Friday, 4 July 2025
ค้นหา พบ 49178 ที่เกี่ยวข้อง

สมุทรปราการ-เอาจริง!! 'นายก อรัญญา' นายกเทศมนตรี ใช้ยาแรง พวกลักไก่แอบทิ้งขยะสร้างความเดือดร้อน ลั่น!! เจอจับปรับทันที

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ภายในซอยแพรกษา 15/1 ถ.แพรกษา ต.แพรกษา อ.เมือง จ.สมุทรปราการ นางอรัญญา สุวรรณบุตร นายกเทศมนตรีตำบลแพรกษา พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร สมาชิกสภา หัวหน้าส่วนราชการ ลงพื้นที่ตรวจสอบภายในซอย แพรกษา 15/1 หลังจากที่ได้รับการร้องเรียนจากประชาชนกรณีมีบุคคลแอบนำรถบรรทุกเศษขยะจำนวนมากแล้วนำไปทิ้งไว้ตามริมถนนภายในซอยแพรกษา 15/1 สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชน

โดย นางอรัญญา สุวรรณบุตร นายกเทศมนตรีตำบลแพรกษา เปิดเผยว่า ทางเทศบาลตำบลแพรกษาได้รับการร้องเรียนจากพี่น้องประชาชนรวมถึงประชาชนผู้ใช้เส้นทางภายในซอยแพรกษา 15/1 เนื่องจากมีบุคคลได้แอบบรรทุกเศษขยะต่างๆ ทั้งขยะเปียกและขยะแห้งแล้วนำมาทิ้งไว้ตามริมถนนภายในซอยแห่งนี้ เป็นระยะทางกว่า 300 เมตร ซึ่งขยะทั้งหมดนี้ได้ส่งกลิ่นเหม็นฟุ้งกระจายไปทั่ว อีกทั้ง สร้างความเดือดร้อนให้กับพี่น้องประชาชนในเขตพื้นที่เป็นจำนวนมากรวมถึงพี่น้องประชาชนผู้ใช้เส้นทางที่สัญจรไปมา

ซึ่งในวันนี้ทางเทศบาลตำบลแพรกษา โดยนาย สมบูรณ์ สันหยี รองปลัดเทศบาลตำบลแพรกษา นำเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่เพื่อช่วยกันเก็บทำความสะอาดกองขยะเหล่านี้ให้สะอาดเรียบร้อย และต่อจากนี้ทางเทศบาลตำบลแพรกษาจะดำเนินการเอาจริงกับบุคคลที่แอบนำขยะมาทิ้งภายในซอยแห่งนี้ พร้อมทั้งจะประสานไปยังเจ้าของที่ให้ช่วยมาดำเนินการปิดล้อมรั้วให้เรียบร้อย พร้อมทั้งติดป้ายประกาศ ห้ามนำขยะมาทิ้งในพื้นที่บริเวณนี้เด็ดขาด หากผู้ใดฝ่าฝืนถือว่ามีโทษความผิดตามกฎหมาย มาตรา 32 ตาม พ.ร.บ.รักษาความสะอาด จับปรับไม่เกิน 2,000 บาท

เลขาธิการสภากาชาดไทย เปิดโครงการรถคลินิกจักษุศัลยกรรมเคลื่อนที่สภากาชาดไทยฯ จังหวัดนครราชสีมา

(25 พ.ค.65) นายเตช บุนนาค เลขาธิการสภากาชาดไทย เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการรถคลินิกจักษุศัลยกรรมเคลื่อนที่สภากาชาดไทย ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  โดยมีนายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา พร้อมด้วย นางณัฏฐินีภรณ์ จันทรโณทัย นายกเหล่ากาชาดจังหวัดนครราชสีมา และพลโท นายแพทย์อำนาจ บาลี ผู้อำนวยการสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย ร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิด โครงการรถคลินิกจักษุศัลยกรรมเคลื่อนที่สภากาชาดไทยฯ ในครั้งนี้จัดขึ้น เพื่อทำการตรวจรักษาและผ่าตัดตาให้แก่ประชาชนผู้ด้อยโอกาสโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ระหว่างวันที่ 23-27 พฤษภาคม 2565 ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองไผ่ ตำบลหนองหญ้าขาว อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา


 
​นายเตช บุนนาค กล่าวว่า หน่วยแพทย์จักษุศัลยกรรมสภากาชาดไทย ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ดำเนินการมาเป็นเวลากว่า 27 ปีแล้ว โดยเริ่มปฏิบัติงานเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2538 เพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุครบ 40 พรรษา ปัจจุบันปฏิบัติงานทุกสัปดาห์ที่ 3 ของเดือน เป็นประจำที่สถานีกาชาดที่ 6 อรัญประเทศเฉลิมพระเกียรติฯ จังหวัดสระแก้ว โครงการนี้ได้รับการปรับปรุงและพัฒนางานมาเป็นลำดับ โดยปฏิบัติงานเชิงรุกด้วยการออกให้บริการสัญจร โดยออกปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลอำเภอในพื้นที่ห่างไกลและไม่มีจักษุแพทย์ เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2545 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน และต่อมาในปี 2551 ได้เริ่มโครงการรถคลินิกจักษุศัลยกรรมเคลื่อนที่ฯ ปฏิบัติงานในรูปแบบการนำรถผ่าตัดเคลื่อนที่ ลงไปปฏิบัติงานเชิงลึกระดับตำบล ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ปีละ 6 ครั้ง และอีกทั้ง เมื่อปี 2554 ยังได้จัดทำโครงการที่ตรวจรักษาและผ่าตัดตา ให้แก่พระภิกษุ แม่ชี และนักบวชทุกศาสนาอีกด้วย ตั้งแต่ปี 2538 เป็นต้นมา หน่วยแพทย์จักษุฯ ให้การรักษาโดยไม่คิด ค่าใช้จ่ายไปแล้วกว่า 265,000 ราย ทำการผ่าตัดไปแล้วกว่า 67,000 ราย


 
สำหรับการดำเนินงานโครงการรถคลินิกจักษุศัลยกรรมเคลื่อนที่ สภากาชาดไทยฯ ครั้งนี้ สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย ร่วมกับจังหวัดนครราชสีมา สำนักงานเหล่ากาชาดจังหวัดนครราชสีมา โดยได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา ส่วนราชการทุกภาคส่วน ตลอดจนภาคเอกชน มีเป้าหมายในการดำเนินงานให้บริการตรวจรักษาโรคตา ผ่าตัดโรคต้อกระจก และทำผ่าตัดโรคตาอื่นๆ เช่น ต้อเนื้อ ต้อหิน โรคของเปลือกตาในผู้ป่วยทุกรายที่จำเป็นต้องรักษา เพื่อให้ผู้ป่วยโรคตาในท้องถิ่นทุรกันดารและมีฐานะยากจนได้รับบริการที่ดีเท่าเทียมกับผู้ป่วยในเมืองโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายและไม่เสียเวลาในการเดินทางมารับการรักษาในเมือง และผู้สูงอายุที่ยากไร้ในชนบทได้รับการตรวจรักษาอย่างถูกต้อง สามารถมองเห็นและช่วยเหลือตัวเองได้ ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

คณะพัฒนาสัมพันธ์เครือข่ายความมั่นคงฯ กอ.รมน.จ.ฉะเชิงเทรา เยี่ยมชม โรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนและบริษัท แอ๊บโซลูท แอสเซมบลี จํากัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยในกลุ่มบริษัทพลังงานบริสุทธิ์ 

เมื่อวันที่ (25 พ.ค.65) ที่บริษัท อมิตา เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด นิคมอุตสาหกรรม ฉะเชิงเทรา บลูเทค ซิตี้ นายไมตรี ไตรติลานันท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา ในฐานะผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดฉะเชิงเทรา พร้อมด้วยพันเอก ประคอง ปิ่นพาน รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดฉะเชิงเทรา (ทหาร) และคณะพัฒนาสัมพันธ์เครือข่ายความมั่นคงระดับผู้บริหารของ กอ.รมน.จ.ฉะเชิงเทรา เข้าเยี่ยมชมบริษัท อมิตา เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด โรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน และบริษัท แอ๊บโซลูท แอสเซมบลี จํากัด 

ซึ่งเป็นบริษัทย่อยในกลุ่มบริษัทพลังงานบริสุทธิ์ โดยมีนายชาญยุทธ ฉายาวัฒนะ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริษัท อมิตา เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด และนางสาวกุลพรภัสร์ วงศ์มาจารภิญญา ประธานผู้บริหารนิคมอุตสาหกรรมฉะเชิงเทราบลูเทคซิตี้ ให้การต้อนรับ พร้อมบรรยายสรุปและนำเยี่ยมชม โรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนและระบบกักเก็บพลังงาน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle) และการนำพลังงานหมุนเวียนที่มีเสถียรภาพเข้ามาใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนและระบบสำรองไฟฟ้าแห่งนี้ ของกลุ่มพลังพลังงานบริสุทธิ์ (EA) ภายใต้ชื่อ บริษัท อมิตา เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด มีกำลังการผลิตเริ่มต้น 1 กิกะวัตต์ชั่วโมงต่อปี 

ครบรอบ 85 ปี ‘Golden Gate Bridge’ สะพานแขวนสีส้มแห่งนคร San Francisco

วันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1937) ประธานาธิบดี Franklin D. Roosevelt ทำพิธีกดปุ่มทางไกลเปิดใช้สะพาน Gate Bridge ในนคร San Francisco อย่างเป็นทางการจากกรุง Washington D.C. โดยสะพาน Golden Gate ถูกจัดให้เป็นสิ่งมหัศจรรย์ทางวิศวกรรมของโลกยุคปัจจุบัน ด้วยเคยครองสถิติสะพานแขวนที่ยาวที่สุดในโลกมาก่อน (ปัจจุบันสะพานแขวนที่ยาวที่สุดในโลก คือ สะพาน Akashi-Kaikyo อยู่ที่ญี่ปุ่น) โดยมีระยะทาง 2.7 กิโลเมตร สูง 223.5 เมตร 

สะพาน Golden Gate ทอดข้ามอ่าว San Francisco บริเวณช่องแคบ Golden Gate ทางตอนเหนือของนคร San Francisco กับ เทศมณฑล Marin มลรัฐ California ในตอนก่อนสะพานจะถูกสร้างขึ้น เส้นทางสั้น ๆ ที่ใช้งานได้จริงเพียงเส้นทางเดียวระหว่างนคร San Francisco กับ เทศมณฑล Marin (ในปัจจุบัน) คือ โดยสารเรือ Ferry ข้ามอ่าว San Francisco โดยบริษัท Sausalito Land and Ferry ซึ่งบริษัทนี้เปิดตัวในปี พ.ศ. 2410 ในที่สุดก็กลายเป็นบริษัท Golden Gate Ferry ซึ่งเป็นบริษัทในเครือบริษัทรถไฟสายแปซิฟิกใต้ เรือ Ferry ข้ามฟากของบริษัทรถไฟสายแปซิฟิกใต้ทำกำไรมหาศาลและมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจในพื้นที่ โดย เรือ Ferry ที่ข้ามฟากระหว่างท่าเรือ Hyde Street Pier ในนคร San Francisco กับท่าเรือ Sausalito Ferry Terminal ในเทศมณฑล Marin ใช้เวลาราว 20 นาที และราคาค่าบริการอยู่ที่คันละ  1.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ในสมัยนั้น) 

ท่าเรือ Sausalito Ferry Terminal ในเทศมณฑล Marin ก่อนที่จะมีสะพาน Golden Gate

ด้วยเหตุนคร San Francisco เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกาที่ยังคงไม่มีการเชื่อมโยงถาวรกับชุมชนรอบอ่าว และต้องใช้บริการโดยสารเรือ ferry ข้ามฟากเป็นหลัก จึงทำให้อัตราการเจริญเติบโตของเมืองต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของอัตราการเจริญเติบโตของเมืองใหญ่ในสหรัฐฯ 

แต่ในยุคนั้นบรรดาผู้เชี่ยวชาญหลายคนต่างให้ความเห็นว่า เทคโนโลยีขณะนั้นคงไม่สามารถสร้างสะพานข้ามช่องแคบยาว 6,700 ฟุต (2,000 เมตร) ได้ เพราะมีอ่าว San Francisco มีกระแสน้ำที่หมุนวนอย่างแรง ความลึกของน้ำบริเวณใจกลางช่องแคบอยู่ที่ 372 ฟุต (113 ม.) และลมพัดแรงจัดมากอยู่บ่อย ๆ ครั้ง จึงเป็นเหตุให้ผู้เชี่ยวชาญสรุปว่า ลมที่พัดแรงจัด อีกทั้งหมอกลงหนักจะเป็นอุปสรรคขัดขวางการก่อสร้างและการใช้งานสะพาน 

แม้ว่าแนวคิดของเรื่องสะพานทอดข้ามช่องแคบ Golden Gate จะไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ในที่สุดข้อเสนอก็ถูกตีพิมพ์ใน San Francisco Bulletin ปี พ.ศ. 2459 (ค.ศ. 1916) โดยบทความของ James Wilkins วิศวกรของนคร San Francisco ซึ่งได้ทำการประเมินค่าใช้จ่ายในการสร้างไว้ที่ 100 ล้านดอลลาร์ (ราว 2.5 พันล้านดอลลาร์ในปัจจุบัน) แล้วก็ยังไม่สามารถทำได้ในขณะนั้น 

แต่ Joseph Strauss ซึ่งเป็นวิศวกรและกวี ผู้มีความทะยานอยาก ซึ่งเคยทำวิทยานิพนธ์เรื่องการออกแบบสะพานรถไฟยาว 55 ไมล์ (89 กม.) ข้ามช่องแคบ Bering และในขณะนั้น Strauss ได้สร้างสะพานแขวนเสร็จสมบูรณ์แล้วราว 400 แห่ง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสะพานในสหรัฐฯ และไม่มีอะไรที่เขาจะสนใจมากไปกว่าโครงการสร้างสะพานใหม่เพื่อข้ามช่องแคบ Golden Gate ภาพร่างสะพานเริ่มต้นของ Strauss ประกอบด้วยคานแขนขนาดใหญ่ในแต่ละด้านของช่องแคบ ซึ่งเชื่อมต่อกันด้วยส่วนกันสะเทือนกลาง โดย Strauss สัญญาไว้ว่า จะสามารถสร้างได้ด้วยงบประมาณ 17 ล้านดอลลาร์ (เทียบเท่ากับ 423 ล้านดอลลาร์ในปัจจุบัน)


Joseph Strauss

หลังจากนั้นด้วยมติในสภานิติบัญญัติแห่งมลรัฐ California อนุมัติให้มีการสร้างสะพานและทางหลวงด้วยงบประมาณ 35 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 530 ล้านดอลลาร์ในปัจจุบัน) เพราะมีความมั่นใจว่า Strauss จะมีการปรับเปลี่ยนแปลงรูปแบบ และยอมรับข้อมูลต่าง ๆ จากผู้เชี่ยวชาญโครงการที่ปรึกษาหลาย ๆ คนว่า การสร้างสะพานแขวนถือเป็นแนวทางที่น่าจะประสบความสำเร็จและสามารถใช้งานจริงได้มากที่สุด การก่อสร้างต้องใช้เวลามากกว่าหนึ่งทศวรรษเพราะโครงการก่อสร้างสะพานนี้ต้องเผชิญกับการต่อต้าน รวมถึงการฟ้องร้องดำเนินคดีจากผู้ที่คัดค้านและเสียผลประโยชน์มากมาย 

อีกทั้งกระทรวงสงครามของสหรัฐฯ เองก็เกรงว่า สะพานนี้จะกลายเป็นอุปสรรคต่อการสัญจรทางเรือ กองทัพเรือสหรัฐฯ กลัวว่า การชนสะพานของเรือหรือการก่อวินาศกรรมอาจเป็นปิดกั้นทางเข้าท่าเรือหลักแห่งใดแห่งหนึ่ง ส่วนสหภาพแรงงานเรียกร้องให้มีการรับประกันว่า คนงานในท้องถิ่นจะได้เข้าทำงานในการก่อสร้างโครงการนี้

นอกจากนั้น บริษัทรถไฟสายแปซิฟิกใต้ หนึ่งในผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ทางธุรกิจที่ทรงอิทธิพลที่สุดในมลรัฐ California คัดค้านการสร้างสะพานนี้เพราะจะเป็นการแข่งขันกับธุรกิจเรือ Ferry ข้ามฟาก และได้ยื่นฟ้องคัดค้านโครงการนี้ ซึ่งนำไปสู่การคว่ำบาตรการใช้บริการเรือข้ามฟาก


 Leon Moisseiff วิศวกรผู้ออกแบบและสร้างสะพาน Manhattan ในมหานคร New York

ในที่สุด Strauss ก็ได้เป็นทั้งหัวหน้าวิศวกรที่รับผิดชอบการออกแบบโดยรวมและการก่อสร้างสะพาน แต่เนื่องจากเขามีความเข้าใจหรือประสบการณ์น้อยในการออกแบบระบบกันสะเทือนด้วยสายเคเบิล ความรับผิดชอบในด้านวิศวกรรมและสถาปัตยกรรมส่วนใหญ่จึงตกอยู่ที่ผู้เชี่ยวชาญคนอื่น ๆ 

ข้อเสนอจากการออกแบบเบื้องต้นของ Strauss (ช่วงเสาเข็มคู่สองช่วงที่เชื่อมโยงกันด้วยระบบกันสะเทือนส่วนกลาง) ไม่เป็นที่ยอมรับอันเนื่องมาจากมุมมองที่สามารถมองเห็นนั้นดูไม่สวยสง่า ทำให้การออกแบบช่วงล่างที่สวยงามขั้นสุดท้ายเกิดขึ้นโดย Leon Moisseiff วิศวกรผู้ออกแบบและสร้างสะพาน Manhattan ในมหานคร New York 
 

สะพัด!! ส.ก.ก้าวไกล -วัฒนา ถูกอดีตลูกจ้างสาวสองแฉ เคยพูดจาคุกคามทางเพศ นั่งอ้าขาเอามือลูบเป้าโชว์

ส.ก.ก้าวไกล เขตวัฒนา ถูกอดีตลูกจ้างสาวสองร้องเรียนถูกพูดจาคุกคามทางเพศตลอดเวลาที่ร่วมงานด้วย ครั้งหนึ่งถึงขั้นนั่งอ้าขาเอามือลูบเป้าโชว์

เมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2565 นาดา ไชยจิตต์  นักกิจกรรมสิทธิมนุษยชน ได้โพสต์ข้อความเฟซบุ๊กชื่อ "Nada Chaiyajit"  ระบุว่า ... #ไม่เอาสมาชิกสภากรุงเทพฯ ที่มีพฤติกรรมคุกคามทางเพศ

การเลือกตั้งผู้ว่าราชการและสมาชิกสภากรุงเทพฯ ครั้งประวัติศาสตร์ได้ผ่านพ้นไปแล้ว เราได้ผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ คนใหม่ และสมาชิกสภากรุงเทพฯ ที่กำลังรอให้ ก.ก.ต.ประกาศรับรองผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ ในขณะที่ชาวกรุงเทพฯ กำลังเฉลิมฉลองค่ำคืนแห่งชัยชนะของผู้สมัคร ส.ก.ท่านหนึ่งประจำเขตวัฒนา นาดาได้รับข้อความจากน้องคนหนึ่งชื่อ อลิส (นามสมมติ) เธอเป็นหญิงข้ามเพศ ที่เคยเข้ามาทำงานเป็นลูกจ้างในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ของว่าที่ ส.ก.ท่านนี้ เมื่อครั้งสมัยทำงานเพื่อสังคมในนามกลุ่มเส้นด้ายเพื่อช่วยเหลือผู้ติดเชื้อโควิด-19 ไปพร้อมๆ กับการลงพื้นที่ในฐานะว่าที่ผู้สมัคร ส.ก.ของพรรคก้าวไกล โดยนาดารับเรื่องราวร้องทุกข์ขอความช่วยเหลือของเธอไว้พร้อมๆ กับที่เธอขอรับคำปรึกษาจากคณะผู้ก่อตั้ง Trans For Career Thailand ซึ่งในขณะนั้นมีคุณซารีน่า Nijshanaaj Sudlarphaar ภายหลังจากที่เราปรึกษา เราเห็นแล้วว่าข้อความที่ปรากฏในแชตไลน์เป็นข้อความที่ไม่เหมาะสมที่นายจ้างจะใช้เป็นบทสนทนาทั่วไประหว่าง #ผู้ที่มีฐานอำนาจมากกว่าในฐานะนายจ้าง และ #ผู้มีแหล่งอำนาจน้อยกว่าในฐานะลูกจ้าง มันคือการคุกคามทางเพศหรือก่อให้เกิดความรำคาญทางเพศใช่หรือไม่ ยังไม่นับเหตุการณ์ที่เธอถูกเรียกเข้าห้องทำงานส่วนตัวแล้วเจอกับ...ตามที่เธอเขียนมาเล่าให้นาดารับทราบด้านล่างนี้

“วันที่ 14 ก.ย. 2564 ฉันได้ทักข้อความไปสมัครงานในตำแหน่งธุรการทั่วไปของบริษัท.... ซึ่งเป็นบริษัทด้านอสังหาริมทรัพย์ ให้เช่าที่พัก โดยมีการนัดสัมภาษณ์งานในวันที่ 22 ก.ย. 2564 เวลา 09.00 น. ได้สัมภาษณ์กับ HR ของบริษัท และ HR ได้ทำการถ่ายรูปของฉันส่งไปให้กับทางเจ้าของ หลังจากนั้นเจ้าของได้เดินทางเข้ามาสัมภาษณ์ฉันด้วยตัวเอง มีถามคำถามฉันด้วยว่าแปลงเพศหรือยัง ในวันนั้นฉันได้ทดลองงานจนถึง 18.00 น. ในระหว่างวันของการทดลองงาน ช่วงบ่ายทางเจ้าของได้ให้ฉันเดินทางไปดูงานที่ศูนย์เส้นด้ายวัฒนาซึ่งอยู่ในซอยปรีดีพนมยงค์ 25 เขาพาฉันเดินดูรอบๆ ศูนย์ รวมถึงพาเข้าห้องทำงาน ซึ่งมาทราบทีหลังว่าปกติจะห้ามคนเข้าไป ฉันไม่รู้วัตถุประสงค์ว่าเพราะอะไร


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top