Tuesday, 1 July 2025
ค้นหา พบ 49126 ที่เกี่ยวข้อง

รัฐบาลอังกฤษ เล็งออกแผนให้กักตัวผู้เดินทางเข้าสหราชอาณาจักร ในโรงแรมเป็นเวลา 10 วัน พร้อมออกค่าโรงแรมเอง ประมาณ 1,500 ปอนด์ ราว 60,000 บาท เฉลี่ยค่ากักตัวในโรงแรม พร้อมอาหารสามมื้อ ต่อห้องต้องจ่าย 100 ปอนด์ หรือ 4,000 บาท ต่อคนต่อวัน

ชาวอังกฤษที่เดินทางกลับเข้ามาจากประเทศที่มีความเสี่ยงสูง ที่ซึ่งมีการตรวจพบเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์ใหม่ อย่างเช่น ประเทศบราซิล และ แอฟริกาใต้ จะถูกให้กักตัวอยู่ในโรงแรมแถวสนามบินเป็นเวลาสิบวัน

ขณะนี้ชาวต่างชาติถูกห้ามไม่ให้เข้าสหราชอาณาจักรเมื่อเดินทางมาจากประเทศเหล่านี้ รัฐบาลจึงกำลังมองหาการขยายข้อกำหนดการกักตัวในโรงแรมสำหรับผู้โดยสารขาเข้าที่สนามบินและท่าเรือจากทุกแห่งที่เดินทางมาจากทั่วโลกเพิ่มขึ้น โดยการนำร่องกระบวนการนี้กับกลุ่มคนจำนวนน้อยก่อน

นายกฯบอริส จอห์นสันจะมีประชุมคณะรัฐมนตรีในวันนี้ (26/01/2021) เพื่อลงนามในแผนพร้อมกับการตัดสินใจที่จะประกาศในบ่ายวันนี้หรือพรุ่งนี้

จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อเดินทางมาถึงสหราชอาณาจักร?

นักท่องเที่ยวต้องเผชิญกับการกักบริเวณจะถูกนำขึ้นรถบัสไปยังโรงแรมซึ่งจะต้องอยู่ต่อเป็นเวลาสิบวัน (คล้ายที่ประเทศไทยทำอยู่)

เจ้าหน้าที่ได้เริ่มพูดคุยกับกลุ่มโรงแรมเกี่ยวกับการบล็อกการจองห้องพักที่สามารถใช้แยกในการกักตัวได้

ในออสเตรเลียผู้คนจะต้องอยู่ในห้องตลอดเวลาโดยมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยคอยตรวจตราตามทางเดิน ห้ามพนักงานของโรงแรมทำความสะอาดห้องพักระหว่างการเข้าพัก

คุณสามารถอัพเกรดโรงแรมของคุณได้หรือไม่?

นักท่องเที่ยวจะไม่ได้รับตัวเลือกโรงแรม ในออสเตรเลียผู้คนไม่ทราบล่วงหน้าว่าจะพักที่ไหนและได้รับคำเตือนว่าไม่มีการรับประกันว่าจะสามารถเข้าถึงระเบียงหรือหน้าต่างที่เปิดได้

คุณควรทำอะไรทั้งวัน?

ในออสเตรเลียไม่อนุญาตให้ออกกำลังกายข้างนอก เพื่อให้แขกได้ออกกำลังกายยืดเส้นยืดสายหรือเล่นโยคะในห้องของตน

คำแนะนำที่มอบให้กับนักเดินทางเพื่อช่วยเตรียมความพร้อมสำหรับการกักตัวในโรงแรมแนะนำให้วางแผนกิจกรรมต่างๆ เพื่อฆ่าเวลาในแต่ละวัน ตัวอย่างกอจกรรมเหล่านี้ได้แก่ การติดต่อกับเพื่อนและครอบครัว , การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศบนแอปโทรศัพท์มือถือ, การลองงานอดิเรกใหม่ ๆ เช่นการถักไหมพรม, การประดิษฐ์ตัวอักษร หรือ จัดการกับธุระส่วนตัว

คำแนะนำคือให้วาง 'รางวัล' เพื่อหวังผลจากการทำกิจกรรม เช่นการโทรศัพท์คุยกับคนที่คุณรักหรือการส่งของให้กัน ผู้ที่แชร์ห้องร่วมกับแฟนและสมาชิกในครอบครัวควรตั้งกฎพื้นฐานสำหรับการเข้าพัก เช่น การกำหนดเวลาในแต่ละวันเมื่อทุกคนทำกิจกรรมแบบ 'เงียบ' เพื่อช่วยหลีกเลี่ยงความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้น

ฤดูร้อนที่ผ่านมาการระบาดของไวรัสโคโรนาในเมลเบิร์น ประนามเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยไปนอนกับแขกที่ในพักในโรงแรมกักตัวแห่งหนึ่ง

ใครเป็นคนจ่ายบิลโรงแรม?

รัฐบาลจะจัดรถรับส่งสำหรับผู้เดินทางมาถึงสหราชอาณาจักรไปยังที่พักของพวกเขา แต่พวกเขาจะต้องจ่ายค่าห้องพักในโรงแรมเองซึ่งคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 1,500 ปอนด์ หรือราว 60,000 บาท ในอังกฤษ ส่วนในออสเตรเลีย จะเสียค่าใช้จ่าย 14 วันในโรงแรมกักตัวคือ 1,692 ปอนด์ หรือราว 68,000 บาท ส่วนนิวซีแลนด์ค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 1,630 ปอนด์ ราว 65,000 บาท และ ในประเทศไทย ค่าห้องพักกักตัวอยู่ที่ 642 ปอนด์ หรือประมาณ 26,000 บาท


ที่มา : เพจ Amthaipaper (หนังสือพิมพ์ไทยในอังกฤษ)

https://www.facebook.com/story.php?story_fbid=3768126303226353&id=178210772217942

https://www.dailymail.co.uk/.../Who-forced-quarantine...

ครม. เห็นชอบขยายระยะเวลาการตรวจสุขภาพ และการอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ เพิ่มแนวทางการนำผู้ต้องกัก ออกมาทำงานกับนายจ้างที่มีความประสงค์จ้างงาน

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ระบาดต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้นปี 2563 จนถึงการระบาดระลอกใหม่ที่เป็นวงกว้างกระจายไปหลายพื้นที่ ส่งผลกระทบต่อขั้นตอนการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว จนทำให้การดำเนินการตามแนวทางตามมติคณะรัฐมนตรีในหลายครั้งที่ผ่านมาเกิดความล่าช้า ในขั้นตอนการตรวจสุขภาพและการต่อวีซ่าไม่ทันภายในระยะเวลาที่กำหนด

ซึ่งจะทำให้คนต่างด้าว 3 สัญชาติดังกล่าว อยู่ในสถานะเป็นคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย รวมถึงกลุ่มผู้ต้องกักที่ดำเนินคดีเสร็จสิ้นและรอการส่งกลับ แต่ไม่สามารถดำเนินการได้เนื่องจากการปฏิเสธรับแรงงานกลับของประเทศต้นทาง ประกอบกับมาตรการงดการเคลื่อนย้ายแรงงานต่างด้าว เนื่องจากให้ความสำคัญกับมาตรการความปลอดภัยต่อสุขอนามัยของประชาชนในประเทศไทยเป็นอันดับแรก

ตามแนวทางการบริหารของรัฐบาล ภายใต้การนำของพล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และการกำกับดูแลของ พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ที่มุ่งมั่นขจัดปัญหาแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายในทุกมิติ รวมทั้งเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคม และสุขภาพไปพร้อมกัน

“ คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบตามที่กระทรวงแรงงาน เสนอ เรื่องทบทวนแนวทางการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกใหม่ และการบริหารจัดการผู้ต้องกัก ดังนี้

1.) เห็นชอบขยายระยะเวลาการตรวจสุขภาพ และการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ให้แก่คนต่างด้าวตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2562 มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2563 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2563 ออกไปอีก 6 เดือน โดยให้การขยายระยะเวลาดังกล่าวครอบคลุมไปถึงคนต่างด้าวซึ่งเข้ามาทำงานตามบันทึกความตกลงหรือบันทึกความเข้าใจที่รัฐบาลไทยทำไว้กับรัฐบาลต่างประเทศ (MOU) ซึ่งวาระการจ้างงานครบ 2 ปี ด้วย

2.) เห็นชอบการปรับปรุงแนวทางการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2563 ดังนี้

2.1) เห็นชอบขยายระยะเวลาการตรวจโรคต้องห้าม 6 โรค ได้แก่ โรคเรื้อน วัณโรคในระยะอันตราย โรคเท้าช้างในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม โรคยาเสพติดให้โทษ โรคพิษสุราเรื้อรัง และโรคซิฟิลิสในระยะที่ 3 ออกไปถึงวันที่ 18 ตุลาคม 2564 รวมแล้วเป็นระยะเวลา 6 เดือน และสำหรับการตรวจโรคโควิด - 19 ยังให้อยู่ในกรอบระยะเวลาเดิม คือ ต้องตรวจโรคโควิด - 19 ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 16 เมษายน 2564

2.2) เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการจัดทำบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยที่มีใบอนุญาตทำงานอยู่ด้านหลังบัตรของคนต่างด้าวที่มีนายจ้างออกไปจนถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2564 และคนต่างด้าวซึ่งไม่มีนายจ้างที่ในเวลาต่อมามีนายจ้างออกไปจนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565

2.3) เห็นชอบให้มีการจัดเก็บอัตลักษณ์บุคล (Biometric) โดยให้สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 16 เมษายน 2564 ซึ่งเป็นเวลาเดียวกันกับการตรวจโรคโควิด – 19 เพื่อการพิสูจน์ตัวตนของคนต่างด้าวและความมั่นคงของประเทศ และส่งข้อมูลให้กรมการจัดหางานออกใบอนุญาตทำงาน

2.4) เห็นชอบแนวทางการตรวจโรคโควิด-19 ของกระทรวงสาธารณสุขที่จะให้สถานพยาบาลที่ได้รับการรับรองจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สามารถตรวจโรคโควิด - 19 ให้กับคนต่างด้าวได้ สำหรับอัตราค่าใช้จ่ายที่สถานพยาบาลเรียกเก็บให้เป็นไปตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด

2.5) เห็นชอบให้คนต่างด้าวที่ดำเนินการตามแนวทางที่กำหนดแล้วตรวจพบว่าเป็นผู้ติดเชื้อโรคโควิด - 19 หากได้รับการรักษาจนหายให้สามารถกลับเข้ามาขอรับอนุญาตทำงานได้แต่ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับการยืนยันว่าเป็นผู้หายป่วยจากโรคโควิด – 19

3.) เห็นชอบแนวทางการนำผู้ต้องกักของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ที่สมัครใจจะทำงานออกมาทำงานกับนายจ้าง/สถานประกอบการ ที่มีความประสงค์จะจ้างงาน ” รมว.แรงงาน กล่าว

ด้านนายสุชาติ พรชัยวิเศษกุล อธิบดีกรมการจัดหางาน เปิดเผยว่า การทบทวนแนวทางการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวฯ ตามที่เสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี มีกลุ่มเป้าหมายที่จะต้องบริหารจัดการ รวมทั้งสิ้น 2,335,671 คน ได้แก่

1.) กลุ่มที่ถือบัตรสีชมพู จำนวน 1,400,387 คน ประกอบด้วย

1.1) กลุ่มแรงงานต่างด้าวตามมติคณะรัฐมนตรี 20 สิงหาคม 2562 มีจำนวน 1,162,443 คน ขณะนี้อยู่ระหว่างตรวจสุขภาพและขอต่อ Visa ครั้งที่ 2 ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2564 ให้ขยายระยะเวลาการตรวจสุขภาพ และขอต่อ Visa ออกไปอีก 6 เดือน ถึงวันที่ 30 กันยายน 2564

1.2) กลุ่มแรงงานต่างด้าวตามมติคณะรัฐมนตรี 4 สิงหาคม 2563 มีจำนวน 237,944 คน ขณะนี้อยู่ระหว่างตรวจสุขภาพและขอต่อ Visa ครั้งที่ 1 ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2564 ให้ขยายระยะเวลาการตรวจสุขภาพ และขอต่อ Visa ออกไปอีก 6 เดือน ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2564

2.) กลุ่มแรงงานต่างด้าวตาม MOU จำนวน 434,784 คน ประกอบด้วย

2.1) แรงงานต่างด้าวกลุ่ม MOU ตามมติคณะรัฐมนตรี 10 พฤศจิกายน 2563 มีจำนวน 119,094 คน

2.2) แรงงานต่างด้าวกลุ่ม MOU ที่วาระการจ้างงานครบ 2 ปีแรก 315,690 คน

ทั้งสองกลุ่มอยู่ระหว่างตรวจสุขภาพและขอต่อ Visa จึงขอขยายระยะเวลาการตรวจสุขภาพ และขอต่อ Visa ออกไปอีก 6 เดือน ซึ่งกลุ่มนี้ทยอยครบกำหนด โดยสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2565

3.) กลุ่มแรงงานต่างด้าวตามมติคณะรัฐมนตรี 29 ธันวาคม 2563 ซึ่งอยู่ระหว่างยื่นลงทะเบียน คาดว่ามีจำนวนประมาณ 500,000 คน จัดเก็บข้อมูลอัตลักษณ์บุคคล (Biometrics) เพื่อการพิสูจน์ตัวตนของคนต่างด้าว และความมั่นคงของประเทศ ในช่วงเวลาเดียวกับที่ตรวจโควิด – 19 ภายในวันที่ 16 เมษายน 2564 และให้สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองส่งข้อมูลคนต่างด้าวที่ได้จัดเก็บอัตลักษณ์บุคคล (Biometrics) แล้ว เพื่อให้กรมการจัดหางานออกใบอนุญาตทำงานต่อไป

4.) กลุ่มผู้ต้องกักที่เป็นคนต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว และเมียนมา) ตามที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองแจ้งไว้มีจำนวนประมาณ 500 คน

ทั้งนี้ นายจ้าง/สถานประกอบการ และคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัด สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 – 10 หรือที่ไลน์ @Service_Workpermit หรือที่สายด่วนกระทรวงแรงงาน โทร.1506 กด 2 กรมการจัดหางาน ซึ่งมีการจัดล่ามในภาษากัมพูชา เมียนมา และอังกฤษ ให้บริการข้อมูลข่าวสาร และแนะนำวิธีการดำเนินการ

‘ศรีสุวรรณ’ จ่อร้องผู้ตรวจการแผ่นดิน จี้รัฐแก้ไขปมเรียกคืนเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ชี้เป็นความบกพร่องในการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ การไล่เบี้ยเรียกคืนเงินจากผู้สูงอายุเป็นการใช้อำนาจโดยมิชอบด้วยกฎหมาย

นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย เปิดเผยว่า ตามที่กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ได้มีหนังสือแจ้งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลายจังหวัด เรียกคืนเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เนื่องจากได้รับเงินบำนาญพิเศษตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว

อาทิ คุณยายอายุ 89 ปีชาว ต.เจริญสุข อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.บุรีรัมย์ คุณยาย อายุ 89 ปี ซึ่งอาศัยอยู่จังหวัดเชียงราย ผู้สูงอายุ 13 รายชาวตำบลจอหอ อ.เมือง จ.นครราชสีมา ผู้สูงอายุที่จังหวัดชัยนาท และอีกหลาย ๆ จังหวัดทำให้ผู้สูงอายุที่ถูกเรียกคืนเงินดังกล่าวเดือดร้อนกันทั่วประเทศนั้น

จากหลักเกณฑ์ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2552 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2561 ได้กำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิจะได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ว่าจะต้องไม่เป็นผู้ได้รับเงินบํานาญ เบี้ยหวัด บํานาญพิเศษ หรือเงินอื่นใดในลักษณะเดียวกันด้วยนั่นเอง

แต่ทว่า เมื่อฟังเสียงจากผู้สูงอายุต่างๆ เหล่านั้นแล้วจะพบว่า ต่างได้รับเงินเบี้ยผู้สูงอายุไว้โดยสุจริต (ฟังได้ว่าคุณยายต่างๆเหล่านั้นไม่ทราบข้อกฎหมาย/ข้อเท็จจริง) และหากคุณยายเหล่านั้นรับเงินไว้โดยสุจริตและได้นำไปใช้จ่ายหมดแล้วก่อนที่จะถูกเรียกคืน คุณยายหล่านั้นไม่ต้องคืนเงินดังกล่าวก็ได้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม.412 (เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10850/2559)

กรณีที่เกิดขึ้นนี้ต้องถือเป็นความบกพร่องในการตรวจสอบตรวจทาน เป็นการดำเนินการที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องของพนักงานเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องทั้งหมด จึงต้องไปไล่เบี้ยกับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องจึงจะชอบ การที่กรมบัญชีกลางทำหนังสือให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่าง ๆ ไปไล่เบี้ยเรียกคืนเงินจากผู้สูงอายุ จึงเป็นการใช้อำนาจโดยมิชอบด้วยกฎหมาย

ดังนั้น สมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย จึงจะนำความไปร้องเรียนต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน ในวันพฤหัสที่ 28 ม.ค.63 เวลา 10.00 น. ที่สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ห้อง 903 ศูนย์ราชการฯ อาคาร B หลักสี่ กทม. เพื่อขอให้ใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญ 2560 ม.230(1) และ(2) ประกอบ พรป.ว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน 2560 ม.22 (1) และ(2) ในการสั่งให้ รมว.มหาดไทย แก้ไขระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2552

และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2561 ที่เกี่ยวกับคุณสมบัติข้อดังกล่าวเสีย และสั่งให้กระทรวงการคลัง โดยกรมบัญชีกลางระงับการเรียกคืนเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุทั่วประเทศที่ดำเนินการไปโดยมิชอบด้วยกฎหมาย

The States Times Story เรื่องจริง ฟังเพลิน โดย เจต ณ นคร : Ep 5

ช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา คงไม่มีข่าวใดที่จะอยู่ในความสนใจของคนไทยเท่า ‘ข่าวการระบาดของโรคโควิด – 19 ระลอกใหม่’ และตามข้อมูลข่าว ต้นตอการระบาดหนนี้ ส่วนหนึ่งมาจากแรงงานต่างด้าวที่จังหวัดสมุทรสาคร The States Times Story ตอนนี้จึงขอหยิบยกเอาเรื่องราวที่มาของ ‘แรงงานต่างชาติ’ ซึ่งมีประวัติที่มาตั้งแต่สมัยต้นรัตนโกสินทร์เลยทีเดียว ต้องไปฟังกันว่า เกร็ดเรื่องราวครั้งนี้จะเป็นอย่างไร

.

‘แรมโบ้’ รวมพล 15 องครักษ์ เปิดวอร์รูมพิทักษ์ ‘บิ๊กตู่’ รับมือ ฝ่ายค้านอภิปรายไม่ไว้วางใจ ชงเสนอญัตติเนื้อหาใหม่ไม่เกี่ยวข้องสถาบัน เผยไม่ต้องการให้มีเหตุการณ์ชุมนุมประท้วงหน้าสภาเกิดขึ้นอีก

นายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ ว่า มีประชาชนจำนวนมากรู้สึกอึดอัดและไม่พอใจที่พรรคร่วมฝ่ายค้านได้ยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล ซึ่งจะมีการอภิปรายประมาณวันที่ 16 - 19 ก.พ.

ในเนื้อหาญัตติดังกล่าวมีการกล่าวหาพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ไม่มีมูลความจริงสักเรื่อง สิ่งที่ประชาชนฝากถึงฝ่ายค้านมาคือต้องการให้ฝ่ายค้านถอนญัตติออกเสีย และยื่นเข้ามาใหม่ให้มีเนื้อหาที่เป็นข้อเท็จจริง

และอย่าได้เอาสถาบันมาเกี่ยวข้องเด็ดขาด เพราะในการอภิปราย อาจจะมีสส.พรรคฝ่ายค้านบางคนที่รับงานมาจากคนที่คิดล้มล้างสถาบัน อภิปรายพาดพิงเอาเรื่องสถาบันมาโจมตี จาบจ้วง ก้าวล่วง ทำให้เกิดความเสียหาย

ดังนั้นประชาชนที่ปกป้องสถาบันอาจออกมาชุมนุมหน้าสภาฯประท้วงฝ่ายค้านขึ้นมาอีก ตนไม่อยากให้มีเหตุการณ์เช่นนั้นเกิดขึ้น อยากเห็นบรรยากาศการอภิปรายเป็นไปด้วยความเรียบร้อยไม่ต้องการให้มีเหตุการณ์รุนแรงหน้าสภาเกิดขึ้นมาอีกรอบ

ตนคิดว่าฝ่ายค้านควรฟังเสียงสะท้อนของประชาชน ควรทบทวนญัตติดังกล่าว นี่คือเสียงเรียกร้องจากภาคประชาชนที่ปกป้องสถาบันฝากมาถึงพรรคร่วมฝ่ายค้านว่าควรเสนอญัตติในเนื้อหาใหม่ที่ไม่เกี่ยวข้องสถาบัน เพราะเรื่องนี้กระทบใจและอ่อนไหวมากพึงควรระวัง

การเตรียมความพร้อมในการรับมือกับศึกอภิปราย ในทีมงานของกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี จะจัดตั้งทีมงาน "วอร์รูมนอกสภา" ประมาณ 15 คน มีทั้งอดีตรัฐมนตรีและอดีตสส.ตลอดจนมือกฎหมายอาชีพ อาทิ นายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ นายพรศักดิ์ เจริญประเสริฐ นายนิทัศน์ เตียวเจริญโสภา นายทศพล เพ็งส้ม

นายอภิวัฒน์ ขันทอง นายทวี สุระบาล นายชื่นชอบ คงอุดม นายเนวิน ช่อชัยพฤกษ์ นายสรสินธ์ ไตรจักรภพ นายชาญกฤช เดชวิทักษ์ นายสามารถ เจนชัยจิตรวนิช เป็นต้น และ นายธนากร วังบุญคงชนะ เลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี มาร่วมทีมด้วย คาดว่าจะเชิญทั้ง 15 คน มาร่วมประชุมปรึกษาหารือร่วมกันเพื่อเตรียมความพร้อมภายในอาทิตย์หน้า


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top