เมื่อ Eco-Friendly กลายเป็นกระแสหลักของโลก
เมื่อ Eco-Friendly กลายเป็นกระแสหลักของโลก และส่งผลให้เกิดคลื่นแห่งการรักษ์สิ่งแวดล้อมไปในทุกมิติ ทุกวงการ แน่นอนรวมไปถึงวงการยานยนต์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งสาเหตุหลักในการสร้างมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม ผนวกกับความผันผวนของราคาน้ำมันในศตวรรษนี้ การพัฒนารถยนต์ที่มลพิษต่ำและสามารถใช้เชื้อเพลงทางเลือกจึงเกิดขึ้นอย่างแพร่หลายและต่อเนื่อง กลายมาเป็นรถยนต์ Hybrid Electric Vehicle (HEV) และ Trend ของยานยนต์ที่ได้รับการกล่าวถึงเป็นวงกว้างในปัจจุบันนี้อย่าง Electric Vehicle (EV) รถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้า 100 %
ข้อดีของรถยนต์ EV หากจำแนกออกมานั้นมีความน่าสนใจหลายเรื่อง เริ่มต้นจากความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริงเพราะใช้พลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อนจาก Battery ไปสู่ Motor เมื่อพลังงานหมดก็สามารถชาร์ทใหม่ได้ ไม่จำเป็นต้องมาสนใจกับความผันผวนของราคาน้ำมันเพราะค่าไฟฟ้านั้นค่อนข้างคงที่ การทำงานของเครื่องยนต์ก็เงียบเนื่องจากกลไกการขับเคลื่อนไม่มีการจุดระเบิดเพื่อการเผาไหม้ แรงม้าและแรงบิดก็ตอบสนองได้ไวกว่า การบำรุงรักษานั้นก็ง่ายเพราะมีการออกแบบระบบให้ถูกใช้ซ้ำ ๆ แม้จะมีการชาร์จบ่อยครั้ง ก็ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการเสื่อมสภาพของ Battery
ทั้งเรื่องของเครื่องยนต์ที่มีอัตราสึกหรอต่ำ อะไหล่แต่ละชิ้นมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ทั้งยังพัฒนาระบบสมองกลอัจฉริยะที่เชื่อมต่อข้อมูลและสั่งการด้วยการใช้ Mobile Phone หรือ Smart Tablet ปิดท้ายด้วยความหลากหลายของ Brand ผู้ผลิตที่มีอยู่อย่างมากมาย จาก Brand ระดับ Luxury อย่าง Porsche, Mercedes Benz, BMW, MINI หรือจากเจ้าพ่อรถ EV อย่าง Tesla ที่แรงสมใจขาแรง หากอยากได้ Brand จาก Asia อย่าง Nissan, Mitsubishi , BYD ก็มีให้เลือกมากมาย
แต่กระนั้นรถยนต์ EV ก็มีข้อสังเกตอีกพอสมควรว่ามันเหมาะที่จะใช้ในชีวิตประจำวันจริงหรือ ? เริ่มต้นด้วยราคาของรถ EV ที่ยังค่อนข้างสูงหากเทียบกับรถที่ใช้ทั่วไป แม้ราคาจะถูกลงกว่าเดิมมากก็ตาม Battery ที่ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่แพงที่สุดชิ้นหนึ่งของรถยนต์ไฟฟ้า หากเสียหายสนนราคาการเปลี่ยนอยู่ที่ 300,000 - 500,000 บ. โดยประมาณ ระยะการเดินทางที่จำกัดเนื่องจากการชาร์จ Battery หนึ่งครั้งจะสามารถวิ่งได้ระยะทางประมาณ 300 - 400 กม. เท่านั้น จึงเหมาะสำหรับการใช้งานในเมือง
ส่วนการเดินทางระยะไกลนั้นต้องวางแผนให้ดี ถ้าจำเพาะมาที่ประเทศไทยสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 570 แห่งหัวจ่ายประมาณ 1,800 แห่ง ก็ยังไม่สามารถรองรับการใช้งานได้อย่างทั่วถึง ยังไม่รวมไปถึงการชาร์จที่ค่อนข้างถี่และการติดตั้งแท่นชาร์จที่บ้านก็มีค่าใช้จ่ายพอสมควร
วันนี้รถยนต์ EV ในประเทศไทยมีอัตราเติบโตประมาณ 2% หากจะผลักดันรถยนต์ EV ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืนก็คงไม่พ้นหน้าที่ของภาครัฐที่ต้องสนับสนุนในหลายมิติอย่างที่หลายประเทศดำเนินการ โดยอาจจะเริ่มต้นจากลดภาษีซื้อเพื่อสร้างแรงจูงใจ งดภาษีหรือลดภาษีรถยนต์ไฟฟ้าประจำปี อุดหนุนเม็ดเงิน
ลงไปในตลาดเพื่อให้รถ EV ราคาถูกลง หรือง่ายต่อการเปลี่ยนรถยนต์ของผู้บริโภคปัจจุบัน ทั้งยังต้องผลักดันให้ยานพาหนะของภาครัฐมาใช้รถยนต์ EV อย่างเป็นรูปธรรม พร้อมร่วมมือกับเอกชนเพื่อกำหนดแผนกลยุทธ์ระยะยาว ส่งเสริมการผลิต Battery เพื่อรถ EV ในประเทศให้มากขึ้นและสร้างฐานการผลิตรตยนต์ EV ในประเทศอย่างจริงจัง และตอบโจทย์การสร้างสถานีชาร์จไฟที่รองรับอย่างเพียงพอ หากการคาดการณ์ของกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย .
ซึ่งคาดว่าในปี 2564 นี้รถ EV ในประเทศไทยจะมียอดซื้ออยู่ไม่ต่ำกว่า 6,000 คันรวมกับที่จดทะเบียนไว้ก่อนหน้าในปี 2563 ประมาณ 3,000 คัน ทั้งนี้ยังไม่รวมรถ Plug-in Hybrid ที่มาแชร์การชาร์จด้วย การจะสนองตอบต่อการใช้งานที่มากขึ้นจำเป็นต้องมีสถานีชาร์จไฟรองรับในระยะทาง 75 กิโลเมตรต่อ 1 สถานี ซึ่งประเทศไทยจะทำได้ไหม ? และการเอื้อต่อรถ EV จะเป็นการ Disrupt สถานีบริการน้ำมันที่ไม่พร้อมให้บริการชาร์จไฟไหม ? ซึ่งต้องยอมรับว่าปัจจุบันมีเพียง PTT ที่เริ่มขยับ นโยบายการผลิตรถยนต์ EV ไม่น่าจะยาก ที่ยากและน่าจะเป็นปัญหาระยะยาวคงเป็นเรื่องสถานีชาร์จไฟมากกว่า อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว สนใจรถยนต์ EV สักคันไหม ?
สนับสนุนโดย : รับข้อเสนอพิเศษมอเตอร์โชว์ ในงาน Mazda Motor Show สัมผัสปิกอัพใหม่ All-New Mazda BT-50 และยนตรกรรมสกายแอคทีฟจากมาสด้า ดอกเบี้ยต่ำสุด 0%* รับประกันคุณภาพรถสูงสุด 5 ปี* และบัตรเติมน้ำมัน 10,000 บ.* 24 มี.ค. 64 - 4 เม.ย. 64 ที่บูธและโชว์รูมทั่วประเทศ