‘กูรู’ เจาะ Trend เทคโนโลยี 2024 AI บุกแน่!! มนุษย์โลกเตรียมรับมือ

จากรายการ THE TOMORROW มหาชนต้องรู้ ออกอากาศทางสถานีวิทยุ ส.ทร. FM93.0 MHz และสื่อออนไลน์ ในเครือ THE STATES TIMES ได้พูดคุยกับ คุณชวาลิน รอดสวัสดิ์ ผู้บริหารบริษัท นิวไดเมนชั่น จำกัด หรือ NDM บริษัทฯ ที่มีประสบการณ์ด้าน IT Solutions และ HR Development มากว่า 20 ปี ถึงภาพรวมของ Trend เทคโนโลยีในปี 2024 ที่จะมีผลกระทบต่อแนวโน้มอุตสาหกรรมในอนาคต รวมถึงบุคลากรที่เป็นที่ต้องการ ซึ่งภาคธุรกิจในประเทศไทยต้องตระหนัก เมื่อวันที่ 10 ก.พ.67 โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้…

นอกเหนือจาก Trend ด้านพลังงาน หรือ Clean Energy ที่กำลังเขย่าอุตสาหกรรมรถยนต์ จนเกิด EV Sector (Electric Vehicle) อย่างเด่นชัดขึ้น รวมถึงพัฒนาด้าน Hydrogen (Hydrogen-Powered Train) และ Carbon Capture Technology เพิ่มมากขึ้นเพื่อสร้างพลังงานทดแทนแล้ว จากประสบการณ์ในการทำงานช่วง 20 ปีที่ผ่านมาในแวดวงเทคโนโลยี ผมมองเห็นอีกวิวัฒนาการที่ต้องจับตามอง นั่นก็คือ ความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีสารสนเทศหรือไอที (Information Technology) 

อย่างไรก็ตาม ในปี 2024 จะมีปรากฏการณ์ของผู้ใช้งานไอทีที่ต้องปรับตัวเองอย่างรุนแรงหนักขึ้นกว่าเดิม เนื่องจาก AI (Artificial Intelligence) หรือที่เราคุ้นกันว่า ‘ปัญหาประดิษฐ์’ จะเข้ามาแทรกซึมอยู่ในชีวิตเรา ทั้งแบบรู้ตัวและแบบไม่รู้ตัว รวมถึงเข้ามามีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ ในกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม Finance, Health Care และ Manufacturing

ตัวอย่างที่เริ่มเห็นกับบางอุตสาหกรรม ก็เช่นอุตสาหกรรมด้านสุขภาพ เริ่มมีการนำนวัตกรรม Early Disease Detection มาวิเคราะห์ดูแนวโน้มของการเกิดโรคหรืออาการเจ็บป่วยของมนุษย์ได้ล่วงหน้า 1-6 ปี จากนั้นแพทย์และนักวิทยาศาสตร์จะใช้ Nano Technology เข้ามาช่วยในการวิจัยค้นคว้าและรักษาผู้ป่วย 

ส่วน Cyber Security ก็เป็นอีกหนึ่ง Trend ที่น่าสนใจและได้ยินบ่อยมากขึ้น เนื่องจากในปัจจุบันองค์กร หน่วยงานต่างๆ มีความเสี่ยงโดนโจมตีทาง Cyber สูงมากขึ้นเรื่อยๆ จากสถิติมีอัตราเพิ่มขึ้น 13% ต่อปี จึงต้องหาวิธีป้องกันและ AI จะเข้ามามีบทบาทเพิ่มขึ้นแน่ๆ 

นอกจากนี้ ยังมีเรื่องของการพัฒนา LCNC Platform  (Low Code/No Code) ซึ่งมีลักษณะเป็นโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อให้ทุกคนสามารถเขียน Software ด้วยตนเองได้ โดยไม่จำเป็นต้องเรียน Coding หรือ Programming มาโดยเฉพาะ เพียงมีความเข้าใจในอัลกอริทึม (Algorithm) เบื้องต้น ก็สามารถพัฒนา Software ได้แล้ว และที่น่าตกใจ คือ ในปัจจุบันองค์กรกว่า 76% เริ่มใช้ Platform นี้ เพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนบุคลากรด้านไอที ซึ่งช่วยให้ประหยัดเวลาและลดต้นทุนไปในตัว และนี่คือสิ่งที่คนทำงาน ธุรกิจ และผู้ข้องเกี่ยวต่อการพัฒนาประเทศต้องเริ่มตระหนัก

เมื่อถามถึงอุตสาหกรรมไอทีในประเทศไทย มีการเติบโตอย่างไร? คุณชวาลินกล่าวว่า “เมื่อปี 2023 ประเทศไทยมีเงินหมุนเวียนในธุรกิจไอทีรวมๆ แล้วกว่า 930,000 ล้านบาท เติบโตขึ้นกว่า 2022 ถึง 4.4% ในขณะที่ประเทศอื่นๆ เติบโตขึ้นเพียง 2.2% เท่านั้น ทำให้เห็นว่าประเทศไทยมีการตื่นตัวด้านไอทีเป็นอย่างมาก ซึ่งธุรกิจผลิต Software และธุรกิจ IT Service ต่างๆ เติบโตขึ้นถึง 15% คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 265,000 ล้านบาท หรือ 30% ของมูลค่ารวมตลาดไอที ส่วนธุรกิจ Data เติบโตขึ้น 5% ในขณะที่ธุรกิจ Hardware หรือ Device ต่างๆ กลับลดลง 4.7% สำหรับอุปสรรคของอุตสาหกรรมไอทีในประเทศไทย คือ การขาดแคลนบุคลากรด้านไอทีที่มีคุณภาพ ซึ่งปัจจุบันองค์กรต่างๆ พยายามสรรหาคนเก่งๆ มาร่วมงานเพื่อขับเคลื่อนโครงการ Digital Transformation ให้กับองค์กร”

เมื่อส่วนคำถามที่ว่า Digital Disruption ส่งผลต่อแวดวงธุรกิจอย่างไร? คุณชวาลิน กล่าวว่า “เมื่อเราเข้าสู่ยุค Digital ทำให้ทุกอย่างเปลี่ยนไปเร็วมาก อายุของนวัตกรรมจะสั้นลง Technology ใหม่ๆ จะเข้ามาแทนที่ได้เร็วขึ้น ธุรกิจต่างๆ ต้องปรับตัวให้ทัน ผู้คนต้องเรียนรู้มากขึ้น ซึ่งต่างกับธุรกิจเมื่อ 20-30 ปีก่อน โดยสิ่งที่จะมา Disrupt อย่างชัดเจน ได้แก่ Hyper-Personalization Data หรือการนำเอา Data จำนวนมากมาประมวลผลเพื่อนำเสนอสินค้าและบริการให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าแทนมนุษย์จะเด่นชัดมากยิ่งขึ้น และการนำ AI เข้ามาตัดสินใจ (Decision Making) โดยใช้ Machine Learning และ Algorithm ต่างๆ มาทำงานร่วมกันแบบบูรณาการ เพื่อทำให้การตัดสินใจได้ผลแม่นยำและรวดเร็ว โดยเฉพาะในธุรกิจที่มีความซับซ้อนและมีปริมาณข้อมูลมหาศาลจะมีบทบาทสูงตามมา”

เมื่อถามถึงปัญหาขาดแคลนบุคลากรด้านไอทีขององค์กร, หน่วยงานต่างๆ จะแก้ไขได้อย่างไร เพื่อไม่ให้ถูก AI และ เทคโนโลยียุคใหม่กลืนกิน? คุณชวาลิน กล่าวว่า “แนวโน้มของหลายองค์กรตอนนี้ เริ่มใช้วิธี Outsource คนมากขึ้นกับกลุ่มบุคลากรด้าน IT เนื่องจากช่วยลดภาระด้านบุคลากรขององค์กรได้มาก เลือกคนคุณภาพได้ ควบคุมค่าใช้จ่ายได้ ซึ่งบทบาทของ ‘บริษัทฯ สรรหาบุคลากร’ จะโดดเด่นขึ้นมา ซึ่งก็รวมถึง NDM ด้วย เพราะจะกลายเฟืองสำคัญในการเป็นผู้ช่วยดูแลทุกกระบวนการขององค์กรต่างๆ ในทางอ้อมได้ดี ตั้งแต่การวางแผนจัดจ้าง ออกแบบ คัดสรรบุคลากร และทำ Onboarding Process ไปจนถึงการส่งมอบบุคคลากรตามความต้องการให้ร่วมปฏิบัติงานได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ”

เมื่อถามถึง NDM กับบทบาทที่เกี่ยวเนื่องในสิ่งที่ว่ามาทั้งหมดนี้? คุณชวาลิน กล่าวว่า “ในส่วนของ NDM เอง เนื่องจากเราคว่ำหวอดกับทุกการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีและบุคลากรที่มีคุณภาพ ทำให้เราสามารถสร้างเครือข่ายบุคลากรไอที ที่มีความชำนาญในเทคโนโลยีทุกรูปแบบ เสิร์ฟให้ไปสู่องค์กรในทุกระดับ เพื่อรองรับงานที่เหมาะต่อความต้องการของตลาดในปัจจุบันได้อย่างต่อเนื่อง”