Monday, 19 May 2025
ค้นหา พบ 48181 ที่เกี่ยวข้อง

26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 ในหลวง ร.10 พระราชทานสิ่งของช่วยเหลืออาสาสมัครทหารพราน หลังได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์คนร้ายลอบวางระเบิด จ.ยะลา

เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ นายอนุชิต ตระกูลมุทุตา ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา เชิญดอกไม้และตะกร้าสิ่งของพระราชทาน ไปมอบแก่อาสาสมัครทหารพราน ธีระวัฒน์ กันทะนิต และนางสาวมายูรี เจะตือเร๊ะ ที่ได้รับบาดเจ็บจากเหตุคนร้ายลอบวางระเบิดชุดลาดตระเวนตามแผนพิทักษ์ยะลา 623 (ฉก.ยะลา) บริเวณบ้านบาเจาะ หมู่ที่ 2 ตำบลบาเจาะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2562 และเข้ารับการรักษาพยาบาล ณ โรงพยาบาลศูนย์ยะลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

การได้รับพระมหากรุณาธิคุณในครั้งนี้ ยังความปลื้มปีติและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณแก่อาสาสมัครทหารพราน ธีระวัฒน์ และนางสาวมายูรี อย่างหาที่สุดมิได้

‘วีวี่ มิสแกรนด์ร้อยเอ็ด’ โร่ขอโทษ ปมแต่งกายเลียนแบบพระสงฆ์ หลังร่วมปาร์ตี้วันเกิด ‘อิงฟ้า’ สัญญาจะไม่ให้เกิดเรื่องแบบนี้

(22 ก.พ. 67) กรณีเฟซบุ๊ก ‘ว่างจัด x นางงาม’ โพสต์ภาพหญิงแต่งกายคล้ายพระสงฆ์ ถือพัดสีทอง ระบุข้อความว่า “ใส่สบงแล้วทรงพลัง มิสแกรนด์ร้อยเอ็ด ร่วมงานปาร์ตี้ วันเกิดอิงฟ้า วราหะ” ซึ่งภาพดังกล่าว มีบางส่วนที่หัวเราะขบขันกันการแต่งกายเป็นพระสงฆ์ แต่อีกฝ่ายก็ดรามาอยู่ไม่น้อยว่าเป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม

ซึ่งต่อมามีการลบคลิปภาพต้นฉบับออก ก่อนที่ ‘วีวี่ ฐาสุปางค์ เดชะอัครอนันต์’ มิสแกรนด์ร้อยเอ็ด 2024 ได้ออกมายกมือไหว้ขอโทษ เผยผ่านอมรินทร์ ทีวี รับผิดกับการกระทำ เพราะทำให้เกิดความเสื่อมเสีย สร้างความไม่พอใจให้พี่น้องชาว จ.ร้อยเอ็ด

วีวี่เผยว่าตนขออภัยไว้ ณ ที่นี้อย่างสุดซึ้ง สัญญาว่าจะไม่ทำแบบนี้อีกแล้ว และจะให้กรณีนี้เป็นกรณีศึกษา เพื่อให้ตนได้ใช้ความคิด ใช้วิจารณญาณในการที่จะทำคอนเทนต์ออกมา ครั้งนี้ตนกราบขออภัย ขอให้ผู้ใหญ่ทุกท่านให้อภัยตักเตือน สั่งสอนตน การประกวดมิสแกรนด์ในครั้งนี้ มีความตั้งใจมากที่จะสร้างชื่อเสียงให้กับพี่น้องชาว จ.ร้อยเอ็ด ตนสัญญาว่าจะไม่ให้เกิดเรื่องแบบนี้อีก

รู้จัก ‘สวนสมดุล’ แหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติแห่งอัมพวา บอกทุกที่มา ‘อาหาร-พลังงาน’ ที่ผู้บริโภคมีสิทธิ์ต้องได้รู้

บรรยากาศริมน้ำแม่กลองที่ไหลเอื่อยยามสาย ช่างดูเงียบสงบงดงามเหลือเกิน เมื่อได้เมียงมองจากพื้นที่ร่มรื่นใต้เงาไม้ของ ‘สมดุล’ (Somdul Agroforestry Home) สถานที่ที่ผสมผสานทั้งความเป็นคาเฟ่ ร้านอาหาร ศูนย์เรียนรู้ และวนเกษตร ซึ่งเป็นหมุดหมายของนักเดินทางที่สนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน 

‘สมดุล’ หรือ ‘Somdul Agroforestry Home’ เปรียบตนเองเป็นบ้านที่มีความฝันจะบาลานซ์ไลฟ์สไตล์ ระหว่างชีวิตคนเมืองกับธรรมชาติให้อยู่ตรงกลาง ผ่านการทำเกษตรกรรมเชิง ‘วนเกษตร’ แบบเกษตรอินทรีย์ โดยปลูกในสิ่งที่กิน กินในสิ่งที่ปลูก แล้วถ่ายทอดออกมาในรูปแบบการบริการ อาหาร, เครื่องดื่ม, เบเกอรี ผลิตภัณฑ์แปรรูปในโซนคาเฟ่ เปิดโอกาสให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ผ่านการศึกษาภาคปฏิบัติในกิจกรรมเวิร์กช็อปต่างๆ และถ่ายทอดวิถีชีวิตองค์ความรู้ของศาสตร์วนเกษตร เพื่อให้เห็นผลลัพธ์ที่เรียกว่า ‘ความสุขอย่างยั่งยืน’

จุดหมายปลายทางแห่งนี้ เริ่มต้นจากนักศึกษาในชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเอแบค จำนวน 6 คน ได้แก่ เอี่ยม-อติคุณ ทองแตง, เม-เมธาพร ทองแตง, อู๋-บุญชู อู๋, กันต์-กันต์ คงสินทรัพย์, ไอซ์-รังสิมันตุ์ ตันติวุฒิ และเจมส์-พงศกร โควะวินทวีวัฒน์ ซึ่งทุกคนมีความสนใจในงานด้านอนุรักษ์ และใช้พื้นที่ที่มีทำการเกษตรแบบพึ่งพาตัวเอง จนกระทั่งมาลงตัวที่ ‘วนเกษตร’ หรือ การเกษตรบนพื้นที่ป่า ก่อนจะขยายมาเป็นศูนย์การเรียนรู้อย่างที่เห็นในปัจจุบัน 

อติคุณ ทองแตง หนึ่งในผู้ก่อตั้งอธิบายว่า “ทุกการบริโภคในสมดุล ล้วนมีที่มาที่ไป ตั้งแต่กระบวนการผลิต อาหาร และผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในคาเฟ่ จะถูกอธิบายว่ามาจากที่ไหนบ้าง มีความปลอดภัยอย่างไร เรามีฟาร์มเทเบิลส่วนหนึ่งที่ผลิตเอง และมีเครือข่ายเกษตรที่เรามั่นใจได้ในความปลอดภัย อาหารมีที่มาที่ไปอย่างไร อาหารส่วนหนึ่งเป็นออร์แกนิก ไม่มีสารเคมี และนี่คือสิ่งที่เราพยายามสื่อสาร เพราะเราเน้นเรื่องความจริงใจ ที่มาของอาหารที่จับต้องได้ ผู้บริโภคมีสิทธิ์ต้องรู้...

“เราเน้นใช้จาน แก้ว เพราะล้างได้ ใช้กระดาษ หลอดย่อยสลายได้ รวมถึงกระป๋อง อลูมิเนียม เพราะนำไปรีไซเคิลได้ 100% โดยมีจุดแยกขยะและเครื่องบีบอัดกระป๋อง ส่วนพลาสติกที่จำเป็นจริงๆ จากพวกแพ็คเกจ เราต้องคัดแยก ไม่ได้ไปทิ้งขยะรวมกับขยะทั่วไป โดยแยกไปรีไซเคิล เพื่อนำมาใช้ใหม่ ส่วนขยะที่รีไซเคิลยากจริงๆ เราส่งไปโครงการที่ผลิตพลาสติกเพื่อแปรรูปมาทำพลังงาน”

ไม่เพียงบทบาทในการมอบความสุขให้กับผู้มาเยี่ยมเยียน ‘สมดุล’ เท่านั้น หมวกอีกใบของ ‘สมดุล’ ยังให้ความสำคัญกับการเป็น ‘พลเมืองสีเขียว’ ที่คอยช่วยเหลือชุมชนโดยรอบผ่านองค์ความรู้ที่ได้จากคอนเนกชันของกลุ่มนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมหลายกลุ่ม

“เราเป็นกลุ่มนักอนุรักษ์ ที่หันมาทำธุรกิจ จึงอยากทำธุรกิจบนพื้นฐานของความยั่งยืน และการอนุรักษ์ เราเปิดที่นี่ขึ้นมาเพื่อให้เห็นว่าการทำธุรกิจอย่างยั่งยืนทำอย่างไร โดยมีคอนเนกชันกับกลุ่มอนุรักษ์หลายกลุ่ม ก็นำข้อมูลมาเผยแพร่ให้คนอื่นได้เรียนรู้...

“อย่างแนวคิดเรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อม ที่เป็นหนึ่งในแกนกลางสำคัญของการขับเคลื่อน เราก็ทำในรูปแบบวนเกษตร โดยใช้ภูมิปัญญาเกษตรแบบร่องสวน ทำปุ๋ยเอง เน้นเรื่อง Zero Waste โดยใช้อาหารที่เหลือจากคาเฟ่ ขยะเศษอาหาร จะนำไปแยกน้ำ แยกกาก เอาไปทำเป็นปุ๋ยหมัก และมีวิธีการจัดการการแยกขยะ เพราะขยะที่ขายไม่ได้เทศบาลจะนำไปฝังกลบ เราจึงมีเป้าหมายว่าขยะจะต้องนำไปถูกฝังกลบให้น้อยที่สุด ด้วยการคัดแยกขยะ
ขยะ เน้นเรื่องที่มาและที่ไป บรรจุภัณฑ์แบบไหนให้ปลอดภัยและจัดการง่าย เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยลง เป็นต้น” 

อีกหนึ่งในไฮไลต์ที่ อติคุณ มักจะนำเสนอต่อทุกคนที่มาเยือน ‘สมดุล’ คือ การให้ผู้มาเยือนได้มาศึกษาเรียนรู้ การเลี้ยง ‘ผึ้งชันโรง’ แมลงตัวจิ๋วที่เสมือนเป็นเครื่องมือรับรองคุณภาพด้านสิ่งแวดล้อม

สำหรับ ‘ชันโรงหรือผึ้งจิ๋ว’ (Stingless bees) เป็นแมลงผสมเกสรจำพวกผึ้งแต่ไม่มีเหล็กไน ‘ชันโรง’ ถือเป็นแมลงที่มีวิวัฒนาการสูงกว่าผึ้งป่า และยังให้น้ำผึ้งได้อีกด้วย โดยน้ำผึ้งและเกสรของชันโรงมีราคาแพงกว่าน้ำผึ้งทั่วไป เพราะมีปริมาณน้อยกว่า และหายาก เชื่อกันว่ามีคุณค่าทางโภชนาการสูงกว่าน้ำผึ้งปกติ 

ความสำคัญที่มีต่อการเกษตรของชันโรงจะช่วยผสมเกสรพืชต่างๆ ได้เป็นอย่างดี เพราะมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรงสามารถบินลอยตัวอยู่ได้นานโดยไม่จับเกาะอะไร ทำให้กระพือปีกได้นานบินร่อนลงเก็บเกสร และดูดน้ำหวานเป็นไปอย่างนุ่มนวลไม่ทำให้กลีบดอกช้ำ ขณะเดียวกัน ‘ผึ้งชันโรง’ ยังเป็นแมลงที่สามารถต้านทานเคมีได้ต่ำ เมื่อมีผึ้งชนิดนี้ในพื้นที่ไหนมี ก็เป็นการการันตีเรื่องระบบนิเวศได้ว่า ไม่มีสารเคมี สอดคล้องกับความหลากหลายทางชีวภาพ ทั้งพืชและดิน

หากใครที่อยากสัมผัสกับเสน่ห์แห่งวิถีธรรมชาติที่ปราศจากมลภาวะอย่างแท้จริง การเจียดเวลามา ‘สมดุล’ ชีวิตที่ ‘สวนสมดุล’ Somdul Agroforestry Home ก็อาจจะทำให้คุณได้แรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการพลิกตนให้ผู้พิทักษ์สังคมจากภัยคุกคามของภาวะเรือนกระจกได้ไม่มากก็น้อย ก็เป็นได้...

‘สวนสมดุล’ Somdul Agroforestry Home
ตั้งอยู่ในตำบลบางพรม อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม
ไม่ไกลจากตลาดน้ำอัมพวา จากวัดบางพลับ มาอีกประมาณ 500 เมตร
เปิด วันจันทร์-อังคาร 09.00-17.00 น. วันพุธ-อาทิตย์ 09.00-18.00 น. (ปิดวันพฤหัสบดี)
สอบถาม โทร. 098-362-9894 หรือ facebook.com/somdulhome 

'อัครเดช-รทสช.' ท้วง 'รองอ๋อง' ไม่เป็นกลาง-เบรกไม่ให้พูด กล่าวหาตนอภิปรายยืดเยื้อ สุดท้ายกระทู้ถาม รมต.ล่ม

(22 ก.พ. 67) ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 1 ทำหน้าที่ประธานสภา เข้าสู่การพิจารณากระทู้ถามทั่วไป ที่นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ สส.ราชบุรี พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) ถามเรื่องติดตามความคืบหน้าการจัดระเบียบสายไฟฟ้า สายสื่อสาร และการบริหารจัดการไฟฟ้าส่องสว่างอย่างทั่วถึงทั้งประเทศ ถามนายกรัฐมนตรี โดยมอบหมายนายทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้ตอบ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายอัครเดชได้อภิปรายเป็นเวลาเกือบ 10 นาที แต่ยังไม่ได้ถามคำถาม นายปดิพัทธ์จึงทักท้วงว่า นายอัครเดชใช้เวลาเกือบ 10 นาทีแล้ว ขอให้ถามคำถามได้แล้ว ทำให้นายอัครเดชไม่พอใจและกล่าวว่า กระทู้ถามทั่วไปไม่ได้ระบุเวลา แต่ตนรู้ข้อบังคับดี เดี๋ยวตนกำลังจะถามคำถามแล้ว ท่านประธานต้องอย่าทำตัวเอียง ต้องวางตัวให้ตรง วินิจฉัยอะไรต้องรับผิดชอบด้วย 

จากนั้นนายปดิพัทธ์จึงกล่าวว่า ตนให้โอกาสในการอภิปรายแต่นายอัครเดชพูดเรื่อง 70 ล้าน 80 ล้านมา 2 รอบแล้วจึงจะเข้าข่ายวนเวียนแล้ว และคิดว่าเราได้ประเด็นของเนื้อหาจึงอยากให้ช่วยบริหารเวลาเท่านั้น ไม่ได้มีเจตนาที่จะไม่ให้ท่านอภิปราย

นายอัครเดชกล่าวว่า “จริง ๆ กระทู้ถามสดนั้น ผู้ถามมีเวลาถาม 15 นาที และผู้ตอบมีเวลา 15 นาทีในการตอบเช่นเดียวกัน ผมเพิ่งถาม 10 นาที ท่านมาเบรกผม ท่านมีอะไรกับผมเหรอครับ”

นายปดิพัทธ์กล่าวว่า “ท่านมีอะไรกับผมเหรอครับ ไม่มีครับ” แต่คิดว่ากระทู้ถามแต่ละครั้งที่วันนี้ตนให้อภิปรายเกิน 10 นาทีได้ เพราะวันนี้มีกระทู้ของนายอัครเดชคนเดียวที่เหลือเป็นการเลื่อนกระทู้ และตนแค่บอกเฉย ๆ ว่าตอนนี้ควรที่จะต้องเข้าสู่คำถามได้แล้ว เพราะเป็นการอภิปรายที่มากพอแล้ว ตนไม่มีอะไรกับนายอัครเดช ขอให้เข้าสู่เนื้อหาเลย หากจะอภิปรายกับตน ตนคิดว่ามันเสียเวลาของสภา ขอเข้าสู่กระทู้ต่อ

นายอัครเดชกล่าวว่า ตนต้องชี้แจงเพื่อที่ประชาชนจะได้เข้าใจข้อบังคับและสิทธิของ สส. ด้วยความเคารพสิทธิของสมาชิก คือเวลาที่ถามนั้น ตนยังอยู่ในเวลาที่ใช้สิทธิอยู่ และหากไปดูเรื่องข้อบังคับกระทู้ถามไม่ได้ระบุระยะเวลา ตนเคารพสภา โดยการใช้สิทธิตามระยะเวลาที่มีอยู่คือ 15 นาที ฉะนั้น การอภิปรายของตนก็เป็นประโยชน์ต่อรัฐมนตรี ในการให้ข้อมูลของรัฐมนตรีไปบริหารประเทศเพื่อประหยัดงบประมาณเงินภาษีของพี่น้องประชาชน ตนจึงบอกว่า 70 ล้านกับ 10 ล้านมันต่างกัน สิ่งที่ตนอภิปรายเป็นประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติดีกว่าที่จะอภิปรายที่ทะเลาะกันไปทะเลาะกันมา แล้วท่านวินิจฉัยกลายมาเป็นประเด็นที่ทะเลาะกัน ตนว่าแบบนั้นเสียเวลามากกว่า ขอให้ท่านได้ทำตามข้อบังคับและเคารพสิทธิของสภาด้วย

นายปดิพัทธ์ชี้แจงว่า กระทู้ถามข้อบังคับบอกว่าต้องไม่เป็นลักษณะการอภิปราย หากนายอัครเดชไม่ถามกระทู้ ขออนุญาตว่าจะไม่ถามก็ได้ และเวลาของนายอัครเดชนั้น ตนเคารพ แต่ตอนนี้นายอัครเดชใช้เวลามากเกินไปกับสิ่งที่ไม่อยู่ในกระทู้

นายอัครเดชกล่าวว่า อยากให้นายปดิพัทธ์ที่ทำหน้าที่ประธาน ท่านจะใช้ดุลพินิจหรือวินิจฉัยอะไร ขอให้ท่านอยู่ในข้อบังคับและรักษาผลประโยชน์ของพี่น้องประชาชนด้วย ตนกำลังอภิปรายประเด็นนี้และตนถามกระทู้มาตั้งแต่สมัยที่นายชวน หลีกภัย สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) เป็นประธานสภา ตนไม่ได้ถามกระทู้นี้กระทู้แรก และตนไม่เคยมีปัญหาเช่นนี้เพราะตนรู้ข้อบังคับ ทำให้นายปดิพัทธ์ ทักท้วงขึ้นว่า ขอให้เข้าเรื่องได้แล้ว ไม่เช่นนั้นตนไม่อนุญาตให้พูดและคำวินิจฉัยของประธานเป็นที่สิ้นสุด

นายอัครเดชกล่าวว่า หากท่านประธานวินิจฉัยเช่นนี้ ตนขอให้สภาแห่งนี้บันทึกไว้ว่า สส.ที่นำปัญหาของพี่น้องประชาชนมาอภิปราย แล้วอภิปรายตามข้อบังคับและจะถามรัฐมนตรีตามระเบียบ แต่ท่านใช้ดุลพินิจของท่านวินิจฉัยให้ สส.หยุดอภิปราย จึงขอให้สภาบันทึกไว้ว่าตนมีความตั้งใจที่จะถามกระทู้นี้เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติ หากท่านวินิจฉัยเช่นนี้ ตนขอไม่ถามกระทู้ต่อ

นายปดิพัทธ์กล่าวว่า ตนจำเป็นต้องบริหารเวลาและข้อบังคับให้ชัดเจน ไม่ได้มีเจตนาที่จะเบรกไม่ให้นายอัครเดชถาม ขอให้ท่านอภิปรายและเข้าสู่คำถามเพราะเห็นว่าอภิปรายได้ครบถ้วนแล้ว ซึ่งก็รอคำถามจากท่านอยู่ ตนเคารพท่านและสภาฯ ก็บันทึกไว้ได้ว่าตนวินิจฉัยเช่นนี้

นายอัครเดชลุกขึ้นทักท้วงอีกรอบว่า ท่านประธานไม่จบ นายปดิพัทธ์จึงกล่าวขึ้นว่า ตนจบแล้ว และไม่อนุญาตให้พูด ขอบคุณรัฐมนตรี ซึ่งผู้ถามไม่ได้ใช้สิทธิ์ถามแล้ว และเจ้าหน้าที่ที่บันทึกการประชุมว่า นายอัครเดชทำผิดข้อบังคับ ไม่เคารพคำวินิจฉัย ตนไม่สามารถให้อภิปรายตัวตนได้เพราะนี่ไม่ใช่การอภิปรายไม่ไว้วางใจ ทำให้นายอัครเดชลุกขึ้นประท้วงว่า ตนไม่ได้อภิปรายและขอประท้วงว่าประธานทำผิดข้อบังคับ ท่านเป็นประธานต้องวางตัวเป็นกลาง อย่าเอาอารมณ์เมื่อครั้งที่แล้วมาทำเช่นนี้กับสมาชิก ไม่ถูกต้อง ท่านเป็นประธาน ตนและ ส.ส.เคารพท่านเพราะตำแหน่งท่านแต่การที่ท่านวินิจฉัยและมาขัดการอภิปรายเช่นนี้ ตนถือว่าเป็นสิ่งที่ประธานไม่ควรทำและไม่สร้างสรรค์อย่างยิ่ง

นายปดิพัทธ์ได้ย้ำอีกครั้งถึงเรื่องข้อบังคับสภา ในการถามกระทู้และไม่ได้มีเจตนาที่จะเบรกไม่ให้นายอัครเดชถามกระทู้แต่อย่างใด จากนั้นจึงเข้าสู่วาระถัดไป

'ผัดกะเพรา' ครองสุดยอด 'อาหารประเภทผัด' อันดับ 1 ของโลก (2023)

เว็บไซต์อาหาร เทสต์แอตลาส (TasteAtlas) จัดอันดับอาหารจานผัดที่ดีที่สุดในโลก 50 อันดับ จากการรีวิวของผู้ใช้ ปรากฏว่า ‘ผัดกะเพรา’ คว้าอันดับ 1 ไปครอง

ทั้งนี้ ทางเว็บไซต์ดังกล่าวได้อธิบายถึงผัดกะเพราว่า เป็นเมนูผัดดั้งเดิมของไทยที่นำเนื้อสัตว์ที่สับแล้ว หรืออาหารทะเล มาผัดกับใบกะเพราและวัตถุดิบอื่น ๆ กระเทียม พริก และปรุงรสด้วยซีอิ๊ว น้ำตาล และน้ำปลา มักจะเสิร์ฟพร้อมข้าว ไข่ดาว และพริกน้ำปลา

แน่นอนว่านอกจากผัดกะเพราแล้ว ยังมีอาหารจานผัดของไทยอีกอย่างที่ติดอยู่ใน 10 อันดับแรกด้วย ก็คือ ‘ผัดไทย’ โดยอยู่ที่อันดับ 8 ขณะที่ใน 50 อันดับ มีอาหารไทยติดอันดับอีก 3 อย่าง คือ ผัดซีอิ๊ว (อันดับ 19) คั่วกลิ้ง (อันดับ 23) และไก่ผัดเม็ดมะม่วงหิมพานต์ (อันดับ 44)


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top