Saturday, 5 April 2025
กระทรวงการคลัง

'คลัง' เตรียมขาย 'หวยเกษียณ' ใบละ 50 บาท ลุ้นรางวัลใหญ่ทุกวันศุกร์ ส่วนสลากที่ไม่ถูก เก็บเป็นเงินออม ถอนออกมาใช้ได้ตอนอายุ 60 ปี

(6 มิ.ย. 67) นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ปัจจุบันไทยมีปัญหาประชาชนเข้าสู่วัยเกษียณ แต่ไร้เงินเก็บ ปัญหานี้จะรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยการเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างรวดเร็วของไทย และปัญหานี้แก้ไม่ได้ด้วยการอัดงบประมาณในรูปแบบเบี้ยคนชราจำนวนสูง ๆ ซึ่งในที่สุดแล้วระบบงบประมาณไม่มีทางรับไหว

ทั้งนี้ เพื่อรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าว กระทรวงการคลังกำลังพิจารณานโยบาย ‘สลากสะสมทรัพย์เพื่อเงินออมยามเกษียณ’ หรืออาจเรียกสั้น ๆ ว่า ‘สลากเกษียณ’ หรืออย่างไม่เป็นทางการว่า ‘หวยเกษียณ’ ซึ่งเป็นนวัตกรรมเชิงนโยบายที่รวมเอาลักษณะการชอบเสี่ยงดวงของคนไทยมาเป็นแรงจูงใจในการเก็บออมที่สามารถถอนเงินที่ซื้อสลากทั้งหมดออกมาได้ตอนเกษียณ (อายุ 60 ปี)

“ปัจจุบันการใช้งบประมาณสำหรับดูแลเบี้ยชราสูงถึงปีละหลายแสนล้านบาท แต่หวยเกษียณดังกล่าวใช้เงินงบประมาณมาดำเนินการ เฉลี่ยใช้งบเพียงสัปดาห์ละ 15 ล้านบาท คิดเป็นเดือนละ 60 ล้านบาท หรือปีละ 700 ล้านบาทเท่านั้น และขั้นตอนในการดำเนินการสามารถทำได้ด้วยการแก้ไขกฎหมายกองทุนการออมแห่งชาติเพิ่มเติม คาดว่าจะสามารถเริ่มได้ในปี 2568”

โดยหวยเกษียณมีรายละเอียดเบื้องต้น (สามารถเปลี่ยนได้ภายหลัง) ดังนี้

1. กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ออกสลากขูดแบบดิจิทัล ใบละ 50 บาท เพื่อขายให้กับสมาชิก กอช. ผู้ประกันตน ม. 40 และแรงงานนอกระบบ (กลุ่มเป้าหมายจะเพิ่มเติมภายหลัง) ซื้อได้ไม่เกิน 3,000 บาทต่อเดือน

2. สามารถซื้อสลากได้ทุกวัน แต่ออกรางวัลทุกวันศุกร์เวลา 17.00 น. ผู้ถูกรางวัลจะได้เงินรางวัลทันที โดยที่เงินค่าซื้อสลากถูกเก็บเป็นเงินออม แม้ว่าจะถูกรางวัลหรือไม่ก็ตาม

3. รางวัลของ ‘ทุกวันศุกร์’ กำหนดดังนี้ (อาจปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม)

- รางวัลที่ 1 จำนวน 1,000,000 บาท จำนวน 5 รางวัล
- รางวัลที่ 2 จำนวน 1,000 บาท จำนวน 10,000 รางวัล

4. ‘เงินค่าซื้อสลากทั้งหมดจะเป็นเงินออมของผู้ซื้อสลาก’ (เงินสะสม) ซึ่งจะนำเงินส่งเข้าบัญชีเงินออมรายบุคคลกับ กอช. โดย กอช. จะเป็นผู้บริหารจัดการเงินจำนวนดังกล่าว และเมื่อผู้ซื้อสลากอายุครบ 60 ปี จะสามารถถอนเงินทั้งหมดที่ซื้อสลากมาทั้งชีวิตออกมาได้

ทั้งนี้ ปัจจุบันสมาชิกกอช. มีอยู่ประมาณ 3 ล้านราย คาดว่าหากแก้ไขกฎหมายและออกผลิตภัณฑ์หวยเกษียณ จะสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนเข้ามาออมเงินเพิ่มเติม คาดว่าจำนวนสมาชิกจะเพิ่มขึ้นเป็น 16-17 ล้านราย สำหรับการดำเนินการดังกล่าว ได้มีการหารือร่วมกับสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลแล้ว ยืนยันว่า ไม่มีปัญหาต่อระบบการจำหน่ายสลากในปัจจุบัน

“นโยบายนี้จะเข้าแก้ไขปัญหาคนไทยแก่แต่จน แก่แต่ไม่มีเงินเก็บ เพราะการออมภาคสมัครใจในปัจจุบันไม่ได้ผล ต้องอาศัยการออมที่ผูกกับแรงจูงใจซื้อสลาก ถูกกฎหมาย เงินไม่หาย กลายเป็นเงินออมยามเกษียณ ถูกรางวัลได้เงินเลย ไม่ถูกทุกบาททุกสตางค์จะถูกเก็บเป็นเงินออมยามเกษียณ ซื้อมาก ได้ลุ้นมาก มีเงินออมมาก”

'เผ่าภูมิ' เปิดตัว 'หวยเกษียณ' ซื้อหวย เงินไม่หาย กลายเป็นเงินออมยามเกษียณ ถูกรางวัลได้เงินทันที

ดร.เผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ให้สัมภาษณ์ว่า ปัจจุบันไทยมีปัญหาประชาชนเข้าสู่วัยเกษียณ แต่ไร้เงินเก็บ ปัญหานี้จะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ด้วยการเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างรวดเร็วของไทย และปัญหานี้แก้ไม่ได้ด้วยการอัดงบประมาณในรูปแบบเบี้ยคนชราจำนวนสูงๆ ซึ่งในที่สุดแล้วระบบงบประมาณไม่มีทางรับไหว

กระทรวงการคลังกำลังพิจารณานโยบาย “สลากสะสมทรัพย์เพื่อเงินออมยามเกษียณ” หรืออาจเรียกสั้นๆว่า “สลากเกษียณ” หรืออย่างไม่เป็นทางการว่า “หวยเกษียณ” ซึ่งเป็นนวัตกรรมเชิงนโยบายที่รวมเอาลักษณะการชอบเสี่ยงดวงของคนไทยมาเป็นแรงจูงใจในการเก็บออมที่สามารถถอนเงินที่ซื้อสลากทั้งหมดออกมาได้ตอนเกษียณ (อายุ 60 ปี) โดยมีรายละเอียดเบื้องต้น (สามารถเปลี่ยนได้ภายหลัง) ดังนี้

1. กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ออกสลากขูดแบบดิจิทัล ใบละ 50 บาท เพื่อขายให้กับสมาชิก กอช. ผู้ประกันตน ม. 40 และแรงงานนอกระบบ (กลุ่มเป้าหมายจะเพิ่มเติมภายหลัง) ซื้อได้ไม่เกิน 3,000 บาท ต่อเดือน
2. สามารถซื้อสลากได้ทุกวัน แต่ออกรางวัลทุกวันศุกร์เวลา 17.00 น. ผู้ถูกรางวัลจะได้เงินรางวัลทันที โดยที่เงินค่าซื้อสลากถูกเก็บเป็นเงินออม แม้ว่าจะถูกรางวัลหรือไม่ก็ตาม
3. รางวัลของ “ทุกวันศุกร์” กำหนดดังนี้ (อาจปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม)
3.1. รางวัลที่ 1 จำนวน 1,000,000 บาท จำนวน 5 รางวัล
3.2. รางวัลที่ 2 จำนวน 1,000 บาท จำนวน 10,000 รางวัล
4. “เงินค่าซื้อสลากทั้งหมดจะเป็นเงินออมของผู้ซื้อสลาก” (เงินสะสม) ซึ่งจะนำเงินส่งเข้าบัญชีเงินออมรายบุคคลกับ กอช. โดย กอช. จะเป็นผู้บริหารจัดการเงินจำนวนดังกล่าว และเมื่อผู้ซื้อสลากอายุครบ 60 ปี จะสามารถถอนเงินทั้งหมดที่ซื้อสลากมาทั้งชีวิตออกมาได้

นโยบายนี้จะเข้าแก้ไขปัญหาคนไทยแก่แต่จน แก่แต่ไม่มีเงินเก็บ เพราะการออมภาคสมัครใจในปัจจุบันไม่ได้ผล ต้องอาศัยการออมที่ผูกกับแรงจูงใจ

ซื้อสลาก ถูกกฎหมาย เงินไม่หาย กลายเป็นเงินออมยามเกษียณ ถูกรางวัลได้เงินเลย ไม่ถูกทุกบาททุกสตางค์จะถูกเก็บเป็นเงินออมยามเกษียณ ซื้อมาก ได้ลุ้นมาก มีเงินออมมาก

นโยบายนี้อยู่ระหว่างขัดเกลารายละเอียด และต้องใช้เวลาในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย ( 6 เดือน – 1ปี) ไม่เกิดขึ้นเร็วอย่างแน่นอน แต่จะเร่งรัดให้เร็วที่สุด 

'รมว.คลัง' เซ็นคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจฯ ‘สินมั่นคง’ ปิดฉาก บ.ประกันวินาศภัยในไทยเป็นรายที่ 5 เซ่นพิษประกันโควิด

เมื่อวานนี้ (10 ก.ค. 67) นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เซ็นลงนามคำสั่งกระทรวงการคลังที่ 1364/2567 ลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2567 ให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยของ ‘บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน)’ โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 59 (1) (2) (4) และ (5) แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ตั้งแต่วันที่ 4 กรกฎาคม 2567 เป็นต้นไป

คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คณะกรรมการ คปภ.) อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 มีคำสั่งคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยที่ 19/2567 ลงวันที่ 9 กรกฎาคม 2567 แต่งตั้งกองทุนประกันวินาศภัยเป็นผู้ชำระบัญชี บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน)

ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) ขอชี้แจงข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย และความเป็นมาเกี่ยวกับเรื่องนี้ ตลอดจนการเตรียมมาตรการต่าง ๆ เพื่อรองรับไม่ให้ผู้บริโภคได้รับผลกระทบ

เนื่องจากปรากฏหลักฐานต่อนายทะเบียนว่า บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) มีฐานะและการดำเนินการอยู่ในลักษณะอันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยหรือประชาชน ดังปรากฏข้อเท็จจริง ตามที่นายทะเบียนได้ออกคำสั่งนายทะเบียนที่ 36/2565 ลงวันที่ 31 ตุลาคม 2565 ให้บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) ‘บริษัท’ แก้ไขฐานะและการดำเนินการตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 โดยกำหนดให้บริษัทเพิ่มทุนและแก้ไขฐานะการเงินให้เพียงพอต่อภาระผูกพันและให้มีอัตราส่วนของเงินกองทุนเพียงพอตามที่กฎหมายกำหนดภายใน 1 ปี 

อย่างไรก็ตาม บริษัทไม่ดำเนินการเพิ่มทุนและแก้ไขฐานะการเงินให้เป็นไปตามคำสั่งนายทะเบียนดังกล่าว แต่กลับอาศัยกระบวนการฟื้นฟูกิจการตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ต่อมาเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2566 ศาลล้มละลายกลาง มีคำสั่งยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและแจ้งคำสั่งดังกล่าวให้คู่ความทุกฝ่ายทราบผลคำสั่งตามกฎหมายแล้ว อำนาจหน้าที่ในการจัดการกิจการและทรัพย์สิน จึงกลับไปเป็นของผู้บริหารของบริษัท และผู้ถือหุ้นของบริษัท ทำให้บริษัทสามารถเคลื่อนย้ายหรือจำหน่ายทรัพย์สินของบริษัทได้ ประกอบกับบริษัทมีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สิน และมีอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุนต่ำกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด

บริษัทจึงมีฐานะและการดำเนินการอยู่ในลักษณะอันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยหรือประชาชน คณะกรรมการ คปภ. จึงเห็นชอบให้นายทะเบียนใช้อำนาจตามมาตรา 52 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 สั่งให้บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) หยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราว ตามคำสั่งนายทะเบียนที่ 48/2566 เรื่อง ให้บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) หยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา 52 วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ลงวันที่ 15 ธันวาคม 2566

นอกจากนี้ ได้ปรากฏข้อเท็จจริงว่าบริษัทมีหนี้สินเกินกว่าทรัพย์สิน จัดสรรเงินสำรองตามมาตรา 23 ไม่ครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด และจัดสรรสินทรัพย์ไว้สำหรับหนี้สินและภาระผูกพันตามมาตรา 27/4 ไม่เพียงพอตามที่กฎหมายกำหนด มีสินทรัพย์สภาพคล่องไม่เพียงพอสำหรับการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน มีอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุนตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ต่ำกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด แสดงให้เห็นว่า บริษัทมีฐานะการเงินไม่มั่นคงและไม่เพียงพอต่อภาระผูกพัน

รวมถึงบริษัทไม่มีแนวทางในการแก้ไขฐานะการเงิน มีประวิงการจ่ายค่าสินไหมทดแทนที่ต้องจ่ายโดยไม่มีเหตุอันสมควรอันทำให้ผู้เอาประกันภัยและประชาชนได้รับความเสียหาย อันเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งกฎหมายหลายประการ บริษัทไม่มีความสามารถและความพร้อมที่จะรับประกันภัยและประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยได้ต่อไป 

ทั้งนี้ หากให้ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยต่อไป จะทำให้เกิดความเสียหายต่อประชาชนหรือผู้เอาประกันภัย ตลอดจนความน่าเชื่อถือของธุรกิจประกันภัย ดังนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จึงอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 59 (1) (2) (4) และ (5) แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 มีคำสั่งให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยของบริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) ตั้งแต่วันที่ 4 กรกฎาคม 2567 เป็นต้นไป

เนื่องจาก การเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยของ บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) เป็นปัญหาฐานะการเงินและการจัดการภายในของบริษัทจึงจะไม่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางการเงินหรือสภาพคล่องของบริษัทประกันวินาศภัยอื่น หรือธุรกิจประกันภัยในภาพรวมแต่อย่างใด ทั้งนี้ สำนักงาน คปภ. ได้เตรียมมาตรการต่าง ๆ เพื่อรองรับมิให้ผู้บริโภคได้รับผลกระทบแล้ว

ทั้งนี้ ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามสัญญาประกันภัยของบริษัท และเจ้าหนี้อื่นที่ไม่ใช่เจ้าหนี้ตามสัญญาประกันภัยให้ยื่นขอรับชำระหนี้ต่อกองทุนประกันวินาศภัย ในฐานะผู้ชำระบัญชีของบริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) ภายใน 60 วันนับแต่วันที่กองทุนประกันวินาศภัยประกาศกำหนด โดยการยื่นจะดำเนินการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น 

ทั้งนี้ กองทุนประกันวินาศภัยในฐานะผู้ชำระบัญชี จะประกาศแจ้งให้ทราบถึงกำหนดวัน เวลา และวิธีการยื่นคำทวงหนี้อีกครั้ง เพื่อให้บรรดาเจ้าหนี้ของบริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) ยื่นคำทวงหนี้ต่อผู้ชำระบัญชีตามกระบวนการที่กฎหมายกำหนดไว้ในมาตรา 61/3 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

ดังนั้น จึงขอให้บรรดาเจ้าหนี้ของบริษัทโปรดติดตามประกาศของกองทุนประกันวินาศภัยอย่างใกล้ชิด ได้ที่เว็บไซต์กองทุนประกันวินาศภัย www.gif.or.th  และ Facebook Fanpage ‘กองทุนประกันวินาศภัย’ โดยการจัดตั้งกองทุนประกันวินาศภัยขึ้นมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือเจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิได้รับชำระหนี้ที่เกิดจากการเอาประกันภัย ในกรณีที่บริษัทถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย โดยเจ้าหนี้ฯ มีสิทธิได้รับชำระหนี้ที่เกิดจากสัญญาประกันภัยจากกองทุนประกันวินาศภัย ซึ่งเมื่อรวมกับจำนวนที่ได้รับการเฉลี่ยจากหลักทรัพย์ประกันและเงินสำรองที่วางไว้กับนายทะเบียนแล้ว ไม่เกินรายละ 1 ล้านบาท

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เป็นการปิดฉากบริษัทประกันวินาศภัยของประเทศไทยรายที่ 5 ที่ปิดกิจการจากผลกระทบจากการขายประกันภัยโควิด-19 โดย 4 บริษัทก่อนหน้านี้ที่ปิดตัวไป ประกอบด้วย

1.บริษัทเอเชียประกันภัย
2.บริษัทเดอะวันประกันภัย
3.บริษัทไทยประกันภัย
4.บริษัทอาคเนย์ประกันภัย

'คลัง' เผย!! มาตรการกระตุ้นศก.ด้านอสังหาฯ แค่ 3 เดือน สร้างเม็ดเงินใหม่กว่า 65,000 ล้าน

(11 ก.ค. 67) นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยถึงผลสัมฤทธิ์มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาคอสังหาริมทรัพย์ ในส่วนมาตรการสินเชื่อ และค่าธรรมเนียม ดังนี้

1. มาตรการค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิ และนิติกรรม ลดค่าโอนจากร้อยละ 2 เหลือ 0.01 และลดค่าจำนองจากร้อยละ 1 เหลือ 0.01 มีจำนวนผู้ใช้สิทธิ์ 40,372 ราย แบ่งเป็นโอนอสังหาริมทรัพย์ 29,047 ราย และโอนห้องชุด 11,325 ราย (ตัวเลขถึงวันที่ 31 พ.ค.)

2. มาตรการส่งเสริมกิจการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ได้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี สำหรับการก่อสร้างที่อยู่อาศัยให้บุคคลธรรมดา ราคาไม่เกิน 1.5 ล้านบาท (รวมค่าที่ดิน) จนถึงวันที่ 10 มิ.ย. มูลค่าโครงการรวมแล้วถึง 33,278.69 ล้านบาท

3. โครงการสินเชื่อบ้าน Happy Home (วงเงิน 20,000 ล้านบาท ) ให้ผู้มีรายได้น้อยหรือปานกลางที่ต้องการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง ราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท อนุมัติสินเชื่อแล้ว 12,576 ราย เป็นจำนวนเงิน 17,812 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 89.06 ของวงเงินโครงการ

4. โครงการสินเชื่อบ้าน Happy Life (วงเงิน 20,000 ล้านบาท) ให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง หรือไถ่ถอนจำนองจากสถาบันการเงินอื่น ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีแรก ร้อยละ 2.98 ต่อปี วงเงินต่อรายตั้งแต่ 2.5 ล้านบาทขึ้นไป อนุมัติสินเชื่อแล้ว 8,141 ราย เป็นจำนวนเงิน 15,588 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 77.94 ของวงเงินโครงการ

‘คลัง’ ยัน!! หั่นงบ ‘ดิจิทัลวอลเล็ต’ เหลือ 4.5 แสนล้าน สอดคล้องข้อเท็จจริง ประเมินจาก 'เราเที่ยวด้วยกัน-ชิมช้อปใช้' พบคนใช้อยู่ราว 80% ไม่ถึง 100%

(11 ก.ค.67) นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รมช.คลัง กล่าวถึงการกำหนดวงเงินโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ตไว้ที่ 4.5 แสนล้านบาทนั้น สืบเนื่องมาจากในการประเมินโครงการเก่า ๆ ที่ภาครัฐได้ดำเนินการ อาทิ เราเที่ยวด้วยกัน ชิมช้อปใช้ พบว่า ประชาชนไม่ได้มาลงทะเบียนใช้สิทธิเต็ม 100% โดยจะอยู่ที่ราว 80% เท่านั้น ดังนั้นจึงเห็นว่าโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ก็ควรตั้งงบประมาณให้เพียงพอและสอดคล้องข้อเท็จจริง จึงออกมาเป็นงบประมาณที่ 4.5 แสนล้านบาท อีกทั้งเนื่องจากมีข้อกังวลจากหน่วยงานตรวจสอบภาครัฐ ที่มองว่ารัฐบาลไม่ควรจะตั้งงบประมาณสูงเกินไป เพราะจะทำให้เป็นการเสียโอกาสของประเทศด้วย

อย่างไรก็ตาม ในแง่ของผลต่อเศรษฐกิจนั้น ยืนยันว่าตั้งแต่แรกรัฐบาลได้ใช้ตัวเลขคาดการณ์ผู้มาใช้สิทธิในโครงการดิจิทัลวอลเล็ตที่ 40 กว่าล้านคน เป็นตัวเลขเพื่อประเมินผลต่อเศรษฐกิจอยู่แล้ว ซึ่งคาดว่าจะอยู่ที่ราว 1.3-1.8% แต่หากท้ายสุด มีผู้มาใช้สิทธิมากกว่าที่ประเมินไว้ ก็เชื่อว่าจะมีผลดีกับเศรษฐกิจมากขึ้นด้วยเช่นกัน

“ตัวเลขกรอบคนที่จะเข้าโครงการดิจิทัล วอลเล็ต ที่ 80-90% เป็นตัวเลขที่อยู่ในฐานการประมาณการอยู่แล้ว เวลาเราประมาณการเศรษฐกิจ เราไม่ได้ประมาณการว่าจะเข้าโครงการทั้ง 50.7 ล้านคน มันเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ และถ้าใครประเมินเศรษฐกิจจากสิ่งนี้ ก็ต้องถือเป็นการประเมินจากสิ่งที่เว่อร์เกินกว่าความเป็นจริง เราประเมินจากสิ่งที่ควรจะเป็น สิ่งที่เป็นกรอบการศึกษามาอยู่แล้ว เพียงแต่ครั้งนี้ สิ่งที่เปลี่ยน คือ เราก็ไม่ตั้งงบประมาณเกิน เพื่อไม่เป็นการเสียประโยชน์ของประเทศ แต่ถ้ามีคนมาลงทะเบียนเกิน กลไกงบประมาณก็สามารถรองรับได้” นายเผ่าภูมิ กล่าว

สำหรับประเด็นเรื่องผลกับเศรษฐกิจนั้น ส่วนหนึ่งต้องยอมรับว่า อยู่ที่เงื่อนไขว่าจะต้องทำให้เงื่อนไขมีผลเชิงบวกกับเศรษฐกิจมากที่สุด อย่างที่เห็นก็ได้มีการเปลี่ยนเงื่อนไขเรื่องเครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องมือสื่อสาร ซึ่งต้องยอมรับว่าทำให้ประชาชนใช้ยากขึ้น จุดนี้เป็นข้อเสีย แต่ข้อดี คือ เงินจะถูกหมุนในประเทศมากขึ้น เพราะสินค้าเหล่านี้เป็นสินค้า Import Content สูง เงินไหลสู่นอกประเทศทันที ไม่ก่อให้เกิดการจ้างงานและการผลิตในประเทศ

ดังนั้นคณะอนุกรรมการกำกับโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต จึงมีการเปลี่ยนเงื่อนไข เพื่อนำเสนอคณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัล วอลเล็ต ในวันที่ 15 ก.ค. นี้ พิจารณาตัดกลุ่มสินค้าเหล่านี้ออก เพื่อให้เป็นเงื่อนไขที่จะทำให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศสูงสุด

ส่วนเรื่องการใช้เงินของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เพื่อรองรับโครงการนั้น นายเผ่าภูมิ กล่าวว่า หากที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัล วอลเล็ต ในวันที่ 15 ก.ค.นี้ มีมติเห็นชอบตามที่คณะอนุกรรมการฯ เสนอเรื่องการใช้งบประมาณปี 2567-2568 แทน ดังนั้น เรื่องนี้ก็ไม่จำเป็นต้องเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการ ธ.ก.ส. แต่อย่างใด

‘คลัง’ ผุด!! ‘แผนฟื้นตลาดอสังหาฯ’ เล็งขยายระยะเวลากู้ถึงอายุ 85 ปี  ดึงต่างชาติลงทุนระยะเช่า 99 ปี ร่วมกับกฎหมาย ‘ทรัพย์อิงสิทธิ์’

(15 ก.ค.67) นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยในงานสัมมนา ‘พัฒนาตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทย ให้ก้าวไกลอย่างยั่งยืน’ ซึ่งจัดขึ้นเนื่องในโอกาสครบรอบ 20 ปี บริษัท เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ จำกัด (EnCo) ถึงสถานการณ์ท้าทายของตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยที่ไทยกำลังเผชิญขณะนี้ พร้อมนำเสนอแผนฟื้นฟูแบบรอบด้าน มุ่งแก้ปัญหาทั้งผู้บริโภคและผู้ประกอบการ ระบุว่า เศรษฐกิจไทยกำลังเผชิญความท้าทาย โดย GDP ลดลงจาก 6% เมื่อ 20 ปีก่อน เหลือเพียง 1.9% ในปี 2566 และคาดการณ์ว่าในปีนี้จะอยู่ที่ 2.5% ซึ่งตลาดอสังหาริมทรัพย์ถือเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักของประเทศและเชื่อมโยงไว้กับหลายภาคส่วน เช่น การก่อสร้าง เฟอร์นิเจอร์ และการออกแบบ ซึ่งใช้เงินลงทุนมาก

อย่างไรก็ตาม นายพิชัยยังมองเห็นศักยภาพในการพัฒนาของประเทศไทย โดยชี้ให้เห็นถึงปัจจัยสำคัญสองประการ ได้แก่ พื้นที่กว่า 300 ล้านไร่ที่ยังสามารถพัฒนาได้ในอนาคต และทำเลที่ตั้งของประเทศที่เป็นจุดเชื่อมต่อกับประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาค ซึ่งหากได้รับการจัดการที่ดี จะสามารถสร้างโอกาสในการพัฒนาด้านต่างๆ ได้

ทว่า ปัจจุบัน ภาคอสังหาริมทรัพย์กำลังเผชิญกับความท้าทายทั้งฝั่งผู้บริโภคและผู้ประกอบการ โดยฝั่งผู้บริโภคพบปัญหาความสามารถในการชำระหนี้ที่ลดลง สะท้อนจากสินเชื่อที่อยู่อาศัยบุคคลคงค้างทั่วประเทศที่มีมูลค่าสูงถึง 4.95 ล้านล้านบาท โดยมีสัดส่วนหนี้ที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ หรือ Special Mention (SM) ที่ค้างชำระ 1-3 เดือนอยู่ที่ 5% และมีหนี้เสีย หรือ NPL 3.5% ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับ 10 ปีก่อนที่มี NPL เพียง 2.3% และ SM อยู่ที่ 1.5%

ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการก็กำลังเผชิญปัญหายอดขายที่ลดลง 20-30% ต่อเดือน และสต๊อกคงเหลือกว่า 200,000 หน่วยที่เพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องและการดำเนินธุรกิจ

เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว รัฐบาลได้ออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือทั้งผู้บริโภคและผู้ประกอบการ โดยฝั่งผู้บริโภค ได้ผลักดันให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์ขยายระยะเวลาการกู้ถึงอายุ 80-85 ปี เพื่อลดภาระการผ่อนชำระรายเดือน โดยหวังเป็นต้นแบบให้ธนาคารพาณิชย์เป็นแนวทางในการปล่อยสินเชื่อ

อีกทั้งจะมีการหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อพิจารณาผ่อนปรนมาตรการ LTV (Loan-to-Value) โดยมองว่า ขณะนี้ธนาคารพาณิชย์หลายแห่งมีความแข็งแกร่งทางการเงิน และมีการตั้งสำรองหนี้เป็นศูนย์ ซึ่งรัฐบาลหวังว่าจะได้เห็นความร่วมมือระหว่างธนาคารพาณิชย์และธนาคารแห่งประเทศไทยในการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาสินเชื่อที่อยู่อาศัย

นอกจากนี้ ในส่วนของการกระตุ้นตลาดและช่วยเหลือผู้ประกอบการ รัฐบาลมีแผนดึงชาวต่างชาติเข้ามาลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ไทย โดยพิจารณาขยายระยะเวลาเช่าเป็น 99 ปี ร่วมกับการใช้กฎหมาย ‘ทรัพย์อิงสิทธิ์’ ให้สิทธิใช้ที่ดินแก่ชาวต่างชาติ โดยคนไทยยังคงมีกรรมสิทธิ์ ภายใต้เงื่อนไขการกำหนดราคาและโซน การเพิ่มภาษีค่าโอน และข้อห้ามในการทำเกษตรกรรม ทั้งนี้ยังเป็นการแก้ปัญหาการจดทะเบียนของชาวต่างชาติในการซื้ออสังหา ริมทรัพย์ที่อยู่ใต้ดิน ให้ขึ้นมาบนดินอย่างถูกต้องตามกฎหมายเช่นกัน

‘ครม.’ ดึง 'ออมสิน' ปล่อยกู้ซอฟต์โลนแสนล้าน ดอกต่ำ 0.1% ให้ 'ธ.พาณิชย์’ กระจายปล่อยกู้ SMEs รายใหม่ ดอกไม่เกิน 3.5% เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

(16 ก.ค.67) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ณ ทำเนียบรัฐบาล นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ หรือ โครงการสินเชื่อซอฟต์โลน วงเงิน 1 แสนล้านบาท ดำเนินการโดยธนาคารออมสิน ตามที่กระทรวงการคลัง เสนอ

นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวถึงรายละเอียดโครงการสินเชื่อซอฟต์โลน ว่า เงื่อนไขของซอฟต์โลน ธนาคารออมสินปล่อยซอฟต์โลนให้สถาบันการเงินในอัตราดอกเบี้ย 0.1% เพื่อไปปล่อยสินเชื่อต่อให้กับธนาคารพาณิชย์ปล่อยกู้ให้กับลูกค้ารายใหม่ โดยเฉพาะผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ที่ยังไม่เคยเข้าถึงสินเชื่อ เพื่อช่วยเติมสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจ

โดยมีเงื่อนไขดอกเบี้ย 1-3 ปีแรกไม่เกิน 3.5% เพื่อเป็นการช่วยผู้ประกอบการและประชาชนเข้าถึงสินเชื่อได้มากขึ้น ทั้งนี้จะมีการแยกบัญชีโครงการให้สินเชื่อตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและช่วยเหลือประชาชนรายย่อยและโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) GSB Boost Up ของธนาคารออมสินเป็นบัญชีธุรกรรมนโยบายรัฐ (Public Sevice Account : PSA) เพื่อไม่ให้กระทบผลการดำเนินงานโดยรวม

“สินเชื่อซอฟต์โลน ครั้งนี้ วงเงินจะกระจายไปในระบบเศรษฐกิจ ถือเป็นวงเงินที่สูงเมื่อเทียบกับช่วงวิกฤติโควิด-19 ซึ่งในขณะนั้นมีการออกมาตรการซอฟต์โลนไปแล้ว 5 แสนล้านบาท และครั้งนี้ต้องขอบคุณธนาคารออมสินที่ดำเนินการในเรื่องนี้ โดยไม่ใช้งบประมาณและไม่ใช้วงเงินตามมาตรา 28 เพราะออมสินยอมเฉือนเนื้อใช้เงินจากกำไรในการดำเนินการบางส่วนมาช่วยในโครงการนี้ คิดเป็นวงเงินประมาณ 1,000 ล้านบาท” รมช.คลัง ระบุ

'พิชัย' เผย!! เหตุผล ทำไม ‘ดิจิทัลวอลเล็ต’ จึงจำเป็น ชี้!! แม้จะกลัวหนี้ แต่ปชช.-ร้านค้าเดือดร้อน รัฐก็อยู่ไม่ได้

(24 ก.ค. 67) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ณ ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล นายพิชัย ชุณหวชิร  รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง เป็นประธานการแถลงข่าว ‘ดิจิทัลวอลเล็ต โครงการเพื่อประชาชน พร้อมขับเคลื่อนเศรษฐกิจแล้ววันนี้’ โดยมีนาย จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.คลัง และนายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รมช.คลัง ร่วมแถลงด้วย

นายพิชัย กล่าวตอนหนึ่งว่า คำถามเรื่องรัฐบาลไม่กลัวเรื่องการก่อหนี้หรือ เพราะรัฐบาลต้องใช้เงินก้อนโต แต่หนี้นั้นอาจจะได้รับการชดใช้จากการเก็บภาษี คำตอบคือโครงการนี้จะเก็บภาษีได้เท่าใด แล้วไปสร้างการเติบโตรูปอื่น ๆ ของการลงทุน เพื่อนำมาซึ่งภาษีที่เพิ่มขึ้นอย่างไร ดังนั้นนี่จึงไม่ใช่โครงการแจกเงินธรรมดา แต่เป็นโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งระบบตามห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ทั้งนี้ ตนอยากย้ำว่า วันนี้มี 3 กลุ่ม

1.ประชาชนที่หนี้สูงถึงใกล้จมูก หายใจจะไม่ออก

2.ร้านค้าขนาดเล็กขายของไม่ได้และอาจปิดตัว ซึ่งอาจต้องดูว่าปิดเพราะไม่มีกำลังซื้อ หรือเพราะกำลังเปลี่ยนถ่ายเข้าสู่ธุรกิจสมัยใหม่ ก็อาจต้องดูอีกตัวเลขหนึ่ง คือการลงทุนในแพลตฟอร์มผลิตภัณฑ์ใหม่ (New Production Platform) โดยเฉพาะจากต่างประเทศที่มาเปิดใหม่ คือต้องดูว่าปิดกิจการเพราะไม่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคกับผู้มาลงทุนใหม่ ต้องดูควบคู่กันไปด้วย

3.รัฐบาล แม้จะกลัวเรื่องหนี้ แต่หากอีก 2 เสาอยู่ไม่ได้ รัฐบาลก็อยู่ไม่ได้ เพราะประชาชนและร้านค้าคือพื้นฐานของระบบเศรษฐกิจ

“ดังนั้นคำว่าวินัยการเงินการคลัง วันนี้เราเดินตามวินัยการเงินการคลังภายใต้ข้อสมมติฐานว่า ไม่อยากเห็นหนี้ของรัฐเกิน 70% ของ GDP เกรงว่าจะผลักภาระนั้นให้ลูกหลาน แต่ถ้าเศรษฐกิจโตได้ รัฐบาลก็สามารถจะมีรายได้ในอนาคตมากขึ้น ก็จะสามารถดูแลภาระนั้นได้ ถ้าเศรษฐกิจไม่โต แน่นอนไม่ว่าจะ 70 หรือต่ำกว่า 70 หรือมากกว่า 70 มีปัญหากันถ้วนหน้า” นายพิชัย กล่าว

รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง กล่าวว่า หลังจากที่ผ่านมารัฐบาลได้มีการพิจารณารายละเอียดโครงการฯ อย่างรอบคอบ สอดคล้องตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ข้อกฎหมายและระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง พร้อมนำความเห็นหน่วยงานต่าง ๆ มาประกอบการพิจารณาอย่างรอบคอบและรัดกุมนั้น โครงการฯ มีความพร้อมที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจแล้ว โดยโครงการนี้มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญเพื่อส่งเสริมให้มีเม็ดเงินหมุนเวียนในพื้นที่ และช่วยบรรเทาภาระค่าครองชีพ ยกระดับคุณภาพชีวิตให้ประชาชน ส่งเสริมให้ประชาชนและชุมชนมีความเข้มแข็งในด้านเศรษฐกิจ สามารถพึ่งพาตนเองได้ สร้างและเพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพ รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาให้เกิดนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งเมื่อเริ่มดำเนินโครงการฯ แล้ว จะก่อให้เกิดพายุหมุนทางเศรษฐกิจจำนวน 4 ลูก ได้แก่

>> พายุหมุนลูกที่ 1 การใช้จ่ายระหว่างประชาชนกับร้านค้าขนาดเล็ก ถือเป็นกระตุ้นเศรษฐกิจไปยังฐานราก กระจายไปพร้อมกันทุกอำเภอทั่วประเทศ ช่วยบรรเทาความเดือดร้อน ลดภาระค่าใช้จ่ายแก่ประชาชน

>> พายุหมุนลูกที่ 2 การใช้จ่ายระหว่างร้านค้าขนาดเล็กกับร้านค้าขนาดใหญ่

>> พายุหมุนลูกที่ 3 การใช้จ่ายระหว่างร้านค้าขนาดใหญ่กับร้านค้าขนาดใหญ่ซึ่งจะทำให้เกิดการต่อยอดกำลังซื้อ การบริโภค หรือสร้างโอกาสในการลงทุนเพื่อประกอบอาชีพ

>> พายุหมุนลูกที่ 4 พลังการใช้จ่ายของประชาชนแต่ละคนจะเกิดผลต่อการหมุนเวียนของกิจกรรมทางเศรษฐกิจเป็นทวีคูณ ช่วยฟื้นฟูภาคการผลิตของประเทศ และสร้างความเชื่อมั่นต่อระบบเศรษฐกิจในภาพรวม

ทั้งนี้ รัฐบาลจะเปิดให้ประชาชนที่สนใจลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการฯ ในระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม ถึง 15 กันยายน 2567 และมีกำหนดการที่จะให้เริ่มใช้จ่ายในโครงการฯ ภายในไตรมาสที่ 4 ของปี 2567

‘คลัง’ มั่นใจ!! GDP ปี 67 โตตามเป้า 3% โว!! ขนาดยังไม่รวม 'ดิจิทัลวอลเล็ต'

(26 ก.ค. 67) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยภายหลังการแถลงผลการประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2567 ว่า กระทรวงการคลังคาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2567 จะขยายตัวที่ 2.7% ปรับเพิ่มจากประมาณการครั้งก่อนที่อยู่ระดับ 2.4% 

ขณะเดียวกัน เชื่อว่าปีนี้ เศรษฐกิจไทยจะสามารถเติบโตได้ตามเป้า 3% จากมาตรการอื่น ๆ ที่รัฐบาลจะเพิ่มเติมลงไป อาทิ สินเชื่อซอฟต์โลนออมสิน มาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งการเบิกจ่ายงบประมาณ

ทั้งนี้ มีปัจจัยสนับสนุนเศรษฐกิจไทยจากได้รับแรงสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยว ทั้งในมิติของจำนวนนักท่องเที่ยว และรายจ่ายต่อหัวนักท่องเที่ยวที่สูงกว่าประมาณการในครั้งก่อน

“คาดว่าในปี 2567 จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติ 36 ล้านคน ขยายตัวสูงต่อเนื่องที่ 27.9 %ต่อปี และเพิ่มขึ้นจากประมาณการครั้งก่อนที่ 35.7 ล้านคน และรายจ่ายต่อหัวของนักท่องเที่ยวคาดอยู่ที่ 47,000 บาท/คน/ทริป เพิ่มขึ้นจากประมาณการครั้งก่อนที่อยู่ที่ 44,600 บาท/คน/ทริป” 

ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากมาตรการยกเว้นการตรวจลงตรา (วีซ่าฟรี) เพิ่มขึ้นเป็น 93 ประเทศ/ดินแดน และการเพิ่มสัดส่วนนักท่องเที่ยวจากประเทศที่มีรายจ่ายต่อหัวสูง โดยรวมภาคการท่องเที่ยวจะสร้างรายได้กว่า 1.69 ล้านล้านบาทในปี 2567 เพิ่มขึ้น 37.4%

นอกจากนี้ การส่งออกมีสัญญาณขยายตัวดีกว่าที่คาด โดยคาดขยายตัว 2.7% เพิ่มขึ้นจากการประมาณการครั้งก่อนที่ 2.3% โดยอุปสงค์ของประเทศคู่ค้าสำคัญขยายตัวได้ดีขึ้นโดยเฉพาะ สหรัฐอเมริกา จีน และยูโรโซน โดยมีการปรับตัวขึ้นของ GDP ประเทศคู่ค้า 15 ประเทศหลักที่ 3.2% เพิ่มขึ้นจากประมาณการครั้งก่อนที่ 3.1%

ขณะเดียวกัน การบริโภคภาคเอกชนยังคาดขยายตัว 4.5% เพิ่มขึ้นจากการประมาณการครั้งก่อนที่ 3.5% ส่วนหนึ่งมาจากรายได้เกษตรกรขยายตัว 8% และภาษีมูลค่าเพิ่มที่แท้จริง (Real VAT) ซึ่งเป็นเครื่องบ่งชี้การใช้จ่ายและการหมุนเวียนของเม็ดเงินในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น 3.6% ส่วนหนึ่งเป็นผลจากมาตรการทางการคลังและมาตรการด้านสินเชื่อและสภาพคล่องของรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง

ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปคาดว่าจะอยู่ที่ 0.6% ต่อปี ดุลบริการเกินดุลตามการเพิ่มขึ้นของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ ดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 2567 เกินดุล 11.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น 2.4% ของ GDP

อย่างไรก็ตาม ตัวเลขการประมาณการ GDP นี้ ไม่ได้นับรวมผลที่คาดว่าจะได้รับในระบบเศรษฐกิจที่เกิดจากโครงการ Digital Wallet ทั้งนี้กระทรวงการคลังได้ประมาณเบื้องต้นเมื่อวันที่ 10 เม.ย. 2567 ว่า หากพิจารณาเฉพาะโครงการ Digital Wallet นี้จะส่งผลช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัว 1.2-1.8% ตลอดทั้งโครงการ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับแหล่งที่มาของเงิน เงื่อนไขโครงการ และจำนวนผู้มีเข้าร่วมโครงการ และพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้รับสิทธิ์

‘จุลพันธ์’ แย้ม!! ‘ดิจิทัลวอลเล็ต’ มีทางออกที่ดี ชี้ ขอให้ทุกอย่างเรียบร้อยแล้วจะแถลงครั้งเดียว

(20 ส.ค.67) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.คลัง กล่าวด้วยสีหน้ายิ้มแย้มถึงโครงการดิจิทัลวอลเล็ตที่มีกระแสข่าวว่าจะยกเลิก ว่า ตอนนี้มีทางไป และมีทางออกที่ดี แต่ขอยังไม่เปิดเผยรายละเอียด ขอให้ขั้นตอนทุกอย่างเรียบร้อยแล้วจะแถลงครั้งเดียว 

เมื่อถามย้ำว่า ที่ระบุว่าจะมีทางออกที่ดี นายจุลพันธ์ กล่าวว่า ใช่ แต่รอให้ชัดเจนสักนิดนึง ขอย้ำว่ามีทางออกที่ดี เมื่อถามว่าแสดงว่าจะเดินหน้าต่อใช่หรือไม่ นายจุลพันธ์ หัวเราะพร้อมกล่าวว่า มีทางออกที่ดีครับ 

ผู้สื่อข่าวถามถึงตำแหน่งในกระทรวงการคลัง ที่มีข่าวว่า นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง จะถอนตัวจริงหรือไม่ นายจุลพันธ์ กล่าวว่าไม่รู้เลย เรื่องดังกล่าวเป็นสิทธิ์ของนายกรัฐมนตรี เรื่องนี้ขอไม่ตอบแล้วกัน ส่วนตัวตนไม่ทราบอะไร เมื่อถามว่าวันที่ 19 ส.ค. ได้พบกับ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ขอคำแนะนำอะไรหรือไม่ นายจุลพันธ์ กล่าวว่า ไม่ได้มีการขอคำแนะนำอะไรเป็นการพูดคุยถึงภารกิจที่ยังค้างอยู่ว่ามีอะไรบ้าง 


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top