Tuesday, 29 April 2025
ค้นหา พบ 47725 ที่เกี่ยวข้อง

‘ดร.ไชยันต์’ โยนโจทย์ถึง ‘ดันแคน แมคคาร์โก’ กับแนวคิด 'เครือข่ายกษัตริย์' ขอคำอธิบายและการประยุกต์ใช้ หลัง ‘พอล แชมเบอร์’ - นักวิชาการไทย นำไปอ้างอิง

ศาสตราจารย์ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า ต่อกรณี งานของ ดร พอล แชมเบอร์ และนักวิชาการไทยท่านอื่นๆที่ชอบใช้กรอบแนวคิดเรื่อง Network Monarchy (เครือข่ายกษัตริย์/NM) ในการวิเคราะห์การเมืองไทย

1. อยากให้ ศาสตราจารย์ Duncan McCargo (เจ้าของ NM). ช่วยอธิบายความหมายและการประยุกต์ใช้ กรอบแนวคิด Network Monarchy (NM)หน่อยครับ (ท่านอาจารย์ดันแคนอ่านภาษาไทยได้)

2 เพราะผมได้ไปอ่านบทความที่เขียนวิพากษ์ NM ของอาจารย์ดันแคนมา พบว่า 
“แม้ว่าแนวคิด ‘เครือข่ายกษัตริย์’ ที่มีอิทธิพลของดันแคน แมคคาร์โกจะถูกอ้างถึงบ่อยครั้งในวรรณกรรมเกี่ยวกับการเมืองไทยในช่วงไม่นานมานี้ 
แต่ก็ยังมีการพัฒนาไม่เพียงพอ”

ด้วยเหตุนี้ แนวคิดนี้จึงถูกตั้งคำถามและท้าทายโดยนักวิชาการหลายคนในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา 

ในบทความ Pacific Affairs ของเขาในปี 2021 แมคคาร์โกได้โต้แย้งข้อโต้แย้งของนักวิชาการเหล่านี้หลายคนและปกป้องแนวคิดของเขา 
อย่างไรก็ตาม การปกป้องของเขานั้นไม่น่าเชื่อถือ 

เนื่องจากไม่ได้ขยายความถึงขอบเขต องค์ประกอบ และรูปแบบการดำเนินงานของเครือข่ายกษัตริย์ ทำให้ข้อบกพร่องของแนวคิดดั้งเดิมของเขายังไม่ได้รับการแก้ไข 

ที่สำคัญที่สุด ตอนนี้แมคคาร์โกเน้นย้ำถึงคุณสมบัติ 'ที่คลุมเครือ' ของเครือข่ายกษัตริย์ ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่เขาไม่ได้เน้นในตอนแรก เพื่อรองรับความผิดปกติเชิงประจักษ์ใหม่ๆ และโต้แย้งกับผู้วิจารณ์ของเขา การทำเช่นนี้ทำให้ข้อโต้แย้งของเขาไม่สามารถหักล้างได้ 

บทความนี้ใช้แนวคิดของ Robert Cribb เป็นพื้นฐาน เพื่ออธิบายว่าทำไมแนวคิดเครือข่ายกษัตริย์ซึ่งพัฒนาไม่เพียงพอจึงแพร่หลายไปทั่วในตอนแรก”

(ส่วนหนึ่งจาก Nishizaki, Yoshinori, “ ‘Ambitious’ Network Monarchy as Problematic Euphoric Couplet,” September 2023Pacific Affairs 96(3):553-568.)

ปล.
ท่านอาจารย์ดันแคนเพิ่งมาสัมภาษณ์ผมไม่นานมานี้ ผมเลยถามท่านว่า “อาจารย์คิดว่า อย่างตัวผมนี่ อยู่ใน Network Monarchy ไหมครับ และเพราะอะไร ?”
ท่านตอบครับ
อยากให้ผู้อ่านลองเดาว่า ท่านตอบอย่างไร

ททท. เผย ‘สงกรานต์ 2568’ นักท่องเที่ยวทะลุ 4.8 ล้านคน ปักหมุด ‘กรุงเทพฯ’ ครองใจตลอดกาล เมืองรอง ‘ชุมพร-เลย’ ฮอตไม่แพ้เมืองหลัก

(13 เม.ย. 68) เทศกาลสงกรานต์ปีนี้ยังคงเป็นช่วงเวลาแห่งความสุขและการกลับมารวมตัวของครอบครัวคนไทยทั่วประเทศ โดยถือเป็น 'วันขึ้นปีใหม่ไทย' ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดประเพณีหนึ่ง 

โดยข้อมูลล่าสุดจาก ทราเวลโลก้า (Traveloka) เผยให้เห็นว่า กรุงเทพมหานครยังคงครองแชมป์จุดหมายปลายทางยอดนิยมตลอดกาล สำหรับนักเดินทางชาวไทยและต่างชาติ แสดงให้เห็นถึงบทบาทของเมืองหลวงในฐานะ ศูนย์กลางแห่งการเฉลิมฉลองเทศกาลสงกรานต์

ขณะเดียวกัน เทรนด์การท่องเที่ยวของชาวไทยเริ่มเปลี่ยนไป โดยเริ่มให้ความสนใจกับจุดหมายปลายทาง 'นอกกระแส' มากขึ้น เช่น ชุมพร นครพนม และเลย ซึ่งกำลังกลายเป็นดาวรุ่งในหมู่นักท่องเที่ยวที่มองหาประสบการณ์ท้องถิ่นแท้ ๆ

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) คาดว่า สงกรานต์ปี 2568 จะมีรายได้จากการท่องเที่ยวรวมกว่า 26,564 ล้านบาท แบ่งเป็น 7,324 ล้านบาทจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ และ 19,240 ล้านบาทจากการท่องเที่ยวในประเทศ โดยตัวเลขนักท่องเที่ยวรวมกว่า 4.8 ล้านคน

Traveloka เปิดโผจุดหมายสงกรานต์ยอดนิยมในปีนี้ ได้แก่ 

1. กรุงเทพฯ เตรียมจัดงานสงกรานต์อย่างยิ่งใหญ่ อาทิ Siam Songkran Music Festival (11-14 เม.ย.) และ Water Festival มหาสงกรานต์ มหาสนุก (12-15 เม.ย.) ใน 12 พื้นที่ทั่วเมือง 
2.เชียงใหม่ ผสานวัฒนธรรมล้านนาเข้ากับกิจกรรมสุดมัน เช่น Water War Chiang Mai (13 เม.ย.) 
3. ชลบุรี งาน 'วันไหล' ระหว่างวันที่ 6–20 เม.ย. มอบประสบการณ์สงกรานต์ยาวนาน 
4. ภูเก็ต ร่วมสาดน้ำริมชายหาด พร้อมปาร์ตี้ค่ำคืนที่บางลา และกิจกรรมทำบุญที่เมืองเก่า 
5. หาดใหญ่ สงกรานต์สุดคึกคักที่เซ็นทรัลเฟสติวัลและลีการ์เด้นส์ พลาซ่า พร้อมคอนเสิร์ต ขบวนแห่ และกิจกรรมชุ่มฉ่ำ

ส่วนจุดหมายดาวรุ่งมาแรง ที่นักเดินทางรุ่นใหม่แห่ค้นหาความสงบและวัฒนธรรม อิงข้อมูลจากทราเวลโลก้าเผยว่า การค้นหาเมืองรองอย่าง ชุมพร เพิ่มขึ้น 95% นครพนม (+68%) สกลนคร (+53%) เลย (+46%) และน่าน (+40%)

นอกจากนี้ ตัวเลือกที่พักในช่วงสงกรานต์ก็หลากหลายมากขึ้น ทั้งโรงแรมระดับพรีเมียม รีสอร์ท โฮสเทล ไปจนถึงอพาร์ตเมนต์เช่าระยะยาว เพื่อตอบโจทย์นักท่องเที่ยวทุกกลุ่ม

ซีซาร์ อินทรา ประธานบริษัททราเวลโลก้า กล่าวถึงพฤติกรรมการท่องเที่ยวว่า “นักท่องเที่ยวไทยในปัจจุบันมองหาประสบการณ์ที่ผสมผสานระหว่างประเพณีและการพักผ่อนที่ยืดหยุ่น พร้อมความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว”

สถาปัตยกรรมแห่งโรงเบียร์ Carlsberg กับคำ “จงทำงานเพื่อแผ่นดินเกิด” สะท้อนภาพทั้งไทย - เดนมาร์ก ยังต้องการคนทำงานที่รักชาติรักแผ่นดิน

กลางเมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก มีสถาปัตยกรรมอันโดดเด่นแห่งหนึ่งที่ไม่ใช่พระราชวังหรือมหาวิทยาลัยเก่าแก่ หากแต่เป็น 'ประตูช้าง' ของโรงเบียร์ Carlsberg ที่สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1901 รูปปั้นช้างหินทั้งสี่ตัวแบกเสาหินขนาดใหญ่ไว้บนหลัง ด้วยสายตาที่สงบนิ่งแต่ทรงพลัง เปรียบเสมือนผู้พิทักษ์เงียบแห่งอุตสาหกรรมเบียร์ที่เคยรุ่งเรืองที่สุดในยุโรป

บนซุ้มด้านบนของประตู มีอักษรละตินสลักไว้ว่า “Laboremus pro Patria” แปลว่า
“จงทำงานเพื่อแผ่นดินเกิด”

คำเพียงไม่กี่คำนี้ กลายเป็นหัวใจของบทเรียนทางวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงระหว่างสยามกับเดนมาร์กได้อย่างแนบแน่น

ย้อนกลับไปในวันที่ 26 มิถุนายน ค.ศ. 1934 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ได้เสด็จเยือน Carlsberg อย่างเป็นทางการ นับเป็นหนึ่งในหมุดหมายของความสัมพันธ์ทางการทูตและวัฒนธรรมที่ลึกซึ้งระหว่างสองราชวงศ์ Carlsberg ถึงกับผลิตเบียร์พิเศษที่มีชื่อว่า Royal Siam Lager พร้อมสัญลักษณ์ตราครุฑ ธงช้างเผือก และธงชาติเดนมาร์ก เพื่อเฉลิมฉลองการเสด็จครั้งนั้น

สิ่งที่น่าประทับใจคือ การที่สัญลักษณ์ 'ช้าง' ปรากฏทั้งในฝั่งไทยและเดนมาร์กโดยมิได้นัดหมาย ในสยาม ช้างคือสัตว์คู่บ้านคู่เมือง เป็นสัญลักษณ์ของพระมหากษัตริย์และอำนาจอันชอบธรรม ขณะที่ในเดนมาร์ก ช้างทั้งสี่ตัวคือภาพแทนของพลัง ความมั่นคง และความจงรักภักดีต่อชาติบ้านเมือง

คำว่า “จงทำงานเพื่อแผ่นดินเกิด” ที่ถูกสลักไว้อย่างมั่นคงบนประตูแห่งนี้ มิใช่เพียงถ้อยคำปลุกใจในยุคอุตสาหกรรม หากยังเป็นหลักคิดอันทรงพลังที่ส่งผ่านมายังผู้คนในทุกยุคทุกสมัย โดยเฉพาะในยุคที่โลกหมุนเร็ว ความรักชาติไม่ควรเป็นแค่คำพูด หรือสัญลักษณ์ แต่ควรเป็นการลงมือทำ—ในสิ่งเล็กที่สุดแต่เต็มไปด้วยความหมาย

ไม่ว่าจะอยู่ในอาชีพใด ศาสนาใด หรือแผ่นดินใด คำว่า “ทำงานเพื่อแผ่นดินเกิด” ย่อมไม่สิ้นความหมาย หากยังมีผู้ศรัทธาว่าการลงมือทำ ด้วยความซื่อสัตย์และมุ่งมั่น คือการตอบแทนบ้านเกิดด้วยมือของเราเอง

บางที... ช้างหินที่นิ่งเงียบเหล่านั้น อาจไม่ได้เป็นแค่ประติมากรรมเพื่อการเฉลิมฉลอง หากแต่เป็นคำเตือนใจอันมั่นคง ว่าแม้ยุคสมัยจะเปลี่ยนไป แต่แผ่นดินยังคงต้องการคนทำงานรักชาติรักแผ่นดิน

‘สรรเพชญ’ ชี้ เหตุตึกสตง. ถล่ม เป็นบทเรียนราคาแพง ลั่น การใช้งบประมาณ ต้องคุ้มค่า - ปลอดภัย

เมื่อวันที่ (10 เม.ย.68) นายสรรเพชญ บุญญามณี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสงขลา ในฐานะกรรมาธิการศึกษาการจัดทำและติดตามการบริหารงบประมาณ เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการฯ ซึ่งมีวาระสำคัญในการติดตามความคืบหน้าและตรวจสอบการใช้งบประมาณในโครงการก่อสร้างอาคารที่ทำการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินแห่งใหม่ ที่เกิดเหตุพังถล่มจากเหตุแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568

การประชุมครั้งนี้มีผู้แทนจากหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมอย่างพร้อมเพรียง เพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงและให้ข้อมูลอย่างรอบด้าน อาทิ ผู้แทนผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน อธิบดีกรมบัญชีกลาง อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ นายกสภาวิศวกร นายกสมาคมวิศวกรโครงสร้างแห่งประเทศไทย และนายกสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

นายสรรเพชญ ระบุว่า เหตุการณ์ครั้งนี้ถือเป็นบทเรียนสำคัญที่สะท้อนให้เห็นว่า 'ความคุ้มค่า' จากการใช้งบประมาณ ต้องไม่ละเลย 'ความปลอดภัย' ในทุกขั้นตอนของกระบวนการก่อสร้าง ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบ การควบคุมมาตรฐานทางวิศวกรรม การตรวจสอบคุณภาพวัสดุ การควบคุมผู้รับจ้าง รวมถึงการบริหารจัดการโครงการโดยรวม ซึ่งล้วนเป็นองค์ประกอบสำคัญที่มีผลต่อความมั่นคงของโครงสร้างและความปลอดภัยของประชาชน

“บทเรียนจากการใช้งบประมาณครั้งนี้ คือเสียงเตือนสำคัญถึงทุกภาคส่วนว่า ความคุ้มค่าและความปลอดภัย ต้องเดินเคียงข้างกันเสมอ ตนในฐานะกรรมาธิการฯ ยืนยันว่าจะติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่ชัดเจน และผลักดันให้เกิดการปรับปรุงแนวทางการบริหารโครงการภาครัฐในอนาคต โดยให้ความสำคัญกับทั้งประสิทธิภาพของงบประมาณและมาตรการความปลอดภัยอย่างแท้จริง” นายสรรเพชญกล่าว


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top