‘นักวิชาการด้านเเผ่นดินไหว’ ชี้ ‘รอยเลื่อนสะกาย’ เป็นแผ่นดินไหวแบบซูเปอร์เชีย เคลื่อนตัวแนวระนาบส่งผลให้เกิดแรงสั่นสะเทือน - การพังทลายสูง

(31 มี.ค. 68) ดร.ไพบูลย์ นวลนิล นักวิชาการด้านแผ่นดินไหว โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Namom Thoongpoh ว่า แผ่นดินไหวแบบซูเปอร์เชีย (supershear earthquake) คือแผ่นดินไหวที่ความเร็วของการพังทลาย (rupture propagation) เร็วกว่าความเร็วของคลื่นเอส มีการกระจายคลื่นแบบกรวย เหมือน คลื่นซูเปอร์โซนิค ทำให้เกิดการซ้อนคลื่นขึ้น ส่งผลให้เกิดแรงสั่นสะเทือนสูงกว่าปกติ

แผ่นดินไหวแบบนี้จะเกิดในรอยเลื่อนแบบเคลื่อนตัวแนวระนาบ (strike slip fault) ซึ่งรอยเลื่อนสะกายเป็นรอยเลื่อนชนิดนี้

จากข้อมูลงานวิจัยที่ผ่านมา มีแผ่นดินไหวในลักษณะนี้เกิดขึ้นหลายที่หลายที่ เช่น 

2023 Turkey–Syria earthquakes, Mw 7.8, Anatolian Fault
2020 Caribbean Sea earthquake, Mw 7.7, Oriente transform fault 
2018 Sulawesi earthquake, Mw 7.5, Palu-Koro Fault
2008 Sichuan earthquake, Mw 7.9,  Longmenshan Fault
2001 Kunlun earthquake, Mw 7.8 , Kunlun fault
เป็นต้น

ดังนั้นก่อนที่จะสรุปว่าเหตุใด กทม. จึงได้รับผลกระทบจากแรงสั่นสะเทือนมาก ต้องติดตามข้อมูลจากนักแผ่นดินไหววิทยากันต่อไป ไม่ใช่ดินอ่อนเพียงอย่างเดียว ดังที่เราเข้าใจ