เปิดข้อเท็จจริงอีกด้าน ทางยกระดับลาดกระบังถล่ม เชื่อเป็นความประมาทและละเลยมาตรฐานทางวิศวกรรม

(11 ก.ค.66) ผู้ใช้เฟซบุ๊ก ‘ดำรงค์ นาวิกไพบูลย์’ ได้โพสต์ข้อความเกี่ยวกับกรณีสะพานข้ามแยก ย่านลาดกระบัง ถล่ม โดยระบุว่า…

ส่วนที่มีการโจมตีว่า เพราะทีมชัชชาติไปสั่งแก้แบบ เลยทำให้สะพานถล่ม
อันนี้ ผมเองก็เป็นวิศวกร และผมคิดว่าเรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับแก
ชัชชาติเคยลงพื้นที่ตรงนั้นเมื่อหลายเดือนก่อนจริง
แต่ที่แกสั่งคือ เร่งรัดการก่อสร้าง เพราะผู้รับเหมา (ผรม.) ทำงานช้ากว่ากำหนด แถมทำพื้นที่ส่วนรวมเลอะเทอะ ชาวบ้านเดือดร้อน

ส่วนแบบที่ กทม. เสนอแก้อ่ะ คือจากแบบเดิมที่ ‘หล่อหน้างาน’ (girder box segment) มาเป็นแบบ ‘หล่อจากโรงงาน’ (precast box segment) แล้วยกมาประกอบหน้างาน

โครงการสะพานใหญ่ ๆ ในบ้านเรา ใช้เทคนิค precast กันก็เยอะ โครงการรถไฟฟ้าก็ใช้

Precast มันดีตรงที่หล่อในโรงงาน จึงควบคุมคุณภาพได้แม่นยำกว่าแบบหล่อหน้างาน แต่ข้อเสียคือขนส่งลำบาก มึงต้องมีรถนำขบวน แถมต้องขนตอนดึก เวลาที่คนนอนกันหมดแล้ว

แต่จะเปลี่ยนเทคนิคกันยังไงก็ช่าง
แบบก่อสร้าง ต้องมีวิศวกรระดับสามัญ - วุฒิวิศวกรเซ็นรับรอง ซึ่งกว่ามึงจะได้ใบอนุญาตมานะ เลือดตาแทบกระเด็น 

ระดับสามัญ อย่างเร็วคือ 7 ปี แต่บางคนทำมาเป็น 10 ปียังสอบไม่ได้เลย
แถมพลาดมา ติดคุก คำเดียว
ทำงานช้าแค่โดนด่า แต่ทำงานพลาดมึงติดคุก
อาชีพวิศวกรที่มีใบอนุญาตฯ มันเป็นแบบนี้

ที่สำคัญนะ
งานก่อสร้างอ่ะ ที่แบบไม่ค่อยพลาดกันหรอก
มันมีคู่มือให้เดินตาม มีมาตรฐานประกบหมด โอกาสพลาดต่ำมาก

ส่วนใหญ่จะพลาดกันที่การก่อสร้าง ทำงานไม่ได้มาตรฐาน
อันนี้ มึงไปดูโพสต์พี่เอ้ สุชัชวีร์ อดีตศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรม
แกเคยเตือนเอาไว้เมื่อปีที่แล้วว่าไซต์นี้เสี่ยง เนื่องจากทำงานไม่ได้มาตรฐานทางวิศวกรรม
ซึ่งมาตรฐานทางวิศวกรรมที่ว่า แกหมายถึงมาตรฐานความปลอดภัยในการปฏิบัติงานวิศวกรรมนั่นแหละ

เรื่องนี้ ทีมชัชชาติไม่เกี่ยว
ส่วนตัวผมคิดว่า เป็นความประมาท และละเลยมาตรฐานทางวิศวกรรมเสียมากกว่า