Wednesday, 9 July 2025
ค้นหา พบ 49314 ที่เกี่ยวข้อง

‘ชลน่าน’ ไม่เห็นด้วยปมควบรวม ‘ทรู-ดีแทค’ จ่อตั้งกระทู้ถามสด - เสนอญัตติด่วนหลังสภาเปิด

เมื่อวันที่ 28 ต.ค. นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวว่า ตามที่มีการควบรวมกิจการระหว่างทรูและดีแทคนั้น ตนกังวลและไม่เห็นด้วยกับการควบรวมกิจการที่อาจนำไปสู่การผูกขาดในธุรกิจใดๆ โดยมีความเห็นดังนี้ 

1.) ตนไม่เห็นด้วยกับการควบรวมที่เป็นการผูกขาดการประกอบธุรกิจ ซึ่งจะกระทบการแข่งขันของผู้ประกอบการ สภาวะการทำธุรกิจและระบบเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม และจะกระทบผู้บริโภคในท้ายที่สุด 

2.) ตนเห็นว่าการควบรวมกิจการระหว่างทรูและดีแทค น่าจะมิชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากเป็นกิจการประเภทเดียวกัน และมีส่วนแบ่งการตลาดสูงมาก 

3.) มีหลายฝ่ายตั้งคำถามว่ามติ กสทช.ในการรับทราบการควบรวมนั้น ชอบด้วยกฏหมายหรือไม่ และ กสทช.ได้ปฏิบัติหน้าที่และใช้อำนาจโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ซึ่งตนเห็นว่า กสทช.ต้องตอบคำถามนี้ 

4.) ตนกังวลและเห็นว่าการผูกขาดการประกอบธุรกิจ จะมีผลกระทบต่อสิทธิ์และประโยชน์ของผู้บริโภคอย่างแน่นอน ซึ่งภาครัฐมีหน้าที่ต้องดูแลและปกป้องคุ้มครองอย่างมากที่สุด

5.) พรรคเพื่อไทยยึดมั่นในหลักนิติธรรมและระบบกฎหมาย และคัดค้านการผูกขาดไม่ว่าในธุรกิจใด 

“ดังนั้นพรรคเพื่อไทยเห็นด้วยกับการที่ผู้มีส่วนได้เสีย ที่จะดำเนินการตามกฏหมาย และยื่นเรื่องต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของการควบรวมกิจการดังกล่าว ในเบื้องต้นพรรคเพื่อไทยจะนำเรื่องนี้เข้าสู่การตรวจสอบในสภาฯ โดยการตั้งกระทู้ถามสดในสัปดาห์แรกของการประชุมสภาฯ และเสนอพิจารณาญัตติด่วนเพื่อให้สภามีมติในเรื่องนี้ต่อไป” นพ.ชลน่าน กล่าว

เลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ 2557 ทางสองแพร่งแห่งการเมืองไทย

จนปัจจุบันนี้ยังมีคนก่นด่าว่าการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 คือการถอยหลังเข้าคลองทางการเมืองไทย โดยเฉพาะบรรดาคนเสื้อแดงและเสื้อส้มทั้งหลาย จากวันนั้นถึงวันนี้เป็นเวลา 8 ปีแล้ว มาย้อนรอยประวัติศาสตร์การเมืองไทยอีกครั้งว่าเกิดอะไรขึ้น และเป็นการถอยหลังเข้าคลองอย่างที่หลายคนกล่าวหาหรือไม่

ก่อนจะมาถึงวันเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ 2557 มีสาเหตุที่นำไปสู่ความขัดแย้งครั้งใหญ่ทางการเมือง นั่นคือการนิรโทษกรรมสุดซอยและลักหลับ เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน 2556 อันมีจุดใหญ่ใจความคือต้องการล้างผิดให้อดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ที่หนีคดีไปอยู่ต่างประเทศ การต่อต้านพ.ร.บ.นิรโทษกรรมนำไปสู่การต่อต้านรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เพราะเธอคือหุ่นเชิดของพี่ชายเท่านั้น ความไม่พอใจนำไปสู่การชุมนุมของกปปส.เริ่มต้นเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2556 โดยมีสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นแกนนำ ได้รับการสนับสนุนจากผู้คนทำให้มีการมาชุมนุมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงหลักล้านคน

วันที่ 1 ธันวาคม ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ยุบสภาฯ ตามข้อเรียกร้อง เพื่อลดแรงกดดัน เพื่อนำไปสู่การเลือกตั้งใหม่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 สิ่งที่กลุ่มกปปส.ต้องการคือการ 'ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง' กลุ่ม '40 ส.ว.' เสนอให้ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ลาออก อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคในเวลานั้นประกาศไม่ส่งผู้สมัคร ส.ส. ทุกเขต เพื่อคว่ำบาตรการเลือกตั้ง

กลุ่มกปปส. มีความคิดว่าถ้ามีการเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 โดยยึดตามตัวบทกฎหมาย และการตีความเข้าข้างตัวเองแบบที่รัฐบาลรักษาการแถลงการณ์เหมือนแผ่นเสียงตกร่อง จะเกิดความวุ่นวายทางการเมืองแน่นอน อีกทั้งยังสูญเสียงบประมาณ ในการจัดการเลือกตั้งอันไร้ประโยชน์ครั้งนี้ วันเลือกตั้งมีการปะทะกันระหว่างกลุ่มไม่ต้องการให้มีการเลือกตั้งกับกลุ่มผู้ต้องการใช้สิทธิ์หลายพื้นที่

หลังวันเลือกตั้ง วันที่ 21 มีนาคม 2557 ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติ 6 ต่อ 3 ให้การเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์เป็นโมฆะ ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 108 วรรค 2 เนื่องด้วยไม่สามารถกระทำการเลือกตั้งในวันเดียวกันได้ทั้งราชอาณาจักร มี 28 เขตเลือกตั้งไม่มีการจัดและเปิดรับสมัครเลือกตั้งมาก่อนเลย ทำให้การเลือกตั้งไม่เป็นธรรม และ กกต. ดำเนินการนับคะแนนเสียงเลือกตั้งขัดต่อหลักการลงคะแนนลับ หากมีการจัดการเลือกตั้งหลัง

ทำความรู้จัก ‘อักชตา มูรธี’ ภรรยานายกรัฐมนตรีอังกฤษคนใหม่

เมื่อสามีเป็นนายกรัฐมนตรีคนล่าสุดและหนุ่มที่สุดของสหราชอาณาจักรอังกฤษหมาดๆ,นายริชชี่ ซูนัค, คนอาจใคร่รู้ว่า ภรรยาของเขาคือใคร

Akshata Murty  หรือ อักชตา (อัก-ชะ-ตา) มูรธี วัย ๔๒ เช่นเดียวกับสามีเธอ ทั้งคู่แต่งงานกันในปีพ.ศ. ๒๕๕๒ และมีบุตรสองคน เราอาจจะคิดว่าเธอเป็นแม่บ้านธรรมดา ๆ คนหนึ่งแต่ถ้าเอ่ยชื่อเธอหรือบิดาของเธอในอินเดียแล้ว นั่นหมายถึงบิดาและบุตรสาวฐานะมหาเศรษฐีของอินเดีย

อักชตา ถือหุ้นในบริษัทอินโฟซี Infosys  ๐.๙ % หมายถึงมูลค่า ๗๐๐ ล้านปอนด์ที่เธอเป็นเจ้าของตามรายงานประจำปีล่าสุดของบริษัท นั่นยังไม่รวมทรัพย์สินอื่นที่เธอและสามีร่วมลงทุนอีกราว ๓๐ ล้านปอนด์

บิดาของอักชตาคือ นารายณ์ มูรธี ร่วมลงทุนก่อตั้งบริษัททางด้านไอทีในอินเดียเมื่อราว ๓๐ ปีที่แล้วกับเพื่อนๆอีก ๖ คนด้วยเงินลงทุนที่ยืมมาจากภรรยาของเขาเพียง ๒๕๐ ดอลล่า ซึ่งเขายังรำลึกถึงบุญคุณของเธอจนปัจจุบัน

และปัจจุบัน Infosys มีสำนักงานใน ๕๐ ประเทศมีพนักงานกว่าหนึ่งแสนคนและมีรายได้หลายพันล้านดอลล่า

ฟังดูแล้วเราอาจจะคิดว่าอักชตา ภรรยาของริชชี่ สุนัคมีชีวิตที่แสนสะดวกสบายมาตั้งแต่ต้นซึ่งตรงกันข้ามกับเรื่องราวที่บิดาของเธอได้เล่าในเวลาต่อมาว่า

เมื่ออักชตาเกิดอีกในเมืองหนึ่งในเดือนเมษายนปี พ.ศ. ๒๕๒๓ แต่บิดาเธอมาทำงานอีกในเมืองหนึ่งกว่าเขาจะรู้ว่าภรรยาเขาให้กำเนิดบุตรสาวก็อาศัยข่าวจากเพื่อนที่รู้จักที่เดินทางมายังเมืองที่เขาอยู่เพราะเขาไม่มีโทรศัพท์ที่จะติดต่อกับครอบครัว อักชตาอายุได้เพียง ๒-๓ เดือนก็ต้องไปอยู่กับย่า เพราะพ่อและแม่ของเธอต้องไปทำงานที่มุมไบ และหนึ่งปีให้หลังพ่อของเธอก็ร่วมกับเพื่อนก่อตั้งบริษัทซอฟท์แวร์ซึ่งทำให้เขากลายเป็นบิล เกตส์แห่งอินเดียในเวลาต่อมา

บิดาของเธอเห็นความสำคัญของการศึกษาของลูก ๆ และเพื่อให้ลูกสนใจในการศึกษามากที่สุดภายในบ้านจึงไม่มีโทรทัศน์ เขาส่งอักชตาไปเรียนยังวิทยาลัยเอกชนในสหรัฐด้านเศรษฐกิจและภาษาฝรั่งเศส และเธอยังได้ประกาศนียบัตรด้านแฟชั่นที่เธอสนใจอีกด้วย

เธอเริ่มอาชีพด้านการเงินที่บริษัท Deloitte และ ยูนิลีเวอร์ ต่อมาเธอเข้าศึกษาต่อปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ดของสหรัฐ ที่ซึ่งเธอได้พบกับสามีคือริชชี่ ซูนัค

หลังจากนั้นทั้งคู่ได้ตั้งบริษัทในปีพ.ศ. ๒๕๕๖ ในการที่ลงทุนในกลุ่มธุรกิจใหม่ ๆ อักชตา มีชื่อในธุรกิจหลายอย่างเช่น Digme fitness เครือบริษัทสถานออกกำลังที่จ่ายเป็นรายครั้งที่เข้าเล่น นอกจากนี้เธอยังมีชื่อเป็นผู้อำนวยการบริษัทขายเสื้อผ้าผู้ชายราคาแพงอีกด้วย

นอกจากเรื่องราวชีวิตที่ดูเหมือนเทพนิยายที่ครอบครัวสร้างฐานะร่ำรวยจนกลายเป็นมหาเศรษฐีของประเทศและล่าสุดสามีของเธอได้เป็นนายกรัฐมนตรีที่หนุ่มที่สุดของประเทศที่เรียกได้ว่าเป็นมหาอำนาจแห่งหนึ่ง เรื่องราวของอักชตาในขณะนี้ก็ยังไม่มีประเด็นที่จะถูกวิจารณ์มากนัก ยกเว้นเรื่องภาษีที่เธอถูกวิจารณ์ว่าน่าจะเสียให้กับประเทศที่ครอบครัวเธออาศัยอยู่บ้าง

เรื่องของเรื่องก็คือ อักชตา อยู่ในอังกฤษในฐานะ ที่เรียกกันว่า non-dom; non-domiciled individual หมายถึง ผู้อาศัยอยู่ในประเทศที่ไม่ใช่ภูมิลำเนา ซึ่งก็คือคนต่างชาติ(ที่อาศัยอยู่ในประเทศที่ไม่ใช้ประเทศภูมิลำเนาของตน) หรือพูดได้ว่าคนต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศที่ไม่ได้ลงทะเบียนเสียภาษีในประเทศนั้น

"มัณฑะเลย์” ตำนานอาถรรพณ์การสร้างเมือง | THE STATES TIMES STORY EP.91

เรื่องราว "มัณฑะเลย์” ตำนานการสร้าง 'กรุงมัณฑะเลย์' เมืองหลวงใหม่ของราชวงศ์คองบอง
.
กับตำนานความโหดเหี้ยมสยดสยองของธรรมเนียมพม่า ที่ต้องเลือกคนมาฝังทั้งเป็น ก่อนจะลงเสาหลักและเริ่มการก่อสร้างเพื่อให้วิญญาณเหล่านั้นเป็นเทพารักษ์ประจำเมือง!!
.
เรื่องราวสุดสยดสยองแห่งตำนานนี้เป็นอย่างไร ไปติดตามกันได้ใน THE STATES TIMES Story ใน EP. นี้ได้เลย

'เพื่อไทย' จี้ กกต. สอบ 'พลังประชารัฐ' ปมรับเงินบริจาคนักธุรกิจสีเทา

(28 ต.ค. 65) น.ส.ลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ รองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย กล่าวถึง วิกฤตปัญหายาเสพติดที่กำลังทวีความรุนแรงจนกระทบความปลอดภัยในชีวิตพี่น้องประชาชน ข่าว พ่อฆ่าลูก แม่ฆ่าลูก ลูกฆ่าพ่อแม่ คนเมายาคลุ้มคลั่งไล่ทำร้ายผู้คน สิ่งเหล่านี้สะท้อนว่ารัฐบาลพลเอกประยุทธ์ ไม่ได้ตระหนักในการแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างแท้จริง 

และยิ่งเด่นชัดมากขึ้นเมื่อเกิดกรณี เจ้าของผับดังย่านยานนาวา นายชัยณัฐร์ กรณ์ชายานันท์ หรือ หาวเจ๋อ ตู้ ถูกตำรวจบุกทลายปาร์ตี้ยาเสพติด เมื่อตรวจสอบพบว่า มีชื่อบริจาคเงินให้พรรคพลังประชารัฐจำนวน 3 ล้านบาทเมื่อปี 2564 นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.ยุติธรรม ในฐานะประธานยุทธศาสตร์พรรคพลังประชารัฐ ออกมายอมรับว่าได้รับเงินบริจาคจริง และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ กกต.กำหนด พรรคพลังประชารัฐไม่มีความเชื่อมโยงใด ๆ กับผู้บริจาคและไม่รู้จักกันเป็นการส่วนตัว

น.ส.ลิณธิภรณ์ กล่าวว่า การปฎิเสธความเชื่อมโยงเงินบริจาค 3 ล้านบาท ของนายสมศักดิ์ เทพสุทิน ในฐานะแกนนำพรรคพลังประชารัฐ ดูเป็นคำตอบที่ปฏิเสธความรับผิดชอบใช่หรือไม่ ในฐานะพรรคพลังประชารัฐที่เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลและเป็นพรรคการเมืองที่เสนอชื่อนายกรัฐมนตรีมีอำนาจในการบริหารประเทศ การตรวจสอบที่มาของเงินรายได้จากการบริจาค โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ค้ายาเสพติด กลุ่มธุรกิจสีเทา เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อป้องกันการใช้อำนาจรัฐในการเอื้อประโยชน์ให้กับผู้บริจาค จนประชาชนเกิดคำถามหรือข้อสงสัยได้ ขอตั้งข้อสังเกตว่าพรรคพลังประชารัฐปล่อยให้บุคคลที่ทำธุรกิจสีเทามาบริจาคเงินสนับสนุนพรรคได้อย่างไร


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top