“วิโรจน์” อัดรบ. ประเมินสถานการณ์พลาด ทำโควิดเลวร้าย คนป่วยตกค้างไร้เตียง นอนตายที่บ้าน หนุนล็อกดาวน์คู่มาตรการเยียวยา แนะหารือผู้เชี่ยวชาญหยุดวิธีคิดโง่เขลา จี้เลิกซื้อ “ซิโนแวค” เหตุกระตุ้นภูมิต่ำ ไม่กันสายพันธุ์เดลต้า
ที่พรรคก้าวไกล นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร โฆษกพรรคก้าวไกล แถลงถึงการที่รัฐบาลประกาศล็อกดาวน์กรุงเทพฯและปริมณฑล ว่า การควบคุมการระบาดของโรคนั้นพบว่าแพทย์ 1 คน ต้องดูแลผู้ป่วยอย่างน้อย 30 ราย บุคลากรการแพทย์ต้องทำงานหนักวันละ 16 ชั่วโมง ต่อเนื่องกันมานานกว่า 3 เดือน แต่ผู้ติดเชื้อโควิด ที่มีจำนวนเพิ่มขึ้น และแนวโน้มผู้ติดเชื้อมีจำนวนมากกว่าผู้ที่หายป่วยกลับบ้าน ทางพรรคก้าวไกลขอเรียกร้องให้รัฐบาลเปิดเผยได้แล้วว่าในแต่ละวันผู้ติดเชื้อใหม่มีจำนวนตรวจที่แท้จริงเท่าใด และจากผู้ที่ติดเชื้อรายใหม่ที่พบเป็นผู้ที่ได้รับวัคซัน 1 เข็มไปแล้วกี่ราย รับวัคซีนครบ 2 เข็มไปแล้วกี่ราย โดยแยกยี่ห้อวัคซีนแจ้งให้ประชาชนทราบด้วย และในจำนวนนี้มีบุคคลากรทางการแพทย์กี่ราย เพื่อให้ประประชาชนได้รับทราบสถานการณ์ที่แท้จริง ซึ่งรัฐบาลมักจะพูดเสมอว่าวัคซีนที่เอามาฉีดกันตาย ไม่กันติด ทั้งที่จริงๆแล้วมีการติดมากน้อยแค่ไหน
นายวิโรจน์ กล่าวว่า ยืนยันว่าสถานการณ์ที่เลวร้ายที่เกิดขึ้นในกทม.ถ้ารัฐบาลรู้จักหน้าที่ในการทำงานอย่างแท้จริง สถานการณ์ไม่เลวร้ายถึงเพียงนี้ หากรัฐบาลมีการเตรียมความพร้อมทุกอย่าง แม้จะอยู่ในสภานการณ์ที่ลำบากก็ไม่น่าจะเกินกว่าขีดความสามารถที่รัฐบาลจะรับมือได้ดีกว่านี้ ที่ผ่านมางบประมาณด้านสาธารณสุข 4.5 หมื่นล้านบาท ที่กันมาจากการเงินกู้ 1 ล้านล้านบาท รัฐบาลนี้เบิกจ่ายได้เพียงประมาณ 9,556 ล้านบาท หรือ 21 เปอร์เซนต์เท่านั้น รัฐบาลจะอ้างว่าไม่มีงบประมาณไม่ได้ โครงการเตรียมความพร้อมด้านสถานพยาบาลมีการกันเงินเอาไว้ 10,132 ล้านบาท จากเงินกู้ 1 ล้านล้านบาท จากวงเงินสาธารณสุข 4.5 หมื่นล้านบาท เบิกจ่ายไปได้เพียงแค่ 178 ล้านบาทเท่านั้น คืบหน้าแค่ 1.8 เปอร์เซนต์ โครงการเพื่อรับสถานการณ์ฉุกเฉิน 10,497 ล้านบาท เบิกจ่ายไปได้เพียง 127 ล้านบาท คืบหน้าเพียง 8.5 เปอร์เซนต์
โฆษกพรรคกก้าวไกล กล่าวต่อว่า ทั้งหมดนี้จึงสะท้อนได้ชัดว่า ที่ผ่านมารัฐบาลดูเบาต่อสถานการณ์ ประเมินสถานการณ์ต่ำเกินไป และละเลยไม่ตั้งใจในการทำหน้าที่ ขาดความรับผิดชอบต่อสาธารณชน จนประชาชนโดยเฉพาะในกทม. ต้องเดือดร้อนแสนสาหัส กระทบกับปากท้องการดำเนินชีวิต การทำมาหากิน ประชาชนทุกเพศทุกวัยเดือดร้อน และสถานการณ์การฉีดวัคซีนก็ยังคงล้าช้า มีประชาชนถูกลอยแพเป็นจำนวนมาก เชื่อว่าระบบจัดการฐานข้อมูลยังคงมั่วอยู่ ยิ่งให้โรงพยาบาลเข้ามากำหนดวันหนัดหมายใหม่ได้เอง เลื่อนคิวได้เอง โดยที่ระบบฐานข้อมูลยังไม่ได้จัดทำให้เชื่อมโยงกัน ระหว่างระบบการจองต่างๆ กับฐานข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข ยิ่งจะทำให้ระบบการจัดการฐานข้อมูลสร้างปัญหาให้กับการจัดการฉีดวัคซีนให้ประชาชนเดือดร้อนกันมากยิ่งขึ้น ซึ่งเรื่องนี้พรรคก้าวไกลขอเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งจัดการปัญหาให้เร็วที่สุด ไม่เช่นนั้นปัญหาจะสะสมแและผู้ที่เดือดร้อนคือประชาชน
นายวิโรจน์ กล่าวต่อว่า สำหรับวัคฉีนซิโนแวค ที่รัฐบาลยืนยันที่จะดำเนินการจัดซื้ออีก 28 ล้านโดสนั้น ถ้าต้องใช้งบฯ จะอยู่ที่ 15,372 ล้านบาทถึง 1,7500 ล้านบาท เรื่องนี้พรรคก้าวไกล ขอเรียกร้องให้รัฐบาลทบทวนอย่างเร่งด่วน เนื่องจากมีข้อท้วงติงจากผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการ ในประเด็นประสิทธิภาพของวัคซีนซิโนแวก และวัคซีนชนิดเชื้อตายอื่น ๆ ว่าอาจจะมีประสิทธิภาพในการป้องกันการแพร่ระบาดได้อย่างจำกัด และไม่ความสามารถในการสร้างภูมิที่ไม่สูงเพียงพอ และมีแนวโน้มว่าอาจจะไม่สามารถรับมือกับเชื้อสายพันธุ์เดลต้าได้ ซึ่งสายพันธุ์ดังกล่าวมีการคาดมายกันว่าจะเป็นสายพันธุ์หลักที่ระบาดในกทม. ภายในเดือน ก.ค.-ส.ค.นี้
นายวิโรจน์ กลาวต่อว่า การฉีดวัคซีนซิโนแวก หากรัฐบาลจอ้างว่าฉีด 3 เข็ม แล้วได้ภูมิในระดับน้องๆของ Mrna อย่างไฟเซอร์ พรรคก้าวไกล จึงได้เปรียบเทียบต้นทุนให้รัฐบาลได้ตรหนัก วัคซีนซิโนแวค 3 เข็ม ค่าใช้จ่ายต่อประชาชน อยู่ที่ประมาณ 1,647-1,875 บาทต่อคน เมื่อเทีบกับไฟเซอร์ 2 เข็มมีค่าใช้จ่ายเพียงแค่ 1,216 บาทต่อคน ไม่ว่าจะในแง่ประสิทธิภาพในการป้องกันโรคหรือประสิทธิภาพในการใช้จ่ายงบประมาณ การจัดซื้อวัคซีนชนิด mRNA น่าจะเป็นทางออกในการระงับการแพร่ระบาดจากเชื้อสายพันธ์เดลต้าที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด พรรคก้าวไกลยืนยันว่า การจัดซื้อวัคซีนชนิด mRNA ควรจะเป็นทางออกที่รัฐบาลเร่งพิจารณาและเชื่อว่าจะเป็นการตัดสินใจที่ใช้สติปัญญาในการไตร่ตรองอย่างมีจริยธรรมมากกว่า รัฐบาลจะนอนคดไม่รู้นั่งขู้ไม่เห็นไม่ได้ สิ่งเหล่านี้จะเป็นข้อสังเกตถึงประสิทธิภาพการแพร่ระบาดของวัคซีนซิโนแวคและวัคซีนเชื้อตายที่รัฐบาลนำมาฉีดให้กับประชาชน
“คำถามที่รัฐบาลต้องชี้แจงกับประชาชนคือเหตุใดการส่งมอบวัคซีนไฟเซอร์ 20 ล้านโดสจึงถูกเลื่อนไปส่งมอบในไตรมาส 4 ทั้งที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ได้มีการเจรจาไว้ตั้งแต่ 20 เม.ย.ซึ่งการส่งมอบที่ล่าช้าถูกเลื่อนไป สวนทางกับประเทศอินโดนีเซียและประเทศฟิลิปปินส์ที่สั่งไป 50 และ 40 ล้านโดสตามลำดับ ซึ่งทั้งสองประเทศมีการแถลงว่าจะส่งมอบให้ในเดือนส.ค. ประเด็นข้อสงสัยนี้รัฐบาลควรเปิดเผยว่าในวันที่ลงนามจองวัคซีนกับไฟเซอร์เป็นวันที่เท่าไร หากมีการลงนามในสัญญาจองวัคซีนก่อนประเทศอินโดนีเซียและประเทศฟิลิปปินส์ ก็ไม่มีเหตุผลอะไรเลยที่ประเทศไทยจะได้รับการส่งมอบวัคซีนช้ากว่าอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ เรื่องนี้รัฐบาลต้องชี้แจงอย่างเร่งด่วน จะไม่ทำตัวเป็นไม่รู้หรือทำตัวเงียบเนียนไม่ได้ ทั้งนี้วันที่ลงนามในสัญญาไม่ได้เป็นความลับใด ๆ ที่ประชาชนไม่อาจรู้ได้เลย ทั้งนี้เพื่อการเร่งการจัดหาวัคซีน พล.อ.ประยุทธ์ควรจะเข้าหารือกับทูตของประเทศสหรัฐฯ ประจำประเทศไทยอย่างเร่งด่วนเพื่อขอความร่วมมือในการเร่งหาวัคซีนชนิด Mrna เพื่อใช้ในการควบคุมการระบาดปกป้องชีวิตและลดความเสี่ยงของบุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติงานอยู่ด่านหน้า” นายวิโรจน์ กล่าว
นายวิโรจน์ กล่าวต่อว่า การล็อกดาวน์กรุงเทพฯ หากสภาวะอยู่ในสถานการณ์ที่วิกฤตจริงๆ การล็อกดาวน์ก็เป็นมาตรการที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้ว่าจะหลีกเลี่ยงได้ หากรัฐบาลมีการเตรียมตัวและใช้งบประมาณ 45,000 ล้านบาทได้ดีกว่านี้ก็ตาม รัฐบาลควรชี้แจงและเปิดเผยข้อมูลทั้งหมดให้ประชาชนได้เห็นถึงความจำเป็น และมาตราการล็อกดาวน์ควรมาควบคู่กับการเยียวยาอย่างสมเหตุสมผลกับทั้งประชาชนและผู้ประกอบการ SMEs โดยเฉพาะการเยียวยาค่าเช่าตามจำนวนวันที่มีการล็อกดาวน์ นอกจากนี้รัฐบาลต้องประกาศให้ประชาชนทราบถึงภารกิจที่ชัดเจนว่ารัฐบาลจำเร่งดำเนินการอย่างไรในช่วงที่มีการล็อกดาวน์ รวมถึงต้องมีการตรวจเชิงรุกและพบผู้ป่วยนั้นเป็นข่าวดี ไม่ใช่ข่าวร้ายเพราะจะเป็นการนำผู้ป่วยที่มีอาการเบาบางมารักษา ส่งผลให้อัตรการการเสียชีวิตลดลง ขณะเดียวกันก็จะเป็นการควบคุมการแพร่ระบาด ทั้งนี้รัฐบาลควรให้ผู้ป่วยที่มีอาการเบาบางสามารถรักษาตัวที่บ้านเองได้โดยมีระบบรายงานความคืบหน้าให้กับแพทย์เจ้าของไข้ทราบ และเมื่อมีอาการหนักขึ้นควรมีระบบไปรับมารักษาตัวที่โรงพยาบาล มีระบบให้จ่ายยาหรืออนุญาตให้หมอจ่ายยาเพื่อรักษาผู้ป่วยในตอนที่ยังมีอาการไม่หนักมาก รวมทั้งมีระบบการจัดส่งอาหารให้กับผู้ป่วยเพื่อให้ผู้ป่วยได้กักตัวอยู่ที่บ้านได้อย่างมั่นใจ ทั้งนี้ขอให้เร่งติดตามวัคซีนแอสตราเซเนกาอีก 2,113,000 โดสมาให้ทันภายในวันที่ 30 มิ.ย.โดยเร็วที่สุด เพราะเป็นความหวังในการสกัดกั้นการแพร่ระบาดของโควิดในพื้นที่กรุงเทพฯ
“ความห่วงใยของพรรคก้าวไกลเกิดจากการที่ รมวมหาดไทย ให้ความเห็นว่าจะช่วยลดการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 หากประชาชนเดินทางกลับบ้านและช่วยแก้ปัญหาเตียงไม่พอได้ ซึ่งรมว.มหาดไทยอ้างว่าหากติดโควิดก็จะมีเตียงต่างจังหวัด ซึ่งพรรคก้าวไกลยืนยันว่าเป็นวิธีคิดที่ขาดสติปัญญาอย่างมาก และการกระทำเช่นนี้ไม่ใช่เป็นการล็กดาวน์ แต่เป็นการกระจายโรคระบาดไปยังทั่วประเทศ จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งปรึกษาผู้เชี่ยวชาญและยุติวิธีคิดที่โง่เขลาเช่นนี้โดยพลัน”นายวิโรจน์ กล่าว