บทสรุป!! มหากาพย์ 'สะพานสีมาธานี' ไม่ทุบยกระดับ 'ภูเขาลาด-ชุมทางถนนจิระ' หวัง!! ไร้ม็อบค้านการก่อสร้าง ลุยเดินหน้าโครงการทางคู่สายอีสานต่อ

เมื่อวานนี้ (1 ก.ค.67) เพจ 'โครงสร้างพื้นฐานประเทศไทย Thailand Infrastructure' ได้โพสต์ข้อความอัปเดตกรณีรถไฟทางคู่สายอีสาน ระบุว่า...

จบซักที!!! มหากาพย์ สะพานสีมาธานี สรุปไม่ทุบยกระดับยาวจากภูเขาลาด-ชุมทางถนนจิระ เดินหน้าต่อ ทางคู่สายอีสานต่อได้ซักที!!! หวังว่าคนโคราชจะพอใจ เดินหน้าโครงการได้เต็มที่!!!

วันนี้ รัฐมนตรีช่วยคมนาคม ได้ลงพื้นที่ติดตามงานในพื้นที่ ปากช่อง-โคราช ในโครงการทางคู่ และรถไฟความเร็วสูง ในพื้นที่ตลอดเส้นทาง ซึ่งมีจุดติดขัดปัญหาในเส้นทาง โดยเฉพาะ โครงการทางคู่ สายอีสาน สัญญาที่ 2 คลองขนานจิตร-ชุมทางถนนจิระ

โดยมีปัญหามาจากการร้องเรียนของชาวโคราชให้แก้ปรับแก้แบบ ช่วงผ่านกลางเมือง จากสถานีภูเขาลาด - ชุมทางถนนจิระ ซึ่งก่อนหน้านี้มีการเรียกร้องให้ ทุบสะพานข้ามทางรถไฟ ข้างโรงแรมสีมาธานี แล้วทำทางรถไฟยกระดับ เปิดแยกริมทางรถไฟ (ถนนสืบสิริ) พร้อมทำทางลอดแทนสะพานเดิม แต่ก็มีอีกกลุ่มออกมาคัดค้าน เพราะเกรงปัญหาจราจรช่วงทุบสะพานสีมาธานี

ข้อมูลจาก รมช. คมนาคม

“สัญญาที่ 2 ช่วงคลองขนานจิตร - ชุมทางถนนจิระ อยู่ระหว่างการแก้ไขรูปแบบการก่อสร้างเป็นทางยกระดับ ช่วงสถานีโคกกรวด - ชุมทางถนนจิระ ระยะทาง 16 กิโลเมตร และปรับกรอบวงเงินเพื่อให้สอดคล้องกับโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ช่วงโคกกรวด - นครราชสีมา งานสัญญาที่ 3 - 5 เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าต่องบประมาณสูงสุด โดยคาดว่าจะเสนอคณะกรรมการรถไฟฯ ได้ภายในเดือนสิงหาคม 2567”

จนสุดท้าย ก็ออกมาเป็นทางเลือกล่าสุด คือ...

- ทำทางยกระดับข้ามสะพานสีมาธานี ทั้งทางคู่ และความเร็วสูง ตั้งแต่สถานีภูเขาลาด ผ่านกลางเมืองโคราช ตามเส้นทางเดิม ระยะทาง 16 กิโลเมตร

- มีทางรถไฟระดับดิน (แบบปัจจุบัน) เพื่อให้รถไฟเข้าโรงซ่อมรถไฟ (คาดการณ์)
- ไม่ทุบสะพานสีมาธานี 

ซึ่งทางเลือกนี้ ก็ลงตัวทุกฝ่ายทั้งคนที่กลัวทางรถไฟไปผ่ากลางเมืองทำให้เป็นเมืองอกแตก และ รถไฟที่ยังวิ่งในเส้นทางเดิมได้

โดยสถานีโคราชใหม่ (ความเร็วสูง+ทางคู่) จะแบ่งเป็น 3 ชั้น

- ชั้นระดับดิน เป็นโถงพักคอยผู้โดยสาร ซึ่งด้านหลังสถานีก็ยังมีทางรถไฟเดิม ที่เข้าโรงซ่อมรถไฟ 
- ชั้น 2 เป็นชานชาลารถไฟทางคู่ สูงจากพื้น 11 เมตร มี 4 ชานชาลา + 2 ทางผ่าน
- ชั้น 3 เป็นชานชาลารถไฟความเร็วสูง สูงจากพื้น 24 เมตร มี 4 ชานชาลา + 2 ทางผ่าน

แบบก่อสร้าง สถานีนครราชสีมา (โคราช)

https://www.facebook.com/491766874595130/posts/629142004190949/?d=n

ขั้นตอนต่อไปถ้าไม่ติดขั้นปัญหา 
- จะเสนอขออนุมัติ ภายใน 2567
- ประกวดราคา ต้นปี 2568
- เริ่มก่อสร้างกลางปี 2568 (ใช้เวลาก่อสร้าง 24 เดือน)
- คาดว่าจะเสร็จ กลางปี 2570

หวังว่า จะไม่มีใครมาตั้งม็อบค้านการก่อสร้าง ให้ทุบสะพานอีกนะครับ!!!