เผย ศบค. เห็นชอบแผนการกระจายวัคซีนแอสตร้าเซเนกา เข็มแรกเริ่มมิถุนายน-กันยายน จัดลำดับเร่งด่วน 4 จว.สีแดงเข้ม พร้อมจังหวัดรับท่องเที่ยว ก่อนทยอยกระจายทั้วประเทศ
ผู้สื่อข่าวรายงานจากทำเนียบรัฐบาล ถึงการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. ครั้งที่ 7/2564 ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกนรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม เป็นประธาน ผ่านระบบ Video Conference จากตึกสันติไมตรี ว่า มีรายงานแจ้งว่า ที่ประชุม ศบค. ชุดใหญ่ นอกจากจะมีมติเห็นชอบ ขยายเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ในทุกเขตท้องที่ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน-31 กรกฎาคม 2564 เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว และทันต่อสถานการณ์ ทั้งนี้พบว่าจำนวนผู้ติดเชื้อ ยังคงไม่ลดลง โดยเฉพาะในพื้นที่ กทม. และปริมณฑล ส่วนต่างจังหวัดมีแนวโน้มคงตัว
ทั้งนี้ ที่ประชุมเห็นชอบแผนการจัดสรรวัคซีนแอสตราเซเนก้า 36 ล้านโดส เข็มที่ 1 โดยเป็นข้อมูล ณ วันที่ 20 พ.ค. เดือนมิถุนายน-เดือนกันยายน 2564 และเข็มที่ 2 เดือนตุลาคม-ธันวาคม เพื่อให้คนไทย และ คนต่างชาติจำนวน 50 ล้านคน ได้รับวัคซีนเข็มที่ 1 ร้อยละ70 ในเดือนกันยายนด้วยความสมัครใจ
สำหรับผู้ที่ลงทะเบียนหมอพร้อม จะได้รับประกันการจัดสรรวัคซีน เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ภาคธุรกิจ การท่องเที่ยว ตามแผนเปิดประเทศที่กำหนด โดยกลุ่มเป้าหมายที่จะได้รับการฉีดวัคซีน 8 กลุ่ม คือ
1.) บุคลากรทางการแพทย์ และสาธารณสุขด่านหน้า ทั้งภาครัฐและเอกชน
2.) เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการควบคุมโรคโควิด-19 ที่มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วย
3.) บุคคลที่มีโรคเรือรังประจำตัว
4.) ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป
5.) ประชาชนที่มีความเสี่ยงสัมผัสโรค เช่น ครู พนักงานขับรถสาธารณะ ชาวไทยที่ไปศึกษาและทำงานต่างประเทศ
6.) คณะทูตานุทูต และครอบครัว รวมทั้งองค์กรระหว่างประเทศ
7.) ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม และ
8.) ชาวต่างชาติ และแรงงานต่างด้าว
สำหรับแผนการส่งมอบวัคซีนแอสตร้าเซเนกา เริ่มในเดือนมิถุนายน 6.3 ล้านโดส กรกฎาคม-พฤศจิกายน เดือนละ 10 ล้านโดส และเดือนธันวาคม 5 ล้านโดส และอยู่ระหว่างกำลังจัดหาเพิ่มประมาณ 37 ล้านโดส จากบริษัทจอนสันต์ 10 ล้านโดส ไฟเซอร์ 20 ล้านโดส ชิโนแวค 7 ล้านโดส โดยขึ้นอยู่กับความสามารถในการผลิตและส่งมอบวัคซีนจากบริษัทผู้ผลิต
สำหรับแผนการกระจายวัคซีน โดยเฉพาะวัคซีนเข็มแรกในเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน จะถูกกระจายไปยัง พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดก่อน รวม 4 จังหวัด ประกอบด้วยกรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี
ขณะที่จังหวัดที่มีแผนเปิดการท่องเที่ยวได้แก่ ภูเก็ต จะได้รับการกระจายวัคซีนภายในเดือนมิถุนายนเช่นกัน ส่วนจังหวัดที่มีชายแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้านและมีความเร่งด่วนในการเตรียมความพร้อมรองรับสถานการณ์ภายหลังการระบาดก็จะได้รับภายในเดือนกรกฎาคม รวม 17 จังหวัด ประกอบด้วย เชียงใหม่ เชียงราย สงขลา สระแก้ว ตาก มุกดาหาร นราธิวาส ระนอง หนองคาย เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี พังงา กระบี่ จันทบุรี ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา และสมุทรสาคร จากนั้นก็จะจัดลำดับไปอีก 55 จังหวัดที่เหลือของประเทศไทยเพื่อกระจายวัคซีนอย่างครอบคลุม
นอกจากนี้ที่ประชุม เห็นชอบช่องทางการลงทะเบียนและเข้ารับวัคซีน 3 ช่องทางคือ
1.) จองผ่านหมอพร้อม
2.) นัดหมายผ่านสถานพยาบาลหรืออสม. หรือผ่านองค์กรหรือช่องทางอื่นที่จังหวัดกรุงเทพมหานครจัดเพิ่มเติม และ
3.) ลงทะเบียน ณ จุดบริการ on site พร้อมมอบหมายให้ทุกหน่วยงานจัดการประชาสัมพันธ์เรื่องช่องทางการรับบริการฉีดวัคซีนป้องกัน โควิด-19 และการให้บริการแก่กลุ่มเป้าหมายจำเพาะให้ทราบโดยทั่ว