NGO ต่างจาก Lobbyist อย่างไร??

เป็นที่ถกเถียงในสังคมมาพักใหญ่ๆ แล้ว เกี่ยวกับ 'พ.ร.บ. ควบคุม NGO' ที่คนบางกลุ่มบางพวกนำมาอ้างว่าจะลิดรอนสิทธิเสรีภาพในการชุมนุม การรวมกลุ่ม หรือรับเงินจากต่างชาติ จนนำมาซึ่งการประท้วงเพื่อให้พ.ร.บ.ฉบับนี้ไม่ถูกนำมาบังคับใช้

อย่างไรก็ตาม หลายประเทศทั่วโลกก็มีกฎหมายแนวๆ นี้ บังคับใช้ โดยเฉพาะประเทศเสรีตะวันตก อย่างเช่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย สหภาพยุโรป หรืออีกหลายประเทศ

อย่างในสหรัฐอเมริกา มีกฎหมายที่ชื่อว่า FARA (Foreign Agents Registration Act) ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียองค์กรต่างชาติ องค์กรซึ่งเป็นตัวแทนของต่างชาติ หรือรับเงินต่างชาติเข้ามา ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความมั่นคงล้วนๆ เพราะมีไว้ควบคุมการเข้ามาแทรกแซง หรือครอบงำ หรือมีอิทธิพลของต่างชาติในการเมืองสหรัฐอเมริกา

หากมองลึกเข้าไปถึงแก่นแท้ จะเห็นได้ว่า พ.ร.บ. ฉบับนี้ ต้องการให้ NGO มีความโปร่งใส และเปิดเผยว่า...
1. เอาเงินมาจากไหน?
2. ใช้เงินทำตามวัตถุประสงค์หรือไม่?
3. แสวงหาอำนาจรัฐ หรือเอื้อต่อกลุ่มการเมืองใดหรือไม่?

อีกนัยก็เพื่อเป็นการแยก NGO ที่ดี ออกจากพวกที่มีผลประโยชน์ทางการเมืองแอบแฝง 

ดังนั้น จึงต้องแยกให้ได้ว่า ผู้ที่ออกมาเรียกร้องไม่ให้มี พ.ร.บ.ฉบับนี้ เป็น NGO หรือ Lobbyist กันแน่!!

ว่าแต่ NGO ต่างจาก Lobbyist อย่างไร?

NGO ที่ดี จะต้องประกาศวัตถุประสงค์ของตัวเองต่อประชาชนและสังคม และทำงานไปตามวัตถุประสงค์นั้น ๆ
ในขณะเดียวกันก็จะมี NGO อีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งทำตัวเป็นเหมือน Lobbyist ที่ต้องการเข้ามา 'แสวงหาอำนาจรัฐ' หรือ 'แทรกแซงทางการเมือง'

โดย NGO ที่ทำตัวเหมือน Lobbyist นี้ ก็คือบรรดา NGO ที่รับเงินมาจากแหล่งทุนต่างประเทศที่ชอบเข้ามาแทรกแซงการเมือง 

เช่น องค์กรที่ชื่อว่า NED ของสหรัฐอเมริกา หรือ องค์กร Open Society Foundations ของ จอร์จ โซรอส ซึ่งมีประวัติในการแทรกแซงการเมืองในหลายประเทศ ซึ่งถือเป็นภัยต่อความมั่นคงอย่างยิ่ง

ฉะนั้น หากกลุ่ม NGO บริสุทธิ์ใจจริง และทำเพื่อสังคมจริง จะกลัวอะไรกับการถูกตรวจสอบ การเปิดเผยข้อมูลเพื่อความโปร่งใส เพราะสิ่งเหล่านี้ถือเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดในสังคมประชาธิปไตยเลยก็ว่าได้


ที่มา : ฉันทัช พานิชชานนท์ นักวิชาการอิสระด้านรัฐศาสตร์