Wednesday, 2 July 2025
ค้นหา พบ 49135 ที่เกี่ยวข้อง

'อลงกรณ์' เผย กรกอ. มีมติเห็นชอบโครงการ 'เพชรบุรีฟู้ดวัลเลย์' เขตอุตสาหกรรมเกษตรใหญ่ที่สุดของประเทศ พร้อมสนับสนุนโครงการจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมอาหารภาคกลางตอนล่างของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี 

สภาอุตสาหกรรมภาคกลางเตรียมเชิญ 'เกรียงไกร เธียรนุกุล' ประธานสอท. ลงพื้นที่เยี่ยมชมโครงการเพชรบุรีฟู้ดวัลย์ 24พ.ย. นี้

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะประธานคณะกรรมการความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กรกอ.) เป็นประธานการประชุมครั้งที่ 4/2565 ผ่านระบบประชุมทางไกล Zoom Meeting วันนี้ (7 พฤศจิกายน 2565) โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายทวีกิจ จตุรเจริญคุณ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นายสุรชัย โสตถีวรกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมภาคกลาง นายสาโรจน์ วสุวานิช ประธานสภาอุตสาหกรรมภาคตะวันออก ทันตแพทย์สุพจน์ หวังปรีดาเลิศกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมภาคเหนือ นายหัสดิน สุวัฒนะพงศ์เชฏ เลขาธิการสภาอุตสาหกรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นายนิติธร กฤตสิน กรรมการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 

โดยมี นางสาวพรชาตา บุสสุวัณโณ ผู้อำนวยการส่วนแผนพัฒนาระบบโลจิสติกส์ด้านการเกษตร ทำหน้าที่เลขานุการฯ การประชุม นายอลงกรณ์เปิดเผยภายหลังการประชุมว่า วันนี้ที่ประชุม 'กรกอ.'ในวาระเพื่อพิจารณาได้มีมติเป็นเอกฉันท์เห็นชอบโครงการ เพชรบุรีฟู้ดวัลเลย์ (Phetchaburi Food Valley ) นำเสนอโดยนายมานพ โตการค้า ผู้บริหารโครงการตั้งอยู่ในอำเภอแก่งกระจาน และอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ในพื้นที่ที่มีศักยภาพทั้งทางด้านคมนาคม การสื่อสาร ไฟฟ้า และน้ำ โดยพื้นที่ดังกล่าว เคยเป็นโครงการสร้างเมืองอุตสาหกรรมท่องเที่ยวบริการ ปัจจุบันได้ปรับพื้นที่เป็นโครงการอุตสาหกรรมเกษตรขนาดใหญ่ ที่ได้มีการจัดสรรพื้นที่ตามศักยภาพ และเป็นไปตามกฎหมายผังเมือง ประกอบด้วย 

 

1. ศูนย์แสดงนวัตกรรมการเกษตร 70 ไร่ หน้าพื้นที่โครงการ จะเป็นศูนย์เรียนรู้นวัตกรรมการเกษตร และการเจรจาธุรกิจ ห้องประชุม และศูนย์วิจัยเทคโนโลยี PlatForm การเกษตร ก่อสร้างคืบหน้า 50%
2. แปลงปลูกข้าวโพด และหญ้าเนเปียร์ 12,000 ไร่ ในพื้นที่อำเภอแก่งกระจาน ปัจจุบันปลูกข้าวโพดและหญ้าเนเปียร์แล้ว 5,000 ไร่ เพื่อผลิตอาหารสัตว์ที่มีราคาถูก

3. คอกโคกลาง 1,600 ไร่ ในพื้นที่อำเภอแก่งกระจาน เป็นคอกมาตรฐานที่มีการใช้ร่ววมกัน มีน้ำสะอาด อาหารราคาถูก และการดูแลรักษาได้มาตรฐานลดต้นทุนการผลิต โดยจังหวัดเพชรบุรีเป็นจังหวัดที่เลี้ยงโคส่งขายปีละกว่า140,000- 150,000 ตัว
4. ฟาร์มกุ้งระบบปิด 2,000 ไร่ ในพื้นที่ตำบลท่าไม้รวกและตำบลกลัดหลวง อำเภอท่ายาง ซึ่งได้รับอนุญาตจากประมงแล้ว โดยจะมีการใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการช่วยให้สามารถเพิ่มผลิตภาพการผลิตกุ้งอย่างมีคุณภาพ
5. โรงงานแปรรูป 1,000 ไร่ ในพื้นที่ตำบลไม้รวก อำเภอท่ายาง เป็นโซนพื้นที่รองรับการตั้งโรงงานแปรรูปผลผลิตการเกษตร ซึ่งมีความพร้อมทั้งถนนคอนกรีต น้ำประปา แหล่งน้ำขนาดใหญ่ ไฟฟ้าแรงสูง รวมถึง Internet
6. โซล่าฟาร์ม 4,000 ไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่เหมาะสมสำหรับผลิตโซล่าฟาร์ม มีสายส่งขนาด 115KV ผ่าน ปัจจุบันได้เริ่มดำเนินการแล้ว 900 ไร่ โดยบริษัทด้านโซล่าฟาร์มชั้นนำของประเทศ

ในการนี้ ประธานฯ ได้ให้ผู้บริหารโครงการพิจารณาจัดทำฮาลาลฟู้ดวัลเลยฺ( Halal Food Valley )ในพื้นที่โครงการด้วย จัดว่าเป็นเขตอุตสาหกรรมเกษตรใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

ทั้งนี้โครงการ เพชรบุรีฟู้ดวัลเลย์จะเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ 1 กลุ่มจังหวัด 1 เขตส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรอาหาร ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการเรือธง (Flagship Project) ของคณะกรรมการความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในกลุ่มจังหวัดเพชรสมุทรคีรี (เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรสงครามและสมุทรสาคร) โดยมีศูนย์ AIC เพชรบุรีคือมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีให้การสนับสนุน และเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจตะวันตก (Western Economic Corridor: WEC) ตามนโยบายรัฐบาลนับเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการบริหารงานใหม่แบบใหม่ นำไปสู่เกษตรมูลค่าสูง ด้วยเทคโนโลยีของไทย ครอบคลุมทั้งพืช ประมง และปศุสัตว์โดยใช้เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมเมดอินไทยแลนด์เป็นฐานสำคัญ

นอกจากนี้ที่ประชุมยังเห็นชอบสนับสนุนโครงการจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมภาคกลางตอนล่างของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ซึ่งเป็นโครงการที่เกื้อหนุนโครงการเพชรบุรีฟู้ดวัลเลย์ด้วย
โดยนายสุรชัยโสตถีวรกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมภาคกลางและประธานกรกอ.ภาคกลางเตรียมเชิญนายเกรียงไกร เธียรนุกุลประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยลงพื้นที่เยี่ยมชมโครงการเพชรบุรีฟู้ดวัลย์ในวันที่ 24พ.ย. นี้ด้วย

นอกจากนี้ที่ประชุมยังรับทราบผลการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ระดับภาคได้แก่
1. คณะอนุกรรมการ”กรกอ.ภาคเหนือ )ได้จัดทำแนวทางการพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารภาคเหนือ ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566 – 2570) โดยเพิ่มเติมพืชที่มีศักยภาพที่จะผลักดัน เข้าสู่โครงการเกษตรแม่นยำสู่ธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม 5 ล้านไร่ คือ ข้าวโพด ชา กาแฟ กล้วยหอมทอง และพืชสมุนไพร  นอกเหนือจาก อ้อย และข้าวโพดหวานที่ดำเนินการอยู่แล้ว 
2. คณะอนุกรรมการ”กรกอ.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ”ได้เข้าพบประธานสภาอุตสาหกรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (นายสมยศ ชาญจึงถาวร) ซึ่งประธานฯ พร้อมให้การสนับสนุน เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนงานเชิงประจักษ์ตามแผนความร่วมมือระหว่าง กษ. และ ส.อ.ท. และขอให้มีการดำเนินการตามโครงการพัฒนาเกษตรแม่นยำสู่ธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม 2 ล้านไร่ ในระยะที่ 2 ต่อไป และรับทราบผลการจัดทำแผนขับเคลื่อนการบริหารจัดการสินค้าเกษตรที่สำคัญในระดับพื้นที่ (5 กลุ่มจังหวัด) โดยมีสินค้าสำคัญ คือ มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ยางพารา และโคเนื้อ ซึ่งจะนำมาเข้าเวทีเพื่อขับเคลื่อนและจัดทำแผนร่วมกันว่า สินค้าดังกล่าวมีความโดดเด่นเพียงใด โดยประธานฯ ได้มอบหมายให้ทุกคณะอนุกรรมการฯ ในแต่ละภาค เชื่อมโยงข้อมูลกับศูนย์ข้อมูลเกษตรแห่งชาติ( NABC )ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์รวมถึงเชื่อมโยงกับศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม( AIC )ในเรื่อง รายการนวัตกรรม(Innovation Catalog )ที่มีเกือบ800นวัตกรรมโดยให้ฝ่ายเลขาฯ ภาค ประสานศูนย์ AIC ในการเข้าร่วมประชุม เพื่อนำเสนอเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อใช้ประโยชน์ต่อการพัฒนาในโครงการต่าง  ๆ
3. คณะอนุกรรมการฯ ภาคกลาง รายงานความก้าวหน้าโครงการการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารสัตว์น้ำและการเพาะเลี้ยงพันธุ์ปลาสวยงามในการส่งออกต่างประเทศ (Aqua Feed & Ornamental Freshwater Fish Industry : AFOF) เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังการระบาดของโรค Covid-19 ในเขตภาคกลางตอนล่าง 1 ได้ประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ มหาวิทยาลัยมหิดล ศูนย์ AIC สภาอุตสาหกรรมฯ ระดับภาค โดยได้จัดทำข้อเสนอเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จำนวน 135 ล้านบาท

พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ฯ นำทีมรวบตัวผู้ต้องหาแก๊งโม่งลิง อ้วนผอม ตระเวนลักทรัพย์ทั่วประเทศ พร้อมขยายผลสืบทรัพย์ ส่งมอบคืนให้ผู้เสียหาย

จากกรณีในห้วงระหว่างปี พ.ศ.2559 - พ.ศ.2565 ได้มีแก๊งคนร้าย จำนวน 3-4 คน ร่วมกันก่อเหตุตระเวนลักทรัพย์เจาะตู้เซฟ โดยคนร้ายแต่งกายสวมหมวกโม่งลิง ใส่เสื้อแขนยาว กางเกงายาว ใส่ถุงมือยาว สวมรองเท้าสตั๊ดดอยสีดำ สะพายเป้สีดำ มีแชลงเหล็กยาว โดยก่อเหตุในพื้นที่ของ ภ.1 จำนวน 1 คดี พื้นที่ ภ.5 จำนวน 8 คดี ภ.7 จำนวน 1 คดี และพื้นที่ ภ.9 จำนวน 12 คดี รวม 22 คดี  

กรณีดังกล่าว พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. ได้สั่งการให้ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล  รอง ผบ.ตร. เร่งดำเนินการสืบสวนติดตามจับกุมกลุ่มคนร้ายที่ก่อเหตุในคดีนี้โดยด่วน เนื่องจากกลุ่มคนร้ายดังกล่าวมีพฤติการณ์ที่อุกอาจ ก่อเหตุอย่างต่อเนื่องไม่เกรงกลัวกฎหมาย สร้างความหวาดกลัวให้พี่น้องประชาชน และสร้างความเสียหายในภาพรวม เป็นมูลค่ามากกว่า 50 ล้านบาท และได้ออกคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 406/2565 ลงวันที่ 8 ก.ย. 65 แต่งตั้งคณะพนักงานสืบสวนสอบสวน เพื่อรวบรวมพยานหลักฐานและประสานข้อมูลและการปฏิบัติจากหลายท้องที่ เพื่อดำเนินคดีกับกลุ่มคนร้ายดังกล่าวอย่างเร่งด่วนเพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชน และเร่งติดตามทรัพย์สินที่ถูกลักเอาไปกลับคืนมาโดยเร็ว

ซึ่งต่อมา บก.สส.ภ.9 พร้อมด้วย กก.สส.ภ.จว.สงขลา และ กก.สส.ภ.จว.สตูล ได้ทำการสืบสวนทราบว่า กลุ่มผู้ก่อเหตุมีจำนวน 4 คน คือ 
1. นายวสันต์ อายุ 39 ปี อยู่ที่ 16 ม.2 ต.ยะรม อ.เบตง จ.ยะลา
2. นายสมพร อายุ 44 ปี อยู่ที่ 241 ม.11 ต.กำแพง อ.ละงู จ.สตูล 
3. นายเกษม อายุ 49 ปี อยู่ที่ 115/1 ม.3 ต.ตาเนาะแมเราะ อ.เบตง จ.ยะลา 
4. นายเรืองศักดิ์ อายุ 41 ปี อยู่ที่ 64 ซ.21 ถ.แกรนด์วิลล่า 3 ต.เบตง อ.เบตง จ.ยะลา   (ภูมิลำเนาเดิม จว.เชียงราย)

โดยคนร้ายมีพฤติการณ์ในการก่อเหตุกล่าวคือจะขับรถยนต์ตระเวนหาเป้าหมายในการก่อเหตุที่เป็นร้านค้า สถานประกอบการ สหกรณ์การเกษตร ปั๊มน้ำมัน ร้านค้าขนาดใหญ่ที่มีตู้นิรภัย ที่ตั้งอยู่ติดกับป่าละเมาะ หรืออยู่ห่างไกลจากบ้านเรือนหรือชุมชน เมื่อสบโอกาส ก็จะแต่งกายคล้ายการสวมชุด PPE สวมหมวกโม่งลิง สะพายเป้สีดำ ใช้ไขควงยาวในการงัดแงะเข้าไปในตัวอาคารแล้วเข้าไปลักเอาทรัพย์สิน โดยใช้ชะแลงเหล็กหรือเครื่องเจียรเหล็กเจาะทำลายตู้นิรภัย หรือยกเอาตู้นิรภัย หรือจะนำเซิร์ฟเวอร์ของกล้องวงจรปิดไปด้วย โดยตระเวนก่อเหตุลักษณะดังกล่าวอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่  จากภาคใต้-ภาคเหนือ ต่อมา เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถติดตามจับกุมคนร้ายได้ยกแก๊ง สอบถามผู้ต้องหาทั้ง 4 คน ให้การรับสารภาพว่าเป็นก่อเหตุ จึงได้แจ้งข้อกล่าวหาว่า “ร่วมกันลักทรัพย์ในเคหสถานในเวลากลางคืน โดยทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลหรือทรัพย์ หรือโดยผ่านสิ่งเช่นว่านั้นเข้าไปด้วยประการใดๆ โดยเข้าช่องทางซึ่งได้ทำขึ้นโดยไม่ได้จำนงให้เป็นทางคนเข้า โดยแปลงตัวหรือปลอมตัวเป็นผู้อื่น มอมหน้าหรือทำด้วยประการอื่นเพื่อไม่ให้เห็นหน้าหรือจำหน้าได้ โดยร่วมกันกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป,โดยใช้ยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำผิดหรือการพาทรัพย์นั้นไป หรือเพื่อให้พ้นจากการจับกุม, ร่วมกันทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่าหรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งทรัพย์ของผู้อื่น, ร่วมกันบุกรุกเคหสถานในเวลากลางคืน โดยร่วมกันกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป”

พร้อมตรวจยึดสิ่งของที่ใช้ในการกระทำผิดจำนวนหลายรายการ อาทิ รถยนต์ เครื่องแต่งกาย และอุปกรณ์ที่ใช้ในการก่อเหตุ

ผบ.ตร. วาง 5 มาตรการ เข้มความปลอดภัยลอยกระทง เฝ้าระวังเหตุทะเลาะวิวาท คดีทางเพศ แก็งมิจฉาชีพตะเวนลักทรัพย์ การเล่นดอกไม้เพลิง วอนประชาชนลอยกระทงแบบสร้างสรรค์ สืบสานประเพณีไทย

วันนี้ (7 พ.ย. 65) เวลา 16.30 พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. พร้อมด้วย พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล รอง ผบ.ตร., นายภูริพัฒน์ ธีระกุลพิศุทธิ์ รองอธิบดีกรมเจ้าท่า พร้อมด้วย พล.ต.ท.ธิติ แสงสว่าง ผบช.น., พล.ต.ต.นิธิธร จินตกานนท์ รอง ผบช.น.,พล.ต.ต.สำเริง สวนทอง รอง ผบช.น., พล.ต.ต.รุ่งโรจน์ ฐากูรปุณยสิริ รอง ผบช.น. ร่วมกันตรวจความพร้อมและมาตรการรักษาความปลอดภัย     การจัดงานลอยกระทง บริเวณสะพานพระราม 8 และในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 

ผบ.ตร.ได้กล่าวถึงความพร้อมในการดูแลความเรียบร้อยในช่วงเทศกาลลอยกระทง ว่า “ได้สั่งการให้ทุกหน่วย ทุกพื้นที่ ที่มีการจัดงานประเพณีลอยกระทง เพิ่มความเข้มดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน และนักท่องเที่ยว โดยใช้กำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจพื้นที่ ตำรวจท่องเที่ยว และตำรวจน้ำ กว่า 20,000 นาย ดูแลรักษาความปลอดภัยงานลอยกระทง โดยมีมาตรการสำคัญดังนี้
1) มาตรการป้องกัน ให้สายตรวจเพิ่มความเข้มการออกตรวจตรา ปรากฎกาย สถานที่จัดงาน สถานบริการ สวนสาธารณะ หรือสถานที่ที่ประชาชนนักท่องท่องเที่ยวจะรวมตัวจำนวนมาก เพื่อป้องกันเหตุคดีทะวิวาท คดีชีวิต ร่างกาย เพศและทรัพย์สิน ในส่วนของตำรวจน้ำ ให้จัดเรือพร้อมเจ้าหน้าที่ออกตรวจตราตามบริเวณลำน้ำ เพื่อป้องกันและช่วยเหลือผู้ประสบเหตุทางน้ำ รวมถึงประชาสัมพันธ์ไม่ให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวลงไปบริเวณท่าเทียบเรือ หรือโป๊ะ เกินจำนวนที่อาจจะเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ 
2) มาตรการจราจรจัดเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกการจราจรในการเดินทางเข้าออกพื้นที่จัดงาน และทำแผนที่เส้นทางหลัก ทางเลี่ยงให้ประชาชนทราบก่อนการจัดงาน 
3) มาตรการปราบปรามให้กวดขันจับกุมผู้เล่นดอกไม้เพลิง พลุ และประทัด ในลักษณะก่อความเดือดร้อนรำคาญ น่าจะก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและร่างกายประชาชน กรณีเป็นผู้กระทำผิดเป็นเด็ก ให้นำ พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 เพื่อให้ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมรับผิดชอบ รวมทั้งร่วมกับฝ่ายปกครองกวดขันควบคุมผู้ผลิตจำหน่ายดอกไม้เพลิง พลุ ประทัด หากพบว่าลักลอบทำผิดกฎหมายให้จับกุมดำเนินคดีอย่างเด็ดขาด
4) มาตรการรักษาความปลอดภัย ให้มีการหาข่าวป้องกันข้อมูลของกลุ่มมิจฉาชีพที่จะเข้ามาฉกฉวยโอกาสก่อเหตุ แก็งต้มตุ๋นมิจฉาชีพ อาชญากรรมความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ คดีอนาจาร รวมทั้งออกแผนตรวจในการดูแลความเรียบร้อยของพื้นที่จัดงาน ในส่วนของสถานที่จัดขนาดใหญ่ให้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการส่วนหน้า (ศปก.สน.) เพื่อควบคุมดูแลภาพรวมให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย 
5) มาตรการประชาสัมพันธ์ ให้ทุกหน่วยทำความเข้าใจกับพี่น้องประชาชน  ผู้ประกอบการ สถานบริการในการปฏิบัติตามกฎหมาย โดยเฉพาะการเล่นพลุ ดอกไม้เพลิง การปล่อยโคมลอย บนท้องฟ้าฝ่าฝืนคำสั่ง คสช.ที่27/2559  รวมทั้งการขอความร่วมมือให้ช่วยเป็นหูเป็นตาแจ้งเหตุต่าง ๆ ให้ผู้บังคับบัญชาทุกระดับลงควบคุมดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจในการอำนวยความสะดวกและดูแลความสงบเรียบร้อยของประชาชนในช่วงเทศกาลลอยกระทง 

ผบ.ตร.กล่าวเพิ่มเติมว่า  “ได้กำชับให้ข้าราชการตำรวจทุกนายปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินให้แก่พี่น้องประชาชน และ นักท่องเที่ยว ด้วยความสุภาพและเหมาะสม ตามหลักยุทธวิธี ในช่วงเทศกาลลอยกระทง

8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 วันคล้ายวันพระราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 หรือวันนี้ เมื่อ 129 ปีก่อน เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 7 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันพุธ แรม 14 ค่ำ เดือน 11 ปีมะเส็ง เวลา 12.25 น. หรือตรงกับวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 

โดยเป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 96 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระองค์ที่ 14 ในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ขึ้นเสวยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468

โดยตลอดรัชสมัยพระองค์ปฏิบัติพระราชกรณียกิจที่สำคัญหลายด้าน เช่น ด้านการปกครอง โปรดให้ตั้งสภากรรมการองคมนตรี ทรงตรากฎหมายเพื่อควบคุมการค้าขายที่เป็นสาธารณูปโภคและการเงิน ระบบเทศบาล ด้านการศาสนา การศึกษา ประเพณีและวัฒนธรรมนั้น พระองค์โปรดให้สร้างหอพระสมุด ทรงปฏิรูปการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย 

นอกจากนี้ มีการปรับปรุงการศึกษาจนยกระดับมาตรฐานถึงปริญญาตรี ทรงตั้งราชบัณฑิตยสภา โปรดให้จัดพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับพิมพ์อักษรไทยสมบูรณ์ ชื่อว่า “พระไตรปิฎกสยามรัฐ” เป็นต้น ความไม่พอพระราชหฤทัยและการเพลี่ยงพล้ำในการคัดค้านคณะราษฎรในหลายโอกาสนำไปสู่การสละราชสมบัติ และพระองค์ยังทรงถูกฟ้องคดียึดทรัพย์


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top