‘เสาสะพานพระราม 3’ การก่อสร้างด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง ลดขนาดโครงสร้าง เพื่อทัศนียภาพที่สวยงามของเมือง

(9 ก.ค. 66) ผู้ใช้เฟซบุ๊ก ‘Applied Physics’ ได้แชร์เกร็ดความรู้เพิ่มเติมเชิงวิศวกรรมของ 'เสาสะพานพระราม 3' โดยระบุว่า…

จุดประสงค์เพื่อการแบ่งปันข้อมูลที่อาจเป็นประโยชน์เชิงการศึกษาต่อนักเรียนนักศึกษาที่สนใจนะครับ

บางไปไหม? จะหักไหม?
มันบางจริงๆ แต่แข็งแรงนะ และแข็งแรงไม่น้อยไปกว่า สะพานที่ใช้เสาตอม่อขนาดใหญ่ 2 ต้นเพราะมีการวางเสาต่อเนื่องกัน ในการถ่ายเทน้ำหนัก แล้วยังใช้งบมากกว่าแบบหนาๆด้วย

สะพานนี้ก่อสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 และเรื่องนี้ เคยมีวิศกรออกมาให้ความรู้มาก่อนแล้วว่าลักษณะเสาที่บางของสะพานนี้ เป็นการก่อสร้างโดยใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ที่เรียกว่า ‘คอนกรีตอัดแรงแบบพิเศษ’ ซึ่งจะใช้เหล็กที่เป็นโครงสร้างด้านในมากกว่าโครงสร้างทั่วไป …แถมการสร้างด้วยเทคโนโลยีแบบนี้ มีมูลค่าสูงกว่าการก่อสร้างทั่วไปเสียอีก จุดประสงค์ก็เพื่อลดขนาดโครงสร้างคอนกรีตที่ใหญ่เทอะทะ จนกลายเป็นทัศนะอุจาดในเขตเมือง มองแล้วไม่สบายตา พอลดขนาดเสาลง มันก็ดูโปร่งสบายตากว่ามาก

สะพานนี้ เปิดใช้เมื่อปี พ.ศ. 2542 ก่อสร้างโดย บริษัทเยอรมัน Ed.Zublin Ag.Wayss สร้างเสร็จมา 20 กว่าปีแล้ว ก็ไม่เคยมีปัญหา

โดยทั่วไปแล้ว เสาตอม่อเล็ก มีความนิยมกันมาก เพราะประหยัดพื้นที่ ให้พื้นที่ด้านล่างน้อย โดยเฉพาะในต่างประเทศ มีการใช้เป็นจำนวนมาก ( เช่น นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย และ ญี่ปุ่น)

โดยจุดดังกล่าว เป็นเชิงสะพาน ก่อนเข้าถึงตัวสะพานกลางแม่น้ำเท่านั้น แต่พอไปถึงช่วงกลางสะพาน เสาตอม่อก็มีขนาดใหญ่ เหมือนสะพานอื่นๆ