‘เศรษฐา’ เตือน ศก.ไทยอยู่บนปากเหว ‘ส่งออกติดลบ-หนี้ครัวเรือนพุ่ง’ พร้อมแนะ!! ภาคธุรกิจ ‘รักษากระแสเงินสด’ และบริหารองค์กรให้ดีที่สุด

(9 ก.ค. 66)เศรษฐา ทวีสิน อดีตประธานอำนวยการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) และแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี พรรคเพื่อไทย บรรยายเรื่อง “Thailand’s Tomorrow & What Needs to be Done!” ในงานสัมมนาของข่าวหุ้นธุรกิจ 

เศรษฐาได้ให้ความเห็นว่า ตอนนี้เศรษฐกิจประเทศไทยอยู่ปากเหว เนื่องจากตัวเลขส่งออกติดลบ อีกทั้งสัดส่วนหนี้ครัวเรือนไทยพุ่งทะลุกว่า 90% ของ GDP ทะยานแตะ 16 ล้านล้านบาท การลงทุนจากต่างประเทศก็ชะงัก เพราะไม่แน่ใจในทิศทางของรัฐบาลใหม่ รวมทั้งมาตรการกระตุ้นต่างๆ 

ขณะเดียวกัน อีกสามเดือนจะเข้าช่วงไฮซีซั่นของการท่องเที่ยว ปัญหาต่างๆก็ยังมีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นวีซ่าของนักท่องเที่ยวจีน, โลจิสติกส์ภายในประเทศ, สายการบิน และเรื่องของการบริหารจัดการสนามบินภายในประเทศที่ยังคงเป็นปัญหา ตรงนี้ถือเป็นเรื่องที่จะต้องดูแลอย่างเร่งด่วน

และจากสถานการณ์ทางการเมืองที่ยังคงมีความไม่แน่นอน ทำให้ตลาดทุนไม่เชื่อมั่นมองว่า ตลาดทุนเป็นตัวชี้นำอย่างหนึ่ง ซึ่งบ่งบอกได้ถึง Sentiment ของนักลงทุน หากมีปัญหาในการโหวตนายกรัฐมนตรี การจัดตั้งรัฐบาลล่าช้า งบประมาณปี 2567 ไม่ได้ 

ดังนั้นเมื่อการเลือกตั้งเสร็จสิ้น การแข่งขันจบลง และภาคประชาชนได้ทำการเลือกแล้ว เขามองจึงอยากให้การโหวตนายกฯ เป็นไปได้ด้วยดี ซึ่งพรรคเพื่อไทยเองไม่แตกแถว และยินดีสนับสนุนคุณพิธา เป็นนายกฯคนที่ 30 ของประเทศไทย

ส่วนของความคาดหวังภาพรวมเศรษฐกิจไทยหลังจากการจัดรัฐบาลสำเร็จ เศรษฐา ประเมินว่า ประเทศไทยมีศักยภาพสูง มีเรื่องดีๆอีกเยอะ เพียงแต่ว่าต้องการผู้นำที่เป็น ‘ผู้นำ’ จริงๆ ต้องการรัฐบาลที่มาจากประชาธิปไตย และคำนึงถึงประชาชนเป็นที่ตั้ง ดังนั้นเชื่อว่าหากจัดตั้งรัฐบาลได้โดยเร็ว เศรษฐกิจไทยจะขับเคลื่อนไปได้ด้วยดี และตลาดหุ้นก็จะไปในทิศทางที่ดีอย่างแน่นอน

เมื่อมีคำถามว่า วิกฤตการเงินตอนนี้กับวิกฤตเศรษฐกิจอะไรหนักหนากว่ากัน เศรษฐามองว่า วิกฤตเศรษฐกิจนั้นมีอยู่ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องกำลังซื้อ แต่ก็ไม่ได้เป็นอะไรที่ยิ่งใหญ่ไม่เหมือนกับเมื่อ 3 ปีที่แล้วที่เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 หรือสมัยก่อนต้มยำกุ้งก็คงต่อสู้กันไปได้ แต่วิกฤตการเมืองของประเทศไทยตอนนี้ถือเป็นเรื่องใหญ่ ที่อาจส่งผลต่อเนื่องถึงระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยได้ 

จากผลการเลือกตั้งที่ผ่านมาก็ชัดเจนว่าประชาธิปไตยเป็นฝ่ายชนะ แต่เรื่องของจัดตั้งประธานสภาฯ ที่แม้จะมีปัญหา หรือเรื่องตัวนายกรัฐมนตรีที่ยังไม่เป็นที่ตกลงกันได้ แม้การเลือกตั้งจะจบลงไปแล้วกว่า 2 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งหากมีการจัดตั้งรัฐบาลได้ช้าเรื่องของการทำเรื่องงบประมาณปี 2567 ก็จะล่าช้าไปด้วย แต่หากสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ภายในอาทิตย์แรกของเดือนสิงหาคม งบประมาณปี 2567 จะถูกใช้ได้อย่างเร็วสุดคือ 15 มีนาคม 2567 

และทราบว่างบประมาณแผ่นดินของไทย หรืองบประมาณรายจ่ายประจำปีของประเทศไทย ในแต่ละปีงบประมาณ ซึ่งจะเริ่มต้นในวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปีจึงนับเป็นปัญหาใหญ่ 

ดังนั้นในฐานะของคนทำธุรกิจท่ามกลางวิกฤติเช่นนี้ควรจะต้องมีส่วนช่วยในการสนับสนุนให้มีการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีให้ได้ในวันที่ 13 กรกฎาคมนี้ หากไม่ได้ ณ วันนั้นก็จะต้องทำให้เกิดขึ้นได้เร็วที่สุด 

ในส่วนของเรื่องเศรษฐกิจแม้จะมีปัญหาเยอะ ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของหนี้ครัวเรือนที่สูงมากถึง 90% ปัญหาเรื่องการส่งออกที่ตกต่ำมาโดยตลอด และหลายๆ เรื่องน่าเป็นห่วง ก็อยากให้มองว่าแม้จะอยู่ท่ามกลางวิกฤต แต่ก็ยังคงมีโอกาส ซึ่งประเทศไทยมีดีในหลายเรื่อง ทั้งในเรื่องของการท่องเที่ยว ความมั่นคงทางด้านอาหาร ก็เป็นเรื่องที่เราควรให้ความสนใจ และจากจำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่ในปัจจุบันมีดีมานด์เพิ่มสูงขึ้น แต่เรื่องของวีซ่ายังคงเป็นปัญหา ซึ่งหลายๆ เรื่องต้องได้รับการดำเนินการอย่างรวดเร็ว ไม่เช่นนั้นเมื่อไปถึงช่วงไฮซีซั่นตอนเดือนตุลาคมก็จะเกิดปัญหาได้ 

ฉะนั้นหากทำทุกอย่างได้เร็วตามที่วางไว้ จากวิกฤตทั้งหมดก็อาจจะบริหารจัดการยากขึ้น และท้าทายมากขึ้น ฉะนั้น ‘ล็อกทางการเมือง’ ก็นับว่าทำให้เกิดการ ‘ติดล็อกทางเศรษฐกิจ’ ด้วยอย่างมีนัยสำคัญ 

ขณะเดียวกันทางด้านนักลงทุนอยากให้ความชัดเจนของการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีให้ถูกต้อง หากดูตัวเลขเสถียรภาพทางเศรษฐกิจก็ไม่มีจุดใดที่ไม่มีเสถียรภาพ

ทั้งนี้หากเป็นนักลงทุนควรจะต้องรักษากระแสเงินสดให้ดี เพราะเราไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นในอนาคต เนื่องจากกำลังซื้อเป็นปัญหาใหญ่ที่ต้องจับตามองและที่สำคัญตอนนี้ทุกคนคอยรัฐบาลใหม่ อย่างอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่จะต้องพึ่งการลงทุนจากต่างประเทศก็ยังคอยความชัดเจน และหนี้ครัวเรือนก็เป็นเรื่องสำคัญ

สำหรับคีย์สำคัญที่จะทำให้เราได้รู้ว่าต่อไปเราจะตัดสินใจอย่างไรนั้นคือ ต้องดูเรื่องของการเมือง รักษากระแสเงินสด บริหารจัดการองค์กรของตนเองให้ดี เข้าใจลูกค้าตนเอง และพยายามเปิดตลาดใหม่ๆ เพราะปัจจุบันเราอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านรัฐบาล การเปิดตลาดการค้าใหม่ๆ จึงจะเป็นผลดีต่อภาคธุรกิจ ซึ่งเป็นอะไรที่นักธุรกิจหลายคนค่อนข้างทราบพอสมควร

ซึ่งแน่นอนว่าด้วยความที่คุณเศรษฐาได้มีการบริหารกิจการตัวเองก็มีการปรับตัวมาโดยตลอด ดังนั้นขอบเขตการรอถึงแค่จุดจุดหนึ่งเท่านั้น ทั้งสายป่านก็ดี เงินใช้จ่ายก็ดี เงินหมุนของภาคธุรกิจก็ดี สิ่งเหล่านี้ที่สุดความสามารถในการปรับตัวถึงได้แค่จุดจุดหนึ่งหรือไม่นั้น หากย้อนไปก่อนสมัยต้มยำกุ้งบริษัทเอกชนทั้งหลายที่ประสบปัญหามามีการเสริมความแข็งแกร่งให้กับงบลงทุนค่อนข้างเยอะ ฉะนั้นวัคซีนหรือภูมิคุ้มกันกับปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจทั้งหลายได้ถูกยกระดับขึ้นมาสูงมาก จึงนับว่าภาคเอกชนเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยเลยก็ว่าได้ฉะนั้นจะเห็นอะไรหลายๆอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น

จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกวันนี้เราทุกคนเสมือนอยู่ในสงครามแต่กระนั้นท่ามกลางวิกฤต ย่อมมีโอกาส แต่ว่าโอกาสที่จากนี้ไปที่คนไทยทั้งประเทศควรจะได้ และในสายตาเวทีโลกจะกลับมาชื่นชมประเทศไทยได้ดีขึ้นกว่าเดิมเหมือนกับหลายทศวรรษที่ผ่านมา 

เศรษฐา กล่าวด้วยว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่น่าลงทุน หลายๆ เรื่องที่เราคาดไม่ถึงอย่างเช่น โรงเรียนนานาชาติ โรงพยาบาลที่เรามีอยู่ เวลานักลงทุนเข้ามาลงทุนจะมีการย้ายถิ่นพำนักเข้ามาจากประชากรจะต้องมองตรงจุดนี้ด้วย อีกทั้งเรื่องของ Internet โครงสร้างพื้นฐาน ทั้งหลายเป็นต่อประเทศ ดังนั้นการบริหารจัดการกระแสเงินสดจึงเป็นสิ่งสำคัญ รวมทั้งหนี้เสียก็สูงขึ้นจากตัวเลขที่สูงขึ้นอย่างมีนัย ดังนั้นจึงต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะงบดุลของบริษัทเอกชนทั้งหลายแข็งแกร่งมาก 

รวมทั้งเขามองว่า 2-3 เดือนล็อกการเมืองต้องคลาย ดังนั้นหากมีการจัดตั้งรัฐบาลได้ดี ทุกอย่างเป็นไปได้ด้วยดีตลาดทุนก็จะกลับมาคึกคัก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นจากการที่ได้ลงพื้นที่ไปพบว่าภัยแล้งก็ถือเป็นปัญหาสำคัญไม่แพ้กัน เนื่องจากลงไปถึงระดับฐานราก โดยพบว่าประเทศไทยพึ่งพาภาคเกษตรกรรมเยอะมาก แม้จะเป็นเพียงแค่ 10% ของ GDP ก็ตาม แต่กลับมีคนที่พึ่งพาภาคเกษตรกรรมสูงถึง 40 ล้านคน 

และหากจะถามว่ามีแสงสว่างอะไรไหมภายใต้ความมืดมนนี้ ก็จะมี 11 ขุนพล ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญของแต่ละสาขา แต่ประเทศไทยมีข้อดีจำนวนมาก และมีโอกาส ดังนั้นเราต้องการรัฐบาลที่แข็งแกร่ง และการจัดตั้งรัฐบาลที่เร็วที่สุด เพราะหลายๆ เรื่องไม่สามารถผลักดันได้หากไม่มีรัฐบาล อย่างเช่นการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศจะไม่มาแน่นอนหากไม่มีรัฐบาลใหม่ จึงถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากในขณะนี้ 

ดังนั้นภายใต้วิกฤตที่มี ‘โอกาส’ ก็มี นับว่าเป็นช่วงเวลาที่ต้องกลับมาดูตัวเอง ในบ้านตัวเองทั้งบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ หรือบริษัทขนาดใหญ่ ต้องกลับมาดูกระแสเงินสดเป็นส่วนสำคัญ รวมทั้งการบริหารจัดการภายในองค์กร การหาตลาดใหม่ๆ ก็สำคัญ เพราะด้วยการชะลอตัวของเศรษฐกิจทั่วโลกส่งผลให้ดีมานด์ต่างๆ หดหายไป ดังนั้นถ้าเราสามารถไปเปิดตลาดใหม่ๆ ได้ก็จะเป็นโอกาสที่ดี และธุรกิจใหม่ๆ ในประเทศไทยอย่างธุรกิจความมั่นคงทางด้านอาหาร หรืออาหารแห่งอนาคตเป็นเรื่องที่เราสามารถ Build on จากภาคเกษตรกรรมของเราได้ แต่ที่สำคัญที่สุดคือบริหารจัดการเรื่องน้ำให้ดีเป็นอันดับแรก