Wednesday, 9 July 2025
ค้นหา พบ 49291 ที่เกี่ยวข้อง

รู้จัก ‘Talgat Musabayev’ วีรบุรุษแห่งรัสเซีย-คาซัคสถาน ผู้ท่องอวกาศมากถึง 3 ครั้ง รวมระยะเวลา 341 วัน

วุฒิสมาชิก Talgat Musabayev บนสถานีอวกาศ Mir ของสหพันธรัฐ Russia

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาผู้เขียนมีโอกาสได้ร่วมต้อนรับวุฒิสมาชิก Talgat Musabayev แห่งสาธารณรัฐ Kazakhstan ซึ่งมาเยือนประเทศไทยอย่างไม่เป็นทางการ จึงเกิดไอเดียอยากแชร์เรื่องราวของวุฒิสมาชิก Talgat Musabayev แห่งสาธารณรัฐ Kazakhstan ขอบอกเลยว่า เรื่องราวน่าสนใจมากๆ แต่จะเป็นอย่างไร ตามไปอ่านกันครับ

วุฒิสมาชิก Talgat Amangeldyuly Musabayev เกิดเมื่อ 7 มกราคม ค.ศ. 1951 เป็นนักบินทดสอบของอดีตสหภาพโซเวียต สหพันธรัฐ Russia และสาธารณรัฐ Kazakhstan และเป็นอดีตนักบินอวกาศซึ่งได้เดินทางไปในอวกาศถึงสามครั้ง 

โดยการเดินทางไปในอวกาศสองครั้งแรกเป็นการประจำการระยะยาวบนสถานีอวกาศ Mir ของสหพันธรัฐ Russia ส่วนการบินในอวกาศครั้งที่สามเป็นภารกิจนำ Dennis Tito นักท่องเที่ยวอวกาศรายแรกของโลกไปเยี่ยมเยียนสถานีอวกาศนานาชาติเป็นระยะเวลาสั้นๆ 

วุฒิสมาชิก Musabayev เกษียณจากอาชีพนักบินอวกาศในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2003 และในปี ค.ศ. 2007 วุฒิสมาชิก Musabayev ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการ KazCosmos สำนักงานงานอวกาศแห่งชาติของสาธารณรัฐ Kazakhstan 

สามนักบินอวกาศชาว Kazakhstan

วุฒิสมาชิก Musabayev สำเร็จการศึกษาจากสถาบันวิศวกรการบินพลเรือน Riga (สาธารณรัฐ Latvia ในปัจจุบัน) ในปี ค.ศ. 1974 จากนั้นในปี ค.ศ. 1983 สำเร็จการศึกษาจาก Higher Military Aviation School ใน Akhtubinsk โดยได้รับประกาศนียบัตรวิศวกรรมศาสตร์ วุฒิสมาชิก Musabayev ได้รับรางวัลมากมายหลายรางวัลในฐานะนักบินผาดโผน และได้รับเลือกให้เป็นนักบินอวกาศเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1990 ในปี ค.ศ. 1991 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นนาวากาศตรี และย้ายไปประจำกลุ่มงานนักบินอวกาศของกองทัพอากาศสหภาพโซเวียต ซึ่งต่อมากลายเป็นสหพันธรัฐ Russia 

วุฒิสมาชิก Talgat Musabayev กับทีมนักบินอวกาศของภารกิจในอวกาศครั้งแรก Mir EO-16

ภารกิจในอวกาศครั้งแรกของวุฒิสมาชิก Musabayev ในฐานะสมาชิกลูกเรือของภารกิจระยะยาว Mir EO-16 เดินทางโดยยานอวกาศ Soyuz TM-19 ซึ่ง วุฒิสมาชิก Musabayev ได้รับมอบหมายให้เป็นวิศวกรการบิน ภารกิจดำเนินไปตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ถึง 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1994 รวมระยะเวลา ๑๒๕ วัน ๒๒ ชั่วโมง ๕๓ นาที ได้ทำ Spacewalk สองครั้ง ระยะเวลารวม ๑๑ ชั่วโมง ๗ นาที 

ต่อมาภารกิจในอวกาศครั้งที่สอง วุฒิสมาชิก Musabayev ได้ทำหน้าที่เป็นผู้บัญชาการของการสำรวจระยะยาว Mir EO-25 ซึ่งเดินทางโดยยานอวกาศ Soyuz TM-27 ภารกิจมีระยะเวลาตั้งแต่ 29 มกราคม ถึง 25 สิงหาคม ค.ศ. 1998 รวมระยะเวลา ๒๐๗ วัน ๑๒ ชั่วโมง ๕๑ นาที ๒ วินาที ได้ทำ Spacewalk ห้าครั้ง รวมระยะเวลา ๓๐ ชั่วโมง ๘ นาที

วุฒิสมาชิก Talgat Musabayev กับภารกิจในอวกาศครั้งที่สาม ISS EP-1

ภารกิจที่สามอันเป็นภารกิจครั้งสุดท้ายในอวกาศของวุฒิสมาชิก Musabayev คือการเป็นผู้บัญชาการของ ISS EP-1 ซึ่งเป็นภารกิจเยือนสถานีอวกาศนานาชาติ เดินทางโดยยานอวกาศ Soyuz TM-32 และกลับสู่พื้นโลกโดยยานอวกาศ Soyuz TM-31 ระหว่างวันที่ 30 เมษายน ถึง 6 พฤษภาคม ค.ศ. 2001 รวมระยะเวลา ๗ วัน ๒๒ ชั่วโมง ๔ นาที ภารกิจเยี่ยมเยียนครั้งนี้มีความพิเศษคือ การพา Dennis Tito นักท่องอวกาศคนแรกของโลกที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเองไปในอวกาศ (ค่าใช้จ่ายในขณะนั้นราว US$20,000,000 แต่ค่าใช้จ่ายในปัจจุบันวุฒิสมาชิก Musabayev คาดว่า น่าจะราว ๆ US$50,000,000) ในปี ค.ศ. 2007 วุฒิสมาชิก Musabayev ถูกจัดให้เป็นหนึ่งใน ๓๐ นักบินอวกาศที่ใช้เวลาอยู่ในอวกาศมากที่สุดคือ ๓๔๑ วัน 

วุฒิสมาชิก Musabayev ขณะดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานอวกาศแห่งชาติของสาธารณรัฐ Kazakhstan หรือ KazCosmos

วุฒิสมาชิก Musabayev เกษียณจากการเป็นนักบินอวกาศในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2003 และดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถาบันวิศวกรรม Zhukovsky กองทัพอากาศสหพันธรัฐ Russia และได้รับแต่งตั้งให้เป็นพลตรีในเดือนกันยายน ค.ศ. 2003 ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2005 ถึง ค.ศ. 2007 

นอกจากนี้ยังได้เป็นผู้อำนวยการของ ‘Bayterek Corp.’ ซึ่งเป็นกิจการร่วมทุนระหว่าง Kazakhstan-Russia สำหรับการสร้าง Baiterek space complex ที่ ฐานปล่อยจรวด Baikonur ต่อมา 11 เมษายน ค.ศ. 2007 วุฒิสมาชิก Musabayev ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการสำนักงานอวกาศแห่งชาติของสาธารณรัฐ Kazakhstan หรือ KazCosmos ตามมติของรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐ Kazakhstan 

วุฒิสมาชิก Musabayev ได้รับแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐ Kazakhstan ด้านการบินพลเรือนและกิจกรรมอวกาศตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐ Kazakhstan ลงวันที่ 13 สิงหาคม ค.ศ. 2014 และได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานคณะกรรมการการบินและอวกาศของสาธารณรัฐ Kazakhstan ตามคำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการลงทุนและการพัฒนาแห่งสาธารณรัฐ Kazakhstan ลงวันที่ 18 สิงหาคม ค.ศ. 2014 

ได้รับแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐ Kazakhstan เมื่อวันที่ 20 มกราคม ค.ศ. 2016 ตามคำสั่งของประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐ Kazakhstan และได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาของรัฐสภาแห่งสาธารณรัฐ Kazakhstan เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม ค.ศ. 2017 โดยคำสั่งของประมุขแห่งรัฐ 

ปัจจุบันวุฒิสมาชิก Musabayev ยังเป็นกรรมาธิการกิจการต่างประเทศ กลาโหม และความมั่นคงของวุฒิสภาแห่งสาธารณรัฐ Kazakhstan อีกด้วย

วุฒิสมาชิก Musabayev กับ Nursultan Nazarbayev ประธานาธิบดีคนแรกของสาธารณรัฐ Kazakhstan 

นอกจากนี้แล้ววุฒิสมาชิก Musabayev ยังเป็นศาสตราจารย์ในสาขาวิชา จรวดและ เทคโนโลยีอวกาศ echnology เป็นสมาชิก : the National Academy of Sciences สาธารณรัฐ Kazakhstan, the National Engineering Academy สาธารณรัฐ Kazakhstan, the International Academy of Astronautics, the International Academy of Informatization, Tsiolkovsky Russian Cosmonautics Academy, Russian Academy of Natural Sciences

เปิดตัว 5 ผู้นำใหม่ใน APEC 2022 ครั้งแรกบนเวทีที่ทั่วโลกเฝ้าจับตา

Highlight สำคัญของการประชุม APEC ในปี 2022 ไม่ได้ถูกจำกัดอยู่เพียงแค่การประชุมสุดยอดผู้นำของทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจเพียงเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการประชุมตลอดทั้งปีของหลากหลายคณะทำงานเพื่อสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อันจะส่งผลดีต่อประชากรมากกว่า 2 พันล้านคน ที่เกิดขึ้นตลอดทั้งปี รวมทั้งการประชุมของภาคเอกชนที่จะเสนอแนะข้อเสนอต่อผู้นำในรูปแบบของ Track 2 และการสร้างความร่วมมือเพื่อเปิดโอกาสทางการค้าและการลงทุนด้วยกันเองระหว่างภาคเอกชน ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ทั่วโลกให้ความสนใจไม่แพ้กันด้วย

อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกมิติที่ถือเป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายจับตามองการประชุม APEC ซึ่งจะเกิดขึ้นในช่วง APEC Week เดือนพฤศจิกายน 2022 ในประเทศไทย นั่นก็คือ ‘การเปิดตัวผู้นำใหม่ของโลกหลายๆ คน ที่จะเดินทางมาประชุมสุดยอดผู้นำ APEC เป็นครั้งแรก’ 

โดยท่าทีของผู้นำใหม่เหล่านี้ในเวทีการประชุมหลัก การประชุมย่อย และการประชุมร่วมกับผู้บริหารระดับสูงภาคเอกชน จะเป็นอีกมิติที่ทั่วโลกจับตา โดยผู้นำใหม่เหล่านี้ได้แก่…

1. Anthony Albanese นายกรัฐมนตรีของประเทศออสเตรเลีย ซึ่งพึ่งจะเข้ารับตำแหน่งเมื่อ 23 พฤษภาคมที่ผ่านมา เขาเป็นนักการเมืองสังกัดพรรคแรงงาน และเคยดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีในสมัยของ อดีตนายกรัฐมนตรี Kevin Rudd ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ออสเตรเลียนำพาประเทศออกจากความร่วมมือ Quadrilateral Security Dialogue (QSD) หรือ The Quad ซึ่งมีสหรัฐเป็นแกนนำ และเขายังต้องเข้ามาสะสางปัญหาความไม่พอใจของประเทศเพื่อนบ้านอย่าง อินโดนีเซีย ที่ไม่พอใจอย่างยิ่งเมื่อ อดีตนายกรัฐมนตรีของออสเตรเลีย Scott Morrison นำพาประเทศไปสู่การติดอาวุธนิวเคลียร์ภายใต้ความร่วมมือ AUKUS นโยบายต่างประเทศ โดยเฉพาะในมิติเศรษฐกิจ ที่เลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องสัมพันธ์กับความมั่นคง จึงเป็นสิ่งที่หลายฝ่ายจับตา


2. Gabriel Boric ประธานาธิบดีของประเทศชิลี ที่เข้ารับตำแหน่งในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยเป็นประธานาธิบดีจากกลุ่มแนวคิดซ้ายจัดรายแรกและรายใหม่ของประเทศ ภายหลังจากที่ประเทศชิลีมีอดีตประธานาธิบดี 2 ท่าน คือ Michelle Bachelet (ปนวคิดกลาง-ซ้าย) และ Sebastián Piñera (แนวคิดอนุรักษ์นิยม) ที่หมุนเวียนผลัดกันขึ้นมาผูกขาดตำแหน่งประธานาธิบดีมาตั้งแต่ปี 2006-2022 จนนำไปสู่การประท้วงทางการเมืองที่ใหญ่โตรุนแรงต่อเนื่องตลอดปี 2019-2022 เพื่อขับไล่ ปธน. Sebastián Piñera โดยคาดการณ์ว่าในการประท้วงต่อเนื่องนี้ มีผู้ออกมาร่วมชุมนุมมากกว่า 3.7 ล้านคน มีผู้เสียชีวิต 36 ราย บาดเจ็บเรือนหมื่น และถูกคุมขังกว่า 28,000 คน ชิลี คือตลาดที่มีความน่าสนใจอย่างยิ่ง เพราะเป็นประเทศสมาชิกกลุ่ม OECD ที่มีรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปี แบบปรับค่าเสมอภาคของค่าเงิน (Per Capita GDP (PPP)) ที่สูงที่สุดในภูมิภาคอเมริกาใต้ เป็นหนึ่งในประเทศพัฒนาแล้วที่มีอัตราการเจริญเติบโตสูง 

3. John Lee หัวหน้าคณะผู้บริหารเขตบริหารพิเศษฮ่องกง แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน เขาขึ้นมาดำรงตำแหน่งแทนที่ Carrie Lam เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2022 แน่นอนว่า เขาคือผู้นำสูงสุดของฮ่องกงที่ขึ้นดำรงตำแหน่งหลังเหตุการณ์เคลื่อนไหวทางการเมืองที่รุนแรงต่อเนื่อง และเป็นผู้นำคนแรกภายหลังจากที่ฮ่องกงมีการบังคับใช้กฎหมายความมั่นคง รวมทั้งในการเลือกตั้งที่ชนะเลิศและได้รับการดำรงตำแหน่งจากคณะผู้มีสิทธิเลือกตั้งก็ยังมีเครื่องหมายคำถามมากมาย เพราะเขาคือตัวเลือกเพียงตัวเลือกเดียว เนื่องจากผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้งหมดต้องผ่านการตรวจสอบประวัติและได้รับการรับรองจากรัฐบาลกลางที่กรุงปักกิ่งว่าเป็นผู้รักชาติ ดังนั้นชะตากรรมของพื้นที่ที่เคยเป็นศูนย์กลางทางการเงินที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกคือสิ่งที่ทุกคนจับตาดูจากการดำเนินนโยบายของเขา

4. Yoon Suk-yeol ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) ซึ่งพึ่งจะเข้าดำรงตำแหน่งในวันที่ 10 พฤษภาคม 2022 ท่ามกลางเสียงครหาที่ว่า การเลือกตั้งในเดือนมีนาคม 2022 คือการเลือกตั้งเพื่อเลือกตัวแทนที่ย่ำแย่น้อยที่สุด ทั้งนี้เนื่องจากตัวแทนดั้งเดิมที่เป็นที่คาดหมายและวางตัวของแต่ละพรรคการเมืองใหญ่ของเกาหลีในเวลานั้นต่างก็เผชิญหน้ากับวิบากต่างๆ จนไม่สามารถลงสมัครเข้ารับการเลือกตั้งด้วยกันทั้งสิ้น และผลการเลือกตั้งที่ออกมาก็ยังทำให้มีเครื่องหมายคำถามเช่นกัน เนื่องจาก Yoon Suk-yeol เอาชนะ Lee Jae-myung ด้วยสัดส่วนคะแนนเพียง 0.73% ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ออกมาใช้สิทธิกัน 77.1% รวมทั้งคำถามอีกมากมายที่คนเกาหลีถามถึงในมิติภาวะผู้นำ ทั้งที่ในสถานการณ์ปัจจุบันที่ความไม่สงบในคาบสมุทรเกาหลี และความขัดแย้งระหว่างจีน และสหรัฐ เป็นประเด็นสำคัญที่คนเกาหลีห่วงกังวล

เหตุเกิดจาก...ความชะล่าใจ สุดท้ายต้องได้พักในที่ไม่อยากอยู่

ฮัลโหลบอสตัน

เมื่อเราขับรถเข้าถึงเมืองบอสตันก็ตกเย็นแล้ว เราสองคนก็เลยตั้งใจหาโรงแรมพักใกล้ๆ Boston University สถานศึกษาที่เราสมัครมาเรียนภาษา เราจึงตัดสินใจพักอยู่ Howard Johnson หนึ่งคืน เพราะเป็นโรงแรมชั้นกลางราคาพอสมควร แถมอยู่ในบริเวณของมหาวิทยาลัย จะไปทำธุระก็ไม่ต้องขับรถไปไกล 

ขณะที่กำลังจะอาบน้ำเตรียมตัวเข้านอน พี่เขาถามว่าโรงเรียนเปิดเมื่อไหร่ เราก็เปิดแฟ้มที่มหาวิทยาลัยส่งมาให้ เราถึงกับอึ้งกิมกี่ เพราะโรงเรียนเปิดไปเมื่อสองวันที่แล้ว พี่เขาถามเราว่าเราจัดเรื่องที่พักอาศัยเรียบร้อยแล้วใช่ไหม เราบอกโรงเรียนน่าจะจัดให้แล้ว เราก็เปิดดูในปึกเอกสารเพื่อตรวจสอบข้อมูล เปิดหาเท่าไหร่ก็ไม่เจอ เลยเกิดอาการหน้าซีด ใจหาย ตระหนักว่าเรายังไม่ได้ทำเรื่องที่พักเลย พี่เขาปลอบว่าไม่ต้องกังวล เดี๋ยวพรุ่งนี้ค่อยไปติดต่อถามทางมหาวิทยาลัยว่าเขายังมีห้องพักให้เราหรือเปล่า เราก็เลยนอนอย่างใจตุ๊ม ๆ ต่อม ๆ นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย

วันรุ่งเราเดินทางไป CELOP (The Center of English & Orientation Programs) ศูนย์ภาษาของมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นหน่วยจัดสอนภาษาอังกฤษให้กับนักเรียนต่างชาติ ทางโรงเรียนบอกว่าสองวันก่อนนั้นเขามีการปฐมนิเทศ (Orientation) เกี่ยวกับโรงเรียน มหาวิทยาลัย และชีวิตในเมืองบอสตัน 

วันต่อมาทางโรงเรียนจัดการสอบเทียบระดับเพื่อให้นักเรียนได้เข้าเรียนตามระดับความถนัดทางภาษาอังกฤษ ดังนั้นวันที่เราไปที่โรงเรียนคือวันแรกของการเรียน เจ้าหน้าที่กลัวเราจะขาดเรียนหลายวัน เลยรีบให้เราสอบวัดระดับตอนเช้านั้นเลย เพื่อที่จะได้เข้าเรียนในวันรุ่งขึ้น เราทั้งเหนื่อยทั้งไม่ได้เตรียมตัวพร้อม แต่ก็จำต้องสอบ โชคดีที่ฟลุ๊กได้เข้าชั้นระดับรองลงมาจากชั้นสูงสุด เนื่องจากเราต้องจัดการเรื่องที่พัก เจ้าหน้าที่ของโรงเรียนอนุญาตให้เราหยุดหนึ่งวันโดยไม่นับว่าขาดเรียน เราและพี่เลยพุ่งไปที่แผนกจัดที่พักนักเรียนโดยทันที

เนื่องจากมหาวิทยาลัยได้เปิดเทอมมาแล้วเป็นเวลาสองวัน เจ้าหน้าที่บอกว่าห้องพักที่มีห้องน้ำส่วนตัวนั้นนักเรียนได้เช่ากันไปหมดแล้ว ถ้าเราจะอยู่ ต้องไปพักกับเพื่อนร่วมห้องและแชร์ห้องน้ำกับเหล่านักเรียนที่พักในชั้นนั้นซึ่งเป็นนักเรียนปีหนึ่งและปีสองที่ศึกษาระดับปริญญาตรี นอกจากนั้นเขาเพิ่มเติมข้อมูลว่า วันพุธถึงวันอาทิตย์ที่สามของเดือนพฤศจิกายนซึ่งตรงกับเทศการขอบคุณพระเจ้า ทั้งมหาวิทยาลัยซึ่งรวมถึงหอพักนักศึกษาจะปิด 

ถ้าเรายังจะอยู่ในบอสตัน เราต้องหาที่พักในช่วงเวลานั้นเอง เมื่อเราได้รับข้อมูลอย่างละเอียดเกี่ยวกับที่พัก ใจเราก็หดหู่ แถมหัวมึนตึ้บ มืดไปแปดด้าน จะหันไปไหนก็ไม่มีทางเลือกอื่น ต้องจำใจยอมรับสภาพอยู่ในห้องรวมในหอพักกับเพื่อนร่วมห้องรุ่นน้อง ผู้เขียนอยากให้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับตนเองเป็นอุทาหรณ์ต่อท่านผู้อ่านที่มีลูก หรือตนเองที่จะไปเรียนต่างประเทศว่า ก่อนจะเดินทางไปศึกษาต่างประเทศ นอกจากจะจัดการเรื่องการเรียนให้เรียบร้อยแล้ว อย่าลืมหาที่พักไว้ด้วย จะได้ไม่ตกที่นั่งลำบาก ต้องตัดสินใจแบบขายผ้าเอาหน้ารอด พักในที่ที่ตนเองไม่อยากอยู่ จะเซ็งไปอย่างน้อยหนึ่งเทอมถึงหนึ่งปีเลยเชียว

อัปเดตราคา 'หมู - ไก่ - เนื้อ' ประจำวันที่ 29 ตุลาคม 2565

อัปเดตราคาอาหารสดวันนี้ มาดูกันว่าตามท้องตลาด ราคาอาหารสด ประจำวันที่ 28 ตุลาคม 2565 จะเพิ่มขึ้นหรือลดลงแค่ไหน ไม่ว่าจะเป็น ราคาหมู ราคาไก่ ราคาไข่ไก่ รวมไปถึงราคาผักสด เช็กกันเลย..

‘ทักษิณ’ อาจโดนคดีฆาตกรรมจากเหตุกรือเซะ หลัง ‘แหย่รังแตน’ ปรี่ฟ้อง ‘นายชวน หลีกภัย’

ก่อนหมดอายุความเพียง 3 วัน 'ชวน หลีกภัย' ประธานรัฐสภา ได้เรียกทนายความมาคุยเพื่อหารือกับอัยการถึงการเข้ามอบตัวสู้คดีตามกระบวนการยุติธรรม หลังถูก 'ทักษิณ ชินวัตร' ฟ้อง กรณีชวนบรรยายเกี่ยวกับเหตุการณ์ความรุนแรงในภาคใต้ ทั้งเหตุการณ์ที่มัสยิดกรือเซะ และเหตุการณ์ที่โรงพักตากใบ อันเป็นช่วงที่ทักษิณมีอำนาจอยู่ และนำมาสู่ความรุนแรงมาจนถึงปัจจุบัน 

ชวนประสงค์ให้ศาลวินิจฉัยความถูกผิด และนำข้อมูลข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นไปเปิดเผยในชั้นศาล และบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์กับวาทะกรรม 'โจรกระจอก' จนทักษิณต้องออกมาขอโทษชาวใต้ แต่ไม่วายแกว่งปากโยนความผิดไปให้ทหาร พุ่งตรงไปยังทหารฝ่ายตรงข้ามที่จ้องทำลาย โดยเอ่ยชื่อถึงผู้บัญชาการทหารบกในสมัยนั้น คือ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี โดยอ้างว่า ทหารมีอำนาจเต็มในการแก้ไขสถานการณ์ คนเป็นนายกรัฐมนตรีคงไม่อาจทราบรายละเอียดทั้งหมด และคงไม่สั่งการในรายละเอียดของการปฏิบัติ

น่าสนใจยิ่งว่า เมื่อคดีของชวนกับทักษิณจบลงในชั้นศาลแล้ว อะไรจะเกิดขึ้นต่อไป แต่อย่างน้อยที่สุดข้อมูลของฝ่ายชวน และเป็นข้อมูลจำนวนมากจะถูกตีแผ่ในชั้นศาลอย่างหมดเปลือก นี้คือปรากฏการณ์ ‘แหย่รังแตน’ ของทักษิณ สุดท้ายก็จะโดนแตนต่อยตาบวมแน่นอน หรืออาจจะพูดได้ว่า ‘แกว่งเท้าหาเสี้ยน’ ก็จะโดนเสี้ยนตำเท้าเป็นแน่แท้


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top