Tuesday, 8 July 2025
ค้นหา พบ 49261 ที่เกี่ยวข้อง

จีนเริ่มวางขายทุเรียนไทยแล้ว ฟากชาวจีนรอซื้อแม้ราคาสูง

(5 พ.ค. 65) สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า บรรดาซูเปอร์มาร์เก็ตและแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซรายใหญ่ของจีนทยอยวางจำหน่ายทุเรียนไทยเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปลายเดือนเมษายน ส่งสัญญาณว่าฤดูทุเรียนมาถึงแล้ว โดยปีนี้ทุเรียนไทยเข้าสู่ตลาดจีนช้ากว่าปกติและราคาสูงขึ้น แต่ผู้บริโภคชาวจีนยังคงเฝ้ารออย่างใจจดใจจ่อ

ทุเรียนจากสวนในไทย จะถูกเก็บเกี่ยวและส่งออกด้วยเที่ยวบินเช่าเหมาลำสู่ท่าอากาศยานนานาชาติกว่างโจว ไป๋อวิ๋นในมณฑลกว่างตง (กวางตุ้ง) ทางตอนใต้ของจีน และกระจายไปยังทุกภูมิภาคของจีนอย่างรวดเร็ว เฉกเช่นร้านค้าในเครือเจริญโภคภัณฑ์ที่นครหนานหนิง เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง

หวงเหม่ยเสีย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการกลุ่มผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหารในเครือเจริญโภคภัณฑ์ประจำกว่างซี เผยว่า ร้านค้าของบริษัทได้รับทุเรียน 100 กล่อง ซึ่งถูกกระจายสู่ร้านสะดวกซื้อในท้องถิ่นและขายให้ลูกค้าขาจรจนหมดอย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องกังวลแม้ราคาจะสูงขึ้นกว่าปีก่อน

โดยทุเรียนยังคงเป็นผลไม้ยอดนิยมในหมู่ผู้บริโภคชาวจีน ครองตำแหน่งผลไม้นำเข้าดาวเด่น และปริมาณการบริโภคเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในช่วงหลายปีนี้ ซึ่งการนำเข้าทุเรียนสดในปี 2564 สูงกว่าในปี 2560 ราว 4 เท่า ส่วนใหญ่นำเข้าจากไทย รวมถึงมีกว่างตง กว่างซี และฉงชิ่ง เป็นแหล่งนำเข้าหลัก

ด้าน คุณนิศาชล ไทยทอง หรือไท่ลู่ลู่ หญิงไทยที่ใช้ชีวิตอยู่ในหนานหนิง และทำธุรกิจนำเข้าทุเรียนจากสวนในไทยมาขายในจีนจนมีกลุ่มลูกค้าในมือ เผยว่า เมื่อก่อนคนจีนรู้จักแต่ทุเรียนหมอนทอง แต่ตอนนี้เริ่มรู้จักทุเรียนพันธุ์อื่นๆ กันมากขึ้น ทั้งกระดุมทอง ก้านยาว และพวงมณี

ด้านเหว่ยพ่าน พ่อค้าไลฟ์สดขายของในกว่างซี จับมือทำธุรกิจกับคุณนิศาชลมานานหลายปี ส่วนปีนี้ทั้งสองนำเข้าทุเรียนไทยสู่กว่างโจว คุนหมิง และเมืองอื่น ๆ ทางเครื่องบิน ซึ่งใช้เวลา 2-3 ชั่วโมง ทำให้ทุเรียนยังคงสดใหม่เปลือกยังเป็นสีเขียวเงางามดูน่าซื้อไปรับประทาน

ปัจจุบันแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซและห้างสรรพสินค้าในจีนวางจำหน่ายทุเรียนกันแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่ถูกขนส่งทางเครื่องบินเช่นกัน โดยบริษัทไทยหลายแห่งเริ่มขนส่งทุเรียนทางเครื่องบิน แม้ค่าขนส่งเพิ่มขึ้นจาก 35-40 บาทในปีก่อน เป็นราว 100 บาทต่อกิโลกรัมในปีนี้

ทั้งนี้ ช่องทางขนส่งทุเรียนไทยสู่จีนนั้นหลากหลาย นอกจากเครื่องบินแล้วยังมีรถบรรทุกที่วิ่งเข้าจีนผ่านเมืองผิงเสียงของกว่างซี หรือเรือที่แล่นจากท่าเรือแหลมฉบังสู่ท่าเรือชินโจวของกว่างซีและท่าเรือหนานซาของกว่างโจว คุณวรรณลดา รัตนพานิช กงสุลฝ่ายการพาณิชย์ประจำสถานกงสุลใหญ่ของไทย ณ นครหนานหนิง กล่าวว่าชาวจีนชื่นชอบทุเรียนไทยเป็นทุนเดิม โดยปีนี้ผู้ส่งออกหลายรายเลือกขนส่งทางเครื่องบินแทน

กษัตริย์จิกมี แห่งภูฏาน พระราชทานพระรูปปั้นศักดิ์สิทธิ์ให้กับ นายกัมพล ตันสัจจา ประธานสวนนงนุช เมืองพัทยา

ที่สวนนงนุช เมืองพัทยา จ.ชลบุรี Mr.Tshering Tobgay เชอริง ต๊อบเกย์ อดีตนายกรัฐมนตรี ประเทศภูฏาน  ได้เป็นตัวแทน สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก กษัตริย์แห่งภูฏาน โดยได้นำพระพุทธรูป 2 องค์ มาพระราชทานให้กับ นายกัมพล ตันสัจจา ประธานสวนนงนุช เมืองพัทยา พร้อมด้วยหนังสือระบุถึง คำทักทายที่อบอุ่นและความปรารถนาดีถึงนายกัมพล ตันสัจจา และครอบครัว ที่ได้ส่งรูปปั้นสองรูป โดยปรมาจารย์ ยองเจ มิงยูร์ ริมโปเช ซึ่งเป็นธรรมาจารย์สายทิเบต เป็นผู้สร้างขึ้น โดยพระพุทธรูปสร้างขึ้นจาก ดินเหนียวที่นำมาจากสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของของประเทศภูฏาน โดยพระพุทธรูปทั้ง 2 องค์ ได้รับการ สวดภาวนาและให้พร  

รัฐมนตรีเกษตรไทย-ญี่ปุ่น “เฉลิมชัย” ผนึก “เก็นจิโร” ดันส่งออกสินค้าเกษตรไทยพุ่ง 130,000 ล้านบาท เห็นพ้อง 2 ประเทศหนุนเกษตรอัจฉริยะและกระชับความร่วมมือระบบอาหารยั่งยืนร่วมกัน

วันที่ 5 พ.ค. 65 ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังหารือกับนายเก็นจิโร คาเนโกะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมงญี่ปุ่น พร้อมคณะ ในโอกาสเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ โดยมีนายธนา ชีรวินิจ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหัวหน้าส่วนราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมการหารือความร่วมมือด้านการเกษตรระหว่างสองประเทศ เพื่อผลักดันการส่งออกสินค้าเกษตรไทย ส่งเสริมความร่วมมือเกษตรอัจฉริยะ รวมทั้งร่วมเสริมสร้างการพลิกโฉมระบบอาหารของไทยและญี่ปุ่น เพื่อความยั่งยืนสอดคล้องกับโมเดลการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG Model)

“การพบปะหารือระหว่างสองนายกระฐมนตรีไทย-ญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2565 ที่ผ่านมา ร่วมถึงการได้หารือกับ รมว.เกษตรฯ ญี่ปุ่นในวันนี้ เป็นโอกาสที่ดีในการกระชับความสัมพันธ์ด้านการเกษตรระหว่างไทย-ญี่ปุ่น ภายหลังรัฐบาลไทยได้ผ่อนคลายมาตรการเดินทางเข้าประเทศ อีกทั้งเป็นครั้งแรกในรอบหลายปีที่ทั้งสองฝ่ายได้หารือกันแบบ ‘physical meeting’ โดยในปีนี้เป็นปีที่ครบรอบความสัมพันธ์ทางการทูต 135 ปี ซึ่งที่ผ่านมาทั้งสองฝ่ายได้มีความร่วมมือระหว่างกันในมิติต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการเกษตรในระดับทวิภาคี ระดับพหุภาคี และระดับองค์การระหว่างประเทศ” ดร.เฉลิมชัย กล่าว

ปัจจุบันญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารที่สำคัญอันดับ 2 ของไทย ในระหว่างปี 2562-2564 ไทยมีสัดส่วนการส่งออกไปญี่ปุ่นประมาณร้อยละ 11.35 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรไปตลาดโลกการส่งออก เฉลี่ยปีละ 144,820 ล้านบาท โดยสินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ เนื้อไก่ปรุงแต่ง ชิ้นเนื้อไก่แช่แข็ง อาหารสัตว์เลี้ยง ปลาทูนา ปลาสคิปแจ็ค และปลาโบนิโต และยางแผ่นรมควัน 

ทั้งนี้ ที่ผ่านมา ไทยได้ดุลการค้าสินค้าเกษตรกับญี่ปุ่นมากกว่า 130,000 ล้านบาท ทั้งนี้ ในที่ประชุม รมว. เกษตรฯ สองฝ่ายแสดงความยินดีที่การหารือด้านเทคนิคของการปรับมาตรการนำเข้ามังคุดและส้ม เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่เกษตรกรของทั้งสองฝ่าย โดยเร่งรัดให้สามารถปรับใช้ได้ภายในปี 2565

‘รัฐบาลไต้หวัน’ แตะเบรกซื้อ ‘เฮลิคอปเตอร์’ มะกัน เหตุแพงเกิน ส่วนสหรัฐฯ เอง ก็ยังไม่คิดจะขายให้

สื่อต่างประเทศรายงานในวันนี้ว่า รัฐบาลไต้หวันส่งสัญญาณล้มเลิกโครงการจัดซื้อเฮลิคอปเตอร์สงครามต่อต้านเรือดำน้ำรุ่นใหม่จากสหรัฐฯ เหตุราคา “สูงเกินไป”

ก่อนหน้านี้ รัฐบาลไทเปได้ประกาศแผนจัดหาฝูงเฮลิคอปเตอร์ MH-60R 'Seahawk' จำนวน 12 ลำ ที่ผลิตโดยบริษัท ไซกอร์สกี (Sikorsky) ในเครือล็อกฮีดมาร์ติน แต่มีรายงานจากสื่อไต้หวันว่า สหรัฐฯ “ปฏิเสธการขาย” เนื่องจากเห็นว่าไม่สอดคล้องกับความจำเป็นในการป้องกันประเทศของไต้หวัน

ขณะเดียวกัน ชิว กัวเฉิง (Chiu Kuo-cheng) รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมไต้หวัน ได้กล่าวชี้แจงต่อรัฐสภาเกี่ยวกับแผนจัดซื้ออาวุธรุ่นใหม่จากสหรัฐฯ โดยระบุว่า ในกรณีของเฮลิคอปเตอร์ MH-60R นั้น “มีราคาสูงเกินไป เกินกว่าที่ประเทศของเราจะสามารถจัดหาได้”

ส่วนระบบอาวุธอีก 2 ชนิดที่ทำการจัดซื้อและต้องล่าช้าออกไป ได้แก่ ปืนใหญ่อัตตาจรฮาวฮิตเซอร์ M109A6 และขีปนาวุธสติงเกอร์ (Stinger) ซึ่งเป็นขีปนาวุธต่อต้านอากาศยานแบบประทับบ่ายิง

โดยขีปนาวุธสติงเกอร์ ซึ่งผลิตโดยเรย์ธีออน เทคโนโลยีส์ กำลังเป็นที่ต้องการอย่างมากในยูเครน เนื่องจากมีส่วนช่วยให้กองกำลังเคียฟสามารถยิงสกัดกั้นเครื่องบินของรัสเซียได้อย่างมีประสิทธิภาพ และขณะนี้กำลังการผลิตของสหรัฐฯ เริ่มไม่เพียงพอ

ข่าวกรองสหรัฐฯ ป้อนข้อมูลลับกองทัพรัสเซีย ช่วยยูเครนสังหาร ‘นายพลรัสเซีย’ แล้วหลายนาย

สหรัฐฯ เผยให้ข้อมูลลับกองทัพรัสเซียแก่ยูเครน ช่วยยูเครนสังหารทหารรัสเซียแล้วหลายนาย

The New York Times รายงานโดยอ้างเจ้าหน้าที่อาวุโสของสหรัฐฯ ระบุว่าสหรัฐฯ ได้ให้ความช่วยเหลือด้านข่าวกรองแก่ยูเครน ช่วยให้ยูเครนสามารถกำหนดเป้าหมายและสังหารนายพลรัสเซียได้หลายคน ซึ่งเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ปฏิเสธที่จะระบุจำนวนนายพลรัสเซียที่เสียชีวิตจากความช่วยเหลือของสหรัฐฯ ขณะที่เจ้าหน้าที่ยูเครนกล่าวว่าได้สังหารนายพลแนวหน้าของรัสเซียไปได้แล้วประมาณ 12 นาย

รายงานระบุว่าหน่วยข่าวกรองสหรัฐฯ ได้ให้ข้อมูลลับแก่ยูเครนในหลากหลายพื้นที่ ตั้งแต่การเคลื่อนไหวของกองทัพรัสเซียไปจนถึงข้อมูลเพื่อใช้ในการกำหนดเป้าหมาย ซึ่งการแบ่งปันข่าวกรองนี้เป็นส่วนหนึ่งของความช่วยเหลือที่สหรัฐฯ มอบให้แก่ยูเครน นอกเหนือไปจากอาวุธหนักและความช่วยเหลืออื่นๆ รวมมูลค่าหลายหมื่นล้านเหรียญสหรัฐ

พลเอก มาร์ก มิลลีย์ ประธานคณะเสนาธิการร่วมของสหรัฐกล่าวกับคณะกรรมการวุฒิสภาเมื่อวันที่ 3 พ.ค. ที่ผ่านมาว่า "มีข่าวกรองจำนวนมากที่สหรัฐอเมริกาส่งไปยังยูเครน"


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top