Monday, 7 July 2025
ค้นหา พบ 49244 ที่เกี่ยวข้อง

กลุ่ม ปตท. จัดกิจกรรมวันเด็ก กลุ่ม ปตท. ประจำปี 2566 นำเสนอโลกเสมือนใหม่ ภายใต้แนวคิด 'INNOVERSE ขับเคลื่อนพลังสู่อนาคต'

เมื่อวันที่ 14 ม.ค.66 นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พร้อมผู้บริหารระดับสูง กลุ่ม ปตท. ร่วมเปิดกิจกรรมวันเด็ก ณ อาคารสำนักงานใหญ่ ปตท. ถ.วิภาวดีรังสิต กทม. เพื่อเป็นของขวัญต้อนรับเด็ก ๆ ทุกคน หลังจากงดจัดกิจกรรมกว่า 2 ปี ตั้งแต่ปี 2563 จากสถานการณ์โควิด-19

นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ กล่าวว่า ที่ผ่านมา กลุ่ม ปตท. ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาเยาวชนไทยในหลากหลายรูปแบบ เพื่อให้เด็กไทยทุกคนได้มีความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ผ่านกิจกรรมและโครงการต่าง ๆ ของกลุ่ม ปตท. อย่างต่อเนื่อง รวมถึงกิจกรรมวันเด็กในวันนี้ ถือเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่กลุ่ม ปตท. ตั้งใจสร้างสรรค์ ภายใต้หัวข้อ “INNOVERSE ขับเคลื่อนพลังสู่อนาคต” ซึ่งเป็นการรวบรวมสิ่งที่น่าสนใจของกลุ่ม ปตท. มานำเสนอแก่เด็กเยาวชนในโลกเสมือนจริง

สาวเล่าชีวิตเคยจน พิการขาตั้งแต่เกิด ได้โรงพยาบาลศิริราชรักษาให้ฟรี แม่ทำงานก่อสร้างบริจาคเงินไป 20 บาท ผ่านไป 37 ปี เธอมีชีวิตที่ดีขึ้น กลับมาบริจาคเงินปีละแสน 9 ปีแล้ว 

นับเป็นเรื่องราวดีๆที่หลายคนเห็นแล้วยิ้มได้ เมื่อสาวรายหนึ่งใช้ติ๊กต็อกชื่อว่า bb7529  เธอเล่าผ่านคลิปว่า "37 ปีก่อน เราพิการแต่กำเนิด ตอนนั้นบ้านจน แม่ทำงานก่อสร้าง แม่บอกว่าพามารักษาขาที่ศิริราช โรงพยาบาลไม่เรียกเงิน แล้วแต่เราจะให้ แม่เลยบริจาคไป 20 บาทวันนั้น วันนี้เรามีแล้วเราเลยมาบริจาคเงินที่ศิริราชบ้าง "  และเธอยังระบุแคปชั่นว่า " พิการขาแต่กำเนิด แต่มีบุญที่ศิริราชรักษาหาย แม่ไม่มีเงินตอนนั้นบริจาคเงินไป 20 บาท เคยอธิษฐานไว้ว่าถ้าเรามีกินมีใช้เราจะมาบริจาคศิริราชทุกปี ตอนนี้มีแล้วนะ คืนให้ปีละแสน จะ 9 ปีแล้ว ขอบคุณศิริราชที่ให้ชีวิตใหม่"

เครือข่ายเยาวชน SEED Thailand x ลุงตู่


เมื่อวันเสาร์ที่ 14 มกราคม 2566 เพจเครือข่ายเยาวชน SEED Thailand ได้โพสต์เฟซบุ๊กว่า 

เครือข่ายเยาวชน SEED Thailand x ลุงตู่

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้การต้อนรับตัวแทนเครือข่ายเด็กและเยาวชนที่มาเสนอแนะข้อเสนอให้กับรัฐบาล

 มีกิจกรรมรับฟังการนำเสนอบทบาทของเด็กเเละเยาวชนในการพัฒนาประเทศ โดยกลุ่มเด็กและเยาวชน ในโอกาสวันเด็กเเห่งชาติ  ณ ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล

‘พิธา’ นำทีมผู้สมัคร ส.ส.ก้าวไกลฝั่งธนฯ ประกาศความพร้อมสะบัดธงส้มทั้งธนบุรี มั่นใจประชาชนต้องการเปลี่ยนแปลง ส่ง ส.ส.เข้าสภากวาดที่นั่งครบทุกเขต

พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ร่วมนำทีมว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. พรรคก้าวไกล ในฝั่งธนบุรีของกรุงเทพมหานคร ร่วมเดินสายพบปะพี่น้องประชาชนเพื่อประชาสัมพันธ์ตัวผู้สมัคร ทั้ง 9 คนใน 10 เขต และแสดงความพร้อมในการสู้ศึกเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในปีนี้ พร้อมมั่นใจว่าชาวฝั่งธนบุรีมีความต้องการเปลี่ยนแปลง และพร้อมสนับสนุนว่าที่ผู้สมัครทั้ง 9 คนของพรรคก้าวไกลให้เข้าไปเป็นผู้แทนของทุกคน

พิธา ได้ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนก่อนการเดินสายพบปะประชาชน โดยระบุว่าพรรคก้าวไกลมีความมั่นใจต่อผลการเลือกตั้งในฝั่งธนบุรีเป็นพิเศษทโดยเฉพาะเมื่อดูจากผลการเลือกตั้งสองครั้งที่ผ่านมา คือในปี 2562 เมื่อครั้งเป็นพรรคอนาคตใหม่ ที่พรรคก้าวไกลได้ ส.ส. 6 จาก 9 เขต ส่วนในการเลือกตั้ง สก. พรรคก้าวไกลก็ได้คะแนนมาเป็นอันดับหนึ่งไม่ก็อันดับสองอยู่หลายเขต ซึ่งทำให้เห็นว่าธนบุรีเป็นพื้นที่ที่ประชาชนมีความต้องการเปลี่ยนแปลงสูง

โดยที่บัดนี้ พรรคก้าวไกลได้ตัวว่าที่ ส.ส. ครบทั้ง 10 เขตแล้ว และเป็นส่วนผสมที่กลมกล่อม โดยมีทั้งอดีต ส.ส. ที่ทำงานได้ดีทั้งในพื้นที่และในประเด็นระดับชาติและยังมีผู้สมัครหน้าใหม่จากทุกวงการ ไม่ว่าจะเป็นภาคธุรกิจ ภาคสังคม การเมืองภาคประชาชน อดีตผู้บริหาร ผู้ประกอบธุรกิจส่งออก ผู้จัดการธนาคาร อดีตพนักงานสายการบิน และอดีตบุคลากรสาธารณสุข ซึ่งพรรคก้าวไกลมีความมั่นใจว่าจะผู้สมัครทั้ง 10 คนนี้ จะเป็นผู้แทนที่มีคุณภาพและสามารถขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ฝั่งธนบุรีในอนาคตได้

พิธา ยังกล่าวต่อไป ว่าจุดเด่นของฝั่งธนบุรี ซึ่งมีพื้นที่กว่า 450 ตารางกิโลเมตร มีประชากรกว่า 4.7 ล้านคน และอยู่ไม่ไกลจากฝั่งพระนครมากนัก คือศักยภาพทั้งในเรื่องของการพัฒนาเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว และการใช้ประโยชน์พื้นที่ริมน้ำ ขณะเดียวกันธนบุรีก็มีสิ่งที่เป็นความท้าทายหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการคมนาคม สิ่งแวดล้อม ความแออัด และการปะทะขัดแย้งกันระหว่างวิถีชุมชนเก่าริมน้ำกับวิถีชุมชนใหม่ที่มีทั้งหมู่บ้านจัดสรรและคอนโดมีเนียม ซึ่งควรจะต้องจัดสรรการพัฒนาให้มีควรมสอดคล้องและสมดุลกันได้

โดยเฉพาะในเรื่องของการคมนาคม ซึ่งผู้สมัคร ส.ส. ของพรรคก้าวไกลในฝั่งธนบุรีหลายคน ได้เล็งเห็นถึงประเด็นดังกล่าวและมีแนวคิดร่วมกัน ว่าควรมีการพัฒนาระบบการคมนาคมทางน้ำขึ้นมาเสริมและชดเชย โดยเฉพาะในพื้นที่ที่เข้าไม่ถึงระบบขนส่งสาธารณะเส้นเลือดใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้าหรือถนนสายหลักต่างๆ

'สวนสาธารณะเบญจกิติ' สร้าง 30 ปี  แทบพังป่นปี้ในสองร้อยกว่าวัน!

ภาพผืนหญ้ากรอบเกรียมเหือดแห้งเหมือนซากหนังสัตว์ถูกแปะเกาะไว้บนเนินดินซึ่งห้อมล้อมด้วยมวลน้ำที่ห่างไกลว่าสะอาด ถูกเผยแพร่ไปมากมายหลายครั้งบนโซเชียลมีเดีย ภายใต้หัวข้อการพูดคุยถึงปัจจุบันของ 'สวนป่าเบญจกิติ' อันขาดซึ่งการดูแลจนมีสภาพเยี่ยงนี้

เป็น 'สวนสาธารณะเบญจกิติ' ที่คนกรุงเทพฯ รอคอยมานานเกินกว่าสามสิบปี

ก่อนกำเนิดสวนเบญจกิติเช่นวันนี้ สถานะที่ตั้งเดิมคือ 'โรงงานยาสูบ' ตั้งแต่ พ.ศ. 2493 เดินกิจการ 'เผาปอด' คนไทยเกินกว่า 40 ปี จนมีคำสั่งคณะรัฐมนตรีให้ย้ายโรงงานออกไปยังภูมิภาค และ 'ต้อง' พัฒนาพื้นที่เดิมขึ้นเป็นสวนสาธารณะ องค์การฯ จึงได้ทูลเกล้าฯ ถวายพื้นที่ 'คืน' แด่ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ พระบรมราชินีนาถ (พระราชอิสริยยศขณะนั้น) จำนวน 140 ไร่ เพื่อสร้างสวนน้ำ โดยมีบึงน้ำเก่าความจุ 320,000 ลูกบาศก์เมตร (ชาวบ้านมักเรียกว่า - บึงโรงงานยาสูบ) เป็นปฐม

รัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน ส่งไม้ต่อ โดยชงเรื่องสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (2535) และนำที่ดินดังกล่าวขึ้นน้อมเกล้าฯ ถวายอย่างเป็นทางการ ภายใต้โครงการเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าฯ เนื่องในโอกาสมหามงคลวันเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ ซึ่งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ มีพระราชกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อสวนสาธารณะแห่งใหม่นี้ว่า 'เบญจกิติ'

เรื่องล่วงเลยเนิ่นนานผ่านนายกรัฐมนตรีถึง 8 คน จนแทบลืมเลือน 'สวนป่า' ที่ได้รับการดูแลเพียงงบประมาณประจำปีเล็กน้อยจากหน่วยงานเกี่ยวข้อง กระทั่งเดือนมีนาคม พ.ศ. 2559 องค์การยาสูบฯ ได้ทูลเกล้าฯ ถวายที่ดินเพิ่มเติมอีก 311 ไร่

จนกาลจำเนียรผ่านถึงยุคนายกรัฐมนตรีชื่อ - พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่หันมาเอาจริงเอาจัง โดยได้ติดตามกำกับดูแล แก้ปัญหาต่างๆ นานา อย่างต่อเนื่อง ผ่านรายงานความคืบหน้าโครงการจัดสร้าง 'สวนป่าเบญจกิติ' เป็นระยะ อย่างไม่มีรัฐบาลไหนเคยใส่ใจมาก่อน โดยนายกฯ ตั้งใจเพียงว่า ต้องดำเนินงานสร้างสวนนี้ให้เสร็จสิ้นลงภายใต้รัฐนาวาของตนให้ได้ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง โดยตั้งกองทัพบกเป็นหน่วยงานดำเนินการก่อสร้าง ทั้งระยะแรก (140 ไร่) และระยะสอง (311 ไร่)


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top