Saturday, 10 May 2025
INFO

6 ภาพจำ ‘ผลงานรัฐบาล’ ที่อยู่ในความทรงจำของประชาชน

เริ่มจากภาพการต่อสู้กับวิกฤติโควิด-19 ซึ่งใช้เวลากว่า 3 ปี นับตั้งแต่ปี 2563 มาจนถึงปี 2566 ระหว่างทางต้องแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้ามากมาย เพราะอย่างที่ทราบกันดีว่า โรคระบาดนี้เกิดขึ้นครั้งแรกของโลก ไม่มีใครรู้ดีกว่าใคร และที่สำคัญ ไม่มีใครที่มีวัคซีน แต่ผลสุดท้าย รัฐบาลก็สามารถฝ่าทุกกระแสดรามา ทำให้ประชาชนคนไทย ก้าวข้ามจากโควิด-19 และได้ฉีดวัคซีนกันถ้วนหน้า

เชื่อมโยงจากเรื่องโควิด-19 มาถึงการได้เปิดประเทศ ต้อนรับนักท่องเที่ยว ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย และหลาย ๆ ประเทศที่มีวิทยาการก้าวล้ำกว่าประเทศไทย ยังเปิดบ้านเปิดเมือง ‘ช้ากว่า’ เราอยู่ไม่น้อย ถึงวันนี้ นักท่องเที่ยวเดินแบกเป้กันเต็มเมือง ส่วนหนึ่งเพราะการวางมาตรการการดูแลป้องกันที่เข้มงวด จึงสามารถเปิดประตูประเทศได้อย่างรวดเร็ว เป็นที่น่าประทับใจ

พูดถึงความสัมพันธ์ต่างประเทศ ‘รัฐบาล’ ถือว่ามีภาพจำที่ดีไม่น้อย โดยเฉพาะกับงานใหญ่อย่าง ‘การประชุมเอเปค’ เมื่อปลายปี 2565 ซึ่งการจัดงานผ่านพ้นไปด้วยดี และที่ดีมากกว่านั้น คือภาพความสัมพันธ์ของลุงตู่กับผู้นำหลายต่อหลายชาติ แม้จะเป็นเพียงภาพถ่ายไม่กี่ช็อต ที่ถูกนำเสนอตามหน้าสื่อ แต่สำหรับในเวทีโลกแล้ว นี่คือ ‘พลัง’ ของความเป็นประเทศไทย ที่จะถูกฉายและขับเคลื่อนต่อไปในเวทีระดับนานาชาติ

เปิด 18 ผลงานรัฐบาล พัฒนา 'ภาคใต้' ตลอดช่วง 8 ปีที่ผ่านมา

ตลอดกว่า 8 ปีที่รัฐบาลบริหารประเทศมา เกิดการพัฒนาทั่วทุกภาคของประเทศทั้งการปฏิรูปโครงสร้างพื้นฐาน การปฏิรูปคุณภาพชีวิตในชุมชน 

นอกจากนี้ยังแก้ไขปัญหาสะสมเรื่องความไม่สงบในประเทศ ออกมาตราการทางเศรษฐกิจ มีการจัดทำบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โครงการคนละครึ่ง โครงการเราเที่ยวด้วยกัน โครงการชิมช้อปใช้ มีการส่งเสริมศักยภาพตามพื้นที่ 5 ภาค รวมถึงส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 

โครงการต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนจับต้องได้ทั้งสิ้น และคนที่ได้รับประโยชน์คือประชาชนไทยทุกคนทุกภูมิภาคอย่างเท่าเทียมกัน

ในส่วนการพัฒนาภาคใต้ มีโครงข่ายคมนาคมขนส่งที่สามารถเชื่อมโยงทั้งในและต่างประเทศ ผุดเมืองศูนย์กลางที่มีศักยภาพ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจที่ขยายผลจากโครงการเมืองต้นแบบ รองรับการขยายตัวทางการค้าและการท่องเที่ยวชายแดน ทั้งหมดนี้ภายใต้วิสัยทัศน์กลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน 'เกษตรก้าวหน้า การค้าชายแดน การท่องเที่ยวเชื่อมโยง สู่อาเซียน' สามารถแยกให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมดังนี้

1. วางรากฐานแนวพัฒนาเกษตรกรรมและเศรษฐกิจรากฐาน ตั้งแต่การเพิ่มศักยภาพผลผลิต ข้าว ยางพารา อ้อย  มีการประกันรายได้เกษตรกร  

2. คลอง ร.1 จ.สงขลา แก้ปัญหาน้ำท่วมและการชลประทาน

3. จ้างงานเด็กจบใหม่ โดยรัฐบาลช่วยอุดหนุนเงินเดือนค่าจ้างให้เด็กจบใหม่ร้อยละ 50% รวมถึงเด็กจบใหม่ในภาคใต้ด้วย

4. รัฐบาลมอบโฉนดที่ดินทั่วไทย ซึ่งโครงการนี้แพร่กระจายไปทุกภาค รวมถึงภาคใต้

5. พัฒนาสนามบินทั่วประเทศ รวมทั้งสนามบินตรังและสนามบินเบตง 

6. สร้างทางแยกต่างระดับทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช เป็นทางแยกต่างระดับที่ใหญ่ที่สุดในภาคใต้

7. โครงการก่อสร้างถนนเชื่อมต่อด่านศุลกากรสะเดาแห่งใหม่-ด่านบูกิตกายูฮิตัม

8. โครงการเชื่อมต่อรถไฟความเร็วสูงสายใต้กับทางมาเลเซีย ซึ่งไม่ได้เชื่อมต่อเฉพาะสองประเทศเท่านั้น แต่สามารถเชื่อมต่อถึง 5 ประเทศ คือ จีน ลาว ไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์

9. ปลดล็อกประเทศไทย พ้นจากใบเหลืองจากการทำประมงแบบทำลายล้าง ภายใต้กติกา IUU ส่งผลดีต่อพี่น้องประมงในภาคใต้

20 โปรเจกต์ หนุน EEC เดินหน้า ภายใต้รัฐบาลตลอด 8 ปีที่ผ่านมา

โครงการ EEC (Eastern Economic Corridor) ซึ่งมีอีกชื่อเป็นภาษาไทยว่า ‘โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก’ อีกหนึ่งความหวังใหม่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศไทย ในยุคอุตสาหกรรม 4.0 โดยปัจจุบันมีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน และเงื่อนไขในการเอื้อต่อการลงทุนแล้วหลายประการ ได้แก่

1. พัฒนารถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง - สุวรรณภูมิ - อู่ตะเภา)
2. พัฒนารถไฟทางคู่ (ช่วงฉะเชิงเทรา - คลองสิบเก้า - แก่งคอย)
3. พัฒนาท่าเรือมาบตาพุด / ท่าเรือแหลมฉบัง เป็น ‘ประตูการค้า’ เชื่อมโยงกับประเทศในอาเซียน
4. พัฒนาท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ หรือท่าเรือจุกเสม็ด รองรับนิคมอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยวทางทะเล
5. ปรับปรุงสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ยกระดับเป็นสนามบินนานาชาติเชิงพาณิชย์หลัก แห่งที่ 3

‘รัฐบาล’ ยกระดับ Soft Power ไทย ดัน ‘16 เทศกาลไทย’ สู่เวทีสากล ดึงดูด นทท. สร้างรายได้ให้ชุมชน

พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มุ่งส่งเสริมฟื้นฟูเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน สร้างรายได้แก่ประชาชน ผ่านการคัดเลือกเทศกาลประเพณีทั่วประเทศที่โดดเด่น เพื่อยกระดับเทศกาลประเพณีไทย (Festival) ไปสู่ระดับชาติและนานาชาติ 

โดยกระทรวงวัฒนธรรมได้ดำเนินตามนโยบายของรัฐบาล ในการขับเคลื่อน Soft Power ของไทยที่มีศักยภาพ หรือ 5F (Food, Fight, Film, Fashion, Festival) โดยแต่งตั้งคณะทำงานดำเนินการคัดเลือกเทศกาลประเพณีของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด ประจำปีงบประมาณ 2566 จำนวน 16 ประเภท ซึ่งทั้ง 16 เทศกาลประเพณีที่ได้รับการคัดเลือก ล้วนมีความโดดเด่น เป็นเอกลักษณ์ แสดงออกถึงวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น สามารถนำมาพัฒนาต่อยอด ส่งเสริมการสร้างความสามารถในการแข่งขัน และเผยแพร่ประเพณีของไทยให้เป็นที่รู้จัก ดึงดูดนักท่องเที่ยว สร้างรายได้แก่ชุมชนและประเทศชาติ

ในที่สุด 'อินเดีย' ก็แซง 'จีน' ขึ้นเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลกอย่างเป็นทางการแล้ว

ในที่สุด 'อินเดีย' ก็แซง 'จีน' ขึ้นเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลกอย่างเป็นทางการแล้ว

วันเบียร์เยอรมัน

เมื่อไหร่เราถึงจะเรียกเบียร์ว่าเบียร์ ตามกฎว่าด้วยความบริสุทธิ์ของเบียร์ของเยอรมัน ค.ศ.1516 หรือ Reinheitsgebots นั้น ส่วนผสมหลักที่สำคัญในเบียร์ที่จะขาดไม่ได้ คือ ดอกฮอปส์ ข้าวมอลต์ ยีสต์ และน้ำ

ด้วยจำนวนเบียร์กว่า 6,000 ยี่ห้อจากโรงงานเบียร์กว่า 1,500 แห่ง ทำให้ประเทศเยอรมนีมีเบียร์ให้เลือกสรรค์มากมาย ธุรกิจการผลิตเบียร์เพียงอย่างเดียวมีการจ้างงานถึง 27,000 ตำแหน่ง

วัฒนธรรมเบียร์ยังฝังรากลึกอยู่ในภาษาเยอรมันอีกด้วย เช่นสำนวนที่ว่า “ทำให้ถังเบียร์ล้น” (ฟางเส้นสุดท้าย ในภาษาไทย) หรือ "สุนัขในกระทะเป็นบ้าไปแล้ว" (ใช้เมื่อผู้พูดเจอเรื่องประหลาดใจมาก ๆ มาจากนิทานพื้นบ้านเยอรมัน ที่ตัวเอก Till Eulenspiegel ซึ่งมีนิสัยคล้ายศรีธนญชัย โยนสุนัขชื่อฮอปลงในหม้อต้มเบียร์ ตามคำสั่งของนายจ้างที่บอกให้ต้มดอกฮอปส์ลงไปในเบียร์ด้วย) 
สุดท้ายนี้ เราขอดื่มให้กับวันเบียร์เยอรมันในวันนี้ พร้อมกล่าวดัง ๆ ว่า Prost! 


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top