Monday, 19 May 2025
ค้นหา พบ 48185 ที่เกี่ยวข้อง

เพชรบุรี - “ท็อป-วราวุธ” มอบสิ่งของช่วยเหลือชาวเพชรบุรี

วันที่ 4 มิถุนายน นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) พร้อมด้วย นายยุทธพล อังกินันทน์ ที่ปรึกษา รมว.ทส. นายธเนศพล ธนบุณยวัฒน์ เลขานุการ รมว.ทส. นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัด ทส. และคณะผู้บริหาร ทส.ลงพื้นที่มอบสิ่งของสนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์-ผู้ป่วย อาทิ ชุด PPE ,หน้ากากอนามัย (N95), Face Shield, พัดลม ,น้ำดื่มจำนวน 8,000 ขวด เป็นต้น เพื่อใช้ในการช่วยเหลือประชาชนที่เข้ามารักษาในโรงพยาบาลสนามทุกแห่งในจังหวัดเพชรบุรี พร้อมมอบถุงขยะสีแดงเพื่อใช้ในกิจกรรมคัดแยกขยะติดเชื้อในช่วงสถานการณ์โควิด-19 โดยมี นางวันเพ็ญ มังศรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี นายแพทย์เกรียงศักดิ์ คำอิ่ม ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระจอมเกล้า หัวหน้าส่วนราชการ บุคลาการทางการแพทย์เป็นตัวแทนรับมอบ ณ โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จ.เพชรบุรี

นายวราวุธ กล่าวว่าสิ่งสำคัญที่สุดในเวลานี้นอกจากสิ่งของที่จำเป็นแล้ว คือ กำลังใจ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการส่งมอบสิ่งของเพื่อสนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์ และสิ่งของที่จำเป็นให้กับพี่น้องประชาชน พร้อมขอเป็นกำลังใจให้กับทุกคนในการผ่านวิกฤติในครั้งนี้ไปด้วยกัน ขอให้ทุกคนรับรู้ข้อมูลข่าวสารอย่างมีสติ รวมถึงดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง หมั่นล้างมือ เว้นระยะห่าง และปฏิบัติตามคำแนะนำการดูแลตัวเองอย่างเคร่งครัด

จากนั้น นายวราวุธ และคณะได้ร่วมส่งมอบ “โครงการปักไม้ไผ่ชะลอคลื่น จังหวัดเพชรบุรี” บริเวณท่าเทียบเรือบางแก้ว และรับฟังผลการดำเนินงานโครงการปรับปรุงฟื้นฟูคลองเจ๊กสี และติดตามการดำเนินงานของกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ร่วมปลูกต้นไม้ ณ อ.บ้านแหลม และ อ.ท่ายาง พร้อมกล่าวว่าโครงการปักไม้ไผ่ชะลอคลื่นเพื่อรักษาชายฝั่งทะเล นับเป็นการทำความเข้าใจธรรมชาติที่ถือเป็นหัวใจสำคัญ ให้เราอยู่คู่ธรรมชาติ เพราะไม่มีอะไรใหญ่กว่าธรรมชาติ การรักษาธรรมชาติ ธรรมชาติจะเคียงข้างให้เราทำมาหากินได้อย่างยั่งยืน ภายใต้การรักษาระบบนิเวศน์และสิ่งแวดล้อม การช่วยบรรเทาปัญหาการกัดเซาะในอนาคตและช่วยเพิ่มพื้นที่ป่าชายเลนให้มากขึ้น การปักไม้ไผ่ชะลอคลื่นจากกำลังแรงคนยังช่วยแก้ปัญหาการว่างงานได้อีกด้วย รวมถึงปัญหาขยะจากทะเลที่ทุกฝ่ายร่วมรณรงค์มาอย่างต่อเนื่องนั้น ส่งผลให้ประเทศไทยลดลำดับจากอันดับที่ 6 ที่เป็นประเทศที่ทิ้งขยะมากที่สุดในระดับโลก วันนี้เราอยู่ลำดับที่ 10 ซึ่งเพชรบุรีเป็น 1 ใน 23 จังหวัดชายฝั่งที่ช่วยกันลดปริมาณขยะ และต้องสร้างจิตสำนึกการรณรงค์อย่างต่อเนื่องที่จะไม่ทิ้งปัญหาไว้ให้กับรุ่นลูกรุ่นหลาน

“นอกจากนั้นยังได้ห่วงถึงเรื่องน้ำอุปโภค บริโภค จากความร่วมมือของกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ที่สามารถเจาะ เจอน้ำในปริมาณมาก ประชาชนสามารถได้รับประโยชน์ มีน้ำใช้ เพื่อการอุปโภคบริโภคตลอดทั้งปี มีจุดให้บริการน้ำดื่ม มีชุดงวงช้างเอาไว้เติมน้ำบริการให้กับประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลออกไป ช่วยประหยัดเงินแบ่งเบาภาระให้กับพี่น้องประชาชน และให้ตระหนักถึงการใช้น้ำว่า น้ำบาดาลแต่ละหยดนั้น ยิ่งเจาะลึกลงไปเท่าไหร่ เปรียบเสมือน การทุบกระปุกเก่า ยิ่งเจาะลึก น้ำก็จะยิ่งเก่า ก็แปลว่าเป็นสมบัติเก่า ที่คนรุ่นปู่ย่าตาทวดนั้นได้เก็บเอาไว้ให้กับพวกเรา ดังนั้นน้ำแต่ละหยดที่นำขึ้นมาใช้ ก็ขอให้พี่น้องประชาชนได้ใช้กันอย่างคุ้มค่า” นายวราวุธ กล่าว


ภาพ/ข่าว  นายนิพล ทองเก่า ผู้อำนวยการศูนย์ข่าวสยามโฟกัสไทม์ / 4เหล่าทัพ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

เพจเจอร์ น้องเคยเจอไหม? | คิดเพลิน Learn & Play Talk EP.26

คุณอยู่กับ Podcast face to face รายการ “คิดเพลิน Learn & Play Talk” ฟังง่ายได้สาระ  

พูดคุยประเด็นต่างๆ แบบเพลินๆ พบกันทุกวันจันทร์ - อาทิตย์ เวลา 22.00 น. 

ติดตามชมรายการ “คิดเพลิน Learn & Play Talk” ได้ทาง YouTube และ Facebook Fanpage ของ THE STATES TIMES 

อย่าลืม! กดไลก์ กดแชร์ กด Subscribe 

.

.

.

วิชาฟิสิกส์: เรื่อง คลื่นเสียง สำหรับนักเรียน ม.5

THE STUDY TIMES X DekThai Online

????วันอาทิตย์ที่ 6 มิถุนายน

วิชาฟิสิกส์: เรื่อง คลื่นเสียง สำหรับนักเรียน ม.5

ครูพี่ปุ๊ องอาจ สุภัคชูกุล
อดีตตัวแทนคณิตศาสตร์โอลิมปิก นักเรียนทุนรัฐบาลญี่ปุ่น
#สอนวิชาคณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ ม.ต้น-ม.ปลาย

#DekThaiOnline

https://dekthai-online.com/browse
.

.

 

พล.อ.ประวิตร ติดตาม เร่งรัด แก้ประมงผิดกม. "IUU Fishing" สั่งบังคับใช้กม.ต่อเนื่อง ปราบปรามค้ามนุษย์ ภาคประมง เร่งเยียวยาผู้กระทบโควิด-19 ย้ำปฏิบัติตาม MMPA เคร่งครัด มุ่งยกระดับประมงไทย สู่สากล ส่งเสริมภาคส่งออก กระตุ้นศก.ไทย

เมื่อ 4 มิ.ย.64  พล.ต.พัชร์ชศักดิ์ ปฏิรูปานนท์ ผช.โฆษกประจำรอง นรม. เปิดเผยว่า เวลา10.00น. พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รอง นรม. ได้เป็นประธานการประชุม คณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2564 ณ ห้องประชุมวิจิตรวาทการ สมช. ทำเนียบรัฐบาล

ที่ประชุม ได้รับทราบความคืบหน้า การแก้ไขปัญหาการทำประมงผิด กม. อาทิ การจดทะเบียนเรือประมงพื้นบ้าน จากการสำรวจเมื่อ 20 พ.ค.64 มีจำนวน 56,087 ลำ ซึ่งกรมเจ้าท่า เป็นหน่วยงานหลักจะดำเนินการตรวจวัด และจัดทำอัตลักษณ์เรือประมงพื้นบ้านให้แล้วเสร็จใน 31 พ.ค.64 รวมทั้งรับทราบความคืบหน้าแนวทางตามมาตรการ MMPA (Marine Mammal Protection Act) ซึ่งเป็นการควบคุมสินค้าประมง ที่ไม่มีแหล่งมาจากการทำประมง ที่มีผลกระทบต่อการคร่าชีวิต หรือทำให้บาดเจ็บอย่างรุนแรง แก่สัตว์ทะเลที่เลี้ยงลูกด้วยนม และจะส่งสินค้าเข้าสู่ตลาดสหรัฐฯ ตั้งแต่ 1 ม.ค.66 พร้อมทั้งได้รับทราบ ผลการช่วยเหลือ/เยียวยาผู้ทำการประมง จำนวน 188,134 ราย เป็นเงิน 2,822,010,000 บาท และขยายเวลาชั่วคราว แรงงานต่างด้าวภาคประมง ให้อยู่ในราชอาณาจักร สำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 อย่างทั่วถึง เป็นธรรม

คณะกรรมการฯ ได้ร่วมกันพิจารณาเห็นชอบ แผนการบริหารจัดการประมงทะเลของประเทศไทย พ.ศ.2563-2565 โดยมุ่งจัดการประมงให้ยั่งยืน ภายใต้ความเป็นอยู่ และสิ่งแวดล้อมที่ดี รวมถึงเห็นชอบแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วย การป้องกัน ยับยั้ง และขจัดการทำประมง IUU (NPOA-IUU) ฉบับที่ 2 เพื่อปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสม และครอบคลุมกิจกรรมการทำประมงทะเล ทุกมิติ พร้อมทั้งเห็นชอบมาตรการ เร่งรัดดำเนินคดีตามกฎหมายว่าด้วย การทำประมงและแรงงานในภาคประมง เพื่อให้ได้ผลทางคดี ที่มีความรวดเร็ว และเป็นธรรม

พล.อ.ประวิตร ได้ย้ำว่ารัฐบาล ยืนยัน ความมุ่งมั่นที่จะต่อต้าน IUU Fishing มาอย่างต่อเนื่อง ภายใต้กรอบ EU และสหรัฐฯ เพื่อยกระดับการทำประมงของไทยสู่มาตรฐานสากล โดยมุ่งแก้ปัญหาให้ได้อย่างยั่งยืน และได้กำชับ กรมประมง,กรมเจ้าท่า,ศรชล.,สตช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้บูรณาการทำงาน อย่างแน่นแฟ้น ขับเคลื่อนนโยบายตามมติที่ประชุม และแผนงานที่กำหนดไว้ ให้บรรลุผลสำเร็จ พร้อมขอให้สร้างการรับรู้ ให้ทุกภาคส่วน ได้รับทราบ ซึ่งจะส่งผลดี ต่อภาพลักษณ์ของไทย และส่งเสริมภาคการส่งออก รองรับการกระตุ้นเศรษฐกิจ ต่อไป

จับตา ศบศ. ออกมาตรการประคองการจ้างงานใหม่

นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พลังงาน เปิดเผยว่า ในการประชุมศูนย์บริหารเศรษฐกิจจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโควิด-19 (ศบศ.) วันที่ 4 มิ.ย.นี้ ที่ประชุมเตรียมพิจารณามาตรการเพื่อรักษาระดับการจ้างงานของผู้ประกอบ ซึ่งเป็นมาตรการที่ต้องทำอย่างรวดเร็วหลังจากมีผู้ประกอบการจำนวนมากได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิดในระลอกล่าสุด และมีผู้ประกอบการที่รอความช่วยเหลือของมาตรการนี้อยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ยังเข้าไม่ถึงสินเชื่อได้มากขึ้น

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า รัฐบาลกำลังพิจารณามาตรการช่วยเหลือภาคธุรกิจและผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เพิ่มเติม โดยใช้เงินจากเงินกู้ตาม พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินฯ เพิ่มเติม 5 แสนล้านบาท ส่วนหนึ่งจะนำมาใช้ช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบอาจเป็นผู้ประกอบการระดับกลาง ซึ่งกลุ่มนี้ยังไม่ค่อยได้รับประโยชน์จากมาตรการของภาครัฐ ขณะที่การเข้าถึงสินเชื่อทำได้ยาก และกลุ่มนี้ต้องได้รับมาตรการในการช่วยเหลือที่แตกต่างไปจากเดิม  

ทั้งนี้ในเบื้องต้นได้มีการหารือกับคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) แล้วได้ข้อสรุปในแนวทางร่วมกันว่ามาตรการที่จะออกมาจะเป็นลักษณะของการช่วยอุดหนุนค่าจ้างแรงงานหรือการช่วยจ่ายเงินเดือน ซึ่งล่าสุดทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังพิจารณาว่า จะช่วยเหลือในสัดส่วนเท่าใดของเงินเดือน รวมทั้งระยะเวลาการจ่ายด้วย  

สำหรับการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการในกลุ่มนี้มีหลักการที่สำคัญคือ เป็นผู้ประกอบการที่อยู่ในระบบภาษีมีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างถูกต้องและยังคงประกอบกิจการอยู่ เป็นกิจการและผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 คือไม่ได้มีปัญหามาตั้งแต่ก่อนที่จะเกิดการระบาด และเป็นกิจการหรือธุรกิจที่เมื่อได้รับความช่วยเหลือแล้วจะสามารถปรับตัวให้อยู่รอดและไปต่อได้หลังจากที่สถานการณ์โควิดคลี่คลายลง


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top