรรมการและที่ปรึกษาสมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทย กรรมการภาคตะวันออกผู้แทนตำรวจภูธรภาค 2 ผู้แทนตำรวจภูธรจังหวัดนครนายกผู้แทนจากหน่วยงานสาธารณสุข ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกผู้แทนจากกรมสุขภาพจิต และผู้มีเกียรติ ร่วมงานระหว่าง วันที่ 5 – 7 สิงหาคม 2567 ณ ห้องประชุมโรงแรมที วินเทจ ต.ท่าทองหลาง อ.บางคล้า  จ.ฉะเชิงเทรา

นายกำพล สิริรัตตนนท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา กล่าวว่าจากคำกล่าวรายงานของ น.ส.ฐิติพร  พริ้งเพลิด  อุปนายกสมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทย คนที่ 2 ทำให้ทราบถึงความเป็นมา และวัตถุประสงค์ของการจัดโครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการให้ความช่วยเหลือคนพิการทางจิตและการบูรณาการความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชนในวันนี้ 

ซึ่งต้องการให้ผู้เข้าร่วมงานทุกท่าน ได้รับความรู้ มีความเข้าใจ ในเรื่องสิทธิด้านต่างๆ สำหรับคนพิการ โดยเฉพาะการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูง ต่อการก่อความรุนแรง และการฆ่าตัวตาย รวมทั้ง เน้นให้เห็นความสำคัญของครอบครัว เพื่อลดความรุนแรง รวมทั้งเพื่อให้ได้แนวทางและขั้นตอนในการให้ความช่วยเหลือคนพิการทางจิตอย่างถูกวิธี ตามพระราชบัญญัติสุขภาพจิต และพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

น.ส.ฐิติพร พริ้งเพลิด อุปนายกสมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทย คนที่ 2 กล่าว โครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการให้ความช่วยเหลือคนพิการทางจิตและการบูรณาการความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน รุ่นที่ 5 ภาคตะวันออก จัดขึ้น เพื่อให้เกิดแกนนำเครือข่ายภาคปฏิบัติ ที่มีความรู้ความเข้าใจขั้นตอนการให้ความช่วยเหลือคนพิการทางจิตเมื่ออยู่ในภาวะต่างๆได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และทันเหตุการณ์ เพื่อให้ได้แนวทาง และขั้นตอนในการให้ความช่วยเหลือคนพิการทางจิตอย่างถูกวิธี ตามพระราชบัญญัติสุขภาพจิต และ พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ จากการทำแผนงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในพื้นที่และส่วนกลาง สมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทย  ก่อตั้งเมื่อวันที่  27  มีนาคม  2546 จนถึงปัจจุบัน รวมระยะเวลา  21 ปี

การจัดโครงการฯในวันนี้ จะดำเนินการระหว่างวันที่  5 – 7 สิงหาคม 2567 โดยจะมีการจัดกิจกรรมทั้งหมดจำนวน 5 รุ่น แบ่งเป็น รุ่นที่ 1 ภาคเหนือ จำนวน 140 คน รุ่นที่ 2 ภาคกลาง จำนวน 139 คน รุ่นที่ 3 ภาคอีสาน จำนวน 154 คน รุ่นที่ 4 ภาคใต้ จำนวน 117 คน  และรุ่นที่ 5 ภาคตะวันออก จำนวน 76 คน รวมกลุ่มเป้าหมายทั้งโครงการจำนวน 626 คน 

โดยกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการในรุ่นที่ 5 ภาคตะวันออก ประกอบด้วยคณะกรรมการภาคตะวันออกหรือผู้แทน คณะกรรมการและกรรมการที่ปรึกษาสมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทยหรือผู้แทน ที่ปรึกษาสมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทย ผู้แทนตำตรวจภูธรภาค 2 และผู้แทนตำรวจภูธรจังหวัดนครนายก ผู้แทนจากหน่วยงานสาธารณสุขในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกผู้แทนจากกรมสุขภาพจิต ผู้สังเกตการณ์ วิทยากรและคณะทำงาน รวมจำนวน  76 คน  

ฉะเชิงเทรา-สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เสริมสร้างความเข้มแข็งองค์กรผู้ใช้น้ำระดับลุ่มน้ำ 'ลุ่มน้ำบางปะกง' ทั้ง10 จังหวัด

วันที่ 5 -6 ส.ค.67 ณ.โรงแรมซันธารา เวลเนส รีสอร์ท แอนด์ โฮเทล อ.เมือง ฉะเชิงเทรา นางสาวธารทิพย์ จันทร์พิทักษ์ ผู้อำนวยการกลุ่มประสานงานลุ่มน้ำบางปะกง สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ภาค 2 สำนักนายกรัฐมนตรี (สทนช.) และสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ได้ขับเคลื่อนโครงการ เสริมสร้างความเข้มแข็ง ขององค์กรผู้ใช้น้ำ ในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำบางปะกง ทั้ง 10 จังหวัดเข้าร่วมประชุมหารือ เพื่อขับเคลื่อนผู้แทนองค์กรผู้ใช้น้ำจากภาคเกษตรกรรม 243 องค์กร ,ภาคอุตสาหกรรม 46 องค์กร,ภาคพาณิชยกรรม 16 องค์กร ได้ร่วมหารือ สภาพปัญหาด้านทรัพยากรน้ำ รวมถึงเป็นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ในระดับท้องถิ่นให้เป็นที่ยอมรับจากทุกภาคส่วน และรับฟังข้อเสนอแนะจากผู้แทนองค์กรต่าง ๆ เพื่อกำหนดแนวทางพัฒนากลุ่มลุ่มน้ำบางปะกงสู่ความยั่งยืนต่อไป

‘จนท.’ เผย ‘เครื่องบินตก’ อ.บางปะกง พบชิ้นส่วนมนุษย์แล้ว 23 ชิ้น เร่งตรวจสอบอัตลักษณ์ คาด!! กระจายคาบเกี่ยวพื้นที่ชาวบ้าน

(23 ส.ค.67) เจ้าหน้าที่กองพิสูจน์หลักฐาน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้เดินทางมาตรวจสอบที่เกิดเหตุเครื่องบินตก อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา

โดยมีการหารือกับ นายวสุวัสน์ เมฆอังกูรสิน หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการค้นหาร่างผู้เสียชีวิต กู้ภัยฉะเชิงเทรา เพื่อวางแผนร่วมกันเก็บหลักฐานในที่เกิดเหตุ โดยเฉพาะในจุดที่เครื่องบินตกลงไป ซึ่งคาดว่าน่าจะลึกประมาณ 10 เมตร

สำหรับแผนในวันนี้จะให้เจ้าหน้าที่กู้ภัยร่วมกับเจ้าหน้าที่กองพิสูจน์หลักฐาน ใช้รถแบคโฮขุดตรงบริเวณจุดดังกล่าว โดยจะมีเจ้าหน้าที่กู้ภัย และ พฐ. ใช้มือในการค้นหาคัดแยกชิ้นส่วนของมนุษย์ และชิ้นส่วนของเครื่องบิน

โดยคาดว่าชิ้นส่วนมนุษย์จะมีการกระจายในรัศมีโดยรอบที่เกิดเหตุ ซึ่งคาบเกี่ยวพื้นที่ของชาวบ้าน จึงต้องประสานขอความร่วมมือจากชาวบ้านในการค้นหา เบื้องต้นมีการพบชิ้นส่วนมนุษย์แล้ว 23 ชิ้น อยู่ระหว่างตรวจสอบอัตลักษณ์ว่าเป็นของบุคคลใด

ขณะที่ พล.ต.ต.ฉัตรชัย นันทมงคล ผบก.สพฐ.2 เปิดเผยว่า เจ้าหน้าที่ พฐ. จะเป็นคนจำแนกชิ้นส่วนหากหาพบ ส่วนกู้ภัยจะเป็นผู้เก็บชิ้นส่วนขึ้นมาจากจุดเกิดเหตุ

‘เอกนัฏ’ ลุยกวาดล้าง!! โกดังโรงงานเถื่อน อ.แปลงยาว จ.ฉะเชิงเทรา พบ!! ครอบครองวัตถุอันตราย เตรียมขยายผลรวบเจ้าของโรงงาน

(9 พ.ย. 67) นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ส่งชุดตรวจการณ์สุดซอยกระทรวงอุตสาหกรรม นำโดย นางสาวฐิติภัสร์ โชติเดชาชัยนันต์ หัวหน้าคณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) เจ้าหน้าที่ตำรวจสอบสวนกลาง กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (บก.ปทส.) และ กรมควบคุมมลพิษ ขอหมายค้นจากศาลจังหวัดฉะเชิงเทรา ตรวจค้นพื้นที่ของบริษัท เอวาย แอลพี จำกัด อำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา ประกอบธุรกิจให้เช่าโกดัง อาคารโรงงาน เจ้าหน้าที่ตรวจสอบพบโรงงาน ภายในโกดังจำนวน 9 โกดัง ไม่มีชื่อ ไม่มีใบอนุญาต ลักลอบประกอบกิจการ และครอบครองวัตถุอันตราย 

นอกจากนี้ ยังได้ตรวจสอบโรงงานบริษัท ฟู่อี้ อีเล็คทรอนิคส์ แอนด์ พลาสติก รีไซเคิล จำกัด ในบริเวณใกล้เคียงอีก 2 โรงงาน พบขยายโรงงานโดยไม่ได้รับอนุญาตและฝ่าฝืนคำสั่งระงับการตั้งและประกอบกิจการโดยไม่รับอนุญาต

นางสาวฐิติภัสร์ เปิดเผยว่า เจ้าหน้าที่ กรอ. พร้อมเจ้าหน้าที่ตำรวจ บก.ปทส.ได้อายัดเครื่องจักร และวัตถุดิบที่คาดว่าเป็นวัตถุอันตราย พร้อมดำเนินคดีกับชาวอินเดีย 1 ราย ที่เป็นผู้ดูแลโรงงาน และเจ้าของบริษัท เอวาย แอลพี จำกัด โดยจะมีการขยายผลดำเนินคดีไปยังเจ้าของโรงงานทั้งหมด

‘รัฐมนตรีฯ เอกนัฏ’ ได้เน้นย้ำ กระทรวงอุตสาหกรรมมุ่งมั่นที่จะปฏิรูปอุตสาหกรรมไทยผ่านการขับเคลื่อนนโยบาย ‘สู้ เซฟ สร้าง’ สู้กับผู้ประกอบการที่ทำผิดกฎหมายทำร้ายประชาชนและสร้างมลพิษ โดยปรับการบริหารจัดการกากอุตสาหกรรมทั้งระบบ เพื่อคืนสิ่งแวดล้อมที่ดีให้กับประชาชนและชุมชน หัวหน้าคณะทำงานรัฐมนตรีฯ ฐิติภัสร์ กล่าวทิ้งท้าย


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top