Sunday, 18 May 2025
ค้นหา พบ 48181 ที่เกี่ยวข้อง

5 เมืองแห่งอาเซียนที่ค่าครองชีพ 'ถูก' นักลงทุน-ชาวต่างชาติ 'อยากมาอยู่-ทำธุรกิจ' ไปยาวๆ

ค่าครองชีพในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ณ ปัจจุบัน กำลังเป็นแรงดึงดูดต่อนักลงทุนและชาวต่างชาติที่วาดอนาคตในการอยู่อาศัยระยะยาวและมองหาการลงทุนทางธุรกิจมากขึ้น

โดย 5 เมืองใหญ่ในอาเซียนเหล่านี้ มีค่าครองชีพ อาหารการกินไม่แพง แหล่งเที่ยวหลากหลาย สาธารณูปโภคพื้นฐานพร้อมสรรพ และวัฒนธรรมอันดีงาม ที่ดึงดูดต่างชาติได้มากจริง ๆ โดยเฉพาะกับประเทศไทย ที่หลากเสียงจากนักลงทุนและชาวต่างชาติ หวังที่จใช้ประเทศนี้เป็นบ้านหลังที่ 2 กันเลยทีเดียว

‘กองทุนประกันสังคม’ ส่อแววล้มละลายภายใน 30 ปี หลังเผชิญวิกฤตสังคมผู้สูงวัย-แรงงานเกิดใหม่น้อยลง

(19 ก.ค.66) ช่องยูทูบชื่อ ‘Kim Property Live’ โดยคุณคิม ชัชวาลย์ วัฒนะโชติ ได้ออกมาอธิบายเกี่ยวกับเรื่องกองทุนประกันสังคมที่ส่อแววล้มละลายในอีก 30 ปีข้างหน้า ในชื่อคลิป ‘แรงงานสะดุ้ง! วิจัยชี้กองทุนประกันสังคมเสี่ยงล้ม รายจ่ายเยอะ เงินเริ่มไม่พอ!’ สรุปใจความสำคัญได้ว่า…

เมื่อไม่นานมานี้ เกิดเหตุประท้วงครั้งใหญ่ในวันแรงงานที่ประเทศฝรั่งเศส สาเหตุการประท้วงเกิดจากระบบประกันสังคมของฝรั่งเศสส่อแววว่าจะมีปัญหา อีกทั้งทางรัฐบาลฝรั่งเศสก็ได้ออกนโยบายยืดเวลาทำงานออกไปอีก 2 ปี จุดกระแสความไม่พอใจอย่างมากในหมู่แรงงาน จนเกิดการประท้วงทั่วฝรั่งเศส

หากมองในมุมของภาครัฐที่ต้องแก้ปัญหาจากนโยบายของรัฐบาลก่อนหน้าก็น่าเห็นใจ จากนโยบายที่คิดว่าทำได้ ในวันนี้กลับทำไม่ได้แล้ว ก็เกิดภาวะกระอักกระอ่วน ที่ต้องหามาตการเพื่อมาแก้ปัญหา แต่หากมองในมุมแรงงานที่ส่งเบี้ยมาตลอดหลายปี และบางส่วนกำลังจะเกษียณแล้ว แต่กลับต้องทำงานต่ออีก 2 ปี จึงทำให้ความแค้นเคืองปะทุขึ้นอย่างที่เป็นข่าว

หลายคนคงคิดว่านี่อาจะเป็นสิ่งที่ไกลตัว แต่จริงๆ แล้วเป็นเรื่องใกล้ตัวกว่าที่คิด เพราะล่าสุดมีรายงานชิ้นหนึ่งจากกรุงเทพเผยแพร่ออกมา ระบุว่า ‘กองทุนประกันสังคม’ เสี่ยงล้มละลายใน 30 ปี 

ก่อนจะไปพูดถึงเรื่องการล้มละลาย ต้องขอพูดถึงหลักการของกองทุนประกันสังคมก่อน กองทุนประกันสังคมเป็นการเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุข โดยลูกจ้าง นายจ้าง และรัฐบาล ได้ร่วมกันจ่ายเงินเข้ากองทุนฯ ซึ่งเงินกองทุนตรงนี้จะนําไปใช้จ่ายเป็นสิทธิประโยชน์ เช่น ว่างงาน/ตกงาน สิทธิรักษา และเงินบำนาญ สำหรับแรงงานที่ส่งเบี้ยประจำทุกเดือน เงินส่วนนี้จะมาช่วยให้มีความมั่นคงในการงานมากขึ้น 

ในปี 2563 มีผู้ประกันตนมีจํานวน 11.1 ล้านคน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 70 ของลูกจ้างทั้งหมด หรือพูดง่าย ๆ คือลูกจ้างส่วนใหญ่อยู่ในระบบนี้ แต่ละคนก็มีการจ่ายเงินสมทบอยู่ตลอดเวลาและต่อเนื่องทุกเดือน

ตลอดระยะเวลา 30 ปี มีการส่งเงินเข้ากองทุนประกันสังคมอย่างมากมายและต่อเนื่อง ทําให้ขนาดของกองทุนขยายการเติบโตขึ้นอย่างมาก ในปี 2563 เงินกองทุนมีมากถึง 2.283 ล้านล้านบาท 

แต่คําถามคือมันเกิดอะไรขึ้น ทั้งที่แรงงานส่งเงินมาตลอดหลายสิบปี แต่ทําไมกองทุนนี้ถึงส่อแววล้มละลายล่ะ? และถ้าเป็นแบบนี้แรงงานจะมีเงินเก็บ เงินบํานาญหลังเกษียณได้อย่างไร?

ต้องบอกว่ากองทุนประกันสังคมของไทย ใช้เวลาในการจัดตั้งยาวนานเกือบ 40 ปีแล้ว โดยมีจุดมุ่งหมายสําคัญก็คือการให้ลูกจ้างได้ประโยชน์ แต่ประเด็นสำคัญคือกองทุนนี้ ‘ยิ่งอยู่นาน เงินก็ยิ่งไม่ค่อยพอ’ เงินเริ่มร่อยหร่อไปเรื่อยๆ 

มาดูเหตุผลหลักๆ ที่ทำให้กองทุนประกันสังคมอาจ ‘ล้มละลาย’

เหตุผลแรก คือ ‘รายจ่าย’ รายจ่ายด้านสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ มีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อเวลาผ่านเลยไปค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ค่าครองชีพ ค่าดูแลชีวิต ก็แพงขึ้นตามเงินเฟ้อที่เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นแนวโน้มของกองทุนก็เริ่มที่จะมีเงินไม่เพียงพอต่อการจ่ายสิทธิประโยชน์ให้ผู้ประกันตนที่พึงจะได้รับ โดยเฉพาะการดูแลของผู้ประกันตนที่เป็นผู้สูงอายุหรือชราภาพ 

ในขณะที่รายจ่ายเพิ่มขึ้น ‘คนชรา / ผู้สูงอายุ’ ก็เพิ่มขึ้นด้วย แต่อีกมุมหนึ่ง ‘อัตราการเกิด’ รวมถึง ‘อัตราการเข้าทํางาน’ ก็มีการลดลงไปเรื่อย ๆ ส่งผลเงินไม่เพียงพอดูแลคนในระบบ ต้องเข้าใจก่อนว่ากองทุนรูปแบบนี้คือการนําเงินคนรุ่นใหม่ที่เป็นคนวัยทํางานเข้ามาในกองทุน เพื่อใช้จ่ายหมุดเวียน แต่หากเงินใหม่ ๆ ไม่เข้ามา แล้วเงินเก่า ๆ ต้องจ่ายแพงขึ้นมากตามอัตราเงินเฟ้อ คําถามคือแล้วมันจะอยู่กันได้อย่างไร? บางคนก็มองว่านี่คือแชร์ลูกโซ่ขนาดใหญ่ที่สุดเลยหรือเปล่า? 

รายงานจากทาง IMF ออกมาบอกว่าประเทศที่ต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายเกี่ยวกับผู้สูงอายุในเอเชีย ได้แก่ จีน ฮ่องกง ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ รวมถึงประเทศไทย หลายคนก็รู้อยู่แล้วว่าประเทศไทยกําลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และจะเป็นสังคมผู้สูงอายุแบบสุดขั้วในอนาคต หมายความว่าคนแก่จะเยอะขึ้น คนที่จะต้องให้ภาครัฐดูแลก็จะมีมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ทางกลับกัน คนใหม่ ๆ ที่มาทํางานกลับมีน้อยลงไป

ต่อมาเป็นเรื่อของ ‘การลงทุน’ ในยุคนี้การลงทุนได้ผลตอบแทนที่ค่อนข้างต่ำ เนื่องจากเทรนด์อัตราดอกเบี้ยเป็นช่วงขาลง หากย้อนกลับไปในช่วง 10-20 ปีที่แล้ว ดอกเบี้ยไทยค่อนข้างสูง เอาเงินฝากแบงก์ก็ได้ดอกเบี้ย สามารถอยู่ได้แล้ว แต่ปัจจุบันดอกเบี้ยมันน้อยลงไปเรื่อย ๆ อยู่ที่ 1-2% การที่จะหวังกินเงินดอกเบี้ยจากเงินฝากมันก็คงเป็นไปไม่ได้ และจะหวังเอาเงินพวกนี้มาใช้จ่าย เป็นรายจ่ายของผู้สูงอายุมันก็ไม่พอ

และล่าสุดในปี 2566 เงินในกองทุนประกันสังคมลดลงถึง 17,000 ล้านบาท โดยปกติมีการเติบโตขึ้นตลอดเพราะว่าคนใหม่ก็ใส่เงินเข้ามา คนเก่าก็ยังไม่ได้เกษียณ ยังทํางานอยู่ แต่ปัจจุบันหลังจากรายจ่ายมันเยอะขึ้น เงินใหม่น้อยลง แล้วก็ปันผลดอกเบี้ยมันก็น้อย ทําให้กองทุนเริ่มจะลดลง และนี่เป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 5 ปี 

การที่ผลตอบแทนมันต่ำเตี้ยแบบนี้ อาจถูกผลักดันให้ลงทุนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น และได้ผลตอบแทนที่มากขึ้น สำหรับตัวกองทุนประกันสังคม ก็เคยตกเป็นที่สงสัยของผู้คน เนื่องจากมีการถือหุ้น ‘ศรีพันวา’ มูลค่ากว่า 505 ล้านบาท ต่อมาทางดีเอสไอได้ไปตรวจสอบที่ดินของศรีพันวาว่าเป็นที่ดินมิชอบด้วยกฎหมายหรือเปล่า? ซึ่งข้อสงสัยพวกนี้ส่งผลให้ประกันสังคมถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก เพราะเหมือนนำเงินเก็บของประชาชนหลังเกษียณมาลงทุน และการลงทุนก็ควรจะต้องดูให้ดีและน่าเชื่อถือ

เรียกได้ว่าปัญหาที่กองทุนประกันสังคมต้องเผชิญนั้นมีมากมายหลายด้านจริงๆ และเท่านั้นยังไม่พอ ยังมีประเด็นที่ว่า รัฐบาลค้างจ่ายเงินเข้ากองทุนประกันสังคมกว่า 7 หมื่นล้านบาท หรือกรณีที่นายจ้างหักเงินลูกจ้างไปแต่ไม่ได้นำส่งเข้าประกันสังคม 

ปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นตลอด ทำให้คนมองว่ากองทุนประกันสังคมจะล้มในอีก 30 ปี ทำให้เกิดการเสนอแนวทางแก้ปัญหา เช่น การเร่งรัดหนี้ที่ค้างกองทุน เรื่องนี้ค่อนข้างน่าเป็นห่วง เนื่องจากมีคนไม่ได้หนี้ส่งหนี้เยอะ และหากยิ่งปล่อยไว้นานๆ เข้า ยอดหนี้ก็จะสะสมขึ้นเรื่อยๆ 

ทางด้านที่ปรึกษาด้านหลักประกันทางสังคม สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ T.D.R.I ได้ออกมาระบุว่า สาเหตุหลัก ๆ ของไทยคือโครงสร้างที่ไม่เอื้ออำนวย เช่น ประชากรที่เป็นผู้สูงอายุค่อนข้างเยอะ และมีชีวิตอยู่ยาวนาน ทำให้ต้องใช้เงินในการดูแลมากขึ้นในระยะยาว ส่งผลให้กองทุนต้องจัดสรรเงินมาดูแลในส่วนนี้ และต่อให้กองทุนนำเงินไปลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่มากขึ้น ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาตรงนี้ได้ อีกทั้งตามกฎของประกันสังคม ต้องลงทุนในทรัพย์สินที่มีความมั่นคงสูง แต่คำถามที่ตามมาคือจะสร้างผลตอบแทนได้มากพอจริงๆ หรือ? ทาง T.D.R.I จึงมองว่าหากเป็นแบบนี้ไปอีก 25 ปี จะทำให้กองทุนประกันสังคมติดลบและล้มละลายไปในที่สุด 

เมื่อปัญหาเยอะ แถมเงื่อนไขการลงทุนยังจำกัด แล้วจะแก้ปัญหานี้อย่างไร? 

1.ต้องปรับเพดานค่าจ้างเฉลี่ยที่ใช้คำนวณการจ่ายเงินสมทบ จาก 15,000 เพิ่มเป็น 17,500-20,000 บาทต่อเดือน และควรปรับเพิ่มทุกปีตามค่าจ้างเฉลี่ยด้วย หากปรับตรงนี้ได้จะทำให้มีเม็ดเงินเข้าสู่กองทุนประกันสังคมเพิ่มขึ้น 5-6% เลยทีเดียว

2. เพิ่มอายุผู้มีสิทธิรับเงินบำนาญ ซึ่งโดยปกติแล้ว แรงงานที่มีอายุครบ 55 ปีมีสิทธิที่จะได้รับเงินจากกองทุนชราภาพ แต่จะเลื่อนไปเป็น 60 ปี หรือพูดง่าย ๆ คือการเก็บเบี้ยได้มากขึ้น แต่จ่ายออกให้ช้าลงนั่นเอง

ก็ต้องรอดูกันต่อไปว่าปัญหานี้จะถูกแก้ไขออกมาในรูปแบบใด และผู้คนจะเห็นด้วยหรือไม่? และมีแนวโน้มที่จะเกิดการประท้วงเหมือนในฝรั่งเศสหรือไม่? อีกทั้งหากโครงสร้างปัจจุบันไม่สามารถทำได้แล้ว ก็คงต้องเปลี่ยนวิธีการกันใหม่ และต้องหาแนวทางรับมือและกัดการกับความผิดหวังของแรงงานไว้ด้วยนั่นเอง

สภาฯ เคาะ!! ไม่เสนอชื่อ ‘พิธา’ ชิงนายกฯ ซ้ำ สรุปคะแนนโหวต 394 ต่อ 312 คะแนน

(19 ก.ค. 66) ผู้สื่อข่าวรายงานถึงบรรยากาศของการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ที่มีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา เป็นประธานการประชุม ระหว่างที่เปิดให้สมาชิกรรัฐสภาอภิปรายแสดงความเห็นก่อนลงมติในประเด็นที่เสนอชื่อนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคก้าวไกล ให้รัฐสภาเห็นชอบเป็นนายกฯ อีกครั้งจะทำได้ หรือขัดข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ข้อ 41 หรือไม่

จนกระทั่งเวลา 17.00 น. นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานที่ประชุม ได้ยุติการอภิปรายเพื่อให้สมาชิกลงมติ ผลปรากฏว่า ที่ประชุมร่วมรัฐสภา ลงมติญัตติส่งนายพิธาชิงนายกฯ ซ้ำไม่สามารถทำได้ (ขัดข้อบังคับการประชุมข้อ 41) โดยเห็นด้วย (ส่งซ้ำไม่ได้) 394 คน ไม่เห็นด้วย (ส่งซ้ำได้) 312 คน งดออกเสียง 8 คน ไม่ลงคะแนนเสียง 1 คน

มติดังกล่าว ส่งผลให้นายพิธาหมดสิทธิ์เป็นนายกรัฐมนตรี และต้องจับตาการเปิดโอกาสให้พรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลต่อไป

‘ชาวเน็ต’ ชำแหละภาพมายาพรรค ‘ก้าวไกล’ ใช้มวลชนเป็นทัพหน้า สู่การเปลี่ยนระบอบประเทศ

เมื่อไม่นานนี้ ได้มีผู้ใช้ติ๊กต็อกรายหนึ่ง ชื่อ ‘shatree7789’ ได้โพสต์คลิปวิดีโอวิเคราะห์ถึงประเด็นการยืนยันที่จะแก้ไขมาตรา 112 ของพรรคก้าวไกล โดยได้ระบุว่า…

“รู้หรือไหม? ว่าทำไมพรรคสีส้มเขาถึงไม่ยอมถอยเรื่องมาตรา 112 ทำไมเขาถึงอยากจะเดินหน้าต่อไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องแก้ไขหรือว่ายกเลิก ไม่ว่าเขาจะได้เป็นรัฐบาลหรือเป็นฝ่ายค้าน เขาก็จะยื่นข้อเสนอแก้ไขหรือยกเลิกในวันยันค่ำ เขาจะต้องทำสิ่งนี้ให้ได้ รู้หรือไหมว่าทำไม คนที่เชียร์พรรคเขาส่วนใหญ่ไม่รู้ และมักจะบอกว่า ก็เพราะว่ามีเด็กจำนวนมากที่อายุยังไม่ถึง 18 ปี กำลังติดคุกอยู่ 100 กว่าคน แล้วพรรคสีส้มเขาก็จะมาช่วยไง ฟังดูดีเนอะ ฟังดูเป็นฮีโร่เลยล่ะ คนที่ไม่รู้แล้วก็เชียร์พรรคเขา ก็คิดว่า โอ้ เรามีฮีโร่นะ พวกเราต้องช่วยเขานะ เพราะเขาเป็นถึงฮีโร่ เขาจะมาช่วยประชาชน แต่ในความเป็นจริง คนที่กระทำผิดในมาตรา 112 ก็คือคนที่กระทำผิดต่อความมั่นคงของชาติ คือคนที่ทําให้ชาติแตกแยก เปรียบเสมือนคดีร้ายแรง อย่างเช่น คดีซ่อมโจร คดีขายยาเสพติด ซึ่งเป็นภัยต่อความมั่นคงเหมือนกัน”

“ซึ่งคดีมาตรา 112 ก็มีลักษณะคล้ายๆ กัน เพียงแต่ว่าไม่ได้ใช้อาวุธ แต่ใช้ ‘ปาก’ เป็นอาวุธในการโจมตีแทน และพรรคสีส้มนี้เขาเกี่ยวข้องอย่างไร? ก็ไปดูคนที่มีคดีมาตรา 112 ทุกคนได้รับการประกันตัวจากใคร? ก็จาก ส.ส. พรรคสีส้มทั้งนั้น เปรียบได้กับพรรคสีส้มอยู่เบื้องหลังในการให้ท้ายเด็ก ให้วิพากษ์วิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์ จะถูก จะผิด หรือขัดแย้งกับข้อเท็จจริงอย่างไรก็ช่าง วิจารณ์ไปเลย เดี๋ยวพี่ประกันตัวเอง เดี๋ยวพี่ดูแลเอง เดี๋ยวพี่ซัพพอร์ตเอง แล้วเด็กก็ได้เงินช่วยเหลือ แถมได้ชื่อเสียงด้วย กลายเป็นฮีโร่แบบย่อมๆ ด้วย แล้วใครล่ะจะไม่ทำ”

“แล้วเพราะเหตุใด เขาจึงต้องไปยุให้เด็กพูดแบบนั้น ทำไมเขาไม่ทําการเมืองดีๆ ทำไมไม่ใช้นโยบายของตัวเอง ทำไมถึงไม่ใช้ความรู้ความสามารถของตัวเอง เพื่อเข้ามาเสนอผลงาน เสนอแนวคิดเพื่อดูแลประเทศ ดูแลประชาชน เพราะเหตุใดเขาถึงไม่ทำการเมืองแบบนั้น? ก็เพราะว่า หัวหน้าพรรคของเขาที่ถูกตัดสิทธิ์ไป คนนั้นคือหัวหน้าพรรคตัวจริง และหัวหน้าพรรคตัวจริงของเขาก็คือ ‘นายทุน’ ไม่ว่าจะเป็นด้อมแดง ด้อมส้ม นายทุนคือผู้บงการพรรค นายทุนจะสั่งไปทางซ้ายหรือทางขวา ลูกพรรคก็ต้องทำตาม เจ้าของพรรคสีส้มเขาไม่ได้หวังจะเป็นนายกรัฐมนตรี เขาหวังไกลกว่านั้นเยอะ เขาหวังเป็นประธานาธิบดี ลองไปหาดูคลิปที่ป้าเช็งพูดไว้ ป้าเช็งรู้จักแม่ของคุณธนาธร รู้จักดีด้วย แล้วเขารู้ด้วยว่า แม่ของคุณธนาธรเป็นคนอย่างไร เขาวางแผนให้ลูกของเขาเป็นประธานาธิบดี และการจะเป็นประธานาธิบดีได้ จะต้องเอาระบอบกษัตริย์ออก เพื่อจะเปลี่ยนเป็นระบอบประธานาธิบดีได้ จะต้องมีการแบ่งแยกรัฐแต่ละรัฐ ให้มีนายกฯ เป็นของตัวเอง เห็นหรือไม่? ว่าเขาเดินตามครรลอง ตามวิถีที่เขาต้องทำทุกกระเบียดนิ้วเลย”

“เพราะฉะนั้น การที่วันนี้คุณพิธาจะได้เป็นนายกฯ หรือไม่ได้เป็นนั้น ไม่ได้มีความสำคัญกับคุณธนาธรสักเท่าไร เพราะสิ่งที่สำคัญคือ ‘มวลชน’ ที่เขายังสามารถให้เด็กออกมาพูดแทนได้ ที่เขายังสามารถให้ประชาชนพูดเรื่องกษัตริย์ได้ เหตุผลที่เขาต้องการจะเร่งให้มีการแก้ไข ก็เพื่อที่คนจะได้ออกมาพูดเรื่องนี้เยอะๆ คนจะได้ออกมาโจมตีกษัตริย์เยอะๆ ประชาชนจะได้เกลียดกษัตริย์ จนกระทั่งวันหนึ่งการมีสถาบันพระมหากษัตริย์ ไม่ใช่สิ่งจำเป็นอีกต่อไป และคนที่ดึงมวลชนให้เกลียดกษัตริย์ได้มาก สุดท้ายก็จะได้รับการสนับสนุนจากประชาชน และได้เป็นประธานาธิบดี นี่ต่างหาก คือจุดมุ่งหมายของพรรคนี้”

“คุณพิธาเป็นเพียงแค่ ‘หุ่นเชิด’ ลองไปดูคุณพิธาในปัจจุบันนี้ การที่เขาบริหารเงินในชีวิตส่วนตัว มีรายได้เดือนละแสนบาท แต่ใช้เงินเดือนละ 4 แสนบาท จนตัวเองต้องขายบ้าน ขายคอนโด ขายที่ดิน ขายออกไปเรื่อยๆ คุณคิดว่าเป็นเพราะอะไร? เป็นเพราะว่าเขาได้แรงจูงใจว่า ถ้าเขาได้เป็นนายกรัฐมนตรี เขาจะทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ เขาจะได้เงินอุดหนุนจากที่นั่นที่นี่ แต่พอเขาไม่ได้ ณ ปัจจุบันนี้ เขาก็กลายเป็นคนส่วนหนึ่งของคนที่ถูกนายทุนหลอกเหมือนกัน จริงหรือไม่จริง คุณก็ดูได้ เมื่อคนหมดประโยชน์ เขาก็ไม่เอาไว้หรอก คนพวกนี้ใจดำนะจะบอกให้ อนาคตเป็นเครื่องพิสูจน์ แต่สิ่งที่ต้องสื่อสารกันวันนี้คือ เขาจะมาหยุดเรื่องมาตรา 112 และเขาจะทำต่อไป”

“ฝากถึงหน่วยงานความมั่นคงของประเทศนี้ คุณจะทำงานแบบนี้ไม่ได้แล้วนะ เพราะว่าประเทศเราไม่สามารถที่จะปล่อยให้คนชั่วขึ้นครองอำนาจได้ และยิ่งนับวัน เหล่ามวลชนที่หลงผิดก็ยิ่งมีมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะเขาไม่รู้เรื่องการปกครอง เขาเชื่อแต่คนที่หน้าตาดีและคนที่พูดเพราะ แต่เขาไม่สนว่าคำพูดเหล่านั้น แม้จะไพเราะ แม้จะเป็นคําโกหก เขาก็ไม่สามารถแยกแยะให้ออกได้ เพราะฉะนั้น หน่วยความมั่นคง รวมถึงคนที่ดูแลประเทศ คนที่เป็นผู้นำพาประเทศไปสู่ความถูกต้อง ไปสู่ความดี คุณต้องรีบจัดการ ตอนนี้ เวลานี้ คุณจะรอให้อีก 4 ปีข้างหน้ามีการเลือกตั้งใหม่ หากถึงเวลานั้น ผมเกรงว่ามันจะสายเกินไป”


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top