Friday, 9 May 2025
ค้นหา พบ 47953 ที่เกี่ยวข้อง

‘อ.เจษฎา’ ออกโรงป้อง!! ‘นายแพทย์ธนีย์ ธนียวัน’ เผย!! เป็นอาจารย์แพทย์ ‘Harvard Medical School’

(5 พ.ค. 68) รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ได้โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า …

"เขาหาว่า คุณหมอ ธนีย์ ไม่เคยเป็นอาจารย์ Harvard " !?

สรุปกรณีที่มีคนมาโพสต์หาเรื่อง คุณหมอ ธนีย์ Tany (คุณหมอชื่อดัง ที่ทำช่องยูทูปให้ความรู้ด้านสุขภาพ และคอยแก้ไขข่าวปลอม ข่าวมั่ว โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับเรื่องโรคโควิด และวัคซีน) นะครับ

- มีคนโพสต์ข้อความผ่านเพจเฟซบุ้คหนึ่ง (ซึ่งไม่ได้ใช้ชื่อจริง ระบุเพียงเป็นคนนครศรีธรรมราช) ซึ่งเมื่อเลื่อนดูแล้ว จะเห็นได้ว่าเคยโพสต์ข้อความจำนวนมากในเชิงต่อต้านวัคซีน mRNA โควิด และวัคซีนไข้หวัดใหญ่

- เขาได้โพสต์ตั้งคำถามว่า "แพทย์หรือตัวแทนบริษัทวัคซีนกันแน่ ? " โดยเน้นไปที่โจมตี คุณหมอ ธนีย์ (หรือ นพ. ธนีย์ ธนียวัน (Tany Thaniyavarn, MD) เจ้าของช่องยูทูป Doctor Tany https://www.youtube.com/@DrTany อาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคปอด วิกฤตบำบัด และการปลูกถ่ายปอด (Pulmonary and Critical Care Medicine/ Lung Transplant) ทำงานอยู่ประเทศสหรัฐอเมริกา ) ว่า คิดว่าเป็นผู้แทนวัคซีนไฟเซอร์ เป็นแพทย์หรือตัวแทนบริษัทผู้ผลิตวัคซีนกันแน่

- โดยเขาได้อ้างว่า "ไม่มีข้อมูลที่ระบุชัดเจน ว่า นพ.ธนีย์ ธนียวัน ทำงานที่ Harvard Medical School โดยตรง" , การเป็นอาจารย์แพทย์ในสหรัฐอเมริกานั้น ก็ "ไม่ได้ระบุชื่อสถาบันอย่างชัดเจน" , ช่อง YouTube ชื่อ "Doctor Tany" ไม่พบข้อมูลเกี่ยวกับการเชื่อมโยงกับ Harvard , หนังสือ Health Talk กับ Doctor Tany และหนังสืออื่น ๆ ของเขา ไม่ได้ระบุสถานที่ทำงานปัจจุบัน 

- ทำให้เขาสรุปว่า "ไม่มีหลักฐานอ้างอิงที่ชัดเจน ในผลการค้นหาปัจจุบัน ที่ยืนยันว่า นพ.ธนีย์ ธนียวัน ทำงานที่ Harvard Medical School" รวมทั้งการสืบค้นในฐานข้อมูลของแพทยสภา พบ นพ. ธนีย์ ธนว*** TANY TNYV***, M.D. เป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมตั้งแต่ พ.ศ. 2549 แต่ข้อมูลไม่บอกสถานะความรู้ความชำนาญเฉพาะทางที่แพทยสภารับรอง 

(ซึ่งทั้งหมดนี้ ผมคิดว่าเป็นการกล่าวหาที่ร้ายแรงมาก และเข้าข่ายให้ฟ้องหมิ่นประมาทได้ .. เพราะมีทั้งคำที่กล่าวหาให้เสียชื่อเสียง และมีคนมาคอมเม้นต์ร่วมกล่าวหา เสียๆ หายๆ อีกเป็นจำนวนมาก)

ล่าสุด คุณหมอ ทนีย์ ได้โพสต์คลิปยูทูป อธิบายตอบประเด็นข้อกล่าวหาดังกล่าว ในชื่อคลิปว่า "เขาว่าผมไม่เคยเป็นอาจารย์ Harvard!? ไม่ใช่หมอเฉพาะทาง!? — งั้นมาดูหลักฐานชัดๆ #กรี๊ดสิครับ" ( https://www.youtube.com/watch?v=mxxUJkDpXX4 ) โดยชี้แจงหลายประเด็น ดังนี้

- คุณหมอเคยทำงานที่เป็นอาจารย์แพทย์ Harvard Medical School และ Brigham and Women's Hospital แต่ปัจจุบันลาออกแล้ว เนื่องจากเกิดการควบรวมเข้ากับโรงพยาบาล Massachusetts General Hospital ทำให้เกิดปัญหาด้านการบริหาร ระบบที่สับสน ตัดงบงานวิจัย ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ จึงลาออกมา

- ส่วนการที่ใช้คำว่า "อาจารย์แพทย์" นั้น คุณหมอบอกว่าเป็นความคิดส่วนตัว จากการที่เขายังคงทำงานด้านการให้ความรู้ด้านการแพทย์อยู่ เหมือนกับอาจารย์แพทย์ที่เกษียณแล้ว ก็ยังเรียกกันว่าเป็นอาจารย์ ..ใครไม่เห็นด้วยก็ไม่เป็นไร

- ตั้งแต่เริ่มทำคลิปยูทูปมา คุณหมอก็ไม่ได้โปรโมทว่าตนเองเป็นอาจารย์แพทย์ที่โรงพยาบาลไหน ไม่ได้จงใจพูดในรายการเพื่อให้คนเชื่อตนจากสังกัด อยากให้เน้นที่เนื้อหามากกว่า ... แต่ผู้ชมไปทราบกันทีหลังเอง 

- คุณหมอได้แสดงหลักฐานต่าง ๆ ดังเช่น บัตรประจำตัว ที่ Harvard Medical School และที่โรงพยาบาล Brigham and Women's Hospital , บัตรประจำตัวที่ โรงพยาบาล Dana-Farber Cancer Institute (เป็นที่ปรึกษาอยู่ที่นั้น) , หนังสือรับเข้าทำงานที่ Harvard Medical School และ Brigham and Women's Hospital เมื่อปี 2018 (มีระบุชัดเจนว่า ได้เงินเดือนจ้าง หลักแสนเหรียญ ไม่ใช่แค่ไปทำ fellow ที่นั่น) , ประกาศนียบัตร รับรองให้ทำอาชีพแพทย์ที่รัฐแมสสาชูเซต เมืองบอสตัน ได้ , เอกสารระบุการเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการปลูกถ่ายปอด และการดูแลผู้ป่วยปลูกถ่ายอวัยวะระยะวิกฤติ ในการจัดคอร์สสอนต่างๆ ของ Brigham and Women's Hospital 

- คุณหมอแสดงหลักฐานผลงานทางวิชาการ เช่น ร่วมแต่งหนังสือ Lung Transplantation (2 เล่ม ปี 2022 และ 2023) และระบุว่า ยังทำงานที่ Veterans Affairs Boston Health Care ที่บอสตัน อีกแห่งหนึ่งด้วย

- ส่วนประวัติการศึกษานั้น ตอนประถมและมัธยมต้น เรียนที่โรงเรียนเซนต์ดอมินิก มัธยมปลายที่โรงเรียนเตรียมอุดม ฯ และคุณหมอมีหลักฐานแสดงถึงการจบแพทยศาสตร์บัณฑิต จากจุฬาฯ เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง (จบปี พ.ศ. 2549) ผลการเรียนดีทุกวิชา , เคยทำกิจกรรมใหญ่ อย่างการเป็น chairperson ให้กับงาน The 25th Asian Medical Students Conference สมัยเรียนปี 5 , เคยเป็นหัวหน้าแผนกวิเทศสัมพันธ์ (หมายถึง ติดต่อกับต่างประเทศ) ของสโมสรนิสิตคณะแพทย์ , เรียนจบ เป็นสมาชิกแพทย์สภา , ทำงานใช้ทุนที่โรงพยาบาล สมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา 3 ปี , สอบผ่านประกาศนียบัตร ECFMG (Educational Commission for Foreign Medical Graduates ) ด้วยคะแนนดีมาก เพื่อไปที่สหรัฐอเมริกา , ไปเรียน residency (Resident in Internal Medicine อยุรกรรม) ที่สถาบัน Albert Einstein Medical Center ที่เมืองฟิลาเดลเฟีย รัฐเพนซิลวาเนีย และมีภาพข่าวประกอบในหนังสือพิมพ์ และจดหมายระบุถึงการเป็นคนไม่กี่คนที่ได้คะแนนสูงสุด รวมถึงรางวัลอื่นๆ อีกหลายอย่างของสถาบัน , สอบ หมออยุรกรรม ได้ประกาศนียบัตรจาก The American Board of Internal Medicine , ไปเรียนต่อจนจบ ด้าน โรคปอดและวิกฤติบำบัด จาก Department of Medicine School of Medicine Emory University และได้รางวัล outstanding fellow และ The Brainiac Award รวมทั้งชนะเลิศการแข่งขันรางวัลทางวิชาการต่างๆ , สอบได้ใบประกาศนียบัตร ด้านโรคปอด และอีกใบ ด้าน เวชบำบัดวิกฤติ จาก The American Board of Internal Medicine , ไปเรียนด้านการปลูกถ่ายปอด จากมหาวิทยาลัย Duke University Medical Center 

- คุณหมอทิ้งท้ายว่า จริงๆ แล้วเรื่องพวกนี้ไม่เคยเอามาเล่าให้ใครฟังเลย ไม่คิดจะนำมาอวดอะไร แค่บอกแนะนำตัวว่าเป็นอาจารย์แพทย์ที่อเมริกา .. แต่อยากให้ฟังจากเนื้อหาข้อมูล รวมถึงตรรกะ ที่นำมาอธิบายทางรายการมากกว่า 

สรุปสั้นๆ ก็คือ โพสต์ของคนคนนั้น เป็นการกล่าวหาคุณหมอ ที่มั่ว และน่าเกลียดมากครับ โดยคุณหมอได้ชี้แจงอย่างชัดเจนมาก พร้อมหลักฐานประกอบครบถ้วน แก้ข้อกล่าวหาได้ (แถมอึ้งเลย ว่าคุณหมอจะโคตรเก่งอะไรปานนั้น 55) 

ป.ล. โดยส่วนตัว ผมไม่เคยได้พบคุณหมอ ทนีย์ ตัวจริงๆ เลย (เคยบังเอิญได้สัมภาษณ์ผ่านรายการวิทยุพร้อมกันครั้งหนึ่ง เกี่ยวกับชุดตรวจ ATK โควิด) แต่ติดตามช่องยูทูปคุณหมอมานาน ตั้งแต่ยุคโควิดแล้ว ซึ่งหลายครั้งก็ได้เอาข้อมูลความรู้จากรายการมาช่วยเผยแพร่ต่อ เพราะเป็นประโยชน์ต่อสังคมมาก

BRN ใช้!! ‘ความเงียบ’ เป็นข้ออ้างในการเดินหน้าก่อการร้าย ซุ่มยิง ลอบสังหาร ฆ่าเด็ก ผู้หญิง คนพิการ อย่างโหดเหี้ยม

(5 พ.ค. 68) ขณะที่ประเทศไทยกำลังสลดกับเหตุการณ์สะเทือนขวัญ — เด็กหญิงวัย 9 ขวบถูกยิงเสียชีวิต ผู้หญิงตาบอดถูกสังหารอย่างโหดเหี้ยม — กลับมีบางเสียงในสังคมผลักดันให้รัฐไทย "เจรจา" กับกลุ่มผู้ก่อเหตุภายใต้หน้ากากคำว่า "สันติภาพ" และ "หยุดยิงชั่วคราว" 15 วัน จากกลุ่ม BRN

ข้อเสนอของ BRN ดังกล่าวถูกส่งมาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2568 โดยอ้างว่าเพื่อสร้าง “ความไว้เนื้อเชื่อใจ” และ “บรรยากาศสันติภาพ” แต่ตลอดช่วงเวลากว่าสามเดือนหลังจากนั้น — แทนที่เราจะได้เห็นท่าทีสงบ — กลับเต็มไปด้วยข่าวการซุ่มยิง การลอบสังหาร และที่รุนแรงที่สุดคือการฆ่าเด็ก ผู้หญิง และผู้พิการ

นั่นคือหลักฐานชัดเจนว่า BRN ไม่ได้รอการตอบรับ — แต่ใช้ “ความเงียบ” เป็นข้ออ้างในการเดินหน้าก่อการร้ายต่อ

1. ข้อเสนอที่ขาดความจริงใจ ไม่ใช่หนทางของประเทศไทย
“สันติภาพ” ที่ปราศจากจริยธรรม ไม่ใช่สันติภาพที่ประเทศไทยควรยอมรับ ข้อเสนอของ BRN ฟังดูหรูหราทางเทคนิค แต่ในทางคุณธรรม มันคือการขอคืนภาพลักษณ์จากสังคมโลก โดยไม่ต้องไถ่โทษให้เหยื่อแม้แต่รายเดียว ประเทศไทยจะให้รางวัลกับความรุนแรงหรือ??

2. หยุดยิง 15 วัน หรือหยุดเพื่อตั้งลำยิงใหม่?
ข้อเสนอ “หยุดยิงสองฝ่าย” โดยตั้งทีมติดตามจาก CSO และ NGO ที่ไร้ความชัดเจนในจุดยืน อาจเป็นเพียงกลไกให้ BRN ซุ่มสะสมกำลังใหม่ พื้นที่หยุดยิงคือพื้นที่ปลอดภัยสำหรับผู้ก่อการร้าย ไม่ใช่สำหรับประชาชน

3. ความเงียบของทางการไทย คือหลักประกันว่าประเทศนี้ไม่อ่อนข้อให้ความตาย
การที่ไทยยังไม่ตอบรับตลอด 3 เดือน ไม่ได้แปลว่าไม่ใส่ใจ แต่เป็นการแสดงจุดยืนอย่างมีหลักการ เพราะความเงียบไม่ควรถูกตอบแทนด้วยกระสุนที่ยิงใส่เด็กวัย 9 ขวบ หรือคนชราที่ไร้อาวุธ

4. หาก BRN จริงใจ – หยุดยิงโดยไม่ต้องต่อรอง
ประเทศไทยไม่ใช่ผู้เริ่มความรุนแรง และไม่จำเป็นต้องเป็นฝ่ายยื่นมือก่อน หาก BRN ต้องการเจรจาจริง — ขอให้ปลดอาวุธ หยุดทุกการกระทำอันเป็นภัยต่อประชาชน และแสดงความเสียใจกับเหยื่อ เสียก่อน

5. ยื่นข้อเสนอแล้วฆ่าเด็ก = เจตนาไม่บริสุทธิ์
การที่ BRN ยื่นข้อเสนอหยุดยิง แต่กลับดำเนินความรุนแรงต่อเนื่อง โดยเฉพาะต่อเป้าหมายที่อ่อนแอที่สุดของสังคม คือ การกระทำที่เป็นปฏิปักษ์โดยตรงต่อแนวคิด “สันติภาพ”

หากยังมีใครพยายามผลักให้ประเทศไทยยอมอ่อนข้อในสถานการณ์เช่นนี้ — จงอย่าหลอกตัวเองว่านั่นคือสันติภาพ แต่คือการเปิดประตูให้กับการทำร้ายซ้ำอีกครั้ง

‘คาซัคสถาน’ เตรียมเป็นเจ้าภาพ ‘Astana International Forum 2025’ เวทีที่รวมผู้นำโลก นักเศรษฐศาสตร์ และนักคิดระดับนานาชาติ

(5 พ.ค. 68) ในวันที่ 29 – 30 พฤษภาคม 2568 กรุงอัสตานา เมืองหลวงของคาซัคสถาน จะกลายเป็นศูนย์กลางของการถกเถียงระดับโลกอีกครั้ง เมื่อรัฐบาลคาซัคสถานประกาศจัดเวที Astana International Forum 2025 (AIF2025) ภายใต้แนวคิด “Connecting Minds, Shaping the Future” (เชื่อมโยงความคิด สร้างอนาคตร่วมกัน)

ภายใต้สถานการณ์โลกที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน ทั้งจากความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และระบบการเงินที่อยู่ระหว่างการเปลี่ยนผ่าน คาซัคสถานจึงเสนอให้ AIF เป็นพื้นที่กลาง (neutral platform) สำหรับการสร้างความเข้าใจร่วม และพัฒนาทางออกที่ใช้ได้จริงโดยไม่ยึดโยงกับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

3 หัวข้อหลักที่เวทีจะเน้นในปีนี้ ได้แก่:
• 🌐 การต่างประเทศและความมั่นคง: สำรวจมิติใหม่ของความมั่นคงโลกหลังยุคสงครามเย็น
•⚡️ พลังงานและสภาพอากาศ: ถ่วงดุลระหว่างความต้องการพลังงานและเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม
• 💰 เศรษฐกิจและการเงินโลก: เสนอแนวทางใหม่ในการปฏิรูประบบการเงินระหว่างประเทศ

รายชื่อผู้เข้าร่วมในอดีตที่สร้างความน่าสนใจให้เวทีนี้ ได้แก่:
• เจ้าผู้ครองรัฐกาตาร์ ชีค ทามิม บิน ฮาหมัด อัลธานี
• ประธานาธิบดีคีร์กีซสถาน ซาดีร์ จาปารอฟ
• ผู้อำนวยการ UNESCO ออเดรย์ อาซูเลย์
• ผู้อำนวยการ IMF คริสตาลินา จอร์จีวา

ในปี 2025 คาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมหลายร้อยรายจากกว่า 50 ประเทศทั่วโลก โดยรวมถึงผู้นำประเทศ ผู้บริหารระดับสูงในภาคเอกชน นักคิด นักวิชาการ และองค์กรระหว่างประเทศ

‘มาเลเซีย’ ไม่เคยมีดินแดน หรือพรมแดนทางด้านเหนือ มากกว่าที่มีอยู่ ‘มลายา’ ไม่ได้เป็นประเทศเดียว หรือรัฐที่รวมศูนย์ แต่เป็น กลุ่มรัฐอิสระ 

(5 พ.ค. 68) อ.แพท แสงธรรม ได้โพสต์ข้อความระบุว่า ...

SODOMIZED NARRATIVE:
คำพูดของมหาเธร์ คือ วาทกรรม กะโหลกกะลา มาเลเซียไม่เคยมีดินแดน หรือพรมแดนทางด้านเหนือมากกว่าที่มีอยู่ และก่อนปี พ.ศ. 2329 ดินแดนที่เป็น มลายา หรือคาบสมุทรมลายูในปัจจุบัน ไม่ได้เป็นประเทศเดียวหรือรัฐที่รวมศูนย์ แต่เป็น กลุ่มรัฐอิสระ ที่มีระบบการปกครองของตนเอง โดยส่วนใหญ่เป็น รัฐสุลต่านมลายู ซึ่งมีความสัมพันธ์กับจักรวรรดิใหญ่โดยรอบ เช่น จักรวรรดิมลายู เมืองมะละกา, อโยธยา, และ จักรวรรดิอิสลามในชวา ดินแดนที่อ้างว่าเสียให้ไทย ตกไปเป็นของอังกฤษ และก็ได้คืนไปแล้ว จึงได้ก่อตั้งประเทศมาเลเชีย เมื่อ 62 ปีก่อน (พ.ศ. 2506) ผู้ที่เป็นเด็กในยุคก่อนนั้น จะรู้จักแต่ มาลายู หรือ มาลายา ไม่มี "มาเลเซีย" 

มหาเธร์ เป็นผู้นำของมาเลเซีย ที่ชาวมาเลเซีย ถือว่ายิ่งใหญ่ นำความเปลี่ยนแปลง และการพัฒนาประเทศในหลายมิติให้กับมาเลเชีย ไม่ยอมอ่อนข้อให้ใคร ไม่เกรงกลัวอิทธิพลตะวันตก แต่ในการเป็นนายกรัฐมนตรี 2 ครั้ง(ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2525-2539 และครั้งที่สองในปี 2552-2562) ก็มีข้อสงสัยและการต่อต้าน ด้วยพฤติกรรมใช้อำนาจแบบเผด็จการ ปิดปากฝ่ายตรงข้ามและสื่อมวลชน มีกรณีเรื่องคอรัปชั่น และรัฐบาลของเขา เป็นผู้ดำเนินคดีกับนายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของมาเลเซีย ด้วยคดีคอรัปชั่นและคดีร่วมเพศทางทวารหนัก (มีเซ็กส์กับผู้ชาย) จนนายอันวาร์ ถูกตัดสินจำคุก 6 ปีในข้อหาคอร์รัปชัน และอีก 9 ปีในข้อหาการร่วมเพศกับบุรุษ 

คำตัดสินในคดีของอันวาร์ได้รับการวิจารณ์อย่างกว้างขวางจากองค์กรสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศและรัฐบาลต่างประเทศ ซึ่งมองว่าการพิจารณาคดีเหล่านั้นมีแรงจูงใจทางการเมือง ในปี 2004 ศาลสูงสุดของมาเลเซียได้ให้คำตัดสินในคดีร่วมเพศกับบุรุษเป็นโมฆะ ส่งผลให้อันวาร์ได้รับการปล่อยตัว แต่เขาถูกตัดสินจำคุกอีกครั้งในข้อหาคล้ายกันในปี 2015 แต่ได้รับการอภัยโทษจากกษัตริย์ในปี 2018 (“ยังก์ดีเปอร์ตวนอากง" Yang di-Pertuan Agong หมุนเวียนจากรัฐต่างๆ ทุก 5 ปี)

ในขณะนั้น ดร. มหาเธร์ โมฮัมหมัด (Mahathir Mohamad) เป็นนายกรัฐมนตรีของมาเลเซีย และเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการดำเนินคดีต่ออันวาร์ แม้ว่ามหาเธร์จะไม่ได้เป็นผู้ยื่นฟ้องโดยตรง แต่เขามีอำนาจในการตัดสินใจทางการเมืองในช่วงเวลานั้น.... อาการฟูมฟายโทษประเทศไทยเรื่องดินแดนที่มีขนาดเท่าที่เห็น อาจจะเกิดจากความโหยหา การร่วมเพศทางประตูหลัง ที่ขาดแคลนมานาน
**

คาบสมุทรมลายู (ซึ่งในอดีตมักเรียกว่า "มลายา") ค่อย ๆ ตกอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 18 จนถึงต้นศตวรรษที่ 20 โดยสามารถสรุปเหตุการณ์สำคัญได้ดังนี้

ปี 1786 (พ.ศ. 2329 ตรงกับรัชสมัยของ สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1)) – บริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษได้รับสิทธิ์ครอบครอง เกาะปีนัง จากสุลต่านแห่งเกอดะฮ์ (ไทรบุรี) นับเป็นจุดเริ่มต้นของการเข้ามาของอังกฤษในภูมิภาคนี้

ปี 1819 (พ.ศ. 2362) – เซอร์สแตมฟอร์ด แรฟเฟิลส์ ก่อตั้ง สิงคโปร์ ขึ้นเป็นศูนย์กลางการค้าแห่งใหม่ของอังกฤษ

ปี 1824 (พ.ศ. 2367) – สนธิสัญญาอังกฤษ–ดัตช์ กำหนดให้พื้นที่คาบสมุทรมลายูอยู่ภายใต้อิทธิพลของอังกฤษ ส่วนดัตช์ (เนเธอร์แลนด์) ได้ครอบครองหมู่เกาะอินโดนีเซียในปัจจุบัน ถือเป็นการแบ่งเขตอิทธิพลอย่างเป็นทางการ

ปี 1826 (พ.ศ. 2369) – อังกฤษจัดตั้งอาณานิคมที่เรียกว่า นิคมช่องแคบ (Straits Settlements) ซึ่งรวมปีนัง มะละกา และสิงคโปร์ไว้ด้วยกัน

ปี 1874 (2417) – สนธิสัญญาปังโกร์ ทำให้อังกฤษเริ่มเข้ามาแทรกแซงการปกครองภายในของรัฐมลายู โดยเริ่มจากรัฐ เประ ภายใต้ข้ออ้างในการยุติความขัดแย้งภายใน

ปี 1895 (พ.ศ. 2438) – อังกฤษรวมรัฐมลายูบางส่วน (เประ เซอลาโงร์ เนกรีเซมบิลัน และปะหัง) เข้าด้วยกันเป็น สหพันธรัฐมลายู (Federated Malay States) โดยมีข้าหลวงอังกฤษประจำแต่ละรัฐ ปกครองผ่านระบบ “อาณานิคมโดยอ้อม”

ปี 1909 (พ.ศ. 2452 ในรัชสมัยของ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5)) – สนธิสัญญาอังกฤษ–สยาม โอนรัฐมลายูทางเหนือ ได้แก่ เคดาห์ กลันตัน ปะลิส และตรังกานู จากอิทธิพลของสยามไปอยู่ภายใต้อังกฤษ - รัฐทั้ง 4 รัฐนี้ มีสถานะเป็นรัฐบรรณาการของสยาม มีผู้ปกครองของตนเอง แต่ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการและยอมรับอำนาจอธิปไตยของสยาม สยามไม่ได้ปกครองรัฐเหล่านี้โดยตรงในลักษณะของอาณานิคม แต่มีอิทธิพลทางการเมืองและวัฒนธรรมในพื้นที่เหล่านี้มาเป็นเวลาหลายศตวรรษ

ภายในปี 1910 (พ.ศ. 2453) - ดินแดนส่วนใหญ่ในคาบสมุทรมลายูก็ได้ตกอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ ทั้งทางตรง (เช่น นิคมช่องแคบ) และทางอ้อม (รัฐมลายูต่าง ๆ)

ก่อนปี พ.ศ. 2329 ดินแดนที่เป็น มลายา หรือคาบสมุทรมลายูในปัจจุบัน ไม่ได้เป็นประเทศเดียวหรือรัฐที่รวมศูนย์ แต่เป็น กลุ่มรัฐอิสระ ที่มีระบบการปกครองของตนเอง โดยส่วนใหญ่เป็น รัฐสุลต่านมลายู ซึ่งมีความสัมพันธ์กับจักรวรรดิใหญ่โดยรอบ เช่น จักรวรรดิมลายู เมืองมะละกา, อโยธยา, และ จักรวรรดิอิสลามในชวา

‘ดร.เสรี วงษ์มณฑา’ ตอบโต้คอมเมนต์!! ‘แก่แล้ว ปล่อยวางบ้าง’ ย้ำ!! การวิพากษ์ เสนอแนะ คือหน้าที่ของ ‘สื่อวิเคราะห์’

(5 พ.ค. 68)  ดร.เสรี วงษ์มณฑา  นักวิชาการด้านการตลาดและการสื่อสาร  โพสต์เฟซบุ๊กว่า เราเป็นสื่อประเภทวิเคราะห์ คือเมื่อมีอะไรเกิดขึ้นเป็นข่าว เราจะวิเคราะห์ว่าเรื่องต่างๆมันเป็นเช่นนั้นได้ไง มันจะส่งผลอะไร และเราควรจะทำอะไร

แนวทางการทำงานของเราคือ "แน่วแน่แก้ไขในสิ่งผิด" คืออะไรไม่ดี จะไม่ปล่อยผ่าน ที่ควรตำหนิก็จะตำหนิอย่างสุภาพแล้วเสนอแนะแนวทางในการแก้ไข

เป็นการแสดงทัศนะส่วนตัวประการหนึ่ง หวังจะประเทืองปัญญาเพื่อนร่วมชาติให้ช่วยกันป้องกันประเทศชาติ ไม่ให้ใครทำลาย

วันนี้มีคนมา comment การทำงานของเราว่า "ปล่อยวางบ้างเถอะ แก่แล้ว" เรื่องบ้านเมือง ถ้ามีคนคิดแบบนี้เยอะๆ ประเทศของเราน่าห่วงนะคะ

การปกป้องประเทศด้วยความกตัญญูต่อแผ่นดินเป็นหน้าที่ของทุกคน ทุกเพศ ทุกวัยนะคะ เห็นสิ่งผิด แล้วนิ่งเฉย ไม่น่าจะถูกต้องนะคะ


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top