Monday, 19 May 2025
ค้นหา พบ 48202 ที่เกี่ยวข้อง

ชู ”วิสัยทัศน์ต้านโกงจุรินทร์” โยงเงื่อนไขร่วมรัฐบาล

“อลงกรณ์” ประกาศ 10 นโยบายปราบคอร์รัปชั่นของพรรคประชาธิปัตย์” 
ยกระดับเป็น”วาระแห่งชาติเร่งด่วน”(National Urgent Agenda) เพิ่มโทษอาญา-ยึดทรัพย์ เร่งปฏิรูปราชการและการเมืองลดฉ้อฉลตัดเงื่อนไขรัฐประหาร พร้อมผนึกความร่วมมือภาคประชาชนส่งเสริมแพลตฟอร์มไอที.ขจัดทุจริต

นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคและประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พรรคประชาธิปัตย์เปิดเผยวันนี้(5 เม.ย.)ว่า ปัญหาคอร์รัปชั่นเป็นเสมือนมะเร็งร้ายของประเทศที่อยู่ในขั้นวิกฤตจำเป็นที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังเร่งด่วนโดยพรรคประชาธิปัตย์เสนอให้ยกระดับเป็น”วาระแห่งชาติเร่งด่วน”(National Urgent Agenda) ซึ่งผลการสำรวจดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions Index หรือ CPI) ประจำปี 2565 ปรากฎว่า ประเทศไทย อยู่ในอันดับที่ 101 จาก180 ประเทศและอยู่ในอันดับที่ 4 ของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนจากการประเมินล่าสุดโดยองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International หรือ TI)

พรรคประชาธิปัตย์มีความกังวลต่อปัญหานี้และให้ความสำคัญต่อการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นจึงได้จัด”เวที ‘ฟัง-คิด-ทำ’ ต้านโกง”เพื่อรับฟังความคิดเห็นประกอบกับข้อสังเกตขององค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาตินำไปสู่การจัดทำเป็นนโยบายต่อต้านการทุจริตให้ทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป 

โดยยึดปฐมอุดมการณ์ของพรรคที่บัญญัติไว้ว่า”พรรคจะดำเนินการเมืองด้วยความซื่อสัตย์สุจริตต่อประชาชน”และแนวทางประชาธิปไตยสุจริตโดยมีแนวทางนโยบายดังนี้
1. ยกระดับการต่อต้านคอร์รัปชั่น
เป็น”วาระแห่งชาติเร่งด่วน”(National Urgent Agenda) 
2. ส่งเสริมหลักธรรมาภิบาล หลักการประชาธิปไตยสุจริตและหลักการขัดกันแห่งผลประโยชน์(Conflict of Interest)
3. สนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและสื่อมวลชนในการตรวจสอบการดำเนินงานของภาครัฐและภาคเอกชน
4. ส่งเสริมการเรียนการสอนและการปลูกฝังจิตสำนึก”โตไปไม่โกง”รวมทั้งการสร้างความตระหนักรู้ของสังคมถึงภัยร้ายของการคอร์รัปชั่น
5. สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีดิจิตอลเพื่อขจัดการคอรัปชั่นและส่งเสริมแพลตฟอร์มของภาคเอกชนและภาคประชาชนในการเปิดเผยข้อมูลเพื่อการตรวจสอบและแก้ปัญหาการทุจริต
6. เปิดเผยข้อมูลข่าวสารทางราชการโดยเฉพาะการจัดซื้อและการประมูลภาครัฐทั้งราชการส่วนกลางส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น
7. ปฏิรูประบบราชการ การเมืองและกระบวนการยุติธรรมเพื่อความโปร่งใส การพัฒนาระบบการอนุมัติ อนุญาตให้มีความโปร่งใส การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน 
8. การยกเลิกกฎหมายกฎระเบียบที่เอื้อต่อการทุจริต
9. การเพิ่มโทษอาญาและการยึดทรัพย์คดีฉ้อราษฎร์บังหลวง การลงโทษเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องกับสินบนอย่างจริงจัง 
10. การร่วมมือกับนานาชาติในการปราบปรามการทุจริตข้ามชาติทุกรูปแบบภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านคอร์รัปชั่น

นายอลงกรณ์ซึ่งเป็นอดีตประธานคณะกรรมการปราบปรามการทุจริตของพรรคประชาธิปัตย์และพรรคร่วมฝ่ายค้านและได้รับการคัดเลือกจากสื่อมวลชนประจำรัฐสภาให้เป็น”ดาวเด่นแห่งปีของรัฐสภา”จากบทบาทการปราบปรามการทุจริตกล่าวต่อไปว่า

 

‘Apple’ จ่อปรับโครงสร้างบริษัท เพื่อรับมือวิกฤตเศรษฐกิจ เล็งลดตำแหน่งงานบางส่วนออกเป็นครั้งแรก 

เมื่อวันที่ 4 เม.ย.66 บลูมเบิร์ก รายงานว่า Apple Inc. (AAPL) กำลังปรับโครงสร้างภายในทีมค้าปลีกของบริษัท ซึ่งถือเป็นการลดตำแหน่งงานภายในบริษัทเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เริ่มดำเนินการรัดเข็มขัดเมื่อปีที่แล้ว

ในเดือนกันยายนปีที่แล้ว Apple มีพนักงาน 164,000 คน และตรึงอัตรากำลังไว้ต่อเนื่อง ต่างจากบิ๊กเทคอื่นที่ขยายกำลังพนักงานเร็วในช่วงโควิด เมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจจนถึงปลายปีที่แล้ว ทำให้ความจำเป็นในการเลิกจ้างพนักงาน เช่น Amazon.com Inc. (AMZN) และ Google ของ Alphabet Inc. (GOOGL) ได้ปลดพนักงานหลายหมื่นคน

แม้ว่าช่วงที่ผ่านมา Apple จะรัดเข็มขัด ลดงบประมาณและตัดทอนพนักงานรับเหมาจำนวนมาก รวมถึงวิศวกรสัญญาจ้าง นายหน้า และเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย และให้พนักงานเหล่านั้นกลับมาสมัครงานใหม่ในตำแหน่งที่คล้ายกัน ซึ่งอาจจะได้รับค่าตอบแทนต่ำกว่าเดิม

'พี่ศรี' ลั่น!! ล่า 150 ล้านบาทคืนประชาชน แม้ข้ามคลองพระโขนงเคลียร์ ไม่เสียตังค์แล้วก็ตาม

(5 เม.ย.66) นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ได้โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า… ขอแสดงความยินดีกับพี่น้องชาวอ่อนนุช 77 ชาวซอยปรีดีพนมยงค์ 2 และผู้ที่จะใช้เส้นทางลัดผ่านสะพานแสนสำราญข้ามคลองพระโขนง ของแสนสิริ เพราะขณะนี้การผ่านเส้นทางดังกล่าวไม่มีการเก็บเงินค่าผ่านทางแล้ว… แต่เงินที่เก็บไปก่อนหน้านี้กว่า 150 ล้านบาท กทม.ต้องสั่งให้บริษัทที่เก็บเงินค่าผ่านทางไปตั้งแต่ปี 2558 ถึงปัจจุบัน คืนประชาชนที่เคยจ่ายไปหรือนำไปใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ตามที่ กทม.และผู้มีส่วนได้เสียกำหนด…ถ้า กทม.ไม่ดำเนินการ เดี๋ยวไปเจอกันที่ศาลปกครอง…

 

‘รัสเซีย’ เผย ยินดีส่งเด็กยูเครนกลับประเทศ  หากครอบครัวพวกเขาร้องขอ แนะ ให้ผู้ปกครองเขียนอีเมลส่งมา

(5 เม.ย.66) กล่าวว่า มาเรีย โลววา-เบโลวา กรรมาธิการสิทธิเด็กประจำสำนักงานประธานาธิบดีรัสเซีย ประกาศพร้อมส่งเด็กยูเครนกลับประเทศ หากครอบครัวของพวกเขาร้องขอ

โลววา-เบโลวา เป็นผู้ดูแลเด็กยูเครนที่ถูกส่งตัวจากประเทศมาอยู่ใต้การปกครองของประเทศรัสเซีย และเธอเป็นหนึ่งในผู้ถูกหมายจับของศาลอาญาระหว่างประเทศร่วมกับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ในข้อหาลักพาตัวเด็กยูเครนไปยังประเทศรัสเซียอย่างผิดกฏหมาย

ยูเครนกล่าวหารัสเซีย ว่า ขโมยเด็กกว่า 16,000 คนออกจากประเทศ นับตั้งแต่เริ่มบุกรุกเมื่อปีที่แล้ว แต่ฝั่งรัสเซียกล่าวว่าเป็นการช่วยชีวิตเด็ก ๆ จากเขตสู้รบ และมีขั้นตอนรองรับเพื่อรอเวลาให้พวกเขาได้กลับไปอยู่กับครอบครัวอีกครั้ง

ในระหว่างการแถลงข่าวเมื่อวันอังคาร มาเรีย โลววา-เบโลวากล่าวว่า เธอไม่เคยได้รับการติดต่อจากตัวแทนของทางการยูเครนเกี่ยวกับเด็กที่ถูกเคลื่อนย้ายออกนอกประเทศตั้งแต่เริ่มการสู้รบ และเธอยินดีให้ผู้ปกครองของเด็กเหล่านั้นสามารถเขียนอีเมลถึงเธอเพื่อตามหาลูกหลานของพวกเขาได้

"เขียนถึงฉัน...เพื่อตามหาลูกของคุณ" โลววา-เบโลวากล่าว แต่ปฏิเสธที่จะเปิดเผยรายชื่อเด็กยูเครนทั้งหมดที่ถูกนำตัวมายังรัสเซีย

ตามรายงานล่าสุดที่เผยแพร่โดยสำนักงานของเธอ ระบุว่า เด็ก 16 คนจาก 9 ครอบครัวได้กลับไปอยู่ร่วมกับญาติชาวยูเครนตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคมแล้ว

รายงานยังระบุอีกว่าเด็กกำพร้าชาวยูเครน 380 คนถูกส่งไปอยู่กับครอบครัวอุปถัมภ์ในรัสเซีย รวมถึงผู้เยาว์ 22 คนที่ถูกทิ้งในเมืองมารีอูโปล เมืองท่าที่ถูกถล่มจนราบเป็นหน้ากอง ก่อนที่กองกำลังรัสเซียจะเข้ายึดเมื่อปีที่แล้ว


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top