Sunday, 12 May 2024
จันทบุรี

จันทบุรี – เหล่ากาชาดจังหวัดจันทบุรี มอบบ้านตามโครงการ "บ้านรัฐร่วมราษฎร์ กาชาดร่วมใจ" เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

บ่ายวันนี้ ( 18 ส.ค.64 ) ที่บ้านเลขที่ 54/11 หมู่ที่ 1 ต.เขาแก้ว อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี นายสุธี ทองแย้ม ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี พร้อมด้วย นางสุนิชฌาน์ ทองแย้ม นายกเหล่ากาชาดจังหวัดจันทบุรีได้นำคณะกรรมการเหล่ากาชาด นายอำเภอท่าใหม่ หัวหน้าส่วนราชการ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมเป็นสักขีพยานในการมอบบ้าน ตามโครงการ "บ้านรัฐร่วมราษฎร์กาชาดร่วมใจ" เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ประจำปี 2564

ให้แก่ นายไพเลิศ ฐิตะรัตน์ อายุ 74 ปี ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป ปัจจุบันอาศัยอยู่กับ นางทองอิน ฐิตะรัตน์  ( ภรรยา) อายุ 62 ปี ซึ่งป่วยเป็นโรคมะเร็งปากมดลูก และได้รับการรักษา โดยการฉายรังสี และนายกฤษฎา ฐิตะรัตน์ ลูกชาย  อายุ 34 ปี ซึ่งป่วยเป็นโรคหัวใจร่างกายไม่แข็งแรงและไม่ได้รับการรักษา ในด้านที่พักอาศัย บ้านหลังเดิมมีสภาพชำรุดทรุดโทรมจนไม่สามารถอาศัยอยู่ได้ ซึ่งการสร้างบ้านตามโครงการ "บ้านรัฐร่วมราษฎร์ กาชาดร่วมใจ"เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ หลังนี้ สำนักงานเหล่ากาชาดจังหวัดจันทบุรีสนับสนุนงบประมาณในการก่อสร้าง รวม 200,000 บาท / คุณอิงบุญ ศรีพรหมมา กรรมการเหล่ากาชาด อ.ท่าใหม่ สมทบระบบไฟฟ้า 5,000 บาท / กำนันผู้ใหญ่บ้านตำบลเขาแก้ว สมทบระบบไฟฟ้า 5,000 บาท

โอกาสนี้ เหล่ากาชาดจังหวัดจันทบุรี และ อำเภอท่าใหม่ได้จัดถุงยังชีพมอบให้แก่ประชาชนในพื้นที่ ต.เขาแก้ว ที่กักตัวเองและผู้ยากไร้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิดมอบผ่านผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องที่จำนวน 50 ชุด


ภาพ/ข่าว จรัล บรรยงคเสนา จ.จันทบุรี

พรเทพ เขม้นเขตวิทย์ รายงานจากศูนย์ข่าวภาคตะวันออก

จันทบุรี - ไรเดอร์รับส่งอาหารในจังหวัดจันทบุรีกว่า 100 คน รวมตัวยื่นหนังสือให้ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัด เรียกร้องความเป็นธรรมในการจ่ายค่าตอบแทน

วันนี้ (1 ก.ย. 64) ที่หน้าศาลากลางจังหวัดจันทบุรี ไรเดอร์รับส่งอาหาร ไลน์แมน กว่า 100 คน ได้รวมตัวกันมายื่นหนังสือเรียกร้องขอความเป็นธรรมมอบให้กับศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดจันทบุรี เนื่องจากได้รับความไม่เป็นธรรมในเรื่องค่าตอบแทนในการรับส่งอาหาร โดยในปัจจุบันได้ค่าตอบแทนรับส่งอาหารรอบละ 17 บาท จากที่ตอนแรกตกลงกันที่ 17 +4 บาท และถ้าช่วงที่มีฝนตกจะได้ค่าตอบแทนเพิ่มอีก 10 บาท เป็น 27 บาท ซึ่งในตอนนี้ไลน์แมนได้เปิดวิ่งในจังหวัดมาแล้ว 1 เดือนไม่มีค่าตอบแทนที่เพิ่มขึ้นแต่อย่างใด จึงได้ลงความเห็นกันแล้วว่าค่ารอบที่วิ่งนั้นไม่คุ้มกับค่าน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ค่าโทรศัพท์ รวมทั้งค่าสึกหรอของรถ จึงได้รวมตัวกันมายื่นหนังสือเรียกร้องความเป็นธรรม 

โดยมี นายภิชาติ โพธิ์บาทะ ผู้อำนวยการศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดจันทบุรี เป็นผู้รับมอบหนังสือร้องเรียนสำหรับข้อเรียกร้องของไรเดอร์รับส่งอาหาร ที่ได้รวมตัวกันในวันนี้คือ

1.ขอศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดจันทบุรีช่วยประสานงานติดต่อขอตัวแทนที่เจรจากับบริษัทได้เนื่องจากในจังหวัดไม่มีตัวแทนที่ติดต่อพูดคุยได้ ไม่มีสำนักงานในจันทบุรี

2.ต้องการค่าตอบแทนต่อรอบเริ่มต้นที่ 30 บาท และบวกเพิ่มตามระยะทางตามความเหมาะสม

3.ให้บริษัทพิจารณาเรื่องการจ่ายงานในระยะไกลที่ไรเดอร์ห่างจากร้านเกิน 4 กิโลเมตรและบวกค่ารอบตามความเหมาะสม

4 .ขอให้ทางบริษัททำการประชาสัมพันธ์ให้มากกว่านี้ ไม่ว่าจะเป็นทางเพจ หรือป้ายประชาสัมพันธ์ และโค้ดส่วนลดต่าง ๆ เพื่อให้ลูกค้าได้รับข้อมูลอย่างทั่วถึง ทั้งนี้ในวันนี้ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดจันทบุรี ได้รับหนังสือข้อเรียกร้องขอความเป็นธรรมแล้ว จากนั้นจะนำไปดำเนินการติดต่อเพื่อให้ความเป็นธรรมต่อไป


ภาพ/ข่าว จรัล บรรยงคเสนา จ.จันทบุรี

พรเทพ เขม้นเขตวิทย์ รายงานจากศูนย์ข่าวภาคตะวันออก

จันทบุรี - มูลนิธิคุณพุ่ม มอบทุนการศึกษาแก่เด็กพิเศษผ่านตัวแทนผู้ปกครอง นักเรียนเด็กพิเศษในจังหวัดจันทบุรีภายใต้มาตรการป้องกันโควิด-19 แบ่งเบาภาระผู้ปกครอง ส่งเสริมการศึกษาของเด็กพิเศษเยาวชนไทย

วันนี้ 7 ก.ย. 64 ที่ ห้องประชุมจันทบูร ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดจันทบุรี ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดจันทบุรีได้จัดพิธีมอบทุนสนับสนุนการศึกษาสำหรับเด็กออทิสติกและเด็กพิการในมูลนิธิคุณพุ่ม ประจำปี 2564 โดยนายสุธี ทองแย้ม ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรีเป็นประธานนำหัวหน้าส่วนราชการ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้ปกครองร่วมพิธีภายใต้มาตรการป้องกันโควิด-19 เว้นระยะห่าง

โดยปีนี้เป็นการมอบทุนผ่านผู้ปกครองและนักเรียนที่เป็นตัวแทนจำนวน 25 ทุน ที่เหลือ 77 ทุน เป็นการโอนผ่านบัญชีธนาคาร รวมทั้งสิ้น 102 ทุน ทั้งนี้สืบเนื่องจากทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทรงมีพระกรุณาธิคุณ ประทานทุนสนับสนุนการศึกษาสำหรับเด็ก ออทิสติก และเด็กพิการในมูลนิธิคุณพุ่ม เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเด็กและเยาวชนพิการให้ตรงตามความจำเป็นเฉพาะบุคคล ได้รับการพัฒนาศักยภาพของตนเองตามพระประสงค์ และในปีการศึกษา 2563 ทรงประทานทุนให้กับเด็กออทิสติก เด็กพิการซึ่งมีฐานะยากจน และขาดโอกาสจากทั่วประเทศ จำนวน 10,633 ทุน และศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดจันทบุรี ได้รับการจัดสรรโควตา จำนวน 102 ทุน ทุนละ 5,000 บาท รวมเป็นเงิน 510,000 บาท

ซึ่งตัวแทนผู้ปกครองของเด็กนักเรียนศูนย์การศึกษาพิเศษ จังหวัดจันทบุรีที่ได้รับพระราชทานทุนฯ ได้กล่าวคำสำนึกในพระกรุณาธิคุณ และสัญญาว่าจะนำทุนที่ได้รับในครั้งนี้ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่าที่สูงสุดเพื่อให้ผู้พิการได้รับการพัฒนาตามศักยภาพของตนเองตามพระประสงค์ของทูลกระหม่อมฯและวัตถุประสงค์ของมูลนิธิคุณพุ่มต่อไป

โอกาสนี้ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรีได้เยี่ยมชมสถานที่จัดการเรียนการสอนเตรียมพร้อมหากสถานการณ์โควิด คลี่คลายจะได้พร้อมกลับมาสอนเด็กได้ตามปกติ 


ภาพ/ข่าว จรัล บรรยงคเสนา จ.จันทบุรี / พรเทพ เขม้นเขตวิทย์ รายงานจากศูนย์ข่าวภาคตะวันออก

จันทบุรี - ชาวประมงไม่ทน! รัฐบาล 7 ปี ไม่มีอะไรดีขึ้น ขอทวงคืนอาชีพประมงให้ชาวไทย ยื่นฎีกาถวายในหลวงรัชกาลที่ 10 เพื่อขอความช่วยเหลือชาวประมง

ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่ไปยัง  ท่าเทียบเรือแบบเบ็ดเสร็จ ต.ปากน้ำแหลมสิงห์ อ.แหลมสิงห์ จ.จันทบุรี  หลังชาวประมงมีการโพสข้อความลงสื่อโซเชียล และ มีการติดป้ายไวนิล ตามสถานที่ต่าง ๆ เพื่อแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ โดยระบุข้อความว่า “ 21 กันยายน 64 วันประมงแห่งชาติ วันทวงคืน อาชีพประมงไทย 7 ปี ฉิบหายหมดแล้ว ประมงไทย และประมงไทย Call Out ”

เรื่องนี้ผู้สื่อข่าวได้พูดคุยกับ นายภูมินทร์ ภาณะรมย์  นายกสมาคมประมงแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี  เปิดเผยว่า  สืบเนื่องจากสมาคมการประมงแห่งประเทศไทยมีการประชุมคณะกรรมการบริหารและที่ปรึกษา ครั้งที่ 1 ผ่านระบบ ZOOM เมื่อวันที่ 1 มิ.ย.2564 ผลสรุปในการประชุม ก็ได้มีการพูดถึงจะมีการจัดกิจกรรม เนื่องในวันประมงแห่งชาติ วันที่ 21 กันยายน 2564

โดยคณะกรรมการมีมติให้สมาคมการประมงแห่งประเทศไทย ขึ้นป้ายเพื่อแสดงออกทางสัญลักษณ์ ไว้ ณ ที่ทำการ สปท. และใช้ประโยค “ประมงไทย Call out โดยเปิดโอกาสให้สมาชิกสมาคมฯ จัดทำป้าย และขึ้นป้ายเพื่อแสดงออกทางสัญลักษณ์ โดยให้สมาชิกทุกองค์กร ขึ้นป้ายตามอัธยาศัย ทั้ง 22 จังหวัด ทั่วประเทศ 

นอกจากนี้ นายกสมาคมประมงแหลมสิงห์ ยังได้บอกอีกว่า ในที่ประชุมได้มีผู้เสนอขอให้มีการยื่นฎีกาถวายในหลวงรัชกาลที่ 10 เพื่อขอความช่วยเหลือชาวประมงในช่วงสถานการณ์โควิด-19  

1.เรื่องขอผ่อนผันการควบคุมวันทำการประมงออกไปก่อนอย่างน้อย 3 ปี ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 

2.เรื่องขอความช่วยเหลือเร่งรัดการเยียวยาเรือประมง (ขาวแดง) ที่ไม่สามารถออกทำการประมงได้ โดยที่ได้รับผลกระทบจากการแก้ไขปัญหา IUU ของรัฐบาล คสช. ตั้งแต่ปี 2558 –ปัจจุบัน 

3.เรื่องขอให้หน่วยงานที่รับผิดชอบ นำเสนอการตั้งงบประมาณในการจัดซื้อเรือประมงที่มีใบอนุญาตออกนอกระบบ

ทั้งนี้ ทางสมาคมสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย ได้จัดทำฎีกาขอความช่วยเหลือ ถวายแด่ในหลวงรัชกาลที่ 10 เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2564 แล้ว ตามกระบวนการ ซึ่งก็เป็นความหวังของชาวประมงกว่าร้อยลำในจังหวัดจันทบุรี และอีกทั้ง 22 จังหวัดทั้วประเทศไทย นายกสมาคมประมงแหลมสิงห์กล่าว


ภาพ/ข่าว สุปราณี แก้วหุง จ.จันทบุรี

พรเทพ เขม้นเขตวิทย์ รายงานจากศูนย์ข่าวภาคตะวันออก

จันทบุรี - ประชุมหารือแนวทางการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ ของศูนย์พักคอยในชุมชน CI ในสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ที่ท้องถิ่นร่วมกันจัดตั้งรวม 37 แห่ง

วันนี้ ( 14 ก.ย.64 ) ที่ห้องประชุมไพลิน องค์การบริหารส่วนจังหวัดจันทบุรี นายสุธี ทองแย้ม ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี ในฐานะ ผู้กำกับการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินจังหวัดจันทบุรี เป็นประธานการประชุมหารือแนวทางการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของศูนย์พักคอยในชุมชน Community Isolation หรือ CI ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

โดยมีส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดจันทบุรีร่วมประชุม ทั้งนี้ จังหวัดจันทบุรีได้บูรณาการความร่วมมือและจัดตั้งศูนย์พักคอยในชุมชน Community Isolation หรือ CI รวมแล้ว 37 แห่งครอบคลุมทั้ง 10 อำเภอ ซึ่งการประชุมครั้งนี้มีเรื่องเพื่อพิจาณาในการหารือแนวทางการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของศูนย์พักคอยในชุมชน รวมทั้งเรื่องเพื่อทราบสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของจังหวัดจันทบุรี / การมอบหมายการจัดตั้งศูนย์พักคอยในชุมชน / กฎหมายที่เกี่ยวข้องในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น / การจัดการขยะมูลฝอยติดเชื้อของศูนย์พักคอยในชุมชนที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและอำเภอดำเนินการอยู่ / การจัดการมูลฝอยติดเชื้อในโรงพยาบาลสนาม และศูนย์พักคอยในชุมชนที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดจันทบุรีดำเนินการอยู่ 


ภาพ/ข่าว จรัล บรรยงคเสนา จ.จันทบุรี

พรเทพ เขม้นเขตวิทย์ รายงานจากศูนย์ข่าวภาคตะวันออก

จันทบุรี- เร่งฉีดวัคซีนเชิงรุก! แก่ประชาชน กลุ่ม 608 และประชาชนทั่วไปอายุ 18 – 59 ปี โดยผู้ว่าฯ ได้เดินทางเข้าตรวจเยี่ยมให้กำลังใจบุคลากรทางการแพทย์ เจ้าหน้าที่ และอสม.

วันนี้ (16 ก.ย.64) ที่วันวันยาวบน อ.ขลุง จ.จันทบุรี สาธารณสุขจังหวัด ร่วมกับ โรงพยาบาลขลุง และเทศบาลตำบลวันยาวได้ออกให้บริการฉีดวัคซีนแก่ประชาชนกลุ่ม 608 ที่ประสงค์รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 โดยนายสุธี ทองแย้ม ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรีได้เดินทางเข้าตรวจเยี่ยมให้กำลังใจบุคลากรทางการแพทย์ เจ้าหน้าที่ และ อสม.อำเภอขลุงที่ออกให้บริการฉีดวัคซีน แก่ประชาชนกลุ่ม 608 ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยกลุ่ม 7 โรคเรื้อรัง และหญิงตั้งครรภ์ รวมทั้งประชาชนทั่วไปอายุ 18 ถึง 59 ที่ประสงค์เข้ารับวัคซีนและได้ลงทะเบียนจองคิวไว้ที่โรงพยาบาลขลุง และ เทศบาลตำบลวันยาว เป็นการฉีดแบบไขว้

ครั้งนี้เป็นเข็มแรก ชิโนแวค มีกลุ่มเป้าหมายประชาชนในเขตเทศบาลตำบลวันยาวจำนวน 300 คน ทั้งนี้จังหวัดจันทบุรีได้เร่งฉีดวัคซีนเชิงรุก ตามนโยบายของรัฐบาลโดยกระจายการฉีดวัคซีนเชิงรุกครอบคลุมทั้ง 10 อำเภอ ปัจจุบันจังหวัดจันทบุรีมีการฉีดวัคซีนไปแล้วรวม 270,789 โดสแยกเป็นเข็มแรก 163,597 โดส เข็มที่สอง จำนวน 98,074 และ เข็ม 3 บูสเตอร์โดสจำนวน 9,118 โดส  ซึ่งการฉีดวัคซีนในช่วงกลางเดือนกันยายน และตุลาคมจันทบุรีจะมีเป้าหมายและได้รับการจัดสรรวัคซีนเพิ่มมากขึ้น


ภาพ/ข่าว จรัล บรรยงคเสนา จ.จันทบุรี / พรเทพ เขม้นเขตวิทย์ รายงานจากศูนย์ข่าวภาคตะวันออก

จันทบุรี - สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติภาค 2 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการคัดเลือกเป็นกรรมการลุ่มน้ำผู้แทนองค์กรผู้ใช้น้ำ ลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออกตามพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำแห่งชาติ พ.ศ. 2561

วันนี้ ( 30 ก.ย.64 ) ที่โรงแรม มณีจันทร์รีสอร์ท จังหวัดจันทบุรี นายสุธี ทองแย้ม ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรีเป็นประธานการประชุมเชิงปฏิบัติการ และการคัดเลือกกรรมการลุ่มน้ำผู้แทนองค์กรผู้ใช้น้ำลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออกจากภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม และภาคพาณิชยกรรม ซึ่งเป็นการแบบลับมีการลงคะแนนเสียงโดยใช้คูหาของ กกต.ภายใต้มาตรการป้องกันโควิด -19 ผ่านระบบวงจรปิดแยกห้องประชุม 2 ห้องห้องละ 40 คน ซึ่งนางสาวธารทิพย์ จันทร์พิทักษ์ ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการกลุ่มประสานงานลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออก กล่าวรายงานว่า ด้วยพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำแห่งชาติ พ.ศ. 2561 ได้กำหนดให้มีองค์กรบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เพื่อขับเคลื่อนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำทั้งในประเทศและระดับลุ่มน้ำ โดยมาตรา 27 กำหนดให้มีคณะกรรมการลุ่มน้ำ

โดยมีองค์ประกอบ ประกอบด้วย (1) กรรมการลุ่มน้ำโดยตำแหน่ง (2) กรรมการลุ่มน้ำผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (3) กรรมการลุ่มน้ำผู้แทนองค์กรผู้ใช้น้ำ และ (4) กรรมการลุ่มน้ำผู้ทรงคุณวุฒิ และมาตรา 38 กำหนดให้บุคคลซึ่งใช้น้ำในบริเวณใกล้เคียงกันและอยู่ในเขตลุ่มน้ำเดียวกัน มีสิทธิรวมตัวกันจดทะเบียนก่อตั้งองค์กรผู้ใช้น้ำ โดยการได้มาซึ่งกรรมการลุ่มน้ำผู้แทนองค์กรผู้ใช้น้ำภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม และภาคพาณิชยกรรม ในแต่ละเขตลุ่มน้ำมาจากการคัดเลือกกันเองของผู้แทนองค์กรผู้ใช้น้ำแต่ละภาค ซึ่งถูกเสนอชื่อโดยองค์กรผู้ใช้น้ำที่ได้จดทะเบียนก่อตั้งขึ้นตามมาตรา 38 และยังคงมีการดำเนินการขององค์กรผู้ใช้น้ำนั้น ในเขตลุ่มน้ำซึ่งหลักเกณฑ์และวิธีการให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงการได้มาซึ่งกรรมการลุ่มน้ำผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรรมการลุ่มน้ำผู้แทนองค์กรผู้ใช้น้ำ และกรรมการลุ่มน้ำผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการลุ่มน้ำ พ.ศ. 2564

จันทบุรี - ธารน้ำใจสู้ภัยโควิด-19 ‘EastWater’ มอบเงินบริจาคให้แก่สำนักงานเหล่ากาชาด เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบโควิด-19

วันที่ ( 5 ต.ค.64 ) ที่ห้องรับรอง ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดจันทบุรีนายสุธี ทองแย้ม ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี พร้อมด้วย นางสุนิชฌาน์ ทองแย้ม นายกเหล่ากาชาดจังหวัดจันทบุรี นำ ผู้แทนคณะกรรมการเหล่ากาชาดจังหวัดจันทบุรี หัวหน้าสำนักงานจังหวัดจันทบุรี เสมียนตราจังหวัดจันทบุรีร่วมเป็นสักขีพยานในการรับมอบเงินสด

 

 

จันทบุรี - จุรินทร์ "ประกาศ 17 มาตรการ" ดูแลผลไม้ปี 65 ล่วงหน้า ปลื้ม!! ส่งออกในช่วง 8 เดือนแรกปีนี้ นำรายได้เข้าประเทศถึง 169,000 ล้าน

วันที่ 7 ตุลาคม 2564 เวลา 15.00 น. นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และคณะกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงเกษตร ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี ประชุมเตรียมการดูแลผลไม้ปี 2565 โดยเป็นการกำหนดมาตรการเพื่อบริหารจัดการผลไม้ล่วงหน้าทั้งระบบ โดยมีนายยุคล ชนะวัฒน์ปัญญา อดีต สส.จังหวัดจันทบุรี นายอิทธิพล จังสิริมงคล นายชรัตน์ เนรัญชร นายชาติชาย วรพิพัฒน์ ตัวแทนเกษตรกรผู้ประกอบการและผู้รับซื้อ ผู้ส่งออก ผู้บริการขนส่ง ทูตพาณิชย์ในต่างประเทศ และพาณิชย์จังหวัดที่มีสินค้าผลไม้ ร่วมรับฟังนโยบาย พร้อมผู้บริหารระดับสูง 2 กระทรวง ณ โครงการศูนย์บริหารจัดการ มหานครผลไม้ ตำบลวังโตนด อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี โดยเป็นการสัญจรลงพื้นที่ตามภารกิจอ"จุรินทร์ออนทัวร์ ภาคตะวันออก"

การประชุมหารือได้สรุปผลของการแก้ไขปัญหาปี 2564 และที่ผ่านมาและได้เตรียมการแก้ไขปรับปรุงเพิ่มเติม รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้เปิดเวทีรับฟังปัญหาของเกษตรกรและผู้เกี่ยวข้องจากนั้นแถลงสรุปมาตรการ โดยนายจุรินทร์ กล่าวว่า วันนี้ตนมาประชุมร่วมกับตัวแทนเกษตรกร ตัวแทน SMEs แปรรูปผลไม้ ล้ง ผู้ประกอบการ ส่วนราชการจังหวัดและกระทรวงพาณิชย์ รวมทั้งหน่วยงานราชการทั้งหมด ในจังหวัดจันทบุรี ระยองและตราด เพื่อกำหนดแนวทางในการเตรียมการมาตรการรองรับผลไม้ ปี2565 ที่จะออกไตรมาสแรกและไตรมาสสองของปีหน้า ซึ่งจะมีการกำหนดมาตรการล่วงหน้าก่อน 6 เดือน โดยมาตรการผลไม้เชิงรุกมี 17 มาตราดังนี้

1.มาตรการเร่งรัดตรวจและรับรอง GAP ซึ่งมีเป้าหมายในปี 2565 ไม่ต่ำกว่า 120,000 แปลง

2.มาตรการช่วยผู้ประกอบการหรือเกษตรกรหรือล้งกระจายผลผลิตผลไม้ออกนอกแหล่งผลิต กิโลกรัมละ 3 บาท ปริมาณ 80,000 ตัน

3.มาตรการเสริมสภาพคล่องให้ผู้ส่งออกโดยจะช่วยเหลือดอกเบี้ยร้อยละ 3 และช่วยผู้ส่งออกที่ส่งออกผลไม้อีกกิโลกรัมละ 5 บาท ปริมาณ 60,000 ตัน

4. กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงเกษตรและสนับสนุนให้มีการใช้พระราชบัญญัติเกษตรพันธสัญญา การทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าด้านผลไม้ โดยจะสนับสนุนให้มีการทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เพื่อเกษตรกรได้ทราบว่าขายผลไม้ได้เท่าไหร่ มีคนซื้อที่มีหลักประกัน เซ็นสัญญาตามกฏหมายชัดเจนไม่ต่ำกว่า 30,000 ตัน

5.มาตรการส่งเสริมการบริโภคผลไม้ในประเทศ ประสานงานกับสายการบินต่าง ๆ เปิดโอกาสให้โหลดผลไม้ขึ้นเครื่องบินในประเทศไทยฟรี 25 กิโลกรัม ตั้งแต่เดือนเมษายนปี 2565 เป็นต้นไป

6.มาตรการช่วยสนับสนุนกล่อง พร้อมค่าจัดส่งผลไม้ที่ขายตรงจากเกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ไปยังผู้บริโภคโดยตรงโดยสนับสนุนกล่องมากขึ้นกว่าปี 2564 ที่สนับสนุน 200,000 กล่อง ปี 2565 จะสนับสนุนถึง 300,000 กล่อง

7.ในช่วงที่ผลไม้ออกเยอะ กระทรวงพาณิชย์จะสนับสนุนให้มีรถเร่ รถโมบาย ไปรับซื้อผลไม้และนำออกจำหน่ายสู่ผู้บริโภคโดยตรง โดยปี 2557 จะสนับสนุนที่15,000 ตัน

8.ประสานงานกับห้างท้องถิ่นและปั๊มน้ำมันต่างๆ เปิดพื้นที่ระบายผลไม้ให้กับเกษตรกรโดยเพิ่มปริมาณจากปี 2564 ที่ช่วย 1,500 ตัน ปี 2565 จะเพิ่มเป็น 5,000 ตัน

9.จะทำเซลล์โปรโมชั่นในการส่งเสริมการขายผลไม้ในต่างประเทศซึ่งใช้ชื่อโครงการ Thai Fruits Golden Months ดำเนินการในตลาดจีนซึ่งเป็นตลาดใหญ่ 12 เมือง เช่นเดียวกับปี 2564 ซึ่งเป็นมาตรการที่ได้ผลดีมาก

10.จะจัดการเจรจาจับคู่ซื้อขายผลไม้ทางธุรกิจในระบบออนไลน์หรือที่เรียกว่า OBM มุ่งเน้นตลาดใหม่ เช่น อินเดียและรัสเซียเป็นต้น

11.จะส่งเสริมการขายผลไม้ในต่างประเทศในรูปแบบ THAIFEX – Anuga Asia

จัดงานส่งเสริมการบริโภคผลไม้ระดับนานาชาติ ช่วงเดือนพฤษภาคม 65 ที่ อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี

12.เร่งจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ผลไม้ไทยไปในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกเป็น 5 ภาษา เพื่อประชาสัมพันธ์ผลไม้ไทย

13.จะจัดให้มีการอบรมให้ความรู้เกษตรกรกลุ่มเกษตรกรในเรื่องของการค้าออนไลน์เพื่อขายตรงให้กับผู้บริโภคและจะเพิ่มเติมหลักสูตรการส่งออกเบื้องต้นให้ด้วย ตั้งเป้าอบรมเกษตรกรให้ได้อย่างน้อย 1,000 ราย

14.มาตรการขอความร่วมมือจากผู้ว่าราชการจังหวัดที่เกี่ยวข้องในการเคลื่อนย้ายแรงงาน เพื่อให้สามารถดำเนินการเก็บผลไม้และส่งเสริมการขายผลไม้ได้ต่อไป

15.ในบางช่วงที่ขาดแคลนแรงงาน ให้ กอ.รมน.ส่งกำลังพลเข้ามาช่วยเก็บเกี่ยวและขนย้ายผลไม้

16.กระทรวงพาณิชย์จะสั่งการให้ทีมเซลล์แมนจังหวัดและทีมเซลล์แมนประเทศประสานงานกันช่วยระบายผลไม้ของเกษตรกรทั้งตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศต่อไป ให้มีความเข้มข้นขึ้น

17.กระทรวงพาณิชย์และจังหวัดจะบังคับใช้กฎหมายโดยเคร่งครัด เพื่อให้เกษตรกรสามารถขายผลไม้ที่มีคุณภาพ และได้ราคาดีไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบ โดยบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ กฎหมายว่าด้วยการแข่งขันทางการค้าและกฎหมายชั่งตวงวัดโดยเคร่งครัดต่อไป

“เฉลิมชัย” ปธ.ฟรุ้ทบอร์ด ปฏิรูปผลไม้ครั้งใหญ่!! วาง 3 กระทรวง ‘เกษตร-อุตสาหกรรม-พาณิชย์’ เห็นชอบงบประมาณปี 65 ตั้งทีมขับเคลื่อนศูนย์บริหารจัดการมหานครผลไม้และสนามบินจันทบุรี มอบ”อลงกรณ์”เป็นปธ.

วันนี้ (14 ต.ค. 64) ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบหมายให้ นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรี เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (หรุ้ทบอร์ด)ครั้งที่ 1/2565 ผ่านระบบการประชุมทางไกล (Video Conference) Application ZOOM Cloud Meetings พร้อมด้วย นายนราพัฒน์ แก้วทอง กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายอำพันธุ์ เวฬุตันติ รองปลัด กษ. นายประยูร อินสกุล รองปลัด กษ. ดร.สมบัติ ตงเต๊า รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร  นายอนันต์ แก้วกำเนิด รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ผู้แทนกระทรวงพาณิชย์ ผู้แทนผู้ประกอบการ ภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และผู้แทนเกษตรกรชาวสวนผลไม้ และนายขจร เราประเสริฐ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการฯ ร่วมกันหารือประชุมขับเคลื่อนโดยมีประเด็นผลการดำเนินงานการบริหารจัดการผลไม้ในรอบฤดูกาลผลิตที่ 2/2564 ทั่วประเทศ

ผลการจัดประชุมกลุ่มย่อย Focus group เพื่อวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคการบริหารจัดการผลไม้ทั้งระบบ คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการและคณะทำงาน ภายใต้คณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ มาตรการบริหารจัดการผลไม้ ปี 2565 โดย กระทรวงพาณิชย์ และร่วมกันพิจารณาโครงการบริหารจัดการผลไม้ ปี 2565 ที่เสนอโดยสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ ตามยุทธศาสตร์ “ตลาดนำการผลิต” และนโยบาย “เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด” ต่อไป

การบริหารจัดการผลไม้ปี 2564 ของภาคเหนือ (ลำไย) และภาคใต้ (ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง) ในภาพรวมสอดคล้องกับแนวทางบริหารจัดการผลไม้ปี 2564 - 2566 โดยจังหวัดสามารถบริหารจัดการผลไม้แบบเบ็ดเสร็จด้วยตัวเอง โดยผ่านกลไกของคณะกรรมการเพื่อแก้ปัญหาเกษตรกรอันเนื่องมาจากผลผลิตการเกษตรระดับจังหวัด (คพจ.) ในเชิงคุณภาพสอดคล้องตามยุทธศาสตร์พัฒนาผลไม้ไทย พ.ศ.2558 - 2564 และในเชิงปริมาณที่เน้นการจัดสมดุลอุปสงค์และอุปทาน โดยผลไม้ภาคเหนือ (ลำไย) ปริมาณ 671,308 ตัน และผลไม้ภาคใต้ (ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง) ปริมาณ 785,459 ตัน มีการกระจายผลผลิตผ่านกลไกตลาดปกติ โดย คพจ. และเกษตรกรสามารถจำหน่ายผลผลิตในราคาไม่ต่ำกว่าราคาต้นทุนการผลิต และราคาเฉลี่ยของผลผลิตตลอดฤดูกาลสูงกว่าราคาต้นทุนการผลิตไม่น้อยกว่าร้อยละ 30

จากสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ในช่วงกลางปีที่ผ่านมา ได้กระทบต่อแผนการบริหารจัดการผลไม้ทำให้ทั้งการส่งออก การแปรรูป และการกระจายในประเทศ ส่งผลให้เกษตรกรได้รับความเดือดร้อน นั้น ได้มีการจัด Focus group วิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคการบริหารจัดการผลไม้ โดยร่วมกันระหว่าง ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคเกษตรกร ร่วมกันแสดงความคิดเห็นเชิงตั้งข้อสังเกตถึง “ปัญหาและอุปสรรค” (Pain Point) ใน ประเด็นโครงสร้าง ระบบ และการบริหารจัดการ Fruit Board ประเด็นกลไกการทำงานในภาวะวิกฤต ประเด็นแผนงาน โครงการ และงบประมาณ รวมไปถึงแนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่มและแบรนดิ้ง (Branding) ผลไม้ การพัฒนากลไกการค้าผลไม้และการตลาดเชิงรุกทั้งในและต่างประเทศ การบริหารจัดการล้ง การบริหารจัดการระดับ Area based ผลไม้ภาคตะวันออก-ใต้-ใต้ชายแดน การบริหารจัดการระดับ Area based ผลไม้ภาคเหนือ การจัดการปัญหาและอุปสรรคการบริหารจัดการผลไม้รายสินค้า (ทุเรียน, ลำไย, มังคุด, เงาะ, ลองกอง และมะม่วง) โดยข้อมูลดังกล่าวได้ให้สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร รับทราบและพิจารณาใช้ประโยชน์ และนำมาวางแผนเพื่อรับมือวิกฤติการณ์ในรูปแบบต่าง ๆ ในอนาคต คณะกรรมการฯ รับทราบคำสั่งของดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานฟรุ้ทบอร์ดในการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการและคณะทำงาน ครอบคลุมทั้งระบบ ประกอบด้วย

1. คณะอนุกรรมการภายใต้คณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้

 1) คณะอนุกรรมการพัฒนาและบริหารการผลิต

 2) คณะอนุกรรมการพัฒนาและบริหารการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า

 3) คณะอนุกรรมการพัฒนาและบริหารการตลาด

 4) คณะอนุกรรมการพัฒนาและบริหารการผลไม้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

 5) คณะอนุกรรมการพัฒนาและบริหารการผลไม้ภาคตะวันออก ภาคใต้ ภาคอื่นๆ

2. คณะทำงานภายใต้คณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้

 1) คณะทำงานพัฒนาระบบข้อมูลและโลจิสติกส์

 2) คณะทำงานศึกษาเสถียรภาพกลุ่มสินค้าลำไย

 3) คณะทำงานศึกษาเสถียรภาพกลุ่มสินค้าทุเรียน

 4) คณะทำงานแก้ไขปัญหาผลไม้ล่วงหน้าทั้งระบบ

ในด้านการรองรับและแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นประกอบกับภาพรวมผลไม้ไทยจะมีผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 3,500,000 ตัน เพิ่มขึ้นประมาณ 8% โดยกระทรวงพาณิชย์ ได้กำหนด 17 มาตรการรองรับผลไม้ ปี 2565 ล่วงหน้า 6 เดือน ประกอบด้วย

1.มาตรการเร่งรัดตรวจและรับรอง GAP ซึ่งมีเป้าหมายในปี 2565 ไม่ต่ำกว่า 120,000 แปลง

2.มาตรการช่วยผู้ประกอบการหรือเกษตรกรหรือล้งกระจายผลผลิตผลไม้ออกนอกแหล่งผลิต กิโลกรัมละ 3 บาท ปริมาณ 80,000 ตัน

3.มาตรการเสริมสภาพคล่องให้ผู้ส่งออกโดยจะช่วยเหลือดอกเบี้ยร้อยละ 3 และช่วยผู้ส่งออกที่ส่งออกผลไม้อีกกิโลกรัมละ 5 บาท ปริมาณ 60,000 ตัน

4. กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงเกษตร สนับสนุนให้มีการใช้พระราชบัญญัติเกษตรพันธสัญญา การทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าด้านผลไม้ โดยจะสนับสนุนให้มีการทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เพื่อเกษตรกรได้ทราบว่าขายผลไม้ได้เท่าไหร่ มีคนซื้อที่มีหลักประกัน เซ็นสัญญาตามกฏหมายชัดเจนไม่ต่ำกว่า 30,000 ตัน

5.มาตรการส่งเสริมการบริโภคผลไม้ในประเทศ ประสานงานกับสายการบินต่าง ๆ เปิดโอกาสให้โหลดผลไม้ขึ้นเครื่องบินในประเทศไทยฟรี 25 กิโลกรัม ตั้งแต่เดือนเมษายนปี 2565 เป็นต้นไป

6.มาตรการช่วยสนับสนุนกล่อง พร้อมค่าจัดส่งผลไม้ที่ขายตรงจากเกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ไปยังผู้บริโภคโดยตรงโดยสนับสนุนกล่องมากขึ้นกว่าปี 2564 ที่สนับสนุน 200,000 กล่อง ปี 2565 จะสนับสนุนถึง 300,000 กล่อง

7.ในช่วงที่ผลไม้ออกเยอะ กระทรวงพาณิชย์จะสนับสนุนให้มีรถเร่ รถโมบาย ไปรับซื้อผลไม้และนำออกจำหน่ายสู่ผู้บริโภคโดยตรง โดยปี 2557 จะสนับสนุนที่15,000 ตัน

 8.ประสานงานกับห้างท้องถิ่นและปั๊มน้ำมันต่าง ๆ เปิดพื้นที่ระบายผลไม้ให้กับเกษตรกรโดยเพิ่มปริมาณจากปี 2564 ที่ช่วย 1,500 ตัน ปี 2565 จะเพิ่มเป็น 5,000 ตัน

 9.จะทำเซลล์โปรโมชั่นในการส่งเสริมการขายผลไม้ในต่างประเทศซึ่งใช้ชื่อโครงการ Thai Fruits Golden Months ดำเนินการในตลาดจีนซึ่งเป็นตลาดใหญ่ 12 เมือง เช่นเดียวกับปี 2564 ซึ่งเป็นมาตรการที่ได้ผลดีมาก

 10.จะจัดการเจรจาจับคู่ซื้อขายผลไม้ทางธุรกิจในระบบออนไลน์หรือที่เรียกว่า OBM มุ่งเน้นตลาดใหม่ เช่น อินเดียและรัสเซียเป็นต้น


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top