Tuesday, 20 May 2025
ค้นหา พบ 48202 ที่เกี่ยวข้อง

‘ผบ.ทบ.’ ปธ.จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ ‘พระราชินี’ 3 มิถุนายน 2564

ที่กองบัญชาการกองทัพบก (บก.ทบ.) พล.อ.ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) เป็นประธานจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี 43 พรรษา 3 มิถุนายน 2564 ประกอบด้วย พิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์จากวัดโสมนัสราชวรวิหาร จำนวน 10 รูป ณ บริเวณลานด้านหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 5, พิธีถวายเครื่องราชสักการะ ถวายราชสดุดี และถวายพระพรชัยมงคล ณ ห้องจัดเลี้ยง 221 อาคาร 2 ชั้น 2, พิธีสวดเจริญพระพุทธมนต์, พิธีสงฆ์สำหรับการไถ่ชีวิตกระบือ และพิธีมอบบัตรประจำตัวสัตว์ ณ ห้องรับรอง 212-213 อาคาร 2 ชั้น 1 และกิจกรรมบริจาคโลหิตถวายเป็นพระราชกุศล

นอกจากนี้ภายในงานมีการจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ อีกทั้งได้จัดสถานที่ให้กำลังพล รวมถึงประชาชน ได้ลงนามถวายพระพรแด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ประชาชนทุกหมู่เหล่าต่างร่วมใจกันจัดกิจกรรมเพื่อเฉลิมพระเกียรติแด่พระองค์ท่าน กองทัพบกในฐานะหน่วยงานความมั่นคงที่มีภารกิจสำคัญสูงสุด คือ การพิทักษ์และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ จึงพร้อมกันจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ และกิจกรรมเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล อาทิ การบริการทางการแพทย์ การบริจาคโลหิต รวมทั้งการจัดนิทรรศการ พระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ และพระมหากรุณาธิคุณอย่างสมพระเกียรติและสง่างาม ทั้งในส่วนกลาง และหน่วยขึ้นตรงกองทัพบกทั่วประเทศ

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานสถาปนาพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมราชินี ทรงพระนามว่า สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ตลอดเวลาหลายปีที่ผ่านมา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาท และทรงแบ่งเบาพระราชภาระ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่สร้างประโยชน์สุขแก่ประชาชนและประเทศชาติ ไม่ว่าจะเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และโครงการพระราชดำริต่างๆ อีกทั้งทรงเป็นแบบอย่างแก่ทหารในด้านความเข้มแข็ง มีระเบียบวินัย และสง่างาม

กองทัพบก ขอเชิญชวนประชาชนร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เพื่อน้อมถวายพระพรชัยมงคล แสดงพลังแห่งความจงรักภักดี และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้

คุณเจน ดร. เจนนิเฟอร์ ชวโนวานิช | THE STUDY TIMES STORY EP.33

บทสัมภาษณ์ คุณเจน ดร. เจนนิเฟอร์ ชวโนวานิช ปริญญาโท จิตวิทยาอุตสาหกรรมองค์การ Roosevelt University, สหรัฐอเมริกา และปริญญาเอก จิตวิทยาข้ามวัฒนธรรม Brunel University, สหราชอาณาจักร
เพราะมนุษย์ทุกคนไม่ใช่ขาวและดำ แต่เป็นสีเทา สีที่ทำให้เราเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันอย่างเข้าอกเข้าใจ

ปัจจุบันคุณเจนเป็นอาจารย์ประจำอยู่ที่คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยจุดเริ่มต้น แรงบันดาลใจในการเลือกเรียน ‘จิตวิทยา’ มาจากตอนแรกคุณเจนสนใจเรื่องสืบสวน วิทยาศาสตร์ ร่างกายมนุษย์ ตอนนั้นเรียนอยู่ที่อเมริกา เริ่มจากเรียนคณะ Biology เพราะอยากเป็นหมอ แต่เมื่อเรียนได้ 1 ปีรู้สึกว่าไม่ใช่ทาง มีโอกาสได้เรียนจิตวิทยาตอนไฮสคูล ทำให้รู้สึกชอบความเป็นจิตวิทยาที่ไม่มีคำตอบผิดถูกตายตัว สนใจความเป็นเทาของมนุษย์ ที่บางทีก็มีด้านดี บางทีก็มีด้านลบ เลยเบนสายย้ายคณะมาเรียนจิตวิทยาตอนปี 2

สำหรบคุณเจน มองว่าเสน่ห์ของจิตวิทยา คือการตกหลุมรักการวิเคราะห์สถานการณ์ วิเคราะห์พฤติกรรมของมนุษย์ที่ไม่มีความสิ้นสุด ทำให้ตั้งคำถามต่อไปได้เรื่อยๆ 

คุณเจนเรียนปริญญาตรี จิตวิทยา ที่ DePaul University ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ไปอยู่หอ เรียนรู้ที่จะดูแลตัวเอง อยู่กับเพื่อนที่ไม่คุ้นเคยมาก่อน ปรับตัวค่อนข้างเยอะ แต่รู้สึกสนุกที่ได้ใช้ชีวิตที่นั่น 

การเรียนจิตวิทยาที่ DePaul University เน้นที่การตั้งคำถาม คิดวิเคราะห์ ทำงานวิจัย และเน้นการ Discussion ค่อนข้างเยอะ สิ่งที่ได้เรียนรู้ คือ การไม่อายที่จะตั้งคำถาม ในส่วนของอาจารย์ จะให้ทำกิจกรรมค่อนข้างเยอะ เช่น วิชาการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ ได้เป็นอาสาสมัครทำงานกับคนไร้บ้านทั้งเทอม ต้องคอยอัพเดทให้อาจารย์ฟังตลอด มีการพูดคุยและช่วยให้มองต่างมุม และสรุปว่าเราได้เรียนรู้อะไรบ้าง

หลังจากจบปริญญาตรี คุณเจนตัดสินใจเรียนต่อด้านจิตวิทยาจนจบปริญญาเอก เหตุผลคือ ด้วยสายของจิตวิทยาเป็นอาชีพที่ต้องลงลึก ต้องมีความเชี่ยวชาญมาก จึงเหมือนการบังคับให้ต่อปริญญาโทในสาขาที่สนใจ เพื่อที่จะได้ออกมาทำงานที่ต้องการได้ และด้วยความรู้สึกสนุกในการทำงานวิจัย อยากได้คำตอบของคำถามที่มี หลังจากนั้นจึงเรียนต่อปริญญาเอกที่ประเทศอังกฤษ

คุณเจนเรียนปริญญาโท จิตวิทยาอุตสาหกรรมองค์การ ที่ Roosevelt University ประเทศสหรัฐอเมริกา สนใจเรื่องของบุคลากรในองค์กร ทำอย่างไรให้คนทำงานมีความสุข มีแรงจูงใจในการทำงาน และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนของปริญญาเอก จิตวิทยาข้ามวัฒนธรรม ที่ Brunel University สหราชอาณาจักร สนใจว่าคนในแต่ละประเทศมีพฤติกรรมที่แตกต่างกันอย่างไร มีวัฒนธรรมอะไรที่มาอธิบายการกระทำของคนได้บ้าง ถ้าเราย้ายประเทศไปทำงานหรือไปเรียนที่อื่นจะมีวิธีการปรับตัวอย่างไร

การได้ไปใช้ชีวิตที่ต่างประเทศ ทำให้คุณเจนเรียนรู้ที่จะใช้ชีวิตด้วยตัวเอง ทำอะไรจะพยายามด้วยตัวเองก่อน ส่วนตัวคุณเจนชอบสภาพแวดล้อมที่ชิคาโก เพราะมีความหลากหลาย คนเปิดรับวัฒนธรรมที่แตกต่าง มีการผสมผสานทางวัฒนธรรมค่อนข้างเยอะเมื่อเทียบกับแคลิฟอร์เนียร์ อังกฤษก็จะเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง ขึ้นอยู่กับบริบทของรัฐในประเทศนั้นๆ 

หลังเรียนจบกลับมาเมืองไทย คุณเจนสอนอยู่ที่ มศว. ก่อนหนึ่งปีครึ่ง ก่อนจะย้ายมาเป็นอาจารย์คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีจุดเริ่มต้นมาจาก หลังกลับมาด้วยความที่เรียนจิตวิทยาในการทำงาน วางแผนอยากทำงานในบริษัท Consult แล้วค่อยทำงานพาร์ทไทม์เป็นอาจารย์ แต่พบว่าอาจารย์พาร์ทไทม์หายากมาก จึงตัดสินใจเป็นอาจารย์ประจำ

การสอนจิตวิทยาในประเทศไทย คุณเจนเล่าว่า สิ่งแรกที่ต้องปรับตัวคือเรื่องของภาษา เพราะเรียนเนื้อหาเป็นภาษาอังกฤษมาทั้งหมด แต่ต้องมาสอนเป็นภาษาไทย ต้องทำการบ้านหนักมากในตอนเริ่ม ในส่วนของเนื้อหา การเรียนที่ต่างประเทศอาจจะลงลึกกว่า แต่ที่ไทยด้วยความที่เรียนจบ 4 ปีสามารถไปทำงานได้เลย จึงอาจจะไม่ลงลึกเท่าของอเมริกา 

คุณเจนกล่าวว่า จิตวิทยามีสองส่วน ส่วนแรกคือศึกษาพฤติกรรมและวิธีคิดของมนุษย์ อีกส่วนหนึ่งคือใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เข้ามาใช้ในการศึกษาพฤติกรรมและความคิดของมนุษย์ 

คนส่วนใหญ่เมื่อพูดถึงจิตวิทยามักนึกถึงโรคทางจิตก่อน คุณเจนอยากจะสร้างความเข้าใจให้คนส่วนใหญ่ ว่าจิตวิทยาสามารถทำอะไรได้มากมาย อย่างเช่น นักข่าวก็สามารถใช้จิตวิทยาได้ การพัฒนาการมนุษย์ การเลี้ยงดูเด็ก เรียกง่ายๆ ว่าจิตวิทยาอยู่รอบตัวเรา จิตวิทยาอธิบายว่าทำไมคนถึงทำแบบนั้น ถ้าเราเข้าใจว่าทำไม สิ่งที่ตามมาคือ เราสามารถปรับเปลี่ยน พัฒนา หรือลดปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมได้

.

.

.

วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ตรงกับวันที่ ๓ มิถุนายน ของทุกปี

สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๑ ณ ตำบลบ้านพรุ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มีพระนามเดิมว่า สุทิดา ติดใจ เป็นธิดาของคำ ติดใจ กับคุณหญิงจั่งเฮียง ติดใจครอบครัวของพระองค์เป็นชาวไทยเชื้อสายจีน ทรงเข้าเรียนระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา

จากนั้นจึงทรงเข้าศึกษาหลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต ณ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จนจบการศึกษาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๓ ต่อมาทรงเข้าเป็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน บริษัท แจลเวย์ จำกัด เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๓ - พ.ศ. ๒๕๔๖ และทรงเป็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๖ - พ.ศ. ๒๕๕๑

วันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต จึงทรงได้รับการสถาปนาเป็น สมเด็จพระราชินีสุทิดา ทรงดำรงตำแหน่งพระอิสริยยศ ฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์ ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ สถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศสมเด็จพระราชินีขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมราชินี ทรงพระนามว่า สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

เมื่อวันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้วันที่ ๓ มิถุนายนของทุกปี เป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เป็นวันหยุดราชการประจำปี ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ


ที่มา: https://www.m-culture.go.th/phatthalung/ewt_news.php?nid=2462&filename=index

States TOON EP.16

วิชาคณิตศาสตร์ 101 


โปรเด็ด! เทหมดตัว มาสด้า 2 และ นิสสันอัลเมร่า ทักเลย! ตอบไว! แอดเลย @TheShopsTimes 
คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

ทรงพระเจริญ ในหลวงพระราชทานอุปกรณ์การแพทย์กรมราชทัณฑ์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานอุปกรณ์ทางการแพทย์ ให้แก่ กรมราชทัณฑ์ เพื่อบรรเทาปัญหาการขาดแคลนเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ สำหรับรองรับและแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ที่แพร่กระจายในทัณฑสถาน และเรือนจำต่างๆ ส่งผลให้พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในหมู่ผู้ต้องขังเพิ่มมากขึ้น และบางรายมีอาการหนัก ซึ่งต้องได้รับการรักษาพยาบาลโดยใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์พิเศษ


โปรเด็ด! เทหมดตัว มาสด้า 2 และ นิสสันอัลเมร่า ทักเลย! ตอบไว! แอดเลย @TheShopsTimes

คลิก????https://lin.ee/vfTXud9


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top