Friday, 25 April 2025
ค้นหา พบ 47667 ที่เกี่ยวข้อง

ภูฏานประดับพระบรมฉายาลักษณ์-ธงชาติไทยทั่วเมือง เตรียมต้อนรับเสด็จฯ ในหลวง–พระราชินี เยือนอย่างเป็นทางการ 25–28 เม.ย.นี้

(24 เม.ย. 68) เพจเฟซบุ๊ก 'โบราณนานมา' โพสต์ภาพพร้อมข้อความเผยว่า ราชอาณาจักรภูฏานได้ประดับพระบรมฉายาลักษณ์และธงชาติไทยในพื้นที่ต่าง ๆ เตรียมความพร้อมรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี

ทั้งสองพระองค์จะเสด็จพระราชดำเนินเยือนราชอาณาจักรภูฏานอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 25–28 เมษายน 2568 ตามคำทูลเชิญของสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก ซึ่งในหลวงทรงรับคำเชิญด้วยความปีติยินดียิ่ง

การเสด็จฯ เยือนในครั้งนี้ถือเป็นโอกาสสำคัญในการกระชับความสัมพันธ์และความร่วมมืออันแน่นแฟ้นระหว่างสองราชอาณาจักร ที่มีมิตรภาพอันยาวนาน สืบเนื่องจากมรดกทางวัฒนธรรมร่วมกันในพระพุทธศาสนา และสายสัมพันธ์ระหว่างราชวงศ์และประชาชนของทั้งสองประเทศ

มหากาพย์แห่งสงครามอินโดจีน EP#14 พันธมิตรเวียตนามเหนือ จากหลายชาติคอมมิวนิสต์

“เเชโกสโลวาเกีย” สาธารณรัฐสังคมนิยมเชโกสโลวาเกีย (ปัจจุบันแยกเป็น 2 ประเทศแล้วคือ เช็ก และ สโลวัก) เป็นสมาชิกของสนธิสัญญาวอร์ซอว์ (องค์การพันธมิตรทางทหารของฝ่ายคอมมิวนิสต์ในยุคสงครามเย็น (Cold War)) และตลอดสงครามเวียตนามได้จัดส่งความช่วยเหลือไปยังเวียตนามเหนือมากมายทั้งปืนเล็กยาวหลายหมื่นกระบอก รวมถึงปืนค.และปืนใหญ่ อาวุธยุทโธปกรณ์ที่เชโกสโลวาเกียส่งให้เวียตนามเหนือได้แก่ ปืนพกกล VZ 61 ŠKORPION และปืนเล็กยาวจู่โจม VZ 58 ความร่วมมือกับเชโกสโลวาเกียทำให้มีการพัฒนาความสามารถทางอากาศของเวียตนามเหนือตั้งแต่ปี 1956 ครูการบินขาวเชโกสโลวาเกียได้ทำการฝึกให้นักบินชองกองทัพอากาศเวียตนามเหนือ (VPAF) ในประเทศจีน และช่วยในการพัฒนากองทัพอากาศเวียตนามที่ทันสมัยด้วยเครื่องบินรบแบบ Aero Ae-45, Aero L-29 Delfín และ Zlín Z 26ที่สร้างโดยเชโกสโลวาเกียเอง ตลอดสงครามระหว่างปี 1966 ถึง 1972 มีนักบินเวียตนามเหนือทั้งหมด 17 นายสามารถยิงเครื่องบินรบสหรัฐฯ ตกตั้งแต่ 5 ลำขึ้นไป และตัดเป็น “เสืออากาศ (ACE)”

นอกจากนี้ยังมีความร่วมมือด้านการศึกษาระหว่างสองประเทศเริ่มขึ้นในปี 1956 ด้วยโครงการระยะสั้น โดยเด็กนักเรียนชาวเวียดนามเหนือประมาณ 100 คนถูกส่งไปยังเมือง Chrastava ในภูมิภาค Liberec เด็กส่วนใหญ่กลับเวียตนามเหนือหลังจากโครงการสี่ปีสิ้นสุดลง แต่มีเพียงไม่กี่คนที่ยังคงศึกษาต่อและก่อตั้งชุมชนเวียตนามที่ยังคงอยู่ในเมือง Chrastava จนถึงทุกวันนี้ ความร่วมมืออย่างเป็นทางการมากขึ้นระหว่างสองประเทศเริ่มขึ้นในอีกสิบปีต่อมา เชโกสโลวาเกียและเวียตนามเหนือลงนามในสนธิสัญญาสองฉบับในปี 1967 อนุญาตให้ชาวเวียตนามเหนือทำงานหรือศึกษาในเชโกสโลวาเกีย ซึ่งส่วนใหญ่ทำงานในอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรและสิ่งทอ 

“เกาหลีเหนือ” ผลมาจากการตัดสินใจของพรรคแรงงานเกาหลีในเดือนตุลาคม 1966 เกาหลีเหนือ (สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี) ได้ส่งฝูงบินเครื่องบินขับไล่ที่ 921 และ 923 ของกองทัพอากาศเกาหลีเหนือไปยังเวียตนามเหนือเพื่อสนับสนุนเวียตนามเหนือในต้นปี 1967 มีนักบินเกาหลีเหนือ 200 นาย และหน่วยปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานของเกาหลีเหนือ 2 หน่วยประจำการในเวียตนามเหนือ ในช่วงสงครามเวียตนาม เกาหลีเหนือยังส่งอาวุธกระสุนและเครื่องแบบสองล้านชุดให้กับสหายของพวกเขาในเวียดนามเหนือ Kim Il Sung ผู้นำเกาหลีเหนือในขณะนั้นได้บอกกับนักบินของเขาว่า "ให้สู้รบในสงครามเหมือนกับว่าท้องฟ้าเวียตนามเป็นของพวกเขาเอง" เกาหลีเหนือให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและการทหารแก่เวียตนามเหนือเป็นจำนวนมาก ในปี 1968 นักเรียนเวียตนามเหนือประมาณ 2,000 คนได้รับการศึกษาในเกาหลีเหนือโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย อย่างไรก็ตามจากปี 1968 ความสัมพันธ์ระหว่างเปียงยางและฮานอยเริ่มเสื่อมลงด้วยเหตุผลหลายประการ อาทิ การที่เกาหลีเหนือไม่เห็นด้วยกับการตัดสินใจของเวียตนามเหนือที่จะเข้าร่วมการเจรจาสันติภาพกับสหรัฐอเมริกาและตอบสนองต่อข้อตกลงสันติภาพปารีส  ในช่วงสงครามกลางเมืองกัมพูชาเกาหลีเหนือได้เข้าร่วมแผนการจีนในการสร้าง "แนวร่วมของอาณาจักรทั้งห้าในเอเชีย" (จีน เกาหลีเหนือ เวียดนาม ลาว และกัมพูชา) ในขณะที่เวียตนามเหนือปฏิเสธ เมื่อสงครามเวียตนามสิ้นสุดลงในปี 1975 รัฐบาลเวียตนามเหนือประสบความสำเร็จในการรวมประเทศซึ่งแตกต่างจากเกาหลีเหนือ ในช่วงสงครามกัมพูชา – เวียดนาม ผู้นำเกาหลีเหนือได้ประณามการรุกรานของกองกำลังเวียดนามในกัมพูชา และให้การสนับสนุนเขมรแดง (Khmer Rouge)  อีกทั้งยังสนับสนุนจีนในช่วงสงครามชิโน-เวียดนาม เวียดนามมาไม่พอใจสิ่งที่เห็นว่าเป็นพฤติกรรมที่เห็นแก่ตัวของเกาหลีเหนือ และ 2 ชาติคอมมิวนิสต์นี้กลายเป็นคู่แข่งมากกว่ามิตรประเทศ ในช่วงเวลาเดียวกัน Pol Pot เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชาและผู้นำเขมรแดงได้ไปเยือนเกาหลีเหนือซึ่งเป็นเพียงหนึ่งในสองประเทศ Pol Pot ได้ไปเยือน

“คิวบา” การมีส่วนร่วมในเวียตนามเหนือของสาธารณรัฐคิวบาภายใต้ Fidel Castro นั้น ทั้งเวียดนามและคิวบาไม่ได้เปิดเผยข้อมูลใด ๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้มากนัก จึงไม่ทราบว่า ในช่วงสงครามมีที่ปรึกษาทางทหารของคิวบาจำนวนมากในเวียตนามเหนือ มีรายงานหลายฉบับระบุว่า นักบินคิวบาได้บินเครื่องบินขับไล่ในการรบทางอากาศกับนักบินอเมริกันเหนือเวียตนามเหนือ ที่ปรึกษาชาวอเมริกันคนหนึ่งที่อยู่ในเฮลิคอปเตอร์แบบ Sikorsky H-34 ได้ใช้เครื่องยิงลูกระเบิดแบบ M-79 ยิงเครื่องบินลำเลียง An-2 ซึ่งบินนักบินชาวคิวบาในภาคเหนือของลาว ซึ่งเป็นเครื่องบินชนิดที่ถูกใช้ในการโจมตี Lima 85 ฐานลับสุดยอดของสหรัฐฯ ในลาว เชื่อว่าบินโดยนักบินชาวคิวบาเช่นกัน (Lima 85 ทำหน้าที่ชี้เป้าให้เครื่องบินอเมริกันในการทิ้งระเบิดเวียตนามเหนือ) มีข้อกล่าวหามากมายจากอดีตเชลยศึกของสหรัฐฯ ที่ถูกชาวคิวบาทำทารุณกรรมในเรือนจำของเวียตนามเหนือในช่วงสงคราม ซึ่งถูกเรียกว่า "โปรแกรมคิวบา" (ซึ่งเวียตนามเหนืออ้างว่า เป็นการศึกษาทางจิตวิทยาของมหาวิทยาลัยฮานอย) พยานในเรื่องนี้รวมถึง จอห์น แมคเคน วุฒิสมาชิก และผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯในปี 2008 ผู้เคยเป็นเชลยศึกในเวียตนามเหนือ

ในบรรดาที่ปรึกษาทางทหารชาวคิวบาเหล่านี้หลายพันคนที่เรียกกันว่า "Giron Brigade" ทำหน้าที่รักษาเส้นทางหมายเลขเก้า หรือ เส้นทางโฮจิมินห์ที่เริ่มจากเวียตนามเหนือผ่านลาวและกัมพูชาไปยังเวียตนามใต้ มีทหารอเมริกันจำนวนมากที่ปฏิบัติหน้าที่ทั้งในเวียตนามและลาวถูกจับหรือถูกฆ่าตายตามเส้นทางโฮจิมินห์ โดยทุกครั้งมักจะมีปรึกษาทางทหารชาวคิวบาหลายคนร่วมอยู่ด้วยเสมอ รายงานฉบับหนึ่งของสหรัฐฯ ระบุว่า เชลยศึอเมริกัน 18 นายถูกควบคุมตัวที่ค่าย Phom Thong ในลาวโดยมีปรึกษาทางทหารจากโซเวียตและคิวบาสอบสวนอย่างใกล้ชิด โดยมีทหารเวียตนามเหนือรักษาการณ์ภายนอก

“เยอรมนีตะวันออก” สงครามเวียดนามเป็นโอกาสที่จะปรับปรุงการดำเนินนโยบายต่างประเทศของตนเองภายใต้สหภาพโซเวียต และมีโอกาสเผชิญหน้ากับ "จักรวรรดินิยมอเมริกัน...ผู้รุกราน" โดยกระทรวงความมั่นคงสาธารณะของเวียตนามเหนือ (BộCông an) มีความสนใจเป็นพิเศษที่จะรับความช่วยเหลือจากหน่วยงานความมั่นคงแห่งรัฐ (STASI) ของเยอรมนีตะวันออกในการจัดตั้งหน่วยข่าวกรองและอุปกรณ์รักษาความปลอดภัย ด้วย STASI ได้รับการยกย่องว่ามี "เทคโนโลยีที่ทันสมัยและมีสไตล์ในการทำงานที่มีความเป็นวิทยาศาสตร์" กระทรวงความมั่นคงสาธารณะเวียตนามได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยข่าวกรองโซเวียตและเยอรมันตะวันออกจนได้รับการจัดอันดับว่ามีความสำคัญที่สุดในกลุ่มสังคมนิยม เยอรมนีตะวันออกได้ให้ความช่วยเหลือเป็นจำนวนมากเพื่อช่วยให้เวียตนามเหนือ อาทิ การจัดทำ "Green Dragon" บัตรประจำตัวนักรบเวียตนามเหนือที่แฝงตัวในเวียตนามใต้ซึ่งยากที่จะปลอมแปลงหรือทำซ้ำ 

การมีส่วนร่วมของเยอรมนีตะวันออกในสงครามเวียตนามนั้นกว้างขวางและมากมายหลากหลายมิติ ความช่วยเหลือที่จับต้องได้เช่น การฝึกอบรมงานด้านข่าวกรองให้เจ้าหน้าที่เวียตนามเหนือ และในปี 1967 ได้เพิ่มงบประมาณเพื่อส่งอาวุธยุทโธปกรณ์ เสบียง เวชภัณฑ์ ไปยังเวียตนามเหนือ รวมไปถึงความช่วยเหลือทางการเงิน ความช่วยเหลือด้านการแพทย์และมนุษยธรรม การศึกษาและการฝึกอบรมเฉพาะด้าน และการศึกษาสำหรับกลุ่มชาวเวียตนามเหนือในเยอรมนีตะวันออก การรณรงค์ที่สำคัญในเยอรมนีตะวันออกที่ประสบความสำเร็จ อาทิ "Blood for Vietnam" ในปี 1968 ซึ่งสมาชิกสหภาพการค้าของเยอรมนีตะวันออก 50,000 คนได้ร่วมกันบริจาคเลือดให้กับเวียตนามเหนือ 

หลังจากการรวมชาติของสองเวียตนามประสบความสำเร็จในปี 1975 ความสัมพันธ์อันใกล้ชิดระหว่างเยอรมนีตะวันออกและเวียดนามยังคงดำเนินต่อไป เนื่องจากการขาดแคลนแรงงานในเยอรมนีตะวันออกอย่างรุนแรง เยอรมนีตะวันออกและเวียดนามได้ลงนามในสัญญาในเดือนเมษายน 1980 สำหรับการจัดส่งพนักงานรับเชิญชาวเวียดนาม 200,000 คนไปทำงานในเยอรมนีตะวันออก ในทางกลับกันเยอรมนีตะวันออกให้ความช่วยเหลือเวียดนามในการพัฒนาด้านต่าง ๆ และนำเข้าสินค้าเช่น กาแฟ ชา ยาง และพริกไทย จากเวียดนาม ปัจจุบัน ชาวเวียดนามเป็นชนกลุ่มน้อยชาวเอเชียที่มีจำนงนมากที่สุดในเยอรมนี

หมายเหตุ ผู้เขียนใช้คำว่า “เวียตนาม” ตัว ‘ต’ สะกด เพราะเอกสารสมัยก่อนใช้เช่นนี้ ต่อมาภายหลังจึงเปลี่ยนมาเป็น “เวียดนาม” สะกดด้วยตัว ‘ด’

ตลอดเดือนเมษายน 2568 พบกับเรื่องราวของมหากาพย์แห่งสงครามอินโดจีน 
ในโอกาสครบ 50 ปีแห่งการสิ้นสุดสงคราม วันที่ 30 เมษายน 2518

‘สหภาพยุโรป’ เตรียมลดพึ่งพาอาวุธและเทคโนโลยีจากสหรัฐฯ พร้อมขู่เก็บภาษีตอบโต้-ตัดสิทธิ์บริษัทอเมริกันในยุโรป

(24 เม.ย. 68) ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป (EU) กำลังพิจารณามาตรการลดการซื้ออาวุธจากสหรัฐฯ และกำหนดข้อจำกัดทางเศรษฐกิจอย่างเข้มงวด เพื่อตอบโต้การดำเนินนโยบายของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ตามรายงานของ Politico ที่อ้างอิงเจ้าหน้าที่ในยุโรป

มาตรการดังกล่าวอยู่ระหว่างการหารือ รวมถึงการหาผู้จัดหาอาวุธรายใหม่, การเก็บภาษีตอบโต้สูง,ยกเลิกการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาแก่บริษัทอเมริกัน และลดการพึ่งพาบริษัทเทคโนโลยีสหรัฐฯ โดยเฉพาะในด้านระบบป้องกันประเทศที่สหรัฐฯ ที่ถูกมองว่าใช้เป็นเครื่องมือกดดันยูเครน

พาแวล โควัล (Pawel Kowal) ที่ปรึกษารัฐบาลโปแลนด์ เผยว่า ความเชื่อมั่นต่อสหรัฐฯ สั่นคลอนอย่างหนัก และโปแลนด์อาจไม่สั่งซื้ออาวุธจากสหรัฐฯ อีก ขณะเดียวกันคณะกรรมาธิการยุโรปเริ่มหารือถึงการใช้ 'มาตรการต่อต้านการบีบบังคับ' ซึ่งรวมถึงการขึ้นภาษีศุลกากรและจำกัดสิทธิ์บริษัทสหรัฐฯ ในการเข้าถึงตลาดยุโรป

ทั้งนี้ ท่าทีของยุโรปมีขึ้นหลังทรัมป์ออกคำสั่งเรียกเก็บภาษีศุลกากรพื้นฐานเพิ่มขึ้น 10% ต่อสินค้านำเข้าหลายประเทศ ซึ่งรวมถึงมาตรการเพิ่มเติมกับ 75 ประเทศที่ไม่ตอบโต้หรือไม่ยอมเปิดเจรจา 

นราธิวาส-คณะตัวแทนรัฐ 3 ฝ่าย ห่วงใยร่วมให้กำลังใจผู้บาดเจ็บเหตุระเบิด – 2 เยาวชนยังอาการน่าห่วง นักเรียนหญิงหวั่นกระทบการสมัครเรียน

ที่บรรยากาศที่ตึกกัญญารัตน์ โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ อ.เมือง จ.นราธิวาส เต็มไปด้วยความห่วงใยและอบอุ่น เมื่อคณะตัวแทนจากภาครัฐ 3 ฝ่าย ร่วมลงพื้นที่เข้าเยี่ยมให้กำลังใจผู้บาดเจ็บและครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจากเหตุลอบวางระเบิดบริเวณหลังสถานีตำรวจภูธรเมืองนราธิวาสในวันที่20 เมษายน ที่ผ่านมา

โดยเหตุการณ์ลอบวางระเบิดในครั้งนี้ สร้างแรงสั่นสะเทือนในพื้นที่ใกล้เคียงเพราะเป็นชุมชนที่หนาแน่นและประชาชนได้มาจับจ่ายใช้สอยเนื่องจากบริเวณที่เกิดเหตุเส้นทางไปตลาดนัดบ้านทอนซึ่งตรงกับทุกวันอาทิตย์ของสัปดาห์ เหตุการณ์ดังกล่าว หลายหน่วยงานรีบเข้าเยี่ยมผู้ป่วย เพื่อเยียวยาและสร้างขวัญกำลังใจให้กับประชาชนอย่างรวดเร็ว การเข้าเยี่ยมครั้งนี้นำโดย นายซาฟีอี เจ้ะเลาะ ประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนราธิวาส, นางซารีนา เจ้ะเลาะ พร้อมกับนายอับดุลอาซิซ เจ้ะมามะ ในนามที่ปรึกษาศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ฝ่ายสตรีนางประนอม คำจุ่นประธานโฆษกชาวบ้านนางปารีดะ อารีซู รองประธานศูนย์สภาพัฒนาการเมืองพลเมืองพระปกเกล้าจังหวัดนราธิวาส , พร้อมด้วย พ.ท.ปรีชา รุ่งเมือง และ นายสุกรี มะดากะกุล กรรมการกองอำนวยการตัวแทนคณะขับเคลื่อนสันติสุขชายแดนใต้ และคณะกว่า10 ท่านต่างพร้อมใจเข้าพบครอบครัวผู้ได้รับบาดเจ็บ ให้กำลังใจอย่างใกล้ชิด ซึ่งขณะนี้ยังมีเยาวชน 2 รายที่แพทย์ยังต้องเฝ้าติดตามอาการอย่างใกล้ชิด คือ ด.ช.อัสมิน ดือเระ ชาว ต.ลุโบะสาวอ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส ซึ่งได้รับบาดแผลจากสะเก็ดระเบิดบริเวณกรามและคอ และ นส .นัชมีย์ ศรีมารักษ์ อายุ 15  ได้รับบาดเจ็บจากสะเก็ดระเบิดบริเวณใต้ราวนมขวา บาดแผลลึกและยังอยู่ในความดูแลของทีมแพทย์อย่างต่อเนื่อง 

นส .นัชมีย์ ศรีมารักษ์ อายุ 15 กล่าวว่า ตอนนี้รู้สึกเสียใจมากและตกใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นขณะนี้ก็ยังอยู่ในความหวาดผวาอยู่ ขอบคุณทุกท่านที่มาให้กำลังใจและอีกเรื่องหนึ่งคือตนอยู่ระหว่างจะไปสมัครสอบเข้าเรียนชั้นม 4 ด้วยแต่ยังไม่ทันได้เข้าสมัครกังวลว่าจะได้เข้าโรงเรียนต่อหรือไม่ถึงฝากผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้องช่วยดำเนินการเรื่องนี้ด้วยค่ะ

เหตุการณ์ลอบวางระเบิด ยังคงเกิดเหตุ อย่างต่อเนื่องกันทุกวันหลายฯหน่วยงานเกิดความวิตกกังวลกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้ชาวบ้าน และหลายๆฝ่ายออกมาเรียกร้องขอให้ยุติความรุนแรงโดยเร็วที่สุด เพราะมีผลประทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันโดยมาก ขณะที่ภาครัฐไม่ได้นิ่งนอนใจ พร้อมทั้งเดินหน้าดูแลผู้ได้รับผลกระทบอย่างเต็มที่ เพื่อเยียวยาและสร้างขวัญกำลังใจให้กับประชาชนในพื้นที่ชายแดนใต้ที่ยังคงเผชิญความไม่สงบอย่างต่อเนื่อง

อดีตคณบดีนิติฯ จุฬาฯ หนุนเพิกถอนปริญญาบัณฑิตหากพบทุจริตสอบนิติฯ มั่นใจคณะดำเนินการรอบคอบ ตรงไปตรงมาเพื่อรักษาศักดิ์ศรีสถาบัน

(24 เม.ย. 68) จากกรณีที่กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) ดำเนินคดีจับกุมผู้ต้องหาซึ่งเกี่ยวข้องกับการลักลอบนำข้อสอบของคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ออกไปให้บุคคลอื่นทำก่อน แล้วส่งต่อให้กับอดีตนายตำรวจระดับสูงเพื่อคัดลอกข้อสอบ : ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในช่วงปี 2566 และได้สร้างความเสียหายต่อภาพลักษณ์ของหลักสูตรอย่างมาก 

กระทั่งคณะนิติศาสตร์ต้องออกแถลงการณ์ชี้แจงว่า ผู้ต้องหาที่ถูกจับกุมไม่ใช่ศิษย์เก่าและไม่ใช่บุคลากรของมหาวิทยาลัย แต่สามารถเข้าถึงข้อสอบได้จากการอาศัยโอกาสเข้ามาติดต่อประสานงานกับเจ้าหน้าที่ของหลักสูตร ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างกระบวนการสอบสวนและดำเนินคดีตามกฎหมาย

ในประเด็นนี้ ศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว แสดงความเห็นอย่างชัดเจนว่า เมื่อถึงเวลาที่ข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานปรากฏอย่างแน่ชัด หากพบว่ามีบัณฑิตคนใดได้รับปริญญาจากการกระทำอันเป็นการทุจริต การเพิกถอนปริญญาควรเป็นผลที่ตามมาอย่างไม่ต้องสงสัย ทั้งนี้เพื่อรักษาความศักดิ์สิทธิ์ของวุฒิการศึกษา และยืนยันว่ามหาวิทยาลัยไม่ยอมให้มีการใช้เส้นสายหรือกลวิธีที่ไม่ชอบธรรมในการเข้าสู่ระบบการศึกษา

ศาสตราจารย์ธงทองยังกล่าวเพิ่มเติมว่า ตนมั่นใจว่าคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะดำเนินการในเรื่องนี้อย่างตรงไปตรงมา รอบคอบ และอยู่ภายใต้กรอบของความยุติธรรม เพื่อพิทักษ์หลักนิติธรรมและจริยธรรมทางวิชาการ ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของการศึกษาด้านกฎหมายในสังคมไทย

ทั้งนี้ ศ.ธงทอง ยังได้ฝากกำลังใจมายังคณะผู้บริหาร คณาจารย์ และชาวจุฬาฯ ทุกคน ให้ยืนหยัดรักษาความน่าเชื่อถือของหลักสูตรและสถาบันต่อไป พร้อมทั้งย้ำว่า ความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมและความถูกต้องจะเป็นพลังสำคัญในการฝ่าฟันวิกฤตในครั้งนี้


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top