Friday, 4 July 2025
ค้นหา พบ 49200 ที่เกี่ยวข้อง

‘กรุณพล' แจง!! 'งบช้างป่วย' ไม่ใช่การลดบำนาญขรก. แต่ลดรายจ่ายประจำป้อนระบบราชการที่ใหญ่โต

กรุณพล เทียนสุวรรณ รองโฆษกพรรคก้าวไกล กล่าวว่า ภายหลังจากพรรคก้าวไกลประกาศคว่ำงบ 66 มีความพยายามบิดเบือนคำอภิปรายของ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ที่กล่าวถึง 'งบช้างป่วย' เช่น กรณีของ ธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่รีบออกมาตีธงตั้งแต่ก่อนการอภิรายว่า พรรคก้าวไกลต้องการของการคว่ำงบประมาณเนื่องมาจากไม่พอใจการจัดสรรงบประมาณแบบเดิมที่ส่วนใหญ่ใช้ไปกับงบบำนาญและสวัสดิการข้าราชการ ต่อมายังมีการกระจายความเข้าใจผิดแบบนี้ส่งต่อกันไปในโซเชี่ยลมีเดียนั้น

กรุณพล กล่าวว่า ต้องยืนยันว่า พรรคก้าวไกลไม่มีและไม่เคยมีนโยบายลดเงินเดือนข้าราชการหรือบำนาญ แต่สิ่งที่ พิธา อภิปรายคือการฉายให้เห็นภาพรวมของงบประมาณว่า ส่วนใหญ่ใช้ไปกับอะไร และมี 'งบประจำ' อะไรที่ป้อนระบบราชการใหญ่โตแต่เทอะทะเหมือนช้างป่วยที่สามารถปรับลดได้บ้าง ไม่ว่าจะเป็นงบสัมมนา งบดูงานเมืองนอก งบโครงการที่ทับซ้อนกัน รวมถึงงบกลางที่เป็นเงินสำรองเพื่อเปิดโอกาสให้รัฐบาลเอาไปใช้ได้ตามใจชอบ เป็นต้น

NGO ต่างจาก Lobbyist อย่างไร??

เป็นที่ถกเถียงในสังคมมาพักใหญ่ๆ แล้ว เกี่ยวกับ 'พ.ร.บ. ควบคุม NGO' ที่คนบางกลุ่มบางพวกนำมาอ้างว่าจะลิดรอนสิทธิเสรีภาพในการชุมนุม การรวมกลุ่ม หรือรับเงินจากต่างชาติ จนนำมาซึ่งการประท้วงเพื่อให้พ.ร.บ.ฉบับนี้ไม่ถูกนำมาบังคับใช้

อย่างไรก็ตาม หลายประเทศทั่วโลกก็มีกฎหมายแนวๆ นี้ บังคับใช้ โดยเฉพาะประเทศเสรีตะวันตก อย่างเช่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย สหภาพยุโรป หรืออีกหลายประเทศ

อย่างในสหรัฐอเมริกา มีกฎหมายที่ชื่อว่า FARA (Foreign Agents Registration Act) ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียองค์กรต่างชาติ องค์กรซึ่งเป็นตัวแทนของต่างชาติ หรือรับเงินต่างชาติเข้ามา ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความมั่นคงล้วนๆ เพราะมีไว้ควบคุมการเข้ามาแทรกแซง หรือครอบงำ หรือมีอิทธิพลของต่างชาติในการเมืองสหรัฐอเมริกา

หากมองลึกเข้าไปถึงแก่นแท้ จะเห็นได้ว่า พ.ร.บ. ฉบับนี้ ต้องการให้ NGO มีความโปร่งใส และเปิดเผยว่า...
1. เอาเงินมาจากไหน?
2. ใช้เงินทำตามวัตถุประสงค์หรือไม่?
3. แสวงหาอำนาจรัฐ หรือเอื้อต่อกลุ่มการเมืองใดหรือไม่?

อีกนัยก็เพื่อเป็นการแยก NGO ที่ดี ออกจากพวกที่มีผลประโยชน์ทางการเมืองแอบแฝง 

กกต.ตั้งขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ตามกฎหมาย ไม่ได้ตั้งขึ้นมาเพื่อทำตามความต้องการของผู้ใด

กกต.ตั้งขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ตามกฎหมาย ไม่ได้ตั้งขึ้นมาเพื่อทำตามความต้องการของผู้ใด
 สิ่งที่เราทำทุกอย่างเป็นเรื่องที่ถูกต้องตามกฎหมาย กระแสไม่ได้ทำให้เราละเลยความถูกต้อง

นายแสวง บุญมี 
เลขาธิการ กกต.
กล่าวเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2565

นายแสวง บุญมี เลขาธิการ กกต.ให้การต้อนรับ และมอบใบรับรองแก่นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและ ส.ก. 45 ราย
โดยนายแสวง กล่าวว่า ขอแสดงความยินดีกับทุกท่านที่ได้รับเลือกให้เป็นผู้ว่าฯ กทม. และส.ก. ท่านได้รับเสียงมหาชน ต้องไปทำหน้าที่ตามที่ได้เสนอต่อประชาชน ขอให้ท่านทำหน้าที่ได้สำเร็จตามที่ได้เสนอไว้ เพราะประชาชนคาดหวังไว้ ขอบคุณท่านและผู้สมัครทุกคนทั้งที่ไม่ได้อยู่ที่นี่ ที่ได้ร่วมกับ กกต. ทำให้การเลือกตั้งนี้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยตั้งแต่เริ่มสมัคร หาเสียง จนประกาศผล การหาเสียงครั้งนี้เป็นไปด้วยความสร้างสรรค์ มีรูปแบบที่แตกต่างออกไปจากการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา ทำให้การเลือกตั้งเป็นที่สนใจ และเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

๓ มิถุนายน ๒๕๖๕ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

พลเอกหญิง สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2521 ณ ตำบลบ้านพรุ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มีพระนามเดิมว่า สุทิดา ติดใจ ครอบครัวของพระองค์เป็นชาวไทยเชื้อสายจีน ทรงเข้าเรียนระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา จากนั้นจึงทรงเข้าศึกษาหลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต ณ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จนจบการศึกษาเมื่อปี พ.ศ. 2543

หลังจากสำเร็จการศึกษาแล้ว ในช่วงเวลานั้นพระองค์ทรงเข้าเป็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน บริษัท แจลเวย์ จำกัด เมื่อปี พ.ศ. 2543 - พ.ศ. 2546 และทรงเป็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เมื่อปี พ.ศ. 2546 - พ.ศ. 2551 ทรงใช้ชีวิตแบบสามัญชนทั่วไป

ต่อมาทรงเข้ารับราชการทหารในหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ทรงดำรงตำแหน่งสูงสุด เป็นรองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ (อัตรา พลเอกพิเศษ) ทั้งยังทรงได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ให้ทรงดำรงตำแหน่งเป็นราชองครักษ์เวรในพระองค์และพระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์

ย้อนกลับไปในวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2557 สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ (ในเวลานั้นคือพลเอกหญิงสุทิดา วชิราลงกรณ์) ได้โดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ในพิธีพระราชทานธงชัยเฉลิมพล

วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ได้ตามเสด็จในพิธีสังเวยพระป้ายในเทศกาลตรุษจีน ณ พระที่นั่งอัมพรสถานฯ และปรากฏตัวอีกครั้งในวันประสูติพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ ในปีเดียวกัน

ต่อมาวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ทางกองพระราชพิธี สำนักพระราชวังได้เผยแพร่รายงานการเสด็จพระราชดำเนินที่พระองค์ได้ตามเสด็จพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติไปทอดพระเนตรพระราชวังบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และพลเอกหญิงสุทิดา วชิราลงกรณ์ ได้รับพระราชทานพระอิสริยยศเพิ่มเติมเป็น วชิราลงกรณ์ ณ อยุธยา (มีหมายกำหนดการระบุชื่อสกุลดังกล่าวมาตั้งแต่เดือนมิถุนายนปีเดียวกัน)

“กระทรวงเกษตรฯ” ใส่เกียร์ลุย "5ยุทธศาสตร์เฉลิมชัย" พัฒนาระบบ บิ๊กดาต้าฐานข้อมูลเกษตร 77 จังหวัดพร้อมเปิดบริการภาครัฐออนไลน์รูปแบบเว็บแอปพลิเคชัน (Web Application)

“อลงกรณ์” เร่งเครื่องถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรเมดอินไทยแลนด์ (M.I.T.) ปักธงจัดตั้งสตาร์ทอัพเกษตรทุกจังหวัดทั่วประเทศหวังเป็นคานงัดสร้างจุดเปลี่ยนภาคเกษตรไทย

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยวันนี้ (1มิ.ย) ภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเทคโนโลยีเกษตร 4.0 และคณะกรรมการบริหารศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (AIC : Agritech and Innovation Center) ว่า ภายใต้การขับเคลื่อน 5 ยุทธศาสตร์ของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คณะกรรมการทั้ง2คณะได้เร่งทำงานเชิงรุกมีผลงานความคืบหน้าการดำเนินงานดังนี้

1. คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนบิ๊กดาต้า ( Big Data) และรัฐบาลเทคโนโลยี (Gov Tech) กำลังเร่งเดินหน้าโครงการพัฒนาฐานข้อมูล (Big Data) ระดับจังหวัด 77 จังหวัด เพื่อใช้ประโยชน์จากข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลและการพยากรณ์ข้อมูลโดยให้หน่วยงานส่วนกลางและพื้นที่เชื่อมโยงชุดข้อมูลจัดทำเป็นบัญชีข้อมูลตามมาตรฐานของ สำนักงานรัฐบาลดิจิตอล (สพร.) โดยศูนย์ข้อมูลเกษตรแห่งชาติ (ศกช. - National Agriculture Big Data Center:NABC) ภายใต้สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร(สศก.)รับผิดชอบดำเนินการ

สำหรับการดำเนินงานด้านระบบบริการภาครัฐด้วยเทคโนโลยีดิจิตอล (Gov Tech) ได้สำรวจเรื่องการใช้งานระบบ CKAN จัดทำบัญชีข้อมูล (Data Catalog) ของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทั้ง 22 หน่วยงานแล้ว 

ในส่วนของการบริการรูปแบบอีเล็คทรอนิกส์ (e-Service) ขณะนี้ ดำเนินการให้เป็น Digital Service คืบหน้าไปกว่า 95% ซึ่งคาดว่าจะดําเนินการพัฒนาให้แล้วเสร็จทั้ง 176 ระบบภายในปี 2565  

ส่วนการพัฒนาการเชื่อมโยงการทำธุรกรรมผ่านระบบ NSW (National Single Window) ระหว่างหน่วยงานภาครัฐกับผู้ประกอบการ ขณะนี้มีการเชื่อมโยงแล้ว 55 ระบบ และเพื่อเป็นการอํานวยความสะดวกต่อผู้ใช้งานทั้งเจ้าหน้าที่และประชาชนทั่วไปให้สืบค้นข้อมูลได้ อย่างรวดเร็วและเข้าถึงการบริการ e-Service ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ง่ายยิ่งขึ้น สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนบิ๊กดาต้า (Big Data) และรัฐบาลเทคโนโลยี (Gov Tech) ภายใต้คณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเทคโนโลยีเกษตร 4.0 ของกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ ได้จัดทําเว็บแอพพลิเคชันระบบบริการภาครัฐ (Web Application) เพื่อเป็นช่องทางกลางในการเข้าถึงบริการ ( e-Service) ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย “ระบบบริการภาครัฐ” มีเมนูจําแนกตามกิจกรรมบริการที่สอดคล้องกับวัฏจักรการทําการเกษตรทั้ง 6 ด้าน ประกอบด้วย 

1) การวางแผนการผลิต 

2) การหาปัจจัยการผลิต 

3) การเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ ดูแลรักษา 

4) การเก็บเกี่ยว 

5) การแปรรูป การเพิ่มมูลค่าและ 

6) การตลาด การจําหน่าย 

นอกจากนี้ ยังมีเมนูพิเศษอื่น ๆ เพื่อการสืบค้นและสามารถเข้าถึงงานวิจัย ตลอดจน รายชื่อองค์ความรู้เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมของศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (ศูนย์ AIC 77 จังหวัด) โดยผู้ใช้งานสามารถค้นหาระบบ e-Service ที่ต้องการได้ทันที และระบบจะเชื่อมโยงไปถึงระบบ e-Service


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top