Thursday, 16 May 2024
กทม

ผมขอแสดงความสำนึกผิดและขออภัยต่อผู้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นี้ทุกคนด้วยใจจริง

29 มิ.ย.2566 - นายสิริน สงวนสิน ส.ส.กทม. เขต 31 ตลิ่งชัน-ทวีวัฒนา พรรคก้าวไกล โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊ก กรณีโดนแจ้งจับทำร้ายร่างกายผู้หญิงว่า ผมขออภัยอย่างสูงต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

ก่อนอื่นต้องขออภัยต่อผู้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ทั้งหมด และพี่น้องประชาชน ที่ผมออกมาชี้แจงข้อเท็จจริงในเหตุการณ์ที่ปรากฏเป็นข่าวล่าช้า เนื่องจากผมประสบอุบัติเหตุเล็กน้อย ศีรษะแตก จึงใช้เวลาสองวันที่ผ่านมาในการรักษาตัว

ผมเสียใจอย่างมากในสิ่งที่ได้ทำลงไป ผมขออภัยคุณเอ (นามสมมุติ) คุณพ่อคุณแม่ของคุณเอ (นามสมมุติ) และขออภัยพี่น้องประชาชนที่ได้เลือกผมเข้ามาทำหน้าที่ ส.ส. ที่ทำให้ทุกท่านผิดหวัง

จากนี้ผมยินดีเข้าสู่กระบวนการทางกฎหมาย และการสอบสวนวินัยจากพรรคก้าวไกล และจะน้อมรับผลที่ตามมาจากการกระทำที่ปราศจากความยั้งคิดของผมโดยดุษฎี

ทั้งนี้ ผมและคุณเอ (นามสมมุติ) ยืนยันว่า ข่าวที่สื่อนำเสนอรายละเอียดเหตุการณ์ และอ้างว่าผมให้ข้อมูลว่าทำไปเพราะความเป็นห่วงคุณเอ (นามสมมุติ) ทั้งหมดไม่เป็นความจริง ผมและคุณเอ (นามสมมุติ)ยังไม่เคยให้สัมภาษณ์หรือกล่าวถึงเหตุการณ์นี้แม้แต่ครั้งเดียว และไม่เคยคิดจะอ้างว่ากระทำไปด้วยความเป็นห่วง

ผมขอแสดงความสำนึกผิดและขออภัยต่อผู้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นี้ทุกคนด้วยใจจริง

โฆษกฯ กทม. แจง ความคืบหน้า การบริหารจัดการ  หลังมีข้อวิจารณ์ ละเลยการดูแลพื้นที่ ย้ำมี 3 แผนเพื่อเดินหน้าปรับปรุง

เมื่อวานนี้ (9 มี.ค.67) นายเอกวรัญญู อัมระปาล ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และโฆษกกรุงเทพมหานคร ชี้แจงประเด็นที่มีข้อวิจารณ์ว่า กทม. ปล่อยให้ 'คลองโอ่งอ่าง' หมดคุณค่า Landmark ใน 3 ประเด็น คือ

ประเด็นที่หนึ่ง ความคืบหน้าการบูรณาการจัดการพื้นที่บริเวณคลองโอ่งอ่าง รวมทั้งมาตรการส่งเสริมฟื้นฟูการท่องเที่ยวในพื้นที่ ตามที่มีข้อสังเกตคลองโอ่งอ่างถูกปล่อยทิ้งร้าง

สำนักงานเขตพระนครได้ลงพื้นที่สร้างความเข้าใจกับแกนนำ อาทิ ผู้ค้าเดิมในพื้นที่สะพานเหล็ก ผู้ประกอบในพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อวางแผนฟื้นฟูถนนคนเดินคลองโอ่งอ่าง ทั้งนี้ ได้มีมาตรการในการส่งเสริมฟื้นฟูการท่องเที่ยวในพื้นที่ โดยวางแผนไว้ 3 ระยะ คือ ระยะสั้น ภายใน 2 เดือน เริ่มต้นเปิดตัวดึงอัตลักษณ์ของสะพานเหล็กในการจัดเทศกาลและกิจกรรม ในช่วงก่อนเทศกาลสงกรานต์ที่จะถึงนี้ ระยะกลาง ภายใน 4 เดือน ใช้การประเมินและปรับรูปแบบกิจกรรมหลังเสร็จสิ้นกิจกรรมระยะสั้น พร้อมประชุมร่วมกับแกนนำและผู้ค้าถึงแนวทางการต่อยอดถนนคนเดินให้ยั่งยืน เช่น การทดลองจัดกิจกรรมสั้นๆ ช่วงสุดสัปดาห์ โดยให้แกนนำขับเคลื่อนทั้งหมด และสำนักงานเขตเป็นที่ปรึกษา ระยะยาว ภายใน 6-8 เดือน ทดลองเปิดโอกาสให้แกนนำ บริหารจัดการด้วยตนเอง เมื่อครบ 8 เดือน จะประเมินครั้งสุดท้าย ก่อนถอดบทเรียน ขยายผลในพื้นที่อื่นต่อไป

ประเด็นที่สอง บริเวณทางเท้าริมคลองด้านหลังโรงแรมมิราม่า ซึ่งมีผู้นำรถยนต์มาจอด ทั้งที่ทางเท้าบริเวณดังกล่าวเพิ่งปรับปรุง รวมถึงมีคนเร่ร่อนมาอาศัยหลับนอน ตั้งวงดื่มสุรา และตกปลา ทำให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียงกังวลเรื่องความปลอดภัย

สำหรับการแก้ไขปัญหาจอดรถยนต์ในถนนหรือทางเท้าคลองโอ่งอ่าง ขณะนี้สำนักการโยธาอยู่ระหว่างปรับปรุงและยังไม่ได้ส่งมอบงาน ในเบื้องต้นเจ้าหน้าที่เทศกิจได้ประชาสัมพันธ์งดการจอดในพื้นที่ดังกล่าว และในอนาคตทางผู้รับจ้างจะพิจารณาติดตั้งอุปกรณ์กั้นรถยนต์เข้ามาจอด สำหรับปัญหาคนเร่ร่อน นอนทางเดิน เจ้าหน้าที่จะเพิ่มความถี่และกำชับตรวจตราไม่ให้มีการหลับนอนในที่สาธารณะ พร้อมจัดระเบียบอย่างต่อเนื่อง ส่วนประเด็นการนั่งดื่มสุราและตกปลา เจ้าหน้าที่จะขอความร่วมมือ หากพบว่ามีการฝ่าฝืน จะว่ากล่าวตักเตือน เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อแหล่งท่องเที่ยวของ กทม. และสร้างความปลอดภัยแก่ประชาชน

ประเด็นที่สาม สภาพน้ำในคลองโอ่งอ่าง ตามที่มีข้อสังเกตพบว่ามีขยะลอย น้ำเริ่มเน่าเสีย และส่งกลิ่นเหม็นสำนักงานเขตพระนครและสำนักการระบายน้ำ ได้ร่วมลงพื้นที่สำรวจคลองโอ่งอ่าง เพื่อตรวจสอบท่อระบายน้ำเสียที่ปล่อยลงคลองโอ่งอ่างโดยตรง ซึ่งได้ตรวจพบจุดปล่อยน้ำเสีย ทราบถึงปัญหาและพร้อมดำเนินการปรับปรุงเพื่อนำน้ำเสียเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำต่อไป

'ดร.เอ้' โพสต์ภาพทางเท้าแถวชินจุกุ เรียบสนิท ไม่มีหลุม ไม่มีทรุด เชื่อ!! กทม.ก็ทำได้ หากทำงานด้วย 'มาตรฐาน-ตั้งใจจริง'

(14 มี.ค.67) ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ 'ดร.เอ้' รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กทม. ได้โพสต์ข้อความพร้อมภาพผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว 'เอ้ สุชัชวีร์' ขณะที่ไปญี่ปุ่น ระบุว่า...

ทำไมมันเรียบอย่างนี้! ฟุตพาทแถวชินจุกุ โตเกียว เรียบสนิท ไม่มีหลุม ไม่มีทรุด กรอบต้นไม้ก็ทำดีมาก ฝั่งซ้ายที่เอกชน เชื่อมกับฝั่งขวาที่สาธารณะ เนียนกริบ เหมือนไร้รอยต่อ ฝาท่อไม่มีโป่ง ไม่เผยอ เดินสบาย

ในความเป็นจริง กทม. #เราทำได้ เช่นกัน อยู่ที่มาตรฐานการทำงาน และความตั้งใจจริง

'อลงกรณ์-ชัชชาติ' ผนึกความร่วมมือ 'กทม.-จีน' แก้ปัญหาพีเอ็ม2.5และลดโลกร้อนพร้อมเดินหน้าโครงการพลังงานสะอาดและยานยนต์ไฟฟ้า

นายอลงกรณ์ พลบุตร ประธานมูลนิธิเวิลด์วิว ไครเมท ประธานที่ปรึกษาและผู้ก่อตั้งมูลนิธิสถาบันพลังงานทางเลือกแห่งประเทศไทยเปิดเผยวันนี้(15 มี.ค.)ภายหลังนำคณะสมาคมการค้าไทย-จีนและเศรษฐกิจเอเชีย และผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจจีนด้านพลังงานสะอาดและเทคโนโลยีกว่า10คนเข้าพบหารือกับนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและคณะผู้บริหารกทม.ที่ศาลาว่าการ กรุงเทพมหานคร เพื่อกระชับความสัมพันธ์พร้อมหารือความร่วมมือระหว่างกันในด้านของสิ่งแวดล้อมและพลังงานสะอาดว่า

การพบปะหารือครั้งนี้เป็นไปด้วยบรรยากาศของความร่วมมือในการขับเคลื่อนวิสัยทัศน์การเป็น“มหานครโซลาร์เซลล์”และ“กรุงเทพสีเขียว2030 “ของกรุงเทพมหานครโดยนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้ย้ำถึงความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศไทยกับประเทศจีนและความร่วมมือระหว่างกรุงเทพมหานครและประเทศจีนถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง 

อีกทั้งประเทศจีนยังเป็นตัวอย่างในที่ดีในเรื่องของการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงานสะอาดซึ่งกรุงเทพมหานครมีกลไกและแผนการพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อแก้ไขปัญหาpm.2.5 การส่งเสริมพลังงานสะอาด การใช้ยานยนต์ไฟฟ้า(EV) การมีจุดบริการบรรจุไฟฟ้า(EV Charging points)และการเพิ่มพื้นที่สีเขียวเพื่อลดคาร์บอนและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนและการพัฒนาเมือง
โดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้สรุปเป้าหมายของกรุงเทพมหานครในด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงานสะอาด ซึ่งจะเป็นโครงการที่สามารถประสานความร่วมมือระหว่างกันได้ในอนาคต ได้แก่ 

1. การโปรโมตการใช้รถ EV ในพื้นที่กรุงเทพฯ โดยปัจจุบันกรุงเทพมหานครมีโครงการเปลี่ยนรถขยะจากระบบน้ำมันมาเป็นระบบ EV จำนวน 2,000 คัน
2. การเพิ่มจุดชาร์จรถไฟฟ้าในพื้นที่กรุงเทพฯ ซึ่งขณะนี้มีการเปิดให้ยื่นข้อเสนอในการติดตั้งจุดชาร์จรถไฟฟ้า 40 จุด
3. การพิจารณาทำโรงเผาขยะเพื่อผลิตไฟฟ้า ซึ่งอยู่ระหว่างกระบวนการหาผู้ลงทุนและผู้ดำเนินการ 
4. การทำให้กรุงเทพมหานครเป็นมหานครโซลาร์เซลล์ เนื่องจากพื้นที่กรุงเทพฯ มีแดดทั้งปี โดยมีโครงการจะติดตั้งโซลาร์เซลล์ในทุกหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานคร 
5. การพิจารณาโครงการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากลม เนื่องจากกรุงเทพฯ มีพื้นที่ชายทะเลอยู่ประมาณ 5 กิโลเมตร ทั้งนี้ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้มอบหมายให้ประธานที่ปรึกษาฯ ต่อศักดิ์ โชติมงคล เป็นผู้ประสานความร่วมมือหลัก

นายอลงกรณ์ อดีตรองประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศคนที่หนึ่งและอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพานิชย์กล่าวขอบคุณคณะผู้บริหารกทม.และแสดงความชื่นชมผู้ว่ากรุงเทพมหานครและคณะที่ให้ความสำคัญกับพลังงานสะอาด การขับเคลื่อน“กรุงเทพสีเขียว2030”(Green Bangkok 2030” ความเป็นกลางทางคาร์บอน(Carbon neutrality)และซีโร่คาร์บอน(Zero carbon)โดยเป็นภารกิจของประเทศไทยในการบรรลุเป้าหมายลดโลกร้อนในปีค.ศ.2050และ2065ตามลำดับ ซึ่งความร่วมมือระหว่างกรุงเทพมหานครกับประเทศจีนในครั้งนี้ยังเป็นส่วนหนึ่งของการปูทางสู่วาระครบรอบ50ปีในความสัมพันธ์ทางการฑูตของ2ประเทศในปี2568นับแต่ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช นายกรัฐมนตรีของไทยได้สถาปนาความสัมพันธ์กับสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี2518ซึ่งม.ล.สุภาพ ปราโมชผู้ก่อตั้งสมาคมการค้าไทย-จีนและเศรษฐกิจเอเซียได้ร่วมคณะไปด้วยในครั้งนั้นและสานต่อภารกิจอย่างต่อเนื่องด้วยการเดินทางไปจีนถึง148ครั้งเพื่อสานสัมพันธ์2ประเทศจนถึงทุกวันนี้โดยคณะผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจจีนด้านพลังงานสะอาดและเทคโนโลยีได้ตอบตกลงและพร้อมสนับสนุนข้อริเริ่มว่าด้วยความร่วมมือของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครอย่างกระตือรือร้นและจะเร่งดำเนินการต่อเพื่อให้เกิดเป็นรูปธรรมโดยเร็ว

สำหรับการประชุมหารือเมื่อวันที่14มีนาคม2567มีนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายต่อศักดิ์ โชติมงคล ประธานที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายพรพรหม วิกิตเศรษฐ์ ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และผู้บริหารด้านความยั่งยืนของกรุงเทพมหานคร นายภิมุข สิมะโรจน์ เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายไทภัทร ธนสมบัติกุล ผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง นายประพาส เหลืองศิรินภา ผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม นางสาวพรรณราย จริงจิตร ผู้อำนวยการสำนักงานการต่างประเทศ และผู้เกี่ยวข้อง ร่วมให้การต้อนรับ คณะสมาคมการค้าไทย-จีนและเศรษฐกิจเอเชีย และผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจจีนด้านพลังงานสะอาด ซึ่งนำโดยนายอลงกรณ์ พลบุตร อดีตรองประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศคนที่หนึ่ง และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพานิชย์ หม่อมหลวงสุภาพ ปราโมช ประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์สมาคมการค้าไทย-จีนและเศรษฐกิจเอเชีย นางสาวประจงจิต พลายเวช รองประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์สมาคมฯ นางสาวอภิญญา ปราโมช นายกสมาคมฯ นายธัชธรรม พลบุตร และนายเมฆินทร์ เอี่ยมสะอาด กรรมการบริหารมูลนิธิสถาบันพลังงานทางเลือกแห่งประเทศไทย

ดร.'สามารถ' ลุ้น!! กทม. ล้างหนี้ BTS ก่อนหมดสัญญาปี 2572  หวั่น!! ชำระหนี้ไม่ครบ ต้องยืดสัญญาสัมปทาน

(17 มี.ค.67) ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และอดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงกรณีการชำระหนี้คืนของ กทม. ให้กับ BTS ระบุว่า...

ลุ้น ! กทม. ล้างหนี้ BTS ก่อนหมดสัญญาปี 2572
น่าดีใจที่ กทม. เตรียมจ่ายหนี้งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกลให้ BTS ประมาณ 2.3 หมื่นล้าน จากหนี้ทั้งหมดถึงวันนี้ประมาณ 5.3 หมื่นล้าน ไม่รวมหนี้ค่าจ้างเดินรถที่จะเกิดขึ้นจากวันนี้ไปจนถึงวันสิ้นสุดสัญญาสัมปทานในปี 2572 อีกก้อนใหญ่ หาก กทม. สามารถล้างหนี้ได้ก่อนหมดสัญญา หรือหาก กทม. ไม่สามารถล้างหนี้ได้ อะไรจะเกิดขึ้น ?

1. ถึงวันนี้ กทม. เป็นหนี้ BTS เท่าไหร่ ?
ถึงวันนี้ กรุงเทพมหานคร (กทม.) เป็นหนี้บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS สำหรับรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย รวมดอกเบี้ยประมาณ 5.3 หมื่นล้านบาท ประกอบด้วยหนี้งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล (E&M หรือ Electrical and Mechanical) เช่น อาณัติสัญญาณ สื่อสาร ระบบตั๋ว และประตูกั้นชาลา เป็นต้น ประมาณ 2.3 หมื่นล้านบาท และหนี้ค่าจ้างเดินรถและซ่อมบำรุงรักษา (O&M หรือ Operation and Maintenance) รวมค่าเช่าขบวนรถไฟฟ้า ประมาณ 3 หมื่นล้านบาท
หนี้ E&M เริ่มมีตั้งแต่ปี 2559 และได้เพิ่มมากขึ้นเมื่อขยายเส้นทางยาวขึ้น ส่วนหนี้ O&M เริ่มมีตั้งแต่ปี 2560 เมื่อเปิดเดินรถช่วงสถานีสำโรง-สถานีปู่เจ้าสมิงพราย ในวันที่ 3 เมษายน 2560 และหนี้ได้เพิ่มมากขึ้นเมื่อเปิดเดินรถจากสถานีปู่เจ้าสมิงพราย-สถานีเคหะสมุทรปราการ ในวันที่ 6 ธันวาคม 2561 ตามด้วยการเปิดเดินรถจากสถานีหมอชิต-สถานีห้าแยกลาดพร้าว ในวันที่ 9 สิงหาคม 2562 และจากห้าแยกลาดพร้าว-สถานีคูคต ในวันที่ 16 ธันวาคม 2563

2. ความเป็นไปได้ในการจ่ายหนี้โดย กทม.
เวลานี้ กทม. มีความพร้อมที่จะจ่ายหนี้ก้อนแรกค่างานระบบไฟฟ้าและเครื่องกลประมาณ 2.3 หมื่นล้านบาท ส่วนหนี้ค่าจ้างเดินรถที่ถึงเวลานี้มีประมาณ 3 หมื่นล้านบาท กทม. ยังไม่จ่าย เนื่อง
จากยังมีคดีค้างอยู่ที่ศาลปกครอง นอกจากนี้ ยังมีหนี้ค่าจ้างเดินรถที่จะเกิดขึ้นจากวันนี้ไปจนถึงวันสิ้นสุดสัญญาในปี 2572 อีกก้อนใหญ่ ถ้า กทม. ไม่สามารถจ่ายได้ รัฐบาลจะช่วย กทม. หรือไม่ ? 
โอกาสที่จะเกิดขึ้นในการชำระหนี้มีดังนี้

(1) กทม. จะสามารถล้างหนี้ได้ก่อนหมดสัญญาปี 2572
หาก กทม. สามารถชำระหนี้ได้หมดโดย กทม. เอง หรือโดยความช่วยเหลือจากรัฐบาล กทม. ก็ไม่จำเป็นจะต้องขยายสัมปทานให้ BTS แต่ กทม. จะต้องจ้าง BTS ให้เดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวรวมทั้งซ่อมบำรุงรักษาไปจนถึงปี 2585 ตามสัญญาจ้างระหว่าง กทม. กับ BTS ที่ทำกันมาหลายปีแล้ว การว่าจ้างส่วนต่อขยายบางช่วงเริ่มตั้งแต่ปี 2555-2585 บางช่วงเริ่มตั้งแต่ปี 2559-2585 และที่สำคัญ ได้ว่าจ้างให้เดินรถส่วนหลักด้วยหลังจากสิ้นสุดสัญญาสัมปทานในปี 2572 จนถึงปี 2585
กรณี กทม. จ้าง BTS ให้เดินรถและซ่อมบำรุงรักษา กทม. จะสามารถกำหนดอัตราค่าโดยสารได้เอง เป็นอิสระจาก BTS ค่าโดยสารอาจจะถูกลงก็ได้ ทั้งนี้ กทม. ควรเก็บค่าโดยสารให้มีรายได้พอที่จะเลี้ยงตัวเอง นั่นคือพอเพียงกับค่าจ้างเดินรถและซ่อมบำรุงรักษา รวมทั้งค่าซ่อมบำรุงรักษาใหญ่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น ค่าเปลี่ยนขบวนรถไฟฟ้าและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งใช้งานมานานหลายปี

(2) กทม. ไม่สามารถล้างหนี้ได้ก่อนหมดสัญญาปี 2572
ในกรณีที่ กทม. ไม่สามารถชำระหนี้ได้หมดภายในปี 2572 กทม. จะต้องเจราจากับ BTS ให้รับหนี้ที่เหลือแทน ซึ่ง กทม. อาจจะต้องขยายสัมปทานให้ BTS ออกไปตามระยะเวลาที่เหมาะสมกับมูลค่าหนี้ อัตราค่าโดยสาร รวมทั้งผลตอบแทนที่ กทม. จะได้รับจาก BTS

3. สรุป
การแก้ปัญหารถไฟฟ้าสายสีเขียวซึ่งยืดเยื้อมานานหลายปี ถึงเวลานี้พอจะมีความหวัง ไม่ว่า กทม. จะสามารถชำระหนี้ได้หมดก่อนสิ้นสุดสัญญาสัมปทานในปี 2572 หรือไม่ BTS ก็จะยังคงมีบทบาทในรถไฟฟ้าสายสีเขียวต่อไป 
หาก กทม. สามารถชำระหนี้ได้หมด BTS ก็จะเป็นผู้รับจ้างเดินรถไปจนถึงปี 2585 กทม. จะสามารถกำหนดอัตราค่าโดยสารได้เอง รายได้ทั้งหมดจะเป็นของ โดย กทม. จะต้องแบกรับความเสี่ยงเองทั้งหมด 

หาก กทม. ไม่สามารถชำระหนี้ได้หมด กทม. อาจจะต้องขยายสัมปทานให้ BTS โดย BTS จะต้องรับภาระหนี้แทน กทม. และจะต้องแบกรับความเสี่ยงเองทั้งหมด
อีกไม่นานก็คงรู้ว่า BTS จะมีบทบาทในรถไฟฟ้าสายสีเขียวในฐานะผู้รับจ้างเดินรถ หรือผู้รับสัมปทานแบบเดิมต่อไป

'สืบนครบาล' โพสต์เฟซ ช่วยสาวคิดสั้น หลังเจอปัญหา เรื่องเครียดรุมเร้า  ตร.เข้าเกลี้ยกล่อม เตือนใจ ‘อย่าไปเสียเวลา ให้กับสิ่งที่ไม่ได้ ทำให้เราดีขึ้น’

เมื่อวานนี้ เฟซบุ๊กเพจ 'สืบนครบาล IDMB'โพสต์เล่าเหตุการณ์ช่วยสาวคิดสั้น ตั้งใจนั่งรถมาโดดสะพาน เพื่อจบชีวิตที่แม่น้ำเจ้าพระยา หลังเครียดเหตุเลิกแฟนหนุ่ม และเพื่อนยืมเงินไม่คืน โดยได้ระบุว่า ...

เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2567 เวลาประมาณ 07.00 น. ร.ต.ท บรรเจิด คงเจริญ รอง สวป. และ จ.ส.ต.มงคล อัปมะโน ผบ.หมู่ (ป.) สน.วัดพระยาไกร ได้รับแจ้งจากพนักงานวิทยุฯ ว่ามีหญิงคิดสั้นจะกระโดดสะพาน จึงได้รีบเดินทางไปตรวจสอบที่เกิดเหตุ พบหญิงคนดังกล่าวนั่งอยู่บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยา ติดกับสวนสาธารณะใต้สะพานกรุงเทพ จึงได้เข้าไปเกลี้ยกล่อม ใช้เวลาประมาณ 10 นาที หญิงคนดังกล่าวจึงยอมขึ้นมากับเจ้าหน้าที่ตำรวจ 

จากการสอบถาม แจ้งว่าเพิ่งเลิกรากับแฟนหนุ่ม และพักอยู่ด้วยกันแถวคลองเตย บวกกับถูกเพื่อนสาวยืมเงินไปจำนวน 5,000 บาท และไม่ยอมคืน จึงเกิดความเครียด นั่งวินจักรยานยนต์จากคลองเตย มาที่สะพานกรุงเทพ ช่วงเวลาประมาณ 05.30 น. เพื่อจะก่อเหตุดังกล่าว 

ร.ต.ท.บรรเจิด จ.ส.ต.มงคลฯ จึงให้การทำช่วยเหลือจนปลอดภัยและไม่ได้รับบาดเจ็บแต่อย่างใด เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้พาตัวน้องมาสงบสติอารมณ์ ที่ สน.วัดพระยาไกร และ น้องได้โทรติดต่อเพื่อน เพื่อจะไปขอพักอาศัยกับเพื่อนแถวประชาอุทิศต่อไป

โดยในตอนท้าย ยังได้ฝากข้อคิดเตือนใจไว้ด้วยว่า 

"อย่าไปเสียเวลา ให้กับสิ่งที่ไม่ได้ทำให้เราดีขึ้น"

‘ดร.เอ้’ ฟาด!! ‘กทม.’ เหตุปัดความรับผิดชอบ กรณีชายตกท่อดับ ชี้!! โยนกันไปมา ไร้เจ้าภาพ แนะ!! ควรมี กม.เพื่อความปลอดภัย

(4 พ.ค.67) ศาสตราจารย์ ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กทม.ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อถึงเหตุการณ์ชายตกท่อ ลาดพร้าว 49 เมื่อวานนี้ (3 พ.ค.67) ถึงการ ‘ปัดความรับผิดชอบของกทม.’ เพราะเป็นเจ้าของพื้นที่ และชี้หน่วยงานโยนไปมา หาเจ้าภาพไม่เจอ บอกถึงเวลาแล้ว ไทยต้องเป็นสังคมปลอดภัย พร้อมชวนประชาชนลงชื่อ เสนอกฎหมาย ‘จัดตั้งองค์กรอิสระเพื่อความปลอดภัยสาธารณะ’

ส่วนตัวรับไม่ได้ กรณีชายอายุ 59 ปี พลัดตกท่อย่านลาดพร้าว 49 เพราะ ยังมีคนเสียชีวิตจากการตกท่ออีก แต่สิ่งที่ทุกคนเห็น แต่ละหน่วยงานโยนกันไปมา ทั้ง กทม. กฟน. บีทีเอส สายสีเหลือง สุดท้ายแล้วคนตาย ‘หาเจ้าภาพไม่เจอ’ และเกิดเหตุซ้ำซาก จึงเป็นที่มาถึงเวลาของประเทศไทยต้องเป็นสังคมปลอดภัย ตนได้รณรงค์ให้ประชาชนมาลงชื่อให้เกิน 10,000 คนขึ้นไป เพื่อเสนอกฎหมายจัดตั้ง ‘องค์กรอิสระเพื่อความปลอดภัยสาธารณะ’ อย่างน้อยจะหาคนกลางหรือเจ้าภาพได้เมื่อเกิดเหตุขึ้น สามารถร้องเรียนที่คณะกรรมการ หรือองค์กรนี้ได้ทันที ซึ่งอาจขึ้นตรงกับผู้นำประเทศ และองค์กรอิสระนี้สามารถติดตามความเสี่ยง พร้อมเผยแพร่ข้อมูล ประชาสัมพันธ์ และทำให้หน่วยงานหลักที่เป็นเจ้าของ เข้าไปแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด หรือเกิดการสูญเสียถึงแก่ชีวิตหรือสูญเสียทรัพย์สิน ก็ยังมีการถอดบทเรียน ไม่ใช่ ‘วัวหายล้อมคอก’ คนตายไปสุดท้ายไม่ได้ทำอะไร และตายฟรี ดังนั้น ขอเชิญชวนประชาชนมาลงชื่อได้ที่ suchatvee.com ให้เกิน 10,000 ชื่อ ซึ่งเรากำลังร่างกฎหมายเสนอสภา เพื่อให้เหมือนกับในต่างประเทศ เพราะมีหน่วยงานกลาง ดูแลความเสี่ยง ถอดบทเรียนหาผู้รับผิดชอบ เอาผิด จะได้เข็ด รวมทั้งเยียวยาผู้สูญเสียที่เป็นธรรม

ขณะเดียวกัน กรณีหากเกิดเหตุ ผู้รับเหมาต้องรับผิดชอบหรือไม่นั้น ดร.เอ้ กล่าวว่า เป็นเพียงส่วนหนึ่ง เพราะผู้รับเหมาต้องทำงานและได้เงินเร็วที่สุด แต่หลายครั้งการทำแบบนี้ ก็ได้มาซึ่งความสูญเสีย มาตรฐานที่ไร้คุณภาพ เช่น เจ้าของงานจ้างผู้รับเหมามาสร้างบ้าน ก็ต้องจ้างคนคุมงานมาดูแลด้วย ดังนั้น จากกรณีนี้ เจ้าของพื้นที่ คือ กทม. จะโยนไปที่ กฟน. ถือว่าไม่ถูกต้อง เพราะพื้นที่เกาะกลางถนน ฟุตบาท เป็นของ กทม. ใครจะทำอะไรต้องมาขอ กทม. และระหว่างทำ กทม. มีหน้าที่ในการดูแล ส่วนการส่งมอบ กทม. ก็ต้องมีส่วนร่วมในฐานะเจ้าของบ้าน จะปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้ แต่ในอดีตหน่วยงานโยนกันไปมา และ จบที่การ ‘กล่าวแสดงความเสียใจ’ ปัดออกจากตัวหมด

จากนั้น พอไปถึงหน่วยงานซึ่งดูเหมือนจะเป็นเจ้าของ หน่วยงานนั้นก็โยนให้ผู้รับเหมา และผู้รับเหมาโยนไปที่บริษัทประกันชีวิต ทั้งนี้ เมื่อถึงบริษัทประกันชีวิต ก็จะสู้ด้วยข้อกฎหมาย ที่อาจระบุว่า คนเดินแล้วเกิดอุบัติเหตุ อาจจะประมาท มีสภาพร่างกายอาจไม่สมบูรณ์ กว่าจะจ่ายเงินเยียวยาก็ใช้เวลานาน หรือหลายกรณีไม่ได้เงิน เพราะครอบครัวไม่รู้จะเอาอะไรไปต่อสู้ จึงย้อนกลับมาว่า ประเทศไทยไม่มีองค์กรกลางที่จะช่วยหาข้อมูล หลักฐานส่งฟ้อง เพื่อให้ประกันดูแลเยียวยาผู้เสียหายอย่างเป็นธรรม และนี่คือสาเหตุของการเกิดเหตุซ้ำซาก เพราะคนเกี่ยงกัน คนผิดไม่เคยได้รับผิด คนสูญเสียไม่ได้รับการเยียวยา หรือได้รับการเยียวยาช้าเกินไป เพราะฉะนั้น ผู้นำรัฐบาลต้องเร่งแก้ปัญหานี้อย่างจริงจัง โดยนำอุทาหรณ์เหล่านี้มาเป็นบทเรียนในการสร้างความปลอดภัยให้เกิดขึ้น เพราะนี่คือ ‘สิทธิพื้นฐาน’ ของประชาชนที่ควรจะได้รับ

‘เพจดัง’ แฉปม ‘ท่อไร้ฝา ที่ลาดพร้าว’ เผย!! ปชช. เคยร้องเรียนแล้ว แต่ ‘กทม.’ แก้ปัญหามักง่าย แค่นำไม้ มาวางพาดปากหลุม

(4 พ.ค.67) จากเหตุการณ์มีผู้พลัดตกบ่อพักท่อร้อยสายไฟฟ้าที่บริเวณเกาะกลางถนนใกล้ตอม่อทางเดินรถไฟฟ้า ซึ่งมีต้นไม้ปลูกเป็นแนวไว้ ปากซอยลาดพร้าว 49 เสียชีวิตนั้น

ทางเพจ Drama-addict ได้ออกมาโพสต์ ภาพจากลูกเพจ หลังเคยร้องเรียนกับ กทม. ผ่านทราฟฟี่ฟองดูว์ ในกรณีหลุมไม่มีฝาท่อย่านลาดพร้าว หวั่นจะเกิดอันตรายกับประชาชนถึงชีวิตได้ ซึ่งทางกรุงเทพมหานครได้ดำเนินการแก้ปัญหาด้วยการนำไม้มาวางพาดปากหลุม

ทั้งนี้ ทางเพจได้ระบุข้อความว่า

"ลูกเพจฝากมา เขาว่ากรณีหลุมไม่มีฝาท่อแถวนั้น ยังมีอีกเพียบ เรียงเป็นตับเลย และแจ้งไปก่อนหน้านี้แล้ว เขาว่า "แก้ไขเสร็จสิ้น" ตามแบบในภาพ"

อย่างไรก็ตาม โพสต์ดังกล่าวได้รับความสนใจจากชาวเน็ตเป็นจำนวนมาก และมีผู้เข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์เป็นจำนวนมาก เช่น ทำงานได้หัว ค มากครับ, ให้คนทำเดินไป เดินมา สัก 1ชม., ว้าว การแก้ไข แบบนี้ ไม่มีใครคิดได้เลย นอกจาก…, แก้ปัญหาได้ห่วยแตกมาก คุณภาพชีวิตเรียกร้องได้จากไหน, ต้องรอให้ญาติ ๆ ผรม.ตกลงไปในท่อก่อนหรือครับ


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top