Thursday, 18 April 2024
CONTRIBUTOR

เสียงสะท้อนชนชั้นกลาง​ กับมาตรการเยียวยา ด้วย ‘ยา’ ที่ไม่ถูกสูตร | Contributor EP.20

นาทีนี้ใครจะช่วยพวกเขาได้?
เหล่าผู้ประกอบการธุรกิจอาหาร และธุรกิจกลางคืน​ ซึ่งเป็นอีกกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19​ อย่างหนักหน่วง

บางรายสู้โควิดรอบแรกแบบเต็มที่ รอดมาได้บ้าง ไม่ได้บ้าง
แต่มารอบนี้ เริ่มมาล้มหาย ส่วนที่ล้มหายไปตั้งแต่ระลอกแรก 
ทุกวันนี้คือเริ่ม ‘ล้มละลาย’

แม้จะมีมาตรการช่วยเหลือและเยียวยา
แต่สุดท้ายก็เป็นการเยียวยา ด้วย ‘ยา’ ที่อาจจะไม่ถูกสูตร

การช่วยเหลือคนรากหญ้า เป็นสิ่งที่ควรต้องทำ​ ซึ่งไม่ใช่เรื่องผิด!!

แต่ปัญหา คือ แล้วที่อยู่ระหว่างกลาง... 
คนชนชั้นกลาง​ โดยเฉพาะเจ้าของผู้ประกอบการล่ะ?
ทั้ง ๆ​ ที่พวกเขา​ คือ​ อีกโซ่ข้อกลางผู้ที่จะเป็นที่ ‘พึ่งพา’ ของคนรากหญ้าอีกต่อในระยะยาว…

ปล่อยล้มได้เช่นนั้นหรือ??

แหล่งเงินกู้ ที่ถูกปฏิเสธ เพราะระบบคัดกรองสินเชื่อเก่า ในภาวะวิกฤติใหม่
รายได้ที่กอบกู้คืนมาไม่ได้ เพราะการปิดเมืองแบบลักปิดลักเปิด​ เหตุรัฐคุมเชื้อไม่ชัด กู้วิกฤติไม่ทันการ

ผู้ประกอบการเหล่านี้ ถูกร่างแห แม้จะไม่ได้เป็นผู้ก่อ!!

ทางออกอยู่ตรงไหน?

มันก็อยู่ตรงทางเข้านี่แหละ

อยากลองฟังไหม? วิธีเยียวยา ด้วยสูตรยาที่ถูกโรค 
จากเสียงของคนที่เขาอยู่ในวงธุรกิจนี้
ที่อยากตะโกนบอกลุงให้ได้ยินว่า...

มันมี!! และลองเคารพเสียงของพวกเขาบ้าง!! 

ร่วมหาทางออกจากเสียงสะท้อนของคนวงใน​ ตัวแทนผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหารและคนกลางคืน​ ที่​ Contributor EP​ นี้ชวนฟังแบบคิดตามจากเขา... 

คุณหนึ่ง พีระพล พิภวากร
- กรรมการผู้จัดการ บริษัท เบญจมาศ อารี จำกัด เจ้าของร้านอาหารบ้านเบญจมาศ และ Ari Social Club 
- ผู้ประกอบการร้านอาหาร ผับ บาร์ และ โปรโมเตอร์คอนเสิร์ต 
- สมาชิกชมรมผู้ประกอบการผับ บาร์ (รายย่อย)
- ชมรมคนทำคอนเสิร์ต และอีเวนต์
- สมาพันธ์ผู้ประกอบอาชีพธุรกิจกลางคืน และธุรกิจบันเทิงแห่งประเทศไทย (สธก)

.

.


โปรเด็ด! ถึง 31 ก.ค. นี้ Ford Ranger, MG ZS, Mazda 2 และ Nissan อัลเมร่า ทักไลน์ @THESHOPSTIMES 
คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

เกษตรทันสมัย!! ดัน​ 77​ จังหวัดไทย​ พึ่งตนได้อย่างยั่งยืน | Contributor EP.19

อนาคตของภาคการเกษตรไทย 77 จังหวัดไทย ต้องพึ่งตัวเองได้อย่างยั่งยืน

เปลี่ยนภาพเก่า ชาวนาคลุกฝุ่น ชาวไร่คลุกดิน สู่สังคมการเกษตรไทยโฉมใหม่ หลังจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งดำเนินยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนเกษตรทันสมัยภายใต้ ‘5 ยุทธศาสตร์เฉลิมชัย’ ได้ขับเคลื่อน AIC (Agritech and Innovation Center) หรือ ศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม ในระยะเวลาเพียง 1 ปี ก็เห็นผล

- ช่วยยกระดับวงการเกษตรไทย ผ่านการบูรณาการทุกภาคส่วน
- ร่วมหัว จมความคิด พัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีที่แตะต้องได้
- ถ่ายทอดเป็นองค์ความรู้ ไปสู่เกษตรกรตัวจริง
- ใช้งานได้ง่าย ราคาถูก เพิ่มผลผลิต และปรับปรุงคุณภาพสินค้าเกษตรไทยได้ทุกมิติ ทั้งผลิตผล และสินค้าแปรรูป

กลไกใดที่ทำให้วงการเกษตรเริ่มขยับไปในทิศทางที่น่าจะใช้คำว่า ‘ถูกต้อง’ ได้

กระทรวงเกษตรฯ เสกคาถาใด ถึงเริ่มเปลี่ยนทิศเกษตรดั้งเดิม มาสู่เกษตรยุคใหม่ 

ร่วมถอดรหัส เบื้องหลังเกษตรทันสมัย ภายใต้ ‘5 ยุทธศาสตร์เฉลิมชัย’

77 จังหวัดไทย ต้องพึ่งตัวเองได้อย่างยั่งยืน จาก คุณอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์และที่ปรึกษารัฐมนตรีเกษตรและสหกรณ์ 

.


 


โปรเด็ด! ถึง 15 ก.ค. นี้ Ford Ranger, MG ZS, Mazda 2 และ Nissan อัลเมร่า ทักไลน์ @THESHOPSTIMES 
คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

รอยยิ้มคนไทยจากผู้ใหญ่ใจดี ที่ชื่อ ‘โกมล จึงรุ่งเรืองกิจ’ | Contributor EP.18

นาทีนี้คนไทยส่วนใหญ่น่าจะเริ่มรู้จักเขาคนนี้มากขึ้น

คุณโกมล จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานกรรมการ บริษัท ซัมมิทฟุตแวร์ จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่าย รองเท้ายี่ห้อ 'แอโร่ซอฟ' 

หลังจากสร้างรอยยิ้มให้คนไทย ทั้งการซื้อลิขสิทธิ์ฟุตบอลยูโร2020 มาให้ชมภายใต้การตัดสินใจแค่เสี้ยววินาที
และแถมยังเป็นผู้ใหญ่ใจดี ยกเวลาโฆษณาในช่วงพักครึ่งให้ธุรกิจรายเล็กๆ แบบชาวบ้านๆ ได้มาโปรโมทขายของกันฟรี!! อีกด้วย 

.

.

รู้จัก​ 'Ricult​' ฮีโร่ของเกษตรกรไทย 'อุกฤษ อุณหเลขกะ' ผู้ก่อตั้ง​ Ricult | Contributor​ EP.17

แม้แนวคิดด้าน​ Startup หรือการนำนวัตกรรมทางเทคโนโลยีและความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ จะถูกนำมาบรรจุในโลกธุรกิจยุคนี้และประเทศไทย เพื่อ Disrupt ปัญหาและความล้าหลังของธุรกิจในอุตสาหกรรมเดิมที่เริ่มโรยรามากขึ้น

แต่สิ่งที่น่าคิด คือ แนวคิด​ Startup​ ที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ ดูจะยังไม่ค่อยโฟกัสมาที่เศรษฐกิจฐานรากของประเทศไทย อย่าง ‘การเกษตร’ สักเท่าไรนัก 

ทั้ง ๆ​ ที่ปัจจุบัน​ เกษตรกรไทยมักพบเจอปัญหาต้นทุนสูง ฟ้าฝนไม่เป็นใจ ผลผลิตไม่ได้ตามเป้า พ่อค้าคนกลางกดราคา และยังเป็นหนี้กันมากขึ้น​เรื่อย ๆ 

อย่างไรก็ตาม​ ใช่ว่าจะไม่มีแนวคิด​ Startup ด้านนี้ปล่อยออกมาเลย​

Ricult​ (รีคัลท์)​ ‘ฮีโร่’ คนใหม่ของเกษตรกรไทย เกิดขึ้นจาก​ 'อุกฤษ อุณหเลขกะ'​ ซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้ง ‘Ricult’ (รีคัลท์) Startup​ ด้านเกษตรสายพันธุ์ไทย​ ที่นำเทคโนโลยีสมัยใหม่​ ผ่านภาพถ่ายดาวเทียม และ AI (ปัญญาประดิษฐ์) มาช่วยเกษตรกรในการวางแผนเพาะปลูกเพื่อลดความเสี่ยงจากสภาพอากาศ ทำให้ผลิตผลมีประสิทธิภาพมากขึ้น

อันที่จริงแล้ว อุกฤษ เป็นหนุ่มดีกรีนักเรียนนอกด้านเทคโนโลยีและการบริหารจาก Massachusetts Institute of Technology (MIT) ที่มีอนาคตสดใสในสังคมแวดล้อมอย่างซิลิค่อนวัลเลย์ และมีรายได้มหาศาลในบริษัทใหญ่ ๆ รอเขา​ที่อเมริกา 

แต่ทำไมเขาถึงยอมทิ้งรายได้และโอกาสมากมายในต่างแดน และกลับมาพัฒนาธุรกิจที่ตั้งใจช่วยเหลือเกษตรกรไทย?

พบคำตอบนี้ ได้ใน Contributor EP.17

.

.

 

เรียกผมว่า ‘ส.ส.’ ตลาดล่าง!! 'กรวีร์ ปริศนานันทกุล' | Contributor EP.16

“ผมคงไม่เลือกผู้แทนที่ผมไม่เคยเห็นหัวเลย และผมคงไม่เลือกคนที่อยู่แต่หน้าจอทีวีอย่างเดียว แต่ไม่เคยเจอประชาชน หรือไม่เคยลงไปให้ชาวบ้านด่าเรา และบ่นรัฐบาล ว่ามีปัญหาอะไรที่ไม่มาแก้สักที ผมไม่อยากเป็น ส.ส.แบบนั้น ผมชอบที่ใช้เวลาอยู่กับพื้นที่ในจังหวัดที่ผมได้รับเลือกเข้ามา... จังหวัดอ่างทอง ประชาชนคนอ่างทอง อยู่เป็น ส.ส. ตลาดล่าง อยู่กับปัญหาและการร้องทุกข์ของชาวบ้าน แล้วค่อยเข้ากรุงฯ สวมสูทไปแจ้งปัญหาเหล่านั้นต่อสภาฯ รัฐบาล เพื่อผลักดันให้เกิดการแก้ไข”

นี่คือถ้อยคำส่วนหนึ่งของ กรวีร์ ปริศนานันทกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคภูมิใจไทย จังหวัดอ่างทอง ผู้ที่เรียกตัวเองเต็มปากว่า “ผมเป็น ส.ส. ตลาดล่าง” ภายใต้บทบาทการทำงานที่มีเป้าชัด คือ ทำงานเพื่อคนที่เลือกเขามา ไม่ใช่แค่นั่งในสภาฯ ให้คนจดจำ พบบทบาทผู้แทนราษฎรในอุดมคติของคนยุคนี้ ได้ใน Contributor EP.16 กับเขา ‘แชมป์ - กรวีร์’ 

.

.

โรม - รัน - แรง ‘ประเทศชาติแบบนี้’ ผมไม่เอา!! | Contributor EP.15

ต่อให้รัฐบาลนี้จะไร้ ‘ประยุทธ์’ ต่อให้รัฐบาลนี้จะได้ใครขึ้นมาใหม่ ต่อให้รัฐบาลใหม่จะเปลี่ยนคนสลับขั้วเพียงใด ตราบใด ‘โครงสร้าง’ ของประเทศ ‘ไม่เปลี่ยน’ รัฐธรรมนูญจากคนเพียงหยิบมือ ‘ไม่ถูกเปลี่ยน’ ประเทศไทยจะยัง ‘ล้าหลัง’ เหมือนเดิม

เพราะสุดท้ายแล้ว ปัญหาการล้มอำนาจ จากทหารจะวนเวียนเข้ามาผ่านรัฐประหาร นักการเมืองเก่าจะฮั้วอำนาจกัน เพื่อให้มีฐานะในสังคม วันนี้ ‘คนรุ่นใหม่’ แม้จะมีกำลังเสียงไม่มาก จึงต้องออกมา และ ‘สะสม’ ให้เกิดเป็นพลัง เพื่อรอนับถอยหลังสู่วันแห่ง ‘ชัยชนะ’ ที่แท้จริง

พบมุมมอง ส.ส.คนรุ่นใหม่วัย 28 สุดร้อนแรง ผู้เขย่าเวทีการเมืองไทยยุคนี้ได้แบบ ‘ออกรส’ ภายใต้บทบาทของสมาชิกพรรคก้าวไกล ที่หวังให้ประเทศไทย ‘ฟัง’ เสียงคนรุ่นใหม่ พร้อมเปิดใจ ‘แก้ไข’ ระเบียบโครงการแห่งโลกเก่าที่นำไทยไปสู่ความล้าหลัง กับเขาผู้นี้... ‘รังสิมันต์ โรม’ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคก้าวไกล ใน Contributor EP.15

.

.

.

เรียนรู้โลกวิถีใหม่ ตามแบบ ‘เศรษฐกิจพอเพียง’ กับ ดร.ดนัย จันทร์เจ้าฉาย | Contributor EP.14

‘เศรษฐกิจพอเพียง’ เป็นคำที่คุ้นชิน สำหรับคนไทยมานาน เพราะเป็นสิ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานไว้ตั้งแต่ปี 2517 แต่น้อยคนนักที่จะเข้าใจแนวคิด ‘เศรษฐกิจพอเพียง’ อย่างถ่องแท้ กล่าวกันว่า หากจะหาคนที่เข้าใจหลักคิด ‘เศรษฐกิจพอเพียง’ และ ‘ศาสตร์พระราชา’ อย่างแตกฉาน และ ถ่ายทอดได้อย่างลึกซึ้ง หนึ่งในนั้นต้องมีชื่อ ‘ดร.ดนัย จันทร์เจ้าฉาย’ อย่างแน่นอน

Contributor EP.14 นี้ THE STATES TIMES มีโอกาสได้สนทนาเกี่ยวกับ ‘เศรษฐกิจพอเพียง’ ผ่านมุมมองของ ดร.ดนัย ที่ย้ำชัด เศรษฐกิจพอเพียง ไม่ใช่ ‘วาทะกรรม’ แต่เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้จริง สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิต โดยเฉพาะในโลกยุค ‘ชีวิตวิถีใหม่’ ที่เผชิญทั้งภาวะเศรษฐกิจและโรคร้าย

ไม่ว่าประเทศไทย จะเผชิญวิกฤติหนักหนาเพียงใดก็ตาม แต่เราจะผ่านไปได้ ด้วย ‘เศรษฐกิจพอเพียง’ ซึ่งเป็น วัคซีนเศรษฐกิจ ที่ดีที่สุด สำหรับคนไทย…..

.

.

.

'บางแค' ใครไม่แคร์ "ผมแคร์" ดร.ตั้น - กฤชนนท์ อัยยปัญญา | Contributor EP.13

การระบาดของเชื้อไวรัสในบางแคช่วงกลางเดือนมีนาคม 2564 ซึ่งมีต้นตอจากลูกจ้างชาวพม่าในตลาดสดบางแค และเริ่มแพร่กระจายไปสู่คนในตลาดและประชาชนในพื้นที่บางแคเป็นระลอกคลื่นนั้น

สร้างผลลัพธ์เชิงลบที่เป็นภาพปรากฎอย่างว่องไว ก่อให้เกิด ‘การหยุด’ ค้าขาย และเริ่มกลัวต่อโรคระบาดที่อาจจะสะเทือนชีวิตคนบางแคแบบไม่รู้วันไหนจะแจ็กพ็อตเจอเข้าจัง ๆ . บางแค ในช่วงที่เริ่มพบกับปัญหาซบเซาด้านเศรษฐกิจ การค้าขายเงียบเหงา ก็มีเสียงสะท้อนจากประชาชนคนในพื้นที่จำนวนมากที่เริ่มกังวล จากการแพร่ระบาดที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

แต่ถึงกระนั้น บางแคก็ยังโชคดี หลังจากอดีตผู้สมัครส.ส.เขตบางแค พรรคพลังประชารัฐ ซึ่งไม่ใช่พ่อเมืองตัวจริงอย่าง ดร.ตั้น - กฤชนนท์ อัยยปัญญา ได้เร่งลงพื้นที่ประสานการทำงานกับทุกภาคส่วนเพื่อให้ปัญหาโรคระบาดแก้เร็ว พร้อม ๆ ไปกับช่วยดันเศรษฐกิจปากท้องให้เกิดขึ้นแบบรอบทิศ

นี่ไม่ใช่การเคลื่อนไหวในเชิงการเมือง หรือการชิงพื้นที่เสียงคนบางแคแบบเอาหน้า เพราะนี่คือภารกิจต่อเนื่องของเขา ที่ปกติก็เทคแคร์ชาวบางแคอยู่แล้วตั้งแต่เมื่อ 2 ปีก่อน หลังจากตัดสินใจมาขอเป็นครอบครัวบางแค ถึงแม้จะไม่ได้เป็นผู้แทนในเขตโดยตรง เพราะพ่าย ส.ส.ตัวจริงในพื้นที่ไปเพียงร้อยกว่าคะแนน

เครื่องมือในการช่วยแก้ปัญหา คือ 2 ขา ที่เดินเข้าไปหาปัญหา และ 1 ปาก ที่คอยประสานเพื่อจัดการแก้ไข รวมถึงเพจเฟซบุ๊กที่ตั้งขึ้นมาเฉพาะกิจอย่าง ‘ของดีบางแค’ คอยเป็นกระบอกเสียงให้คนบางแค ได้มีโอกาสเข้ามาร้องทุกข์ ทำมาค้าขาย และร่วมพูดคุยทุกเรื่องราวในบางแค บทบาทในการเทคแคร์คนบางแคที่ต่อเนื่อง มาจนถึงวันที่โรคระบาดระลอกใหม่ในบางแค เริ่มทำให้หลายคนที่อาจจะไม่ได้คุ้นเคยชายคนนี้มากนัก เริ่มรู้จักเขามากขึ้น ภายใต้ชื่อติดปากของชาวบ้านที่เรียกว่า ‘พี่ชุดขาว’

นี่คืออีกเรื่องราวของ คนนอกบางแค ที่แคร์ ชาวบางแค แม้จะไม่ใช่ ส.ส.ในพื้นที่ ดร.ตั้น - กฤชนนท์ อัยยปัญญา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

.

.

.


สนับสนุนโดย : รับข้อเสนอพิเศษมอเตอร์โชว์ ในงาน Mazda Motor Show สัมผัสปิกอัพใหม่ All-New Mazda BT-50 และยนตรกรรมสกายแอคทีฟจากมาสด้า ดอกเบี้ยต่ำสุด 0%* รับประกันคุณภาพรถสูงสุด 5 ปี* และบัตรเติมน้ำมัน 10,000 บ.* 24 มี.ค. 64 - 4 เม.ย. 64 ที่บูธและโชว์รูมทั่วประเทศ 

‘กาแฟ’ รักษ์ป่าภายใต้ชื่อว่า ‘Uncle Coffee’ กับ 'น้าหงา - สุรชัย จันทิมาธร' | Contributor EP.12

น่าจะเป็นอีกมุมของ ‘น้าหงา’ สุรชัย จันทิมาธร ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ที่หลายคนอาจจะยังไม่ค่อยคุ้น ที่จะมานั่งคุยอะไรที่นอกเหนือจากเพลง เพลง และเพลง

Contributor EP. นี้ THE STATES TIMES ได้ที เลยขอไปชวน ‘หงา - คาราวาน’ ในบริบทที่คุ้นเคยกับการเป็นนักร้องนำและหนึ่งในผู้ก่อตั้งวงคาราวาน นักเขียน ผู้มองการเมืองจากมุมนอก และเซอร์ไพรซ์เบา ๆ กับการผันตัวเป็นนักธุรกิจ

ภายใต้บรรยากาศสบาย ๆ นั่งจิบกาแฟ คุยเรื่องการเมือง ภูมิหลังการเป็นนักเขียน และเรื่องราวของกาแฟ ที่โยงไปถึงธุรกิจกาแฟ ซึ่งน้าหงาเป็นพรีเซ็นเตอร์และผู้ร่วมธุรกิจนี้ในชื่อเท่ห์ ๆ ว่า Uncle Coffee กันตามสไตล์น้าหงา เชิญชม!!

.

‘ศรีนวน พิลาดี’ ผู้อยู่เบื้องหลังโปรเจ็กต์ยักษ์อย่าง ‘มารีน่า เบย์แซนด์’ | Contributor EP.11

ไต่เต้าสตอรี่!!

ศรีนวน พิลาดี ผู้อยู่เบื้องหลัง ‘มารีน่า เบย์แซนด์’ จากเด็กนักเรียนไร้กางเกง สู่ผู้บรรเลงงานก่อสร้างระดับพระกาฬของเมืองไทย ใครจะคิดว่าคนธรรมดาที่ (ชีวิต) ไม่ธรรมดา จากเด็กแบกข้าวสาร สู่ตำแหน่ง Site Supervisor . จากเด็กบ้านนอกในฝั่งชายแดนไทย - เขมร ครอบครัวยากจน . หัวดี แต่ต้นทุนชีวิต ทำให้จบการศึกษาได้เพียงแค่ ม.3

สิ่งที่ทำได้ คือ ดิ้นรนเข้าเมืองกรุง เพียงเพื่อลืมตาอ้าปากได้แบบผู้อื่น . เริ่มต้นอาชีพแบกข้าวสาร และกรรมกรหลากรูปแบบ ด้วยความไม่ท้อ ไม่ท้อ และไม่ท้อ ทำให้วันนี้ เขาก้าวสู่ตำแหน่ง Site Supervisor ผู้คุมโปรเจ็กต์งานก่อสร้างขนาดใหญ่ทั้งไทยและต่างประเทศ อะไรที่ทำให้เขาก้าวขึ้นมาสู่จุดนี้ได้ จุดเขาพูดเต็มปากว่า ‘ต้นทุนแบบเดียวกับเขา ก็ยากที่จะเป็นได้แบบเขา’ 

.

.

.


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top