ธรรมศาสตร์ ทำ-ปะ-สาด ได้ทุกยุค ทุกสมัย
โดยเล็งเห็นว่าการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ขณะนั้นมีจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยเพียงแห่งเดียว เมื่อมีการ เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยใน พ.ศ.2475 ประเทศชาติ มีความจำเป็นต้องมีบุคคล ที่มีความรู้ ทางกฎหมาย การปกครอง และสังคม มารับใช้ประเทศชาติโดยด่วน จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย วิชาธรรมศาสตร์ และการเมือง พ.ศ.2476 เพื่อเปิดสอนในวิชาแขนงดังกล่าว
เมื่อพระราชบัญญัติผ่านสภาผู้แทนราษฎรแล้ว ได้มีพิธี เปิดมหาวิทยาลัยขึ้น เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2477 โดยผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เป็นผู้กระทำพิธีเปิด และ ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ ได้รับแต่งตั้งเป็นบุคคลสำคัญของมหาวิทยาลัยคนแรกของมหาวิทยาลัย (และเป็นบุคคลสำคัญของมหาวิทยาลัยคนเดียว เพราะต่อมาได้เปลี่ยนชื่อ ตำแหน่ง เป็นอธิการบดี)
ปรัชญาของการตั้งมหาวิทยาลัย ปรากฏตามสุนทรพจน์ ของศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ รายงานต่อผู้สำเร็จราชการ แทนพระองค์มีดังนี้
“... มหาวิทยาลัยย่อมอุปมา ประดุจบ่อน้ำ บำบัดความกระหายของราษฎร ผู้สมัครแสวงหาความรู้ อันเป็นสิทธิและโอกาส ที่เขาควรมีควรได้ ตามหลักเสรีภาพของการศึกษา...”
จากคำกล่าว ของ ปรีดี พนมยงค์ เหมือนการสร้างปราสาทอันยิ่งใหญ่สำหรับประชาธิปไตยของประเทศไทย คือการสร้างความรู้ให้กับประชาชนคนไทย ธรรมศาสตร์ จึงวนเวียนกับการพัฒนาประชาธิปไตยของไทยมาโดยตลอด 87 ปี ที่ผ่านมา ต้องมีส่วนเกี่ยวข้องไม่มากก็น้อยมาโดยตลอด
ฉันรักธรรมศาสตร์ เพราะธรรมศาสตร์สอนฉันให้รักประชาชน
ธรรมศาสตร์ ดินแดนแห่งเสรีภาพ ทุกตารางนิ้ว
“ฉันเยาว์ ฉันเขลา ฉันทึ่ง ฉันจึงมาหาความหมาย ฉันหวัง เก็บอะไร ไปมากมาย สุดท้าย ให้กระดาษ ฉันแผ่นเดียว…”
เหลืองของเรา คือ ธรรมประจำจิต แดงของเรา คือ โลหิตอุทิศให้
ธรรมศาสตร์ ไม่มีระบบรุ่นพี่รุ่นน้อง แต่จะเรียกว่าเพื่อนใหม่ เพราะถือว่าทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน
วันสถาปนามหาวิทยาลัย คือ 27 มิถุนายน 2477 (ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว)
นักศึกษาไม่จำเป็นต้องใส่ชุดนักศึกษามาเรียนก็ได้ แต่อาจจะยกเว้นบางวิชา แต่ตอนนี้ได้มีการรณรงค์ให้แต่งชุดนักศึกษา
มีผู้เคยกล่าวไว้ว่า ประวัติศาสตร์การเมืองไทย ก็คือประวัติศาสตร์ธรรมศาสตร์
ไม่ว่า ธรรมศาสตร์ จะเป็นเช่นไร ...ธรรมศาสตร์ ก็ ทำ-ปะ-สาด ให้กับผู้มีอำนาจได้ทุกยุค ทุกสมัย...
อ้างอิง