คณะที่ปรึกษาสธ.ศบค. แนะ กทม.กรุงเทพฯ เร่ง ตีวงต่างด้าวผิดกม. จัดสถานที่อยู่-ขยายขึ้นทะเบียน หวั่น มีพฤติกรรมเสี่ยงทำคุมระบาดยาก ด้านกทม.ขอกำลังเสริม ทีมสอบสวนโรค-ฉีดวัคซีน
วันที่ 20 พฤษภาคม 2564 ที่ทำเนียบรัฐบาล นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19 ) หรือศบค.แถลงสถานการณ์ประจำวันว่า วันนี้คณะที่ปรึกษาด้านการสาธารณสุขศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 ประกอบด้วย นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นพ.อุดม คชินทร นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา ได้ประชุมหารือถึงการออกมาตรการเฉพาะในบางเรื่องในพื้นที่กรุงเทพฯ เนื่องจากสถานการณ์การติดเชื้อในกรุงเทพฯ พบผู้ติดเชื้อ 1,001 ราย พบจากการเฝ้าระวังในโรงพยาบาล คนไทย 541 รายต่างด้าว 167 ราย จากการค้นหาเชิงรุก คนไทย 132 ราย ต่างด้าว 161 ราย
โดยที่ประชุมโฟกัสจุดระบาด ที่ดอนเมือง แคมป์ก่อสร้างหลักสี่แฟลตดินแดง ตลาดห้วยขวางที่พักคนงานก่อสร้างคลองเตยตลาดพลอยบางรัก จะอยู่ในจุดเฝ้าระวังสูงสุด 36 คลัสเตอร์ กระจาย 25 เขต แบ่งเป็นกลุ่มระวังสูงสุด14 คือ ดินแดง ราชเทวี หลักสี่ ดุสิต ป้อมปราบศัตรูพ่าย คลองเตย บางรัก สาทร พระนคร ประเวศ บางกอกน้อย ห้วยขวาง บางเขน บางคอแหลม เช่น ชุมชนแคมป์ก่อสร้าง ตลาดชุมชน สถานประกอบการที่เป็นคอลเซ็นเตอร์ เฝ้าระวังสูง วัฒนา สวนหลวง จตุจักร ราชเทวี ดอนเมือง บางกะปิ และพบใหม่ที่บางพลัดแคมป์ก่อสร้าง สำหรับเขตที่ดูแลดีและควบคุมการระบาดได้มี 8 เขต คือ ทวีวัฒนา ปทุมวัน ป้อมปราบศัตรูพ่าย สาทร สัมพันธวงศ์ ลาดพร้าว สวนหลวง
นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า จากรายงานของกรุงเทพฯ พบแคมป์ก่อสร้างทั้งหมด 409 แห่ง มีคนงานรวม 62,169 คน คนไทยกว่า 2 หมื่น เป็นคนต่างชาติกว่า 36,000 คน ซึ่งแคมป์คนงานก่อสร้างมีความสำคัญสูง ที่จะต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ประกอบการ และทางกรุงเทพฯ ไดเมอนิเตอร์ติดตามผ่านสำนักงานเขตทุกเขต ดังนั้นผู้อำนวยการเขตทั้งหลาย ฝ่ายปกคลอง ต้องทำงานอย่างเต็มที่ในการเฝ้าระวังร่วมกับคนในพื้นที่และท้องถิ่น เฝ้าระวังและช่วยกันดูแลคนในเขต เพราะจากการตรวจเชิงรุกพบติดเชื้อวันละ300-400 คนมี คนต้องการเตียงวันละไม่ต่ำกว่า 500 คน
โดยกรมควบคุมโรควิเคราะห์ปัจจัยระบาดในกรุงเทพฯ ที่ต้องเร่งแก้ไข คือ เรื่องสุขาภิบาลของตลาด ความแออัดของการใช้ห้องน้ำร่วมกันของแคมป์คนงานเป็นต้น ดังนั้นมาตรการที่จะต้องดำเนินการในการเฝ้าระวังในกลุ่มเฝ้าระวังสูงสุดและเฝ้าระวัง ในส่วนมาตรการของตลาด คือ ปรับการระบายอากาศให้เพียงพอ เหมาะสม จัดให้มีการควบคุมเข้าออกและมีมาตรการคัดกรอง หากใครมีอาการป่วย
นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า คณะที่ปรึกษาฯ จึงเสนอเรื่องของต่างด้าวโดยประมาณการว่าในกรุงเทพฯ และปริมณฑล จะมีคนต่างด้าวที่ถูกกฎหมายประมาณ 1,318,641 คน ส่วนที่ไม่ถูกกฎหมายประมาณการทั้งประเทศเป็นหลักล้านคน ซึ่งคนเหล่านี้มีพฤติกรรมที่อาจจะเป็นปัจจัยทำให้ยากต่อการควบคุมโรค คือ
1.) จะเป็นผู้ที่ไม่อยู่นิ่งและมีการหลบหนีเคลื่อนย้ายตัวเองบ่อยเพราะไม่ถูกกฎหมาย
2.) มีพฤติกรรมไปอยู่กับคนที่ถูกกฎหมายไปเกาะกลุ่มรวมกันทำงานและย้ายจุด
3.) และมีที่พักแออัด นอนพักอาศัย กินดื่ม รวมกัน ทางคณะที่ปรึกษาฯ จึงเสนอให้มีศูนย์คัดแยกผู้ป่วยโดยเฉพาะกลุ่มผู้ใช้แรงงานต่างด้าว โดยให้แยกออกมาโรงพยาบาลสนาม ยกตัวอย่างจังหวัดปทุมธานี ที่ใช้ตลาดเก่าไม่ได้ใช้ มาปูเสื่อน้ำมันให้อากาศถ่ายเท ให้คนต่างชาติมาอยู่รวมกันตรงนั้น โดยมีรั้วรอบขอบชิด ซึ่งกรุงเทพฯ จะต้องรีบทำเพราะวันนี้จำนวนที่ติดเชื้อเพิ่มขึ้นมาวันละกว่า 300 คนจะต้องแยกออกมาชุมชนให้ได้ และให้มีมาตรการนิรโทษกรรม รองรับขยายการขึ้นทะเบียนให้ถูกต้องตามกฏหมายเข้าสู่ระบบจ้างงานถูกต้อง
ทั้งนี้กรุงเทพฯ ขอความร่วมมือ โดยต้องการทีมสอบสวนโรคเพิ่มขึ้นตามข้อแนะนำของคณะที่ปรึกษา ประกอบด้วยพยาบาลนักวิชาการสาธารณสุข ทีมละ 4 คน ลงไปสอบสวนโรคเกือบทุกเขต และทีมฉีดวัคซีน มีแพทย์พยาบาลอาสาสมัคร ทำงานทั่วไป ให้ติดต่อที่ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านสาธารณสุข สำนักอนามัยกรุงเทพมหานคร ได้ที่เบอร์ 064 805 2620