Sunday, 18 May 2025
ค้นหา พบ 48168 ที่เกี่ยวข้อง

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จัดโครงการอุปสมบทหมู่ข้าราชการตำรวจเพื่อถวายเป็นพระกุศลแด่สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เนื่องในโอกาสฉลองพระชนมายุ 8 รอบ

วันนี้ 26 มิ.ย.66 ณ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร ในระหว่างวันที่ 19 มิ.ย.66 ถึง 8 ก.ค.66 รวม 20 วัน โดยมีข้าราชตำรวจจากทั่วประเทศสมัครใจเข้าร่วมโครงการอุปสมบทหมู่ในครั้งนี้ จำนวน 38 นาย และประชาชน จำนวน 10 คน 
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 24 มิ.ย.66 ระหว่างเวลา 16.30 ถึง 18.00 น. มีการประกอบพิธี
ถวายราชสักการะ พิธีเจริญพระพุทธมนต์สมโภชนาค พิธีมอบบาตรและผ้าไตร ณ มณฑลพิธีลานพระศรีมหาโพธิ์   และพิธีบรรพชาอุปสมบท ณ พระอุโบสถวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร  

โดยมี พล.ต.ท.ธัชชัย  ปิตะนีละบุตร ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เดินทางมาเป็นประธานในพิธีฯ ภายหลังการอุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์แล้ว
จะศึกษาพระปริยัติธรรมและปฏิบัติธรรม ณ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร
​การจัดโครงการอุปสมบทหมู่ฯ

ในครั้งนี้  สำนักงานตำรวจแห่งชาติ  มุ่งหวังเพื่อให้ข้าราชการตำรวจได้ร่วมแสดงความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา รวมถึงเพื่อให้ข้าราชการตำรวจได้บำเพ็ญคุณงามความดี  ถือเป็นโอกาสที่จะได้เสริมสร้าง คุณธรรม จริยธรรม พัฒนากล่อมเกลาจิตใจ  ซึ่งก่อประโยชน์ให้กับตนเอง ครอบครัว และสังคมต่อไป

ตร.ไซเบอร์รวบขบวนการหลอกให้กู้เงินออนไลน์ หลอกพระโอนเงิน 15 ครั้ง เสียหายกว่า 4 แสนบาท

กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ภายใต้การอำนวยการของ พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท. ได้สั่งการให้กวาดล้างอาชญากรรมทางเทคโนโลยี

สืบเนื่องจากผู้เสียหาย(พระ) ต้องการจะกู้เงินเพื่อนำไปชำระหนี้ให้กับโยมแม่ โดยเข้าไปค้นหาใน Google พบบริการสินเชื่อออนไลน์ ผู้เสียหายได้คลิกเข้าไปลงทะเบียนเพื่อขอกู้เงิน ต่อมาคนร้ายได้ให้ผู้เสียหายแอดไลน์ เพื่อคุยข้อความทางไลน์และถามว่าผู้เสียหายต้องการเงินเท่าไร หลังจากนั้นคนร้ายได้ส่งลิงก์ Eagleloan (rabbit.xyz) (http://b10.rabbitlon.xyz#/register) มาให้ผู้เสียหายเข้าไปสมัครในแพลตฟอร์มดังกล่าว เมื่อผู้เสียหายสมัครในแพลตฟอร์มดังกล่าวเสร็จแล้ว มีข้อความเข้าว่าได้รับอนุมัติ โดยแจ้งว่าผู้เสียหายเป็นผู้กู้รายใหม่ยังไม่มีประวัติการกู้กับทางบริษัทฯ คนร้ายจึงได้ส่งบัญชีธนาคารที่คนร้ายกับพวกเปิดไว้จำนวน 6 บัญชี มาให้ผู้เสียหายต้องชำระค่าบริการต่างๆ ผู้เสียหายหลงเชื่อจึงได้ทำการโอนไป จำนวน 15 ครั้ง

รวมเป็นเงิน จำนวน 408,723 บาท หลังจากนั้นผู้เสียหายได้ทำการขอถอนเงินคืน ผู้ต้องหาได้แจ้งว่าต้องฝากเงินเข้าไปอีก ผู้เสียหายจึงได้เข้าแจ้งความร้องทุกข์ต่อ พนักงานสอบสวน กก.2 บก.สอท.2
รวมมูลค่าความเสียหาย ประมาณ 408,723 บาท

ต่อมาศาลได้อนุมัติหมายจับผู้ต้องหา จำนวน 6 คน ตามที่พนักงานสอบสวนยื่นคำร้องขอหมายจับ เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

กระทั่งเจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.2 บก.สอท.2 ได้ออกสืบสวนติดตามจับกุมผู้ต้องหาตามหมายจับ ดังนี้

1. นายฐิติวัชร ชาวอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ถูกจับกุมเมื่อวันที่ 22 มิ.ย.66          

2. นายเอกภิเชฐ ชาวอำเภอหนองม่วงไข่ จังหวัดแพร่ ถูกจับกุมเมื่อวันที่ 23 มิ.ย.66

ในความผิดฐาน "ร่วมกันฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นคนอื่น และโดยทุจริตหลอกลวงร่วมกันนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด"

เบื้องต้นผู้ต้องหาทั้งสองราย ให้การปฏิเสธข้อกล่าวหา จากนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้จัดทำบันทึกการจับกุม และนำตัวส่ง พนักงานสอบสวน กก.2 บก.สอท.2 เพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป

ผลการปฏิบัติภายใต้การอำนวยการของ พล.ต.ต.ณัฐกร ประภายนต์ ผบก.สอท.2 ได้สั่งการให้ พ.ต.อ.จักรกฤช ศรีโรจนากูร ผกก.2 บก.สอท.2 พร้อมเจ้าหน้าที่ชุดจับกุม

ตำรวจไซเบอร์ เปิดเผย 10 อันดับ สินทรัพย์ที่มิจฉาชีพมักนำมาแอบอ้างหลอกลวงให้ลงทุน

พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก บช.สอท. กล่าวว่า ในปัจจุบันกระแสความนิยมในการลงทุนสินทรัพย์ต่างๆ ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งถือได้ว่าเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่มิจฉาชีพฉวยโอกาสเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์หลอกลวงเอาทรัพย์สินของประชาชนโดยมิชอบ ทำให้ที่ผ่านมามีประชาชนได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก

โดยนับตั้งแต่การเปิดศูนย์บริหารการรับแจ้งความออนไลน์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมื่อวันที่ 1 มี.ค.65 จนถึงปัจจุบัน พบว่ามีประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากการถูกมิจฉาชีพหลอกลวงให้ลงทุนผ่านระบบคอมพิวเตอร์กว่า 23,200 ราย สูงเป็นลำดับที่ 4 หรือคิดเป็น 8.3% ของจำนวนเรื่องที่ได้รับแจ้งความทั้งหมด แต่กลับพบว่ามีมูลค่าความเสียหายกว่า 11,200 ล้านบาท สูงที่สุดเป็นลำดับที่ 1 หรือคิดเป็น 28.72 % จากมูลค่าความเสียหายรวมของการหลอกลวงในรูปแบบต่างๆ โดยมิจฉาชีพมักจะใช้วิธีการสร้างเว็บไซต์ปลอม หรือแอปพลิเคชันปลอม หรือสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ ปลอม นำเสนอข้อมูล ตัดต่อ คัดลอก ภาพบุคคลที่มีชื่อเสียง องค์กรหรือบริษัทที่น่าเชื่อถือ ประกาศโฆษณาชักชวนบุคคลทั่วไปให้มาลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ มีการันตีจะได้รับผลตอบแทนสูงในเวลาอันรวดเร็ว ใช้คำโฆษณาที่สวยหรู เช่น เป็นการเปิดโอกาสให้นักลงทุน เพื่ออนาคตที่ดีกว่า กล้าคิด กล้าลงทุน เพียงแค่เปิดใจ เป็นต้น

รวมถึงใช้การเทคนิคการซื้อโฆษณาเพื่อง่ายต่อการเข้าถึงเป้าหมาย และในระหว่างนั้นเหยื่อจะได้พูดคุยกับบุคคลที่อ้างว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุน พูดคุย โน้มน้าวใช้จิตวิทยาล่อลวงให้เหยื่อลงทุนด้วยจำนวนเงินที่เพิ่มสูงขึ้น ท้ายที่สุดอ้างว่าเหยื่อทำผิดกฎต่างๆ ทำให้ไม่สามารถถอนเงินจากระบบได้ นอกจากนี้แล้วการลงทุนนั้นอาจจะเข้าข่ายเป็นแชร์ลูกโซ่ โดยมิจฉาชีพจะใช้วิธีการสร้างภาพว่าตน หรือธุรกิจของตนประสบความสำเร็จ ซึ่งในช่วงแรกเหยื่อก็จะได้รับผลตอบแทนจริงตามที่กล่าวอ้าง จากนั้นเหยื่อจะเกิดความโลภลงทุนเพิ่มเป็นจำนวนมาก และยังไปชวนบุคคลอื่นมาร่วมลงทุนด้วย ซึ่งมิจฉาชีพก็นำเงินมาหมุนจ่ายค่าตอบแทนแก่สมาชิกอื่นไปเรื่อยๆ จนกระทั่งมีจำนวนสมาชิก และเงินลงทุนเป็นจำนวนมากแล้ว ก็จะหลบหนีไป รวมไปถึงการเข้าหาเหยื่อด้วยแอปพลิเคชันหาคู่ และใช้คำหวานโรแมนติกหลอกลวงเหยื่อ ทั้งนี้ที่ผ่านมามักจะพบสินทรัพย์ที่มิจฉาชีพนำมาหลอกลวงลงทุน ดังนี้

1.สกุลเงินดิจิทัล (Cryptocurrency) ฝากซื้อขายเหรียญในเว็บไซต์ปลอม หลอกให้ลงทุนซื้อเหรียญสกุลใหม่ๆ แต่สุดท้ายไม่ได้เข้าตลาดซื้อขาย ธุรกิจการขุดเหมืองสกุลเงินดิจิทัล หรือการเช่าหรือซื้อกำลังขุดสกุลเงินดิจิทัล (Cloud Mining)
2.อัตราแลกเปลี่ยนเงินต่างประเทศ (Forex) หลอกลงทุนเก็งกำไร
3.ทองคำ เพชร
4.หุ้นต่างประเทศ
5.หุ้น กองทุนรวม ในประเทศ เช่น Amata, Gulf, PTT, CPALL, บางจาก, AOT เป็นต้น
6.อสังหาริมทรัพย์
7.สินค้าอุปโภค เช่น คดีลงทุนฟาร์มเห็ด Turtle Farm, คดีลงทุนผักผลไม้ตลาดสี่มุมเมือง
8.ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม เช่น คดี พรีมายา (Primaya)
9.โควตาสลากกินแบ่งรัฐบาล
10.ลงทุนเล่นการพนันออนไลน์

บช.สอท. โดย พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท. ได้เร่งรัดขับเคลื่อนตามนโยบายของรัฐบาล โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. และ พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล รอง ผบ.ตร. ในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดอาชญากรรมออนไลน์ในทุกรูปแบบ รวมถึงการสร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชนไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับการหลอกลวงประชาชนให้ลงทุนในสินทรัพย์ประเภทต่างๆ

โฆษก บช.สอท. กล่าวต่ออีกว่า ที่ผ่านมาก็พบการกระทำความผิดในลักษณะของการหลอกลวงให้ลงทุน ที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้ง วิธีการที่มิจฉาชีพนำมาใช้ไม่ได้แตกต่างไปจากเดิมมากนัก เพียงแต่เปลี่ยนเรื่องราวไปตามกระแสความสนใจของสังคมในปัจจุบัน โดยอาศัยความไม่รู้ และความโลภของประชาชนเป็นเครื่องมือ มักแอบอ้างภาพ หรือชื่อ ก.ล.ต. หรือหน่วยงาน บริษัท บุคคลที่มีชื่อเสียงในการโฆษณาชวนเชื่อ หรือการปลอมแปลงใบอนุญาต อ้างหรือตั้งชื่อให้ใกล้เคียงกับบริษัทที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต. และในปัจจุบันมิจฉาชีพสามารถเข้าถึงเหยื่อได้ง่ายมากยิ่ง ทำให้การหลอกลวงสามารถทำได้หลากรูปแบบ และหลายช่องทางมากขึ้น รวมไปถึงมิจฉาชีพก็มักจะสร้างความน่าเชื่อถือปิดช่องโหว่มากขึ้น เนื่องจากประชาชนเริ่มรู้เท่าทันจากการเตือนภัยออนไลน์ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ
ทั้งนี้ ขอฝากเตือนภัยและประชาสัมพันธ์แนวทางการป้องกันเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ตกเป็นเหยื่อดังนี้

1.ตรวจสอบความน่าเชื่อถือ โดยการตรวจสอบว่าเว็บไซต์เปิดมานานเท่าใดแล้ว บริษัทที่ไม่น่าเชื่อถือมักมีการลงทะเบียนโดเมนแบบไม่ระบุตัวตน หรือตรวจสอบตัวตนได้ยาก โดยสามารถตรวจสอบการจดทะเบียนได้ที่เว็บไซต์ต่างๆ เช่น https://checkdomain.thaiware.com เป็นต้น
2.ระมัดระวังการชักชวนจากคนที่เพิ่งรู้จัก ไม่เคยเห็นหน้า หรือเป็นคนต่างชาติหน้าตาดี ที่เข้ามาตีสนิทแล้วชวนให้ลงทุนบนแพลตฟอร์ม หรือแอปพลิเคชันต่างประเทศ อ้างว่าลงทุนแล้วได้ผลกำไรสูง การันตีผลกำไรแน่นอน
3.มิจฉาชีพมักอ้างว่ารู้จักผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุน โดยบุคคลที่มักนำรูปและชื่อมาแอบอ้างนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นบุคคลสาธารณะที่มีชื่อเสียงหรือมีความรู้ด้านการลงทุน พร้อมสร้างเว็บไซต์ปลอมเพื่อหลอกลวงเหยื่อ
5.ตรวจสอบแหล่งที่มาของรายได้บริษัทว่านำเงินจากไหนมาจ่ายให้ผู้ลงทุน
6.ตรวจสอบข้อมูลจากสื่อสังคมออนไลน์ว่าบริษัทมีการกล่าวถึงการหลอกลวงหรือไม่ มีความน่าเชื่อถือมากเพียงใด
7.ผลตอบแทนที่ได้รับมีความสมเหตุสมผลหรือไม่ เช่น การันตีให้ผลตอบแทนสูงในระยะเวลาอันสั้น รับประกันผลการตอบแทนการลงทุน
8.ไม่โอนเงินไปยังบัญชีธนาคารของบุคคลธรรมดา เสี่ยงเป็นบัญชีของมิจฉาชีพหรือบัญชีม้ารับโอนเงิน
9.หลีกเลี่ยงการลงทุนหรือข้อเสนอที่ฟังดูดีเกินกว่าจะเป็นไปได้ พึงระลึกไว้เสมอว่า “ ไม่มีสิ่งใดได้มาโดยง่าย โดยเฉพาะเรื่องเงิน ” และ “ การลงทุนมีความเสี่ยง ควรศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนตัดสินใจ ”
10.ตรวจสอบรายชื่อผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับใบอนุญาตจาก ก.ล.ต. ได้ที่ www.sec.or.th/seccheckfirst

เพจเฟซบุ๊ก การทูตและการทหาร Military & Diplomacy โพสต์ข้อความ สรุปจุดจบบริษัททหารรับจ้าง ‘วากเนอร์’

เพจเฟซบุ๊ก การทูตและการทหาร Military & Diplomacy ได้โพสต์ข้อความเกี่ยวกับเหตุการณ์ กบฏวากเนอร์ที่เกิดในรัสเซีย ไว้โดยมีใจความว่า ...

จุดจบบริษัททหารรับจ้างวากเนอร์

เบื้องต้นเงื่อนไขที่ประธานาธิบดี Alexander Lukashenko ของเบลารุสเป็นคนกลางเจรจากับนาย Yevgeny Prigozhin เจ้าของบริษัททหารรับจ้าง Wagner และต่อมานาย Dmitry Peskov โฆษกเครมลินออกมาแถลงเพิ่มเติม สรุปคร่าวๆได้ประมาณนี้ครับ

1. ทหารรับจ้างวากเนอร์ยอมถอนกำลังกลับที่ตั้ง รัฐบาลรัสเซียจะไม่ดำเนินคดีกับกำลังพลของวากเนอร์ เนื่องจากมีความดีความชอบมาก่อน แต่หลังจากนี้กำลังพลของวากเนอร์ต้องอยู่ภายใต้กลาโหมรัสเซียแล้ว ตรงจุดนี้รายละเอียดยังไม่ชัดเจนว่าแค่ให้เซ็นสัญญากับกลาโหมให้เป็นเรื่องเป็นราว หรือว่าจะยุบบริษัทแล้วดึงกำลังพลของวากเนอร์มาเป็นทหารรัสเซียเลย

2. นาย Yevgeny Prigozhin จะเดินทางออกนอกประเทศไปอยู่เบลารุส (Lukashenko รู้จัก Prigozhin เลยเป็นคนกลางเจรจาได้) โดยปูตินรับรองความปลอดภัยให้ จะไม่มีการดำเนินคดีกับ Prigozhin

3. ระหว่างการเจรจา ไม่มีการตกลงเปลี่ยนแปลงตำแหน่งนายทหารระดับสูงในกระทรวงกลาโหมแต่อย่างใด กล่าวคือปูตินไม่ปลด Shoigu หรือ Gerasimov ตามที่วากเนอร์เรียกร้อง อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หมายความว่าหลังจากนี้จะไม่มีการโยกย้ายตำแหน่งใดๆเลยนะครับ แต่ "ถ้าจะมี" ปูตินในฐานะประธานาธิบดีและผู้บัญชาการสูงสุดจะเป็นคนสั่งการเอง ไม่ให้ทหารรับจ้างมากดดันได้ ข้อมูลบางแหล่งระบุว่าจะมีการแต่งตั้ง Surovikin แทน แต่รอดูประกาศเป็นทางการก่อนครับ

4. ปฏิบัติการพิเศษในยูเครนดำเนินต่อไปตามปกติ

สำหรับสาเหตุที่วากเนอร์ยอมถอย ทั้งที่อีกประมาณ 200 กิโลเมตรก็จะถึงกรุงมอสโกแล้ว เท่าที่ผมมีข้อมูลคือกำลังพลของวากเนอร์เกือบครึ่งไม่เห็นด้วยกับการก่อกบฏตั้งแต่แรก และระหว่างที่เหตุการณ์ดำเนินไป ก็มีคนถอนตัวมากขึ้น สุดท้ายกำลังพลจึงไม่พอจะสู้กับฝ่ายรัฐบาลรัสเซียที่มีกำลังพลทั้ง Rosgvardia (National Guard) ตำรวจ กองกำลังเชเชน และหน่วยทหารรัสเซียจากพื้นที่อื่นๆที่ทยอยเดินทางมาสมทบ ปิดล้อมสกัดเส้นทางของวากเนอร์ได้ สุดท้ายจึงมีการเจรจาโดยให้ Lukashenko มาเป็นคนกลาง เปิดทางถอยให้วากเนอร์ เนื่องจากทุกฝ่ายต้องการหลีกเลี่ยงการนองเลือด ด้วยเหตุนี้แม้จะเกิดความสูญเสียบ้างจากการปะทะกันก่อนหน้านี้ แต่เหตุการณ์ก็ไม่บานปลายถึงขนาดเป็นสงครามกลางเมือง

ไม่น่าเชื่อว่าเราได้เห็นประวัติศาสตร์ The Rise and Fall of the Wagner PMC สูงสุดคืนสู่สามัญ ภายในเวลาแค่ไม่กี่เดือนเท่านั้นเอง

'กรณ์ จาติกวณิช' ประกาศลาออก จากการเป็น ‘หัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้า’

นายกรณ์ จาติกวณิช ได้โพสต์เฟซบุ๊ก เกี่ยวกับการลาออก จากการเป็น ‘หัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้า’ โดยมีใจความว่า ...
.
ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมานี้ ผมได้เข้าพบ และยื่นจดหมายถึงประธานพรรค คุณสุวัจน์ ลิปตพัลลภ เพื่อขอบคุณในความไว้วางใจที่ท่านได้มอบให้ผม พร้อมกับแจ้งลาออกจากการเป็นหัวหน้าพรรค

ในฐานะอดีตหัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้า ผมขอขอบคุณพี่น้องประชาชนทุกคน ทุกคะแนนเสียงที่ได้สนับสนุนแนวคิดทางการเมืองของพวกเรา ผมจะสนับสนุนนโยบายทั้งหมดที่เราได้นำเสนอในสถานะประชาชนคนหนึ่งต่อไป 

ตลอดช่วง 18 ปีที่ผ่านมา ผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสรับใช้ประชาชนและประเทศที่ผมรักในฐานะนักการเมืองคนหนึ่งที่มาจากการเลือกตั้ง 

ผมขอขอบคุณทุกๆ คนที่ช่วยผมทำภารกิจนี้มานับแต่ปี 48 

บ้านเมืองเรายังมีปัญหาอีกมากมายรอการแก้ไข ผมขอเป็นกำลังใจให้เพื่อนนักการเมืองจากทุกพรรค และขอให้กำลังใจเป็นพิเศษแก่นักการเมืองที่กำลังจะเริ่มทำงานในสภาเป็นครั้งแรก อย่าให้ความต้องการเอาชนะครอบงำจิตใจและการแสดงออกของท่านจนเกินไป ทำงานด้วยการสร้างพลังบวกร่วมกันในสังคมให้ได้ ผมจะคอยเป็นกำลังใจ 

ช่วงนี้ผมขอพาครอบครัวไปพักผ่อน ติดหนี้ที่บ้านไว้เยอะครับ

ขอบคุณทุก ๆ คนจากใจ
 


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top