Wednesday, 21 May 2025
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

‘รองนายกฯ ประเสริฐ’ ย้ำ ‘รัฐบาล’ หนุนสร้างระบบสถิติให้เข้มแข็งเพื่อรองรับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เชื่อมั่นข้อมูลคุณภาพสูงเพิ่มประสิทธิภาพการขับเคลื่อนประเทศ 

(11 ธ.ค.67) นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) พร้อมด้วยนางปิยนุช วุฒิสอน  รองปลัดกระทรวงฯ และนายภุชพงค์ โนดไธสง ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ เข้าร่วมพิธีเปิดการประชุมคณะกรรมการสถิติภายใต้คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (เอสแคป) ครั้งที่ 9 โดยนายประเสริฐ ร่วมกล่าวปาฐกถาพิธีเปิดการประชุม ‘สัปดาห์สถิติแห่งเอเชียแปซิฟิก’ ได้เน้นย้ำความสำคัญของข้อมูล และสถิติในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยและภูมิภาคอย่างยั่งยืน ซึ่งข้อมูล 

นายประเสริฐ กล่าวว่า นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นหนึ่งในตัวขับเคลื่อนหลักในการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว การสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งสำหรับประเทศที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลจะช่วยให้สามารถผลิตข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิผล และส่งเสริมการไหลเวียนข้อมูลได้อย่างเท่าเทียมและปลอดภัย

“รัฐบาลไทยมุ่งเน้นการใช้ประโยชน์จากข้อมูลและเทคโนโลยีดิจิทัลในการพัฒนาประเทศ  โดยมีสำนักงานสถิติแห่งชาติ เป็นแกนหลักในการสร้างระบบข้อมูลที่เข้มแข็งเพื่อรองรับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งนอกจากการเข้าถึงข้อมูลแล้ว ข้อมูลต้องมีความถูกต้อง ทันเวลา และละเอียด เพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายพร้อมกับการพัฒนาระบบทางสถิติให้มีความคล่องตัว สามารถตอบสนองความต้องการข้อมูลในปัจจุบัน ทั้งนี้การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนและสร้างความเชื่อมั่นว่าไม่มีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลังนั้น จำเป็นต้องมีข้อมูลที่มีคุณภาพสูงเข้าถึง เชื่อถือได้ และอาศัยความร่วมมือและสนับสนุนจากทุกภาคส่วน จึงจะสามารถเสริมสร้างระบบข้อมูลด้านสถิติให้มีความเข้มแข็งได้อย่างต่อเนื่อง” รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดีอีกล่าว 

ทั้งนี้ การประชุมดังกล่าวเป็นเวทีสำคัญสำหรับการแลกเปลี่ยนความรู้และความร่วมมือระหว่างประเทศในภูมิภาค รวมทั้งหารือเกี่ยวกับการดำเนินการที่สำคัญเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 โดยมีผู้แทนด้านสถิติจากประเทศสมาชิกเอสแคป มากกว่า 40 ประเทศเข้าร่วมการประชุมฯ ซึ่งเป็นโอกาสอันดีที่จะเรียนรู้ซึ่งกันและกัน แบ่งปันความรู้ความสำเร็จ นอกจากนี้ ยังได้กล่าวแสดงความขอบคุณเอสแคปและทุกภาคส่วนที่ตระหนักถึงบทบาทสำคัญของระบบสถิติที่เข้มแข็งและการร่วมมือกันเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนและเสริมสร้างความเป็นอยู่ที่ดีของภูมิภาค

กมธ.การเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และการโทรคมนาคม วุฒิสภาประชุมหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม 

กมธ.การเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และการโทรคมนาคม วุฒิสภา เดินทางไปราชการเพื่อประชุมหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ผู้บริหาร และผู้แทนของหน่วยงานในกำกับของกระทรวง

เมื่อวานนี้ (23 ธ.ค.67) เวลา 13.30 นาฬิกา ณ ห้องประชุม 801 ชั้น 8 คณะกรรมาธิการการเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และการโทรคมนาคม วุฒิสภา โดยนายนิเวศ พันธ์เจริญวรกุล ประธานคณะกรรมาธิการ และคณะ เข้าร่วมประชุมหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม 

โดยมีนายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และคณะผู้บริหาร ให้การต้อนรับ

ซึ่งได้หารือและให้ความคิดเห็นในประเด็นที่สำคัญ ได้แก่ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล ความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity) เศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Protection) การศึกษาด้านเทคโนโลยีดิจิทัล การจัดการกับข่าวปลอมและเนื้อหาอันตราย ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคที่ควรเร่งดำเนินการแก้ไข

ทั้งนี้ การประชุมรับฟังความคิดเห็นร่วมกันในครั้งนี้ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนมุมมอง ข้อคิดเห็นอันเป็นประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนและพัฒนาด้านดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เพื่อสนองต่อความต้องการของประชาชนและส่งเสริมความก้าวหน้าของประเทศไทยในยุคดิจิทัลต่อไป

'รองนายกฯ ประเสริฐ' เผยผลสำเร็จ เข้าร่วมการประชุม WEF 2025 เดินหน้าเทคโนโลยีแห่งอนาคต ยกระดับเศรษฐกิจ-สังคมดิจิทัลไทย

(24 ม.ค.68) นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เปิดเผยถึงการเข้าร่วมการประชุม World Economic Forum (WEF) 2025 ร่วมกับ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยคณะ ณ เมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในระหว่างวันที่ 20-24 มกราคม 2568 ว่า การประชุม WEF 2025 ในปีนี้ จัดขึ้นภายใต้ธีม 'Collaboration for the Intelligent Age' ซึ่งเน้นการสร้างสรรค์อนาคตที่ยั่งยืนและมีประสิทธิภาพผ่านการร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรระหว่างประเทศในยุคดิจิทัลที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยมีผู้นำทางการเมือง นักธุรกิจชั้นนำ ผู้เชี่ยวชาญจากสาขาต่าง ๆ และผู้มีวิสัยทัศน์จากทั่วโลกเข้าร่วม เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์และหารือแนวทางการเปลี่ยนแปลงผ่านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI), การเรียนรู้ของเครื่องจักร (Machine Learning), และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

ในช่วงวันที่ 21 – 22 มกราคม 2568 กระทรวงดีอีได้เข้าร่วมการประชุมหารือทวิภาคีกับ H.E. Abdullah AlSwaha รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศของซาอุดีอาระเบีย รวมทั้งผู้บริหารระดับสูงของบริษัทชั้นนำต่าง ๆ ได้แก่ บริษัท Cisco Systems, AstraZeneca, Salesforce, META, Google และ AWS รวมทั้งได้มีการหารือกับ World Bank’s Global Director for Water ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโครงการบริหารจัดการน้ำของประเทศไทย

สำหรับประเด็นสำคัญในการหารือทวิภาคีกับบริษัทชั้นนำต่าง ๆ ได้แก่ (1) ความร่วมมือด้านเทคโนโลยีดิจิทัลในหลากหลายมิติ , (2) การพัฒนาเมืองอัจฉริยะโดยใช้เทคโนโลยีที่ล้ำสมัย , (3) การยกระดับทักษะด้านดิจิทัลผ่านการฝึกอบรมในด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ , (4) ปัญญาประดิษฐ์ และหุ่นยนต์ , (5) การพัฒนาระบบไอทีของหน่วยงานภาครัฐผ่านนโยบาย Cloud First Policy , (6) การส่งเสริมการลงทุนในด้านเศรษฐกิจดิจิทัล , (7) การส่งเสริม digital literacy ของหน่วยงานรัฐและของประชาชน , (8) การพัฒนาขีดความสามารถของ SMEs ไทย รวมถึงการสนับสนุน digital startups ให้เข้าถึงตลาดระหว่างประเทศ , (9) การส่งเสริมศักยภาพคนรุ่นใหม่ของไทยเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งอนาคต , (10) การพัฒนาทักษะแรงงานด้านดิจิทัล , (11) การเพิ่มการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล , (12) แนวทางการทำงานเชิงรุกในการแก้ไขปัญหาการหลอกลวงออนไลน์ และ (13) มาตรฐานชุมชนและเครื่องมือความปลอดภัยในการใช้งานแพลตฟอร์ม

ขณะที่ในวันที่ 23 มกราคม 2568 กระทรวงดีอีได้เข้าร่วมการประชุมในหัวข้อ Meeting of the Jobs Champion ซึ่งเป็นการประชุมเสวนาผู้นำ (Leaders Dialogue Meeting) ที่มีผู้บริหารระดับสูงจากภาคอุตสาหกรรมต่างๆ และผู้นำระดับสูงจาก'รองนายกฯ ประเสริฐ' เผยผลสำเร็จ เข้าร่วมการประชุม WEF 2025 เดินหน้าเทคโนโลยีแห่งอนาคต ยกระดับเศรษฐกิจ-สังคมดิจิทัลไทย

วันที่ 24 มกราคม 2568 นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เปิดเผยถึงการเข้าร่วมการประชุม World Economic Forum (WEF) 2025 ร่วมกับ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยคณะ ณ เมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในระหว่างวันที่ 20-24 มกราคม 2568 ว่า การประชุม WEF 2025 ในปีนี้ จัดขึ้นภายใต้ธีม 'Collaboration for the Intelligent Age' ซึ่งเน้นการสร้างสรรค์อนาคตที่ยั่งยืนและมีประสิทธิภาพผ่านการร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรระหว่างประเทศในยุคดิจิทัลที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยมีผู้นำทางการเมือง นักธุรกิจชั้นนำ ผู้เชี่ยวชาญจากสาขาต่าง ๆ และผู้มีวิสัยทัศน์จากทั่วโลกเข้าร่วม เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์และหารือแนวทางการเปลี่ยนแปลงผ่านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI), การเรียนรู้ของเครื่องจักร (Machine Learning), และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

ในช่วงวันที่ 21 – 22 มกราคม 2568 กระทรวงดีอีได้เข้าร่วมการประชุมหารือทวิภาคีกับ H.E. Abdullah AlSwaha รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศของซาอุดีอาระเบีย รวมทั้งผู้บริหารระดับสูงของบริษัทชั้นนำต่าง ๆ ได้แก่ บริษัท Cisco Systems, AstraZeneca, Salesforce, META, Google และ AWS รวมทั้งได้มีการหารือกับ World Bank’s Global Director for Water ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโครงการบริหารจัดการน้ำของประเทศไทย

สำหรับประเด็นสำคัญในการหารือทวิภาคีกับบริษัทชั้นนำต่าง ๆ ได้แก่ (1) ความร่วมมือด้านเทคโนโลยีดิจิทัลในหลากหลายมิติ , (2) การพัฒนาเมืองอัจฉริยะโดยใช้เทคโนโลยีที่ล้ำสมัย , (3) การยกระดับทักษะด้านดิจิทัลผ่านการฝึกอบรมในด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ , (4) ปัญญาประดิษฐ์ และหุ่นยนต์ , (5) การพัฒนาระบบไอทีของหน่วยงานภาครัฐผ่านนโยบาย Cloud First Policy , (6) การส่งเสริมการลงทุนในด้านเศรษฐกิจดิจิทัล , (7) การส่งเสริม digital literacy ของหน่วยงานรัฐและของประชาชน , (8) การพัฒนาขีดความสามารถของ SMEs ไทย รวมถึงการสนับสนุน digital startups ให้เข้าถึงตลาดระหว่างประเทศ , (9) การส่งเสริมศักยภาพคนรุ่นใหม่ของไทยเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งอนาคต , (10) การพัฒนาทักษะแรงงานด้านดิจิทัล , (11) การเพิ่มการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล , (12) แนวทางการทำงานเชิงรุกในการแก้ไขปัญหาการหลอกลวงออนไลน์ และ (13) มาตรฐานชุมชนและเครื่องมือความปลอดภัยในการใช้งานแพลตฟอร์ม

ขณะที่ในวันที่ 23 มกราคม 2568 กระทรวงดีอีได้เข้าร่วมการประชุมในหัวข้อ Meeting of the Jobs Champion ซึ่งเป็นการประชุมเสวนาผู้นำ (Leaders Dialogue Meeting) ที่มีผู้บริหารระดับสูงจากภาคอุตสาหกรรมต่างๆ และผู้นำระดับสูงจากทั้งภาครัฐ ภาคการศึกษา และภาคประชาชน เข้าร่วมหารือประเด็นระดับโลกที่สำคัญ โดยมีการรายงานผลการวิจัยใหม่เรื่อง 'อนาคตของงาน' ที่กล่าวถึงผลกระทบของ AI ต่องานและการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจเพื่อทุกคน

นอกจากนั้น ยังมีกิจกรรมสำคัญ 'Thailand Reception' ซึ่งเป็นงานเลี้ยงต้อนรับอาหารกลางวัน ระหว่างผู้นำประเทศต่างๆ และนายกรัฐมนตรีประเทศไทย โดยมีการนำเสนออาหารไทยและการเฉลิมฉลองวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์ และการต้อนรับอันอบอุ่นของประเทศไทย ในธีม Nourishing the Future for ALL เน้นเรื่องอาหารและศักยภาพของประเทศไทย โดยนำเสนอวัฒนธรรมและความเป็นไทย ผ่านอาหารไทย เพื่อส่งเสริม Soft Power และศักยภาพของประเทศไทยในฐานะ 'ครัวของโลก'

“สำหรับในวันที่ 24 มกราคม 2568 ผมจะเข้าร่วมเป็นสักขีพยานการลงนามความตกลงการค้าเสรีระหว่างไทยกับ EFTA และการเสวนาของนายกรัฐมนตรี ในหัวข้อ 'Not Losing Sight of Soft Power' ที่จะกล่าวถึงการสร้างแรงกระเพื่อมในวัฒนธรรมสมัยนิยม เศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่ได้รับการกระตุ้นโดยเทคโนโลยีดิจิทัล พร้อมทั้งเข้าร่วมการเสวนาในหัวข้อ Country Strategy Dialogue on Thailand โดยท่านนายกจะกล่าวถึงจุดแข็งของประเทศไทยโดยรวม ประเด็นความมั่นคงทางอาหาร การใช้เทคโนโลยีด้านเกษตร และการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล” นายประเสริฐ กล่าว

ทั้งภาครัฐ ภาคการศึกษา และภาคประชาชน เข้าร่วมหารือประเด็นระดับโลกที่สำคัญ โดยมีการรายงานผลการวิจัยใหม่เรื่อง 'อนาคตของงาน' ที่กล่าวถึงผลกระทบของ AI ต่องานและการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจเพื่อทุกคน

นอกจากนั้น ยังมีกิจกรรมสำคัญ 'Thailand Reception' ซึ่งเป็นงานเลี้ยงต้อนรับอาหารกลางวัน ระหว่างผู้นำประเทศต่างๆ และนายกรัฐมนตรีประเทศไทย โดยมีการนำเสนออาหารไทยและการเฉลิมฉลองวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์ และการต้อนรับอันอบอุ่นของประเทศไทย ในธีม Nourishing the Future for ALL เน้นเรื่องอาหารและศักยภาพของประเทศไทย โดยนำเสนอวัฒนธรรมและความเป็นไทย ผ่านอาหารไทย เพื่อส่งเสริม Soft Power และศักยภาพของประเทศไทยในฐานะ “ครัวของโลก” 

“สำหรับในวันที่ 24 มกราคม 2568 ผมจะเข้าร่วมเป็นสักขีพยานการลงนามความตกลงการค้าเสรีระหว่างไทยกับ EFTA และการเสวนาของนายกรัฐมนตรี ในหัวข้อ 'Not Losing Sight of Soft Power' ที่จะกล่าวถึงการสร้างแรงกระเพื่อมในวัฒนธรรมสมัยนิยม เศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่ได้รับการกระตุ้นโดยเทคโนโลยีดิจิทัล พร้อมทั้งเข้าร่วมการเสวนาในหัวข้อ Country Strategy Dialogue on Thailand โดยท่านนายกจะกล่าวถึงจุดแข็งของประเทศไทยโดยรวม ประเด็นความมั่นคงทางอาหาร การใช้เทคโนโลยีด้านเกษตร และการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล” นายประเสริฐ กล่าว


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top