'ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์' แจงไม่สามารถร่วมเวที คปท. ต้านระบอบทักษิณได้ ด้วยเหตุผลส่วนตัว แม้ใจยังยืนเคียงข้างการเคลื่อนไหว
อ.อานนท์ โพสต์ไม่สะดวกร่วมเวที คปท. ต้านระบอบทักษิณ ด้วยข้อจำกัดส่วนตัว แม้ใจจะอยู่ที่เวทีแล้วก็ตาม

อ.อานนท์ โพสต์ไม่สะดวกร่วมเวที คปท. ต้านระบอบทักษิณ ด้วยข้อจำกัดส่วนตัว แม้ใจจะอยู่ที่เวทีแล้วก็ตาม
(9 พ.ค. 68) จีนและรัสเซียร่วมแสดงจุดยืนสนับสนุนให้องค์การสหประชาชาติ (UN) รับบทบาทหลักในการกำกับดูแลเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) โดยเน้นว่ากระบวนการดังกล่าวต้องดำเนินไปอย่างเคารพอธิปไตยของแต่ละประเทศ ยึดถือกฎหมายภายใน และยืนอยู่บนพื้นฐานของกฎบัตรสหประชาชาติ เพื่อส่งเสริมการใช้ AI อย่างรับผิดชอบและเป็นธรรมในระดับสากล
สองชาติมหาอำนาจระบุว่า AI ควรเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ไม่ใช่อาวุธเชิงภูมิรัฐศาสตร์ของประเทศใด พร้อมคัดค้านการผูกขาดความรู้ การจำกัดการเข้าถึงเทคโนโลยี หรือการสร้าง 'กำแพงเทคโนโลยี' ซึ่งจะยิ่งตอกย้ำความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลในเวทีโลก และทำลายโอกาสของประเทศกำลังพัฒนา
จีนและรัสเซียยังคัดค้านการทำให้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือทางการเมือง หรือแนวทางที่นำไปสู่การตัดขาดห่วงโซ่อุปทานระดับโลก พร้อมประกาศสนับสนุนซึ่งกันและกันในการจัดการประชุมสำคัญด้าน AI เช่น การประชุม AI โลก ปี 2025 และเวทีระดับสูงว่าด้วยการกำกับดูแล AI เพื่อส่งเสริมการสร้างมาตรฐานที่ทุกประเทศมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง
รัสเซียยังชื่นชมจีนที่ผลักดันมติ “ส่งเสริมความร่วมมือด้านการเสริมสร้างขีดความสามารถ AI” ซึ่งได้รับการรับรองอย่างเป็นเอกฉันท์จากสมัชชาใหญ่ UN และพร้อมเปิดรับข้อเสนอของจีนเกี่ยวกับแผนปฏิบัติการ AI เพื่อทุกคน โดยทั้งสองฝ่ายจะร่วมมือผ่านเวทีระหว่างประเทศ อาทิ กลุ่ม BRICS และพันธมิตรความร่วมมือ AI พหุภาคี เพื่อผลักดันวิสัยทัศน์ AI ที่ยั่งยืน ยุติธรรม และเป็นสากล
นายอลงกรณ์ พลบุตร ประธานสถาบันเอฟเคไอไอ.และประธานที่ปรึกษาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยวันนี้ภายหลังบรรยายพิเศษในงานประชุมวิชาการสาหร่ายและแพลงตอนแห่งชาติ ครั้งที่ 11 ที่เชียงใหม่ จัดโดยมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ว่า
ประเทศไทยมีศักยภาพสูงในการพัฒนา 'สาหร่าย' หรือทองคำเขียวของไทยเป็นพืชและอาหารแห่งอนาคต (Future Crop & Future Food) ภายใต้แนวทางเศรษฐกิจสีน้ำเงิน (Blue Economy)โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ผสมผสานภูมิปัญญาไทยยกระดับสู่เกษตรมูลค่าสูง เพิ่มรายได้ประเทศและชุมชน ลดการนำเข้าและตอบโจทย์ความมั่นคงทางอาหาร พร้อมลดปัญหาภาวะโลกร้อนอย่างยั่งยืน
จุดเด่นของการส่งเสริมสาหร่ายคือ
1. ลดการขาดดุลการค้าและเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร ไทยนำเข้าสาหร่ายติดท็อปเทนของโลก การพัฒนาการเพาะเลี้ยงและแปรรูปในประเทศจะช่วยลดการพึ่งพาต่างประเทศ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าเกษตร เช่น บะหมี่สาหร่าย อาหารเสริม เครื่องสำอาง และปุ๋ยชีวภาพ
2. สนับสนุนเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ( Carbon Neutrality ) 2050 สาหร่ายช่วยดูดซับ CO₂ ได้มากกว่าไม้บก5เท่าและเป็นส่วนหนึ่งของแผนลดก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2065 สอดคล้องกับทศวรรษวิทยาศาสตร์มหาสมุทรแห่งสหประชาชาติ
3. ขยายผลสู่ชุมชน 50 จังหวัด ผ่านความร่วมมือของกรมประมง และเครือข่ายวิจัย เช่น ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน (จันทบุรี) และฟาร์มทะเลตัวอย่าง (เพชรบุรี) เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงและแปรรูปสู่เกษตรกร
4. ต่อยอดอุตสาหกรรมสีเขียว แปรรูปสาหร่ายเป็น พลาสติกชีวภาพ(Bioplastic)และ น้ำมันชีวภาพ (Biofuel)ลดการใช้พลาสติกจากปิโตรเลียม ซึ่งสอดคล้องกับเทรนด์โลกที่หันมาใช้วัสดุย่อยสลายได้
ทั้งนี้เริ่มมีการพัฒนาสาหร่ายอย่างจริงจังตั้งแต่ปี 2563 ตามนโยบายอาหารแห่งอนาคต( Future Food Policy)ของดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ซึ่งตนเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีในขณะนั้นรับนโยบายมาส่งเสริมสาหร่ายทะเล(Seaweed)และสาหร่ายน้ำจืดตั้งแต่การผลิต การวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ การแปรรูปและการตลาด
โดยมอบหมายให้ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งและศูนย์เพาะเลี้ยงน้ำจืดเร่งเดินหน้าในการรวบรวมพันธุ์ การเพาะเลี้ยงและการเผยแพร่พันธ์ุดำเนินการในพื้นที่ 50จังหวัด แบ่งเป็น 23 จังหวัดชายฝั่งทะเลรวมกทม.และอีก 28 จังหวัดโดยความร่วมมือระหว่าง กรมประมง กระทรวงเกษตรฯ. กระทรวงอว. สวทช. ศูนย์ความเป็นเลิศสาหร่าย วว. สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หอการค้า สภาเอสเอ็มอี. มูลนิธิเวิลด์วิว อินเตอร์เนชั่นแนล มูลนิธิเวิลด์วิว ไครเมตและศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (AIC: Agritech and Innovation Center) มีศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งและศูนย์เพาะเลี้ยงน้ำจืดทั่วประเทศเช่นศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน (จันทบุรี) ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งแหลมผักเบี้ยและฟาร์มทะเลตัวอย่าง (เพชรบุรี) ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงและแปรรูปสู่ฟาร์มเกษตรกร
โดยพัฒนาสาหร่ายเป็นผลผลิตและผลิตภัณฑ์ชุมชน( Community based product)สร้างแหล่งอาหารและรายได้ใหม่ให้ประชาชนในท้องถิ่นและเป็นวัตถุดิบป้อนอุตสาหกรรมต่างๆ
ยิ่งกว่านั้นยังมีการพัฒนาสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินกว่า40ปีโดยคุณเจียมจิตต์ บุญสม ผู้ตั้งชื่อ 'สาหร่ายเกลียวทอง' โดยขยายผลเป็น“บุญสมฟาร์ม”ที่อำเภอแม่วาง เชียงใหม่มีพื้นที่เพาะเลี้ยงสาหร่ายสไปรูลิน่าไม่ต่ำกว่า 40,000 ตารางเมตร รวมถึงศูนย์ความเป็นเลิศด้านสาหร่าย(ALEC) ของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)ร่วมกับปตท.พัฒนาสาหร่ายน้ำจืดมากว่า 20 ปีโดยเฉพาะโครงการน้ำมันชีวภาพ ปุ๋ยชีวภาพอัลจินัว
ปัจจุบันยังมีอีกหลายบริษัทหันมาพัฒนาสาหร่ายเชิงพาณิชย์เช่น บริษัทบางจากฯ บริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง บริษัทล็อกซเล่ย์บริษัทไทยยูเนี่ยน บริษัทเถ้าแก่น้อย บีจีซี (BGC) และ บริษัทOverDaBlueซึ่งเป็นสตาร์ทอัพ รวมทั้งโครงการเพาะเลี้ยงสาหร่ายในกระชังของมูลนิธิเวิลด์วิว ไครเมตร่วมกับชุมชนชาวประมงที่จังหวัดกระบี่และเป็นต้น
นายอลงกรณ์ พลบุตร ประธานมูลนิธิเวิลด์วิว ไครเมนและอดีตรองประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ กล่าวว่า "สาหร่ายไม่ใช่แค่พืชท้องถิ่น แต่เป็น“ทองคำเขียว”ที่จะพลิกโฉมเกษตรมีบทบาทสำคัญต่ออนาคตของไทยและของโลกในมิติเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม
1. อุตสาหกรรมอาหาร สาหร่ายใช้ในอุตสาหกรรมอาหารคิดเป็น 77%ของตลาด (ปี 2024) โดยเป็นส่วนประกอบในอาหารแปรรูป อาหารเสริม และเครื่องดื่ม ตัวอย่างเช่น สาหร่ายโนริ วากาเมะ และผงสาหร่ายในผลิตภัณฑ์วีแกน
2. อุตสาหกรรมเวชภัณฑ์และเครื่องสำอาง โดยสกัดสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ เช่นฟูคอยแดนและแอลจีเนตสำหรับผลิตภัณฑ์บำรุงผิวและยา
3. ความยั่งยืนสิ่งแวดล้อม สาหร่ายดูดซับก๊าซเรือนกระจกคาร์บอนไดออกไซด์( CO₂ ) มากกว่าต้นไม้5เท่า และใช้ทำผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์ชีวภาพ (Bio-based Packaging) เช่นบริษัทZeroCircleของอินเดีย
4. เชื้อเพลิงชีวภาพ (Biofuel) ความต้องการเชื้อเพลิงสะอาดเพิ่มขึ้น ส่งผลให้สาหร่ายเป็นวัตถุดิบผลิตน้ำมันชีวภาพพลังงานทางเลือก และน้ำมันอากาศยานแบบยั่งยืน (Sustainable Aviation Fuel : SAF) ด้วยเหตุนี้รัฐบาลในหลายประเทศสนับสนุนการเพาะเลี้ยงสาหร่ายอย่างจริงจัง เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี ประเทศแถบสแกนดิเนเวีย ออสเตรเลีย อเมริกา ไอซ์แลนด์ และล่าสุด อินเดียตั้งเป้าผลิต 1 ล้านตันต่อปีภายในปี 2025
การส่งออกเป็นอีกเป้าหมายสำคัญเพราะมูลค่าตลาดโลกของสาหร่ายใน ปี 2024สูงถึง 35.35 พันล้านดอลลาร์ (1.5 ล้านล้านบาท)ทั้งตลาดการเพาะเลี้ยงและตลาดสาหร่ายเชิงพาณิชย์ คาดการณ์ปี 2025 จะเพิ่มเป็น 50.03 พันล้านดอลลาร์(1.6 ล้านล้านบาท) และ 80 พันล้านดอลลาร์ (2.6 ล้านล้านบาท) ในปี 2029 ด้วยอัตราเติบโดปีละกว่า 12.1%.“
เมื่อวานนี้ (8 พ.ค.68) ที่ห้องบางกอก อาคารไอราวัตพัฒนา ชั้น B2 ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร เขตดินแดง ศาสตราจารย์ ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ นายกสภามหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีมอบประกาศนียบัตรพร้อมเข็มวิทยฐานะแก่ผู้สำเร็จการศึกษาอบรมหลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านการพัฒนาผู้นำเมือง ( ผู้นำเมือง รุ่น 10 ) โดยมี รศ.มนูธรรม มานวธงชัย รองอธิการบดีมหาวิทยาลัย กล่าวรายงานผลการศึกษาอบรมหลักสูตร พร้อมด้วย นายสุรจิตต์ พงษ์สิงห์วิทยา ประธานสภากรุงเทพมหานคร คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย ผู้สำเร็จการศึกษาอบรม และผู้เกี่ยวข้อง ร่วมพิธี
ทั้งนี้ นายพินิจ จารุสมบัติ ตัวแทนหลักสูตรผู้นำเมือง รุ่น 10 มอบทุนการศึกษาให้แก่มหาวิทยาลัย เป็นจำนวนเงิน 100,000 บาท
สำหรับโครงการศึกษาอบรมหลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านการพัฒนาผู้นำเมือง จัดโดยมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ระหว่างวันที่ 13 ธันวาคม 2567 - 8 พฤษภาคม 2568 ผู้เข้ารับการศึกษาอบรม ประกอบด้วย ข้าราชการประจำสังกัดหน่วยงานภาครัฐและกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองของกรุงเทพมหานครและระดับประเทศ ผู้บริหารระดับสูงจากหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชน
ซึ่งการศึกษาอบรมหลักสูตร ผู้บริหารระดับสูงด้านการพัฒนาผู้นำเมือง เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นให้ผู้บริหารระดับสูงที่มาจากทุกภาคส่วน ได้รับการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการบริหารจัดการเมือง ในทุกมิติพร้อมทั้งสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่าง ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เพื่อร่วมกันพัฒนากรุงเทพมหานครและปริมณฑลอย่างบูรณาการและยังยืน
สำหรับผู้ที่จบหลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านการพัฒนาผู้นำเมืองรุ่นที่ 10 จะนำความรู้ ประสบการณ์ และข้อคิดเห็น จากการอบรม อันจะนำไปสู่การเพิ่มพูนความรู้และทักษะในการทำงาน ตลอดจนสร้างเครือข่ายในการบูรณาการความร่วมมือด้านต่างๆ เพื่อการพัฒนาเมือง สร้างคุณประโยชน์แก่สังคมและประเทศชาติ โดยผู้นำเมือง รุ่นที่ 10 รุ่นนี้มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า 'ผู้นำเมืองรุ่นแผ่นดินไหว'
ภายหลังพิธีมอบประกาศนียบัตรและเข็มวิทยฐานะแก่ผู้สำเร็จการศึกษาอบรม หลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านการพัฒนาผู้นำเมือง (ผู้นำเมือง รุ่นที่ 10) ซึ่งจัดโดยมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ในช่วงค่ำของวันที่ 8 พฤษภาคม 2568 คณะกรรมการรุ่นได้จัดงานเลี้ยงแสดงความยินดี ณ โรงแรมเรเนซองส์ กรุงเทพฯ ราชประสงค์
ภายในงานเต็มไปด้วยบรรยากาศแห่งมิตรภาพและความอบอุ่น ผู้เข้าอบรมต่างร่วมแสดงความยินดี แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และเก็บเกี่ยวความทรงจำร่วมกันอีกครั้ง ท่ามกลางบรรยากาศที่เป็นกันเอง พร้อมการแสดงและกิจกรรมที่สร้างสีสันและรอยยิ้มตลอดค่ำคืน
งานเลี้ยงครั้งนี้ถือเป็นการปิดฉากการเดินทางของ 'ผู้นำเมือง รุ่นที่ 10' อย่างสมบูรณ์แบบ พร้อมเปิดประตูสู่การเดินหน้าของเหล่าผู้นำในภารกิจร่วมพัฒนาเมืองไทยให้ก้าวหน้าอย่างยั่งยืนต่อไป
เมื่อวันที่ (7 พ.ค.68) ณ ห้องประชุมคณะกรรมาธิการ CB 402 ชั้น 4 อาคารรัฐสภา พล.ต.ต.อังกูร คล้ายคลึง ประธานกรรมการบริหารชมรมลูกเสือรัฐสภาไทย เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารชมรมลูกเสือรัฐสภาไทย ครั้งที่ 2/2568 โดยมีวาระสำคัญในการพิจารณาแต่งตั้งที่ปรึกษาชมรมฯ จำนวน 10 ท่าน เพื่อร่วมสนับสนุนภารกิจของชมรมฯ
ที่ประชุมมีมติเห็นชอบแต่งตั้งที่ปรึกษาชมรมลูกเสือรัฐสภาไทย ได้แก่ รองศาสตราจารย์อาณัฐชัย รัตตกุล, นายไตรรัตน์ ฉัตรแก้ว, นายอนิรุทธ์ สิงหศิริ, ว่าที่ร้อยตรี บุญชัย ดำรงโภคภัณฑ์, นายพงศ์เดช วิบูลย์ธนสาร, นายเกรียงไกร จันทร์หงษ์, นายสมชาย จรรยา, นายสามารถ ทับศรีนวล, พันตำรวจเอก อธิการ อัครกุล และว่าที่พันตำรวจตรีหญิงวรัญญา รอดวิไล
ในการประชุมยังได้หารือแนวทางการขยายจำนวนสมาชิกชมรมลูกเสือรัฐสภาไทย ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิกสามัญที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพียง 22 คน และสมาชิกวุฒิสภา 13 คน ถือว่ายังมีจำนวนน้อย จึงเห็นควรมีการประชาสัมพันธ์เชิญชวนทั้งสมาชิกรัฐสภาและเจ้าหน้าที่สมัครเข้าร่วมชมรม เพื่อร่วมขับเคลื่อนภารกิจให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ด้านแนวทางการดำเนินกิจกรรมของชมรมฯ ที่ประชุมเห็นชอบให้มีการวางแผนจัดโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ โดยจัดทำร่างโครงการพร้อมกำหนดงบประมาณ เพื่อส่งเสริมความสามัคคีและความปรองดองระหว่างสมาชิกรัฐสภาเดิม ปัจจุบัน และบุคคลทั่วไป พร้อมสนับสนุนความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ผ่านกิจกรรมในแนวทางลูกเสือเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ
ที่ประชุมยังได้เสนอแนวคิดจัดอบรมความรู้ทางการลูกเสือให้กับสมาชิกรัฐสภาที่สนใจ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตและสังคม อีกทั้งส่งเสริมการเผยแพร่กิจการลูกเสือให้เป็นที่รู้จักกว้างขวางยิ่งขึ้น พร้อมสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับองค์กรลูกเสือ และแสวงหาการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมชมรมอย่างยั่งยืน
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้หารือเรื่องการแต่งกายด้วยเครื่องแบบลูกเสือ โดยยึดตามกฎกระทรวงว่าด้วยเครื่องแบบลูกเสือ พ.ศ. 2510 ซึ่งระบุว่าผู้ที่จะสวมเครื่องแบบลูกเสือได้ต้องผ่านการอบรมที่สำนักงานลูกเสือแห่งชาติรับรอง โดยมีมติเห็นชอบให้ออกแบบและจัดทำแบดจ์ติดแขนเสื้อด้านซ้าย สำหรับผู้ผ่านการอบรมหลักสูตรลูกเสือจากชมรมลูกเสือรัฐสภาไทย เพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นลูกเสือรัฐสภาไทย
ผู้สื่อข่าวรายงาน สำรับบรรยากาศการประชุมเป็นไปด้วยความเรียบร้อย พร้อมตั้งเป้าขับเคลื่อนชมรมให้มีบทบาทมากขึ้นทั้งในระดับรัฐสภาและสังคมส่วนรวม