การเลือกตั้งกับค่าไฟแพง (2) เหตุใด ‘คสช.’ ไม่ใช้ ม.44 จัดการ ปม ‘ไฟฟ้าสำรอง’ ที่แม้ไม่ได้ดึงพลังงานมาใช้ แต่รัฐก็ต้องจ่ายค่ากระแสไฟฟ้า

 

ยิ่งใกล้วันเลือกตั้ง พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ผู้เป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) ก็ถูกโจมตีเรื่องค่าไฟฟ้าแพงเป็นอย่างหนัก โดยถูกกล่าวหาว่าเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มทุนพลังงานไฟฟ้า ทั้งๆ ที่ทุกวันนี้ในสภาวะอากาศร้อนขนาดนี้บ้านเรายังคงมีไฟฟ้าใช้อย่างไม่ขาดแคลน ด้วยเพราะมาตรการจัดการสำรองกระแสไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ประเทศไทยมีความมั่นคงแข็งแกร่งทางพลังงานไฟฟ้า ซึ่งประเด็นที่นักการเมืองและนักเคลื่อนไหวมากมายหลายคนมักจะหยิบยกขึ้นมาพูดคือ โรงงานไฟฟ้าสำหรับผลิตไฟฟ้าของกลุ่มทุนพลังงานไฟฟ้าบางโรงนั้นไม่ได้ผลิตไฟฟ้าเลย แต่ก็ต้องจ่ายค่าไฟฟ้าให้ด้วย แน่นอนสถานการณ์ที่กระแสไฟฟ้าพอใช้โรงงานที่ผลิตกระแสไฟฟ้าสำรองจึงไม่ต้องเดินเครื่องทำงาน เพราะไม่มีความจำเป็น หากแต่กระแสไฟฟ้าไม่เพียงพอต่อการใช้งานแล้วโรงงานเหล่านั้นถึงจะเดินเครื่องจักรผลิตไฟฟ้า แต่โรงงานเหล่านั้นสร้างขึ้นโดยผู้ประกอบการด้านพลังงานไฟฟ้าที่ได้รับอนุญาต มีการลงทุนในการสร้างโรงไฟฟ้าแต่ละแห่งมากมายมหาศาล ซึ่งเป็นต้นทุนที่ผู้ประกอบการด้านพลังงานไฟฟ้าต้องจ่ายเอง ไม่ใช้เงินงบประมาณของรัฐแต่อย่างใด คนที่พูดนั้นไม่ได้รับผิดชอบต้องการลงทุนมูลค่ามหาศาลเหล่านี้เลย แถมยังเจตนาจงใจที่จะไม่พูดถึงอีกด้วย 

เราท่านในฐานะเจ้าของสิทธิในการเลือกตั้งอันมีค่าในการเลือกตั้งครั้งนี้ ก่อนการใช้สิทธิกาบัตรลงคะแนนจึงต้องคิด ทบทวน และพิจารณาโดยใช้สติและปัญญาอย่างรอบคอบด้วยเหตุและผลที่ถูกต้องและแท้จริงประกอบ ผู้เขียนได้เคยเสนอบทความเรื่อง ‘การเลือกตั้งกับค่าไฟแพง “สำรองไฟฟ้าเกินความจำเป็น” วาทกรรมฮิตใช้โจมตีรัฐบาล โดยไม่คำนึงถึงความเสียหาย หากสำรองไฟฟ้าไว้ไม่เพียงพอ’ https://thestatestimes.com/post/2023042021 ซึ่งผู้อ่านสามารถใช้เพื่อประกอบการพินิจพิจารณาให้รอบด้านและถูกต้องได้ 

อีกเรื่องหนึ่งที่ถูกนำมาเชื่อมโยงกันก็คือ แล้วทำไมรัฐบาลคสช. โดย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคสช. จึงไม่นำ ม.44 มาใช้ในกรณีนี้ หากเราท่านได้ย้อนไปดูถึงการใช้ ม.44 ของรัฐบาลคสช. นั้น ส่วนใหญ่มาก ๆ จะใช้เป็นคำสั่งในทางปกครองเพื่อให้สามารถบังคับใช้ได้อย่างรวดเร็วแทนที่กระบวนการปกติซึ่งมีความล่าช้า ด้วยกระบวนการปกติมีระบบระเบียนขั้นตอนต่าง ๆ มากมาย การบริหารบ้านเมืองเพื่อให้เกิดความถูกต้องโปร่งใส ลดการทุจริตโกงกิน แก้ปัญหาความล่าช้าในการแก้ปัญหาอันเป็นความทุกข์ยากเดือดร้อนของประชาชนให้รวดเร็วขึ้น ต่างจากการใช้กฎหมายพิเศษลักษณะนี้ในอดีต อาทิ ม.17 (จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ จอมพลถนอม กิตติขจร และศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์) ม. 21 และ ม.27 (พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่) ซึ่งมักจะถูกนำมาใช้ในการแก้ปัญหาสังคมและอาชญากรรม เช่น ใช้ประหารชีวิตผู้กระทำผิดคดีอุกฉกรรจ์ สะเทือนขวัญ ต่อประชาชน ฯลฯ ซึ่งการใช้ ม.44 แตกต่างไปโดยสิ้นเชิงดังที่ได้กล่าวมา ด้วยไม่มีใครที่บาดเจ็บล้มตายด้วย ม.44 ของรัฐบาลคสช.เลย

การใช้ ม.44 โดยรัฐบาลคสช.ที่เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมมีน้อยเรื่องน้อยรายมากในกรณีที่มีผลกระทบสร้างความเดือดร้อนแกประชาชนจริง ๆ อย่างเช่นกรณีการใช้ ม.44 ในการปิดเหมืองทองคำชาตรีที่ดำเนินกิจการโดยบริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) ด้วยเหตุผลว่าทางเหมืองทองคำชาตรีสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้ชาวบ้านได้รับผลกระทบต่าง ๆ หลายด้าน แต่ว่าตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 ถึง พ.ศ. 2559 ได้ถูกเรียกร้องจากประชาชนในพื้นที่สัมปทานเหมืองล้วนได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะการสร้างปัญหามลพิษปัญหาสุขภาพ และปัญหาสิ่งแวดล้อม มีการเคลื่อนไหวคัดค้านจากประชาชนในพื้นที่และหยุดกิจการเหมือง จากปัญหาร้องเรียนจากชาวบ้านซึ่งเพิ่มมากขึ้นทุกปี เนื่องจากมลพิษจากเหมือง ที่ให้เกิดปัญหาสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสารพิษปนเปื้อนที่มากับดิน น้ำ และอากาศ รวมถึงยังมีสภาวะเครียดที่เกิดขึ้นจากเสียงของอุตสาหกรรม และกลายเป็นข้อพิพาทต่อมาอีกหลายปี

ถ้าการทำรัฐประหารแล้วกลุ่มทุนผูกขาดประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งมีแต่กลุ่ม SM ที่ผูกขาดแทบทุกธุรกิจ การที่รัฐบาลคสช.ไม่ได้ยกเลิกสัญญาการผลิตกระแสไฟฟ้าสำรอง โดยใช้ ม.44 ถือเป็นการใช้กฎหมายพิเศษอย่างถูกต้อง เหมะสม ไม่ลุแก่อำนาจ ด้วยการใช้กระบวนการทางศาลปกติ ซึ่งเรื่องนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ตีความมานานแล้วว่า สัญญาระหว่างรัฐกับเอกชนในลักษณะเช่นนี้ไม่สามารถยกเลิกได้ และถ้าหากรัฐบาลคสช.ใช้ ม.44 กับเอกชนในทางธุรกิจ จะทำให้นานาชาติไม่ยอมรับประเทศไทย และไม่มีบริษัทต่างชาติใดเข้ามาลงทุนเลย ด้วยประเทศล้มละลายทางความน่าเชื่อถือ ดังเช่นประเทศเพื่อนบ้าน เพราะเพียงแค่รัฐบาลคสช.ใช้ ม.44 ยกเลิกการทำเหมืองทองชาตรี โดย บมจ.อัคครา ชั่วคราว เพื่อให้ปรับปรุงเรื่องสิ่งแวดล้อม ก็มีสารพัดกลุ่มทั้งไทยและฝรั่งร้อง คัดค้าน ต่อต้าน กันจนระงม หรือ ถ้า รัฐบาลคสช.ใช้ ม.44 ยกเลิกสัมปทานขุดน้ำมันในอ่าวไทย กับเชฟรอน จากสหรัฐอเมริกา จะเกิดอะไรขึ้น นั้นจึงเป็นเหตุผลที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีของรัฐบาลคสช. ไม่นำ ม.44 มาบังคับใช้ในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม

คะแนนเสียงของเราท่านจะมีค่ามากที่สุดในอีกประมาณ 20 วันเท่านั้น ทุกคะแนนเสียงจะสามารถกำหนดอนาคตและความเป็นไปของชาติบ้านเมืองได้ทั้งสิ้น ใช้คะแนนของท่านสร้างประโยชน์แก่ชาติบ้านเมือง ด้วยการเลือกพรรคการเมืองและนักการที่ดีที่สุด ไม่ทุจริตโกงกิน ไม่สร้างปัญหา ให้กับชาติบ้านเมืองในอนาคต