ยะลา - เช็งเม้งเบตงคึกคัก ประชาชนเดินทางกลับมาไหว้บรรพบุรุษเนืองแน่น มั่นใจเบตงไร้โควิด-19

ยะลา - เทศกาลเช็งเม้งสุสานบ้านจะเราะปะไต กม.4 ในพื้นที่ อ.เบตง จ.ยะลา เป็นไปอย่างคึกคัก หลังประชาชนเดินทางกลับมาไหว้บรรพบุรุษเนืองแน่น มั่นใจในพื้นที่ อ.เบตง จ.ยะลาไร้การระบาดไวรัสโควิด-19 อีกทั้งยังได้หนีความแออัดและหมอกควันPM 0.5 ในกรุงเทพฯ กลับมาสัมผัสธรรมชาติไร้หมอกควันพิษ PM.0.5

วันนี้ (3 เม.ย.) บรรยากาศในช่วงเทศกาลเช็งเม้ง ที่สุสานบ้านจะเราะปะไต บ้าน กม.4 อ.เบตง จ.ยะลา เป็นไปอย่างคึกคัก มีประชาชนชาวไทยเชื้อสายจีนในพื้นที่ อ.เบตง จ.ยะลา และที่เดินทางไปทำงานยังต่างจังหวัด ได้เดินทางกลับบ้านมาร่วมไหว้บรรพบุรุษในช่วงเทศกาลเช็งเม้ง พร้อมกับครอบครัว บุตรหลาน และญาติพี่น้อง จำนวนมากเดินทางกลับมาไหว้บรรพบุรุษเนืองแน่น  มั่นใจในพื้นที่ อ.เบตง จ.ยะลาไร้การระบาดไวรัสโควิด-19 อีกทั้งยังได้หนีความแออัดและหมอกควันPM 0.5 ในกรุงเทพฯ กลับมาสัมผัสธรรมชาติไร้หมอกควันพิษ

โดยแต่ละคนก็จะนำอาหารคาวหวาน ขนม ผลไม้ เครื่องเซ่นไหว้ต่าง ๆ มาด้วย พร้อมกับทำความสะอาดที่บริเวณหลุมฝังศพญาติพี่น้องของตนเอง ก่อนจะตั้งเครื่องเซ่นไหว้ กราบไหว้บรรพบุรุษ และเผากระดาษเงิน กระดาษทอง เสื้อผ้ากระดาษ สิ่งของเครื่องใช้ ส่งไปให้เพื่อแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ

ซึ่งจะมีผู้คนไปไหว้หลุมศพบรรพบุรุษ ไปจนถึงวันศุกร์ ที่  4  เมษายน 2564 ซึ่งบรรยากาศปีนี้คึกคักกว่าปีที่ผ่าน ๆ มา เนื่องจากสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ลดน้อยลง และในพื้นที่ไม่มีการระบาดไวรัสโควิด-19 ทำให้ประชาชนที่เดินทางกลับภูมิลำเนามีความมั่นใจ

ทั้งนี้ วันเช็งเม้ง ถือว่าเป็นประเพณีที่สำคัญมากที่สุดของของชาวจีน เนื่องจากเป็นประเพณีไหว้บรรพบุรุษที่สุสาน เพื่อแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่จากไป อีกทั้ง ยังเป็นการสร้างตระหนักรู้แก่ ลูกหลานรุ่นหลังให้เห็นประวัติและคุณงามความดีของบรรพบุรุษที่ทำให้ลูกหลานมีชีวิตที่ดีเช่นทุกวันนี้

วันเช็งเม้ง ในปี 2564 ตรงกับวันอาทิตย์ที่ 4 เมษายน  วันเช็งเม้ง หรือ เทศกาลเช็งเม้ง เป็นการทำพิธีเซ่นไหว้และปัดกวาดหลุมศพบรรพบุรุษ โดยถือว่าเป็นประเพณีที่มีความเกี่ยวเนื่องกับพิธีกรรมการฌาปนกิจ เนื่องจากตามบันทึกทางประวัติศาสตร์เคยกล่าวไว้ว่า "สร้างหลุมศพไม่ต้องสร้างเนินสุสาน" ดังนั้น จึงไม่เคยมีบันทึกถึงการทำความสะอาดเนินสุสานมาก่อน   แต่ในเวลาต่อมา เมื่อเริ่มมีความนิยมสร้างหลุมศพโดยสร้างเนินสุสานด้วยในภายหลัง จึงทำให้ประเพณีการเซ่นไหว้ที่สุสานเกิดขึ้น จนกลายเป็นประเพณีที่ละเว้นไม่ได้มาจนถึงปัจจุบันนี้ และในวันเช็งเม้ง 2564 ตรงกับวันที่ 4 เมษายน ทุกปี


ภาพ/ข่าว  ธานินทร์  โพธิทัพพะ