Friday, 4 July 2025
ค้นหา พบ 49191 ที่เกี่ยวข้อง

‘MEA’ ชี้แจง ไม่มีนโยบายปิดถนน 24 ชั่วโมง ยัน!! ทำการก่อสร้างฯ แค่ช่วง 4 ทุ่ม - ตี 5 เท่านั้น

(5 พ.ย. 65) MEA ไม่มีนโยบายปิดถนน 24 ชั่วโมง จะมีแต่เพียงการก่อสร้างในช่วงเวลา 22.00 น. ถึง 05.00 น. ของทุกวันเพื่อหลีกเลี่ยงการส่งผลกระทบต่อการจราจรให้น้อยที่สุด

จากกรณีการนำเสนอข่าวในประเด็น ‘ข้อร้องเรียน ชาวบ้านเดือดร้อนจากการปิดถนน 24 ชั่วโมง เพื่อทำสายไฟฟ้าใต้ดิน บริเวณอุโมงค์ลอดถนน รัชดา-ราชพฤกษ์’ นั้น

MEA หรือการไฟฟ้านครหลวง ขอชี้แจงว่า โครงการก่อสร้างของ MEA ในครั้งนี้ คือ โครงการก่อสร้างบ่อพักและท่อร้อยสายไฟฟ้าใต้ดิน ที่ดำเนินการก่อสร้างพร้อมกับอุโมงค์ลอดถนน รัชดา-ราชพฤกษ์ ของกรุงเทพมหานคร (กทม.) ซึ่งที่ผ่านมา ได้มีการชะลอการก่อสร้างบ่อพักและท่อร้อยสายไฟฟ้าใต้ดินเอาไว้เพื่อเร่งการก่อสร้างอุโมงค์ให้แล้วเสร็จ ต่อมาเมื่ออุโมงค์ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว ส่งผลให้พื้นที่การดำเนินงานก่อสร้างในส่วนของ MEA มีจำกัด ซึ่งผู้รับจ้างก่อสร้างโครงการดังกล่าวได้ลงพื้นที่สอบถามความเห็นของประชาชนในเรื่องการปิดถนนเพื่อจะดำเนินการได้แล้วเสร็จโดยเร็ว

รู้จัก 'Plant-based' อาหารแห่งอนาคต เพื่อสุขภาพและรักษ์โลก

ใครที่กำลังสงสัยว่า ‘Plant-based’ คืออะไร? ทำไมถึงเป็นเทรนด์อาหารที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน อยากบอกเลยว่ามีรายละเอียดที่น่าสนใจมาฝากกัน สามารถติดตามได้จาก info นี้เลย

BCG โมเดล วิสัยทัศน์ด้านเศรษฐกิจจาก 'พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา' นำพาเศรษฐกิจไทยเดินหน้า พร้อมรักษาสิ่งแวดล้อมโลกอย่างยั่งยืน

(5 พ.ย. 65) โมเดลเศรษฐกิจ BCG (Bio-Circular-Green Economy) คือหนึ่งในกรอบความคิดหลักของวิสัยทัศน์นายกรัฐมนตรี ‘พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา’

โมเดล BCG นี้ ถูกบรรจุเป็นกรอบความคิดหลักสำคัญในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่จะนำพาเศรษฐกิจไทย เติบโตไปพร้อมกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโลกอย่างยั่งยืน

 

‘Takano TTE500’ รถกระบะไฟฟ้าไซซ์มินิ ดีไซน์สวยน่ารัก - รับน้ำหนักมากถึง 300 กก.

ช่วงนี้กระแสรถ EV กำลังมาแรง อย่างที่เราได้เห็นได้ฟังอ่านหูผ่านมาตาบ้างแล้ว ว่ามีรถยนต์ไฟฟ้าเปิดตัวมากมาย วันนี้ THE STATES TIMES เลยจะพามารู้จัก ‘รถกระบะไฟฟ้า’ ขนาดมินิ เชื่อว่าใครที่เป็นสายมินิมอลจะต้องชอบและหลงรักแน่ๆ

รถกระบะไฟฟ้า Takano (ทากาโน่) TTE500 เป็นรถกระบะไฟฟ้า ‘ขนาดจิ๋ว’ รุ่นเดียวในไทย ไม่ว่าคุณจะแบกสัมภาระเยอะ จะย้ายบ้าน หรือเปิดท้ายขายของ บอกเลยว่า ‘Takano TTE500’ ตอบโจทย์สุดๆ

‘อลงกรณ์’ พุ่งเป้าฟื้นฟูพัฒนาฟาร์ม - สร้างตลาดยั่งยืน ตั้งเป้าปีหน้าผลิตกุ้ง 400,000 ตันภายใต้ยุทธศาสตร์กุ้งไทย

‘อลงกรณ์’ กำหนด 10 มาตรการ มอบบอร์ดกุ้งฟื้นฟูพัฒนาฟาร์ม สร้างตลาด สร้างรายได้ให้เกษตรกรอย่างยั่งยืน ตั้งเป้าปีหน้าผลิตกุ้ง 400,000 ตันภายใต้ยุทธศาสตร์กุ้งไทย

​นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวปาฐกถาวันนี้ในหัวข้อ ‘ทิศทางการประมงและกุ้งไทย 2023’ ใน ‘งานวันกุ้งดำเพชรบุรี’ ภายใต้หัวข้อ ‘ปรับการเลี้ยง สร้างตลาด เพิ่มศักยภาพ กุ้งดำเพชรบุรี’ โดยมี นายเฉลิม สุวรรณรักษ์ อธิบดีกรมประมง ผศ.ดร.เสนาะ กลิ่นงาม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี นายชยานันท์ อินทรัตน์ ประธานชมรมผู้เลี้ยงกุ้งกุลาดำเพชรบุรี ส่วนราชการ ภาคเอกชนและเครือข่ายเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงกุ้งเข้าร่วม ณ ห้องประชุมพะนอมแก้วกำเนิด อาคารสุเมธตันติเวชกุล มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี

นายอลงกรณ์กล่าวว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยรัฐมนตรี ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน มีนโยบายพัฒนาและฟื้นฟูการประมงไทยให้กลับมาเข้มแข็งสร้างรายได้ให้กับชาวประมงและประเทศเพิ่มขึ้นครอบคลุมตั้งแต่ประมงพื้นบ้าน ประมงพาณิชย์ ประมงนอกน่านน้ำ ประมงเพาะเลี้ยง และอุตสาหกรรมประมง โดยได้แต่งตั้งตนเป็นประธานคณะกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาการประมงไทยของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมมือกับทุกภาคส่วนขับเคลื่อนการปฏิรูปภาคการประมงของไทย

สำหรับการเพาะเลี้ยงกุ้งประสบปัญหาโรคกุ้ง และคุณภาพลูกพันธุ์กุ้งในขณะที่มีการแข่งขันในตลาดต่างประเทศสูงขึ้นทำให้การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล และอุตสาหกรรมต่อเนื่องถดถอย ผู้ประกอบการห้องเย็น และโรงงานแปรรูปที่ส่งออกกุ้งทะเลเป็นหลัก ต้องปิดตัวลงจากเดิมที่มีอยูเกือบ 200 แห่ง ปัจจุบันเหลือเพียง 20 แห่ง และปริมาณการผลิตกุ้งลดต่ำลงจนประเทศไทยที่เคยส่งออกกุ้งและผลิตภัณฑ์กุ้งอยู่ลำดับต้นๆ ของโลกตกมาอยู่อันดับ 6 - 7 ในเชิงปริมาณและมูลค่าตามลำดับ รัฐมนตรีเกษตรฯ จึงมีนโยบายให้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการห่วงโซ่การผลิตกุ้งทะเลและผลิตภัณฑ์ (Shrimp Board) หรือบอร์ดกุ้งมีอธิบดีกรมประมงเป็นประธานมีกรรมการจากภาครัฐภาคเอกชนอุตสาหกรรมกุ้งและเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งโดยได้กำหนดยุทธศาสตร์พัฒนากุ้งไทยปี 2564-2566 มีเป้าหมายเพิ่มการผลิตกุ้งให้ได้ 400,000 ตันในปี 2566

ซึ่งในปี 2564 และปีนี้มีการผลิตกุ้งเพิ่มขึ้นคาดว่าจะเพิ่มจาก 280,000 ตันเป็น 300,000 ตันหรือ 320,000 ตันหากรวมกุ้งที่ผลิตและไม่ได้เข้าระบบ APD ซึ่งมีประมาณขั้นต่ำ 20% และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์กุ้งไทยจึงกำหนด 10 มาตรการในการฟื้นฟูและพัฒนากุ้งไทย ดังนี้...

1.) การวิจัยและพัฒนาตลอดห่วงโซ่อุปทานและอุปสงค์
2.) การพัฒนาพันธ์ุกุ้ง 
3.)การพัฒนาระบบการผลิต
4.) ส่งเสริมเทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม 
5.) การยกระดับมาตรฐานฟาร์มและมาตรฐานอาหารกุ้ง
6.) การแปรรูปกุ้งสู่เกษตรมูลค่าสูง
7.) การพัฒนาระบบตลาด และกลไกราคา
8.) การส่งเสริมการค้าที่เป็นธรรม และขจัดการผูกขาด 
9.) การใช้ประโยชน์จาก FTA ในการขยายตลาด
10.) สร้างกลไกและเครื่องมือการบริหารใหม่ๆ สนับสนุนการขับเคลื่อนแผนพัฒนากุ้งไทย

โดยบอร์ดกุ้งได้สร้างระบบประกันราคากุ้งขั้นต่ำโดยภาคเอกชนเป็นครั้งแรกในประเทศไทยเริ่มตั้งแต่ปี 2564 จนถึงสิ้นปี 2565 เพื่อรักษาเสถียรภาพของราคาทำให้ราคากุ้งหน้าบ่อและตลาดกลางเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่กระทรวงเกษตรฯ ได้จัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนระดับตำบล 7,255 ตำบลทุกจังหวัด ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมของปีนี้จะเป็นกลไกการทำงานบนความร่วมมือในระดับพื้นที่รวมทั้งการเพาะเลี้ยงกุ้งในตำบลนั้นๆ ตลอดจนการจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านกุ้ง (Shrimp Academy) ภายใต้โครงสร้างของ AIC


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top