ชุมพร ศึกษาเพื่อกำหนดแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง

วันจันทร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 13.00-16.30 น. นายสุริยา น้ำเงิน โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดชุมพร  เดินทางมาเป็นประธานในการประชุมประชาสัมพันธ์โครงการ โครงการศึกษาเพื่อกำหนดแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ระยะที่ 1 พื้นที่ในระบบหาดตั้งแต่พื้นที่ตำบลบางน้ำจืด อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ถึงตำบลพุมเรียง อำเภอไชยำ จังหวัดสุราษฎร์ มีพี่น้องในพื้นทีเข้าร่วมจำนวน 60 คน ณ ศาลาประชุมกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ที่ว่าการอำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร 


นายสุริยา น้ำเงิน  กล่าว่า ขอต้อนรับทุกท่านด้วยความยินดีเป็นอย่างยิ่ง   เป็นที่ทราบกันดีว่าประเทศไทยมีแนวชายฝั่งทะเลทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน  เป็นระยะทางยาวกว่า 3,148 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 23 จังหวัด เป็นชายฝั่งทะเลอ่าวไทย   จำนวน 17 จังหวัด ความยาว 2,055 กิโลเมตร และชายฝั่งทะเลอันดามัน จำนวน 6 จังหวัด ความยาว 1,093 กิโลเมตร โดยปัจจุบันมีการใช้ประโยชน์พื้นที่ชายฝั่งทะเลที่หลากหลาย เช่น  เป็นชุมชนที่อยู่อาศัย พื้นที่นันทนาการและการท่องเที่ยว การทำประมง และเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ  เป็นต้น ดังนั้น ชายฝั่งทะเลจึงมีความสำคัญทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม  อย่างไรก็ดี พื้นที่ชายฝั่งทะเลนั้นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทำให้แนวชายฝั่งมีการ เปลี่ยนแปลงทั้งการตกตะกอนทับถมและการกัดเซาะชายฝั่ง โดยในพื้นที่ศึกษาเองก็พบว่า มีแนวชายฝั่งที่ประสบปัญหาคลื่นกัดเซาะที่ดินชายฝั่งในหลายบริเวณ โดยตลอดระยะเวลา ที่ผ่านมา มีหน่วยงานราชการทั้งในท้องถิ่นและส่วนกลาง ตลอดจนเจ้าของที่ดินเอง  ได้ดำเนินการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งในรูปแบบต่างๆ ที่หลากหลาย ซึ่งหากรูปแบบการ ป้องกันที่เลือกใช้ไม่เหมาะสม หรือก่อสร้างไม่ได้มาตรฐานตามหลักวิศวกรรมแล้ว ก็จะทำให้การดำเนินงานไม่บรรลุวัตถุประสงค์ในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง การประชุมประชำสัมพันธ์โครงการ ครั้งที่ 1 โครงการศึกษาเพื่อกำหนดแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ระยะที่ 1 พื้นที่ในระบบหาดตั้งแต่พื้นที่ตำบลบางน้ำจืด อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร  ถึงตำบลพุมเรียง อำเภอไชยำ จังหวัดสุราษฎร์

"อย่างไรก็ดี ทราบว่ากรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้มีการกำหนดแนวทางการ จัดการชายฝั่งโดยใช้ระบบกลุ่มหาด โดยการแบ่งพื้นที่ชายฝั่งออกเป็นหน่วยย่อย ๆ หรือเป็น  “กลุ่มหาด” โดยใช้หัวแหลม หัวเขา หรือปากแม่น้ำ มาเป็นตัวแบ่งขอบเขตของกลุ่มหาด  เพื่อให้สามารถดำเนินการวางแผนการบริหารจัดการชายฝั่งได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน จากรายงานของผู้แทนกรมโยธาธิการและผังเมือง ที่ระบุว่า การดำเนินงานโครงการ ได้นำเอาแนวคิดการจัดการชายฝั่งด้วย “ระบบกลุ่มหาด” มาประยุกต์ใช้ในการศึกษา เพื่อให้เกิดการพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ ส่งเสริมให้เกิดการบูรณาการองค์ความรู้ร่วมกันระหว่าง หน่วยงานภาครัฐ ที่ รับผิดชอบในด้านการจัดการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง อีกทั้ง  ยังให้ความสำคัญกับการประชาสัมพันธ์และการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน โดย กำหนดให้มีการประชาสัมพันธ์และประชุมรับฟังความคิดเห็น จำนวน 3 ครั้ง และการประชุม  เชิงวิชาการเฉพาะด้านวิศวกรรมการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง จำนวน 1 ครั้ง โดยในครั้งนี้จะเป็นการประชุมประชาสัมพันธ์โครงการ ครั้งที่ 1 เพื่อประชาสัมพันธ์และขี้แจงโครงการ และนำเสนอ “ร่างแผนหลักแนวทางและมาตรการการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งโดยใช้ระบบกลุ่มหาด” ซึ่งผมเชื่อมั่นว่าทุกท่านที่ร่วมอยู่ในที่ประชุมแห่งนี้ มีศักยภาพ และพร้อมที่จะให้ความร่วมมือในการแสดงความคิดเห็นในแง่มุมต่าง ๆ ที่หลากหลาย เพื่อที่หน่วยงานจะได้นำแนวคิดที่ได้จากการรับฟังความคิดเห็นไปบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิด ประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหา และเกิดความยั่งยืนต่อไป ผมขอขอบคุณ กรมโยธาธิการและผังเมืองที่ได้จัดให้มีการประชุมในวันนี้ และ  ขอขอบคุณหัวหน้าส่วนราชการ ตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ภาคเอกชน  สื่อมวลชน และผู้มีเกียรติทุกท่าน ที่เสียสละเวลามาร่วมประชุม " นายสุริยา น้ำเงิน  กล่าวเพิ่มเติม

ภาพ/ข่าว  ธนากร โกศลเมธี  (รายงานศูนย์ข่าวสารจังหวัดชุมพร)