ส่อง Saudization ยุทธศาสตร์แห่งซาอุดีอาระเบีย ภารกิจเพื่อยกระดับชีวิตและสังคมทั้งประเทศ

หลังจากความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับซาอุดีอาระเบียกลับสู่ภาวะปกติ หนึ่งในข่าวที่น่าสนใจ คือ การที่แรงงานไทยจะมีโอกาสก้าวเข้าไปสู่ตลาดงานในซาอุฯ ได้มากขึ้น ซึ่งอันที่จริงเรื่องนี้เป็นทั้งเรื่อง ‘ดีที่ปกติ’ ไม่ได้น่าตื่นเต้นพอจะไปมองเป็นประเด็นให้ต้องดิสเครดิต หรือดูแคลนการรื้อฟื้นความสัมพันธ์นี้แต่อย่างใด 

นั่นก็เพราะ หากใครพอจะทราบ ย่อมรู้ดีว่าซาอุดีอาระเบียได้มีการประกาศนโยบาย Saudization หรือนโยบายที่ว่าด้วยวัตถุประสงค์เพื่อลดอัตราการจ้างงานของแรงงานต่างชาติลง และกำหนดให้ต้องจ้างคนซาอุดีอาระเบียเข้าทำงาน ที่กำหนดให้ภาครัฐและเอกชนต้องจ้างคนซาอุดีอาระเบียเข้าทำงานร้อยละ 20 ของคนงานทั้งหมด

ทว่าพลันที่นโยบายนี้ถูกประกาศ ก็ทำให้หลายๆ ประเทศเริ่มชะลอการส่งแรงงานไปซาอุฯ ไม่ว่าจะเป็น ฟิลิปปินส์หรือแม้แต่ปากีสถาน ซึ่งถือว่ามีจำนวนแรงงานที่ไปทำงานยังซาอุฯ นับล้านชีวิต และนั่นก็เริ่มส่งผลให้ซาอุดีอาระเบียเจอปัญหาขาดแคลนแรงงาน เพราะคนท้องถิ่นเองก็ไม่นิยมทำงานหนัก ทั้งไม่มีการอบรมทักษะอาชีพและการศึกษาที่ดี รวมถึงวัฒนธรรมประเพณีที่เคร่งครัด จึงทำให้สูญเสียโอกาสการแข่งขันในเวทีเศรษฐกิจโลก

ฉะนั้นความสัมพันธ์ครั้งใหม่ของไทยกับซาอุฯ ภายใต้ เจ้าชายมุฮัมมัด บิน ซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อัลซะอูด เจ้าชายหัวทันสมัยที่มองข้ามเรื่องเก่าๆ และดราม่าน้ำเน่าที่หาได้อัดแน่นด้วยสาระ จึงไม่น่าจะหยิบมาเป็นสาระสำคัญไปกว่าหมุดหมายในการพาประเทศของตนเดินหน้าไปในแนวทางที่ถูกต้องเท่าไรนัก

ฉะนั้นในเรื่องของแรงงาน ก็คงเป็นองค์ประกอบหนึ่งในเชิงยุทธศาสตร์ที่เรียกว่า Win-Win กันทั้งไทยและซาอุฯ ที่ฝ่ายหนึ่งก็ขาดแคลนแรงงาน ส่วนอีกฝ่ายก็สามารถส่งแรงงานในยังประเทศที่มีความต้องการตลาดสูงกว่าในประเทศ ซึ่งเรื่องนี้ ทางด้าน พัฒนพงศ์ (แพท) แสงธรรม อาจารย์คณะศิลปศาสตร์ (ภาควิชาภาษาอังกฤษ) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก็ได้โพสต์เฟซบุ๊กเกี่ยวกับ Saudization หรือยุทธศาสตร์ของซาอุดีอาระเบียจนทำให้พอเข้าใจว่า สัมพันธ์ไทย-ซาอุฯ ในครั้งนี้ เป็นสาระสำคัญที่เหมาะสมและก็ไม่ใช่เป็นเรื่องแปลกอันใด ว่า…

Saudization เป็นยุทธศาสตร์ของซาอุดีอาระเบีย ที่เริ่มขึ้นมากว่า 10 ปีแล้ว เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต และสังคมให้กับชาวซาอุฯ ทั้งในมิติของการว่าจ้างงาน สิทธิพลเมือง สิทธิสตรี และสวัสดิการต่างๆ เช่น…

>> เพิ่มจำนวนลูกจ้างและพนักงานชาวซาอุฯ ในบริษัทและภาคธุรกิจเอกชน ซึ่งที่ผ่านมาเป็นคนซาอุฯ ทำงานเองโดยเฉลี่ย ประมาณ 20% เท่านั้น

>> ตำแหน่งภาครัฐ จ้างแต่ชาวซาอุฯ อยู่แล้ว ซาอุฯ สงวนอาชีพในบางสาขาไว้ให้ชาวซาอุฯ เท่านั้น เช่น ภาคเกษตรกรรม, อสังหาริมทรัพย์, การบริหารสาธารณูปโภค, ไฟฟ้า, น้ำประปา, การสื่อสาร ฯลฯ

>> อย่างไรก็ตาม การจ้างแรงงานต่างชาติ และการจ้างแรงงานคนซาอุฯ ทำคู่ขนานกันไปตาม Demand ของงาน ไม่ได้แย่งกัน เช่นเดียวกับที่ประเทศไทยใช้แรงงานต่างชาติ ซึ่งก็ไม่ได้หมายความว่าคนไทยมีงานทำที่นั่นทุกคน

>> ซาอุฯ มีประชากร 36 ล้านคน มีแรงงานต่างชาติอยู่ราว 14 ล้านคน ถ้าจ้างคนซาอุฯ แทนประชากรต่างชาติ เท่ากับพลเมืองครึ่งหนึ่งต้องมาทำงานแทน 

>> ตำแหน่งงาน 8 ล้านคน ที่ซาอุฯ ต้องการ ไม่ได้หมายถึงจ้างคนไทย 8 ล้านตำแหน่ง หากแต่รับทุกชาติ!!

>> ปัจจุบัน ซาอุฯ มีแรงงานอินเดีย 2.5 ล้านคน / ซีเรีย 2.5 / ปากีสถาน 2.5 /ฟิลิปปินส์ 1.6 ล้าน / บังกลาเทศ 1.3 / เยเมน 1 ล้าน / อียิปต์ 9 แสน / อินโดนีเซีย 8.5 แสน และเมียนมา 5 แสน และประเทศอื่นๆ ที่มีเป็นแรงงานต่างชาติ อีกประเทศละไม่เกิน 4 แสนคนโดยเฉพาะ

>> แรงงานไทย ไม่มีโอกาสทำงานในซาอุฯ มากว่า 30 ปี แต่คนไทยก็เป็นแรงงานต่างชาติในตะวันออกกลางมากกว่า 2 แสนคน ไม่ใช่ไม่มีคนไทยไปทำงานในกลุ่มประเทศอาหรับมาก่อน

>> การแสวงหาโอกาส ในการสร้างฐานะและความมั่นคงให้ตนเอง เป็นสิทธิส่วนตัว => ไม่ต้องตัดสินใจแทนว่าเขาจะลำบาก หรือควรทำงานเก็บเงินทีละน้อยหากทำงานในประเทศบ้านเกิด

>> นักศึกษาไทย ไปทำงานในต่างประเทศ Work & Travel มาหลายสิบปี ทำงานล้างจาน โรงแรม สวนสนุก => ทำไมไม่โวยวาย นี่นักศึกษามหาวิทยาลัยนะเท้อออ.…

>> เมื่อโอกาสมาถึง หากมีความปรารถนาดี ต้องพูดถึงนโยบายการเตรียมตัวให้กับคนไทยที่จะไปทำงานต่างประเทศ เช่น อบรมภาษาอังกฤษให้กับแรงงานทุกระดับ เมื่อภาษาดี โอกาสทางตำแหน่งงานก็จะเปิดกว้างมากขึ้น => ปัจจุบัน คนซาอุฯ พูดภาษาอังกฤษในระดับใช้งานในชีวิตประจำได้มากกว่า 70% และมีผู้ใช้ภาษาอังกฤษระดับดีและดีมาก 20%

>> นอกเหนือจากภาษาอังกฤษแล้ว หน่วยงานของรัฐ ยังสามารถจัดโครงการอบรมเพิ่มความชำนาญ ให้กับบุคคลที่ต้องการไปทำงานที่ซาอุฯ เช่น การอบรมระดับประกาศนียบัตร เพื่อเพิ่ม Credential ให้กับแรงงานไทย ในทุกสาขา

*** หากต้องการเย็บใบหน้า ไม่ต้องไปซาอุฯ เมืองไทยมีหมอศัลยกรรมดีๆ หรือจะไปเกาหลีก็ได้


ที่มา : https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=4910648095639981&id=100000845184675
https://www.prachachat.net/economy/news-850567