Saturday, 5 July 2025
Soft News Team

วิชาภาษาอังกฤษ: เรื่อง ตัวอย่างข้อสอบวิชาสามัญ (ภาษาอังกฤษ)

THE STUDY TIMES X ClassOnline

????วันอาทิตย์ที่ 18 กรกฎาคม

วิชาภาษาอังกฤษ: เรื่อง ตัวอย่างข้อสอบวิชาสามัญ (ภาษาอังกฤษ)

โดย ครูพี่ทาม์ย ฐานุวัชร์ รินนานนท์

ศิลปศาสตร์บัณฑิต สาขาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา (เรียนเน้นภาษาสเปน) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, อาจารย์ผู้สอนอบรม TOEIC ให้องค์กรภาครัฐและเอกชนระดับประเทศ

#สอนวิชาภาษาอังกฤษ ระดับ ม.ต้น-ม.ปลาย

#ClassOnline

https://www.classonline.co.th/

.

.

 

คุณหนึ่ง ฐนพงศ์ ลือขจรชัย | THE STUDY TIMES STORY EP.57

บทสัมภาษณ์ คุณหนึ่ง ฐนพงศ์ ลือขจรชัย ปริญญาโทและเอก คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, นักเขียน
จากนักกฎหมายสายนิติศาสตร์ สู่นักเขียนผู้ใช้ประสบการณ์และความรู้ถ่ายทอดผ่านตัวหนังสือ

ในช่วงมัธยมศึกษาตอนปลาย คุณหนึ่งเรียนที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โดยส่วนใหญ่เป็นคนที่ชื่นชอบในการทำกิจกรรม ซึ่งคุณหนึ่งได้เข้าร่วมชมรมเชียร์ มีกิจกรรมที่โดดเด่น คือ การแปลอักษรในงานจตุรมิตร คุณหนึ่งเป็นสต๊าฟ รับผิดชอบในงานกิจกรรม ทำให้ไม่ค่อยได้เข้าเรียน จึงต้องมีความพยายามมากขึ้นในการเรียน ส่งงาน ส่งการบ้าน เทคนิคในการเรียนของคุณหนึ่งคือ ชื่นชอบในการอ่านหนังสือ ทำความเข้าใจกับตัวเองมากกว่า ทำให้เข้าใจบทเรียนและไม่ลืมในสิ่งที่ได้จากการอ่าน

ก่อนจะเข้าเรียนในระดับปริญญาตรี คุณหนึ่งยังไม่รู้ว่าตัวเองจะไปทางสายอาชีพไหน จนได้เข้าร่วมแข่งขันตอบปัญหาวิชาด้านกฎหมาย โดยได้รับโอกาสจากคุณครูท่านหนึ่ง และได้รับรางวัลชนะเลิศมา เลยรู้สึกว่าตัวเองถนัดด้านกฎหมายและคิดว่าเมื่อจบแล้วสามารถทำเป็นวิชาชีพได้ จึงตัดสินใจสอบเข้าในคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 

เมื่อเข้าไปเรียนในคณะนิติศาสตร์ คุณหนึ่งรู้สึกว่าวิธีเรียนเพื่อไปแข่งขันกฎหมายกับวิธีเรียนในระดับมหาวิทยาลัย มีความแตกต่างแทบจะเป็นคนละเรื่องกัน  เหมือนต้องไปเริ่มต้นใหม่ทั้งหมด เพราะคณะนิติศาสตร์เป็นการเรียนกึ่งวิชาชีพ ไม่ได้มีแค่หลักวิชาการ และการเรียนกฎหมายจะไปอิงกับเรื่องอื่นๆ ทางสังคมค่อนข้างเยอะ โดยคุณหนึ่งได้กล่าวว่า การเรียนนิติศาสตร์ไม่ใช่แค่ว่าชอบกฎหมาย ไม่ชอบกฎหมาย แต่จะต้องรู้ตัวเองด้วยว่ากฎหมายเรื่องอะไรที่เราอยากจะอยู่กับมัน 

เมื่อจบการศึกษาในระดับปริญญาตรี คุณหนึ่งได้เข้าทำงานในสายนิติศาสตร์อย่างเต็มตัว กลับกลายเป็นว่าเป็นสิ่งที่เหมือนทั้งรักและเกลียด เพราะคุณหนึ่งชอบในเรื่องเนื้อหากฎหมาย แต่เมื่อมาทำงานจริง ๆ ได้เห็นผู้คนผิดหวัง เสียใจ ล้มละลาย ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่อยากพบเจอ เลยได้ย้อนกลับมาถามตัวเองว่าจะทำอย่างไรหากไม่ทำสายกฎหมายต่อ กระทั่งย้อนกลับไปในสมัยเรียนนิติศาสตร์ พบว่าวิชาที่ชื่นชอบที่สุดคือ ประวัติศาสตร์กฎหมายและนิติปรัชญา ซึ่งเป็นวิชากฎหมายที่เป็นวิชาการแท้ๆ คุณหนึ่งเลยตัดสินใจอยากที่จะเรียนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์กฎหมายที่ประเทศสก็อตแลนด์ แต่ก็มีเหตุที่ทำให้ไม่ได้ไป สุดท้ายตัดสินใจเรียนต่อประวัติศาสตร์ เพื่อทำเกี่ยวกับประวัติศาสตร์กฎหมาย ที่ประเทศไทย  

คุณหนึ่งเล่าวว่า การเรียนในช่วงแรกค่อนข้างยาก เพราะยังแยกประวัติศาสตร์กับโบราณคดีไม่ออก แต่เมื่อทำงานจริง ได้นำข้อเด่นของตัวเองจากการเรียนกฎหมายและความชอบในประวัติศาสตร์มารวมกัน พัฒนางานได้ดีจนสามารถคว้ารางวัลวิทยานิพนธ์ดีเด่น ตีพิมพ์เป็นหนังสือออกสู่สาธารณะ ชื่อเรื่องว่า เสียดินแดนมลายู : ประวัติศาสตร์ชาติฉบับ Plot Twist และในปัจจุบันคุณหนึ่งกำลังศึกษาปริญญาเอก คณะศิลปศาสตร์ (ประวัติศาสตร์) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อยู่ระหว่างทำวิทยานิพนธ์ในเรื่องของเขตแดนแม่น้ำโขง 

จุดเริ่มต้นการเป็นนักเขียน คุณหนึ่งฝึกฝนเริ่มเขียนหนังสือมาตั้งแต่ช่วงมัธยมศึกษา ไม่ว่าจะเป็นนิยายแฟนตาซีจากความสนใจในเรื่องแฮรี่พอตเตอร์ เขียนแล้วใช้ได้บ้างไม่ได้บ้าง แต่ก็พยายามเขียนต่อไป รวมถึงการเขียนนิยาย เรื่องสั้น เขียนจดหมายส่งประกวดทางไปรษณีย์ ได้รับรางวัลบ้างก็ถือว่าประสบความสำเร็จแล้ว หลังจากที่คุณหนึ่งได้รับการตีพิมพ์หนังสือเล่มแรก และได้รับโอกาสจากทางผู้ใหญ่ คุณหนึ่งตอบรับทุกโอกาสที่เข้ามา พร้อมทั้งหาความรู้และประสบการณ์เพิ่มมากขึ้น คุณหนึ่งได้แชร์ข้อคิดที่ว่า คนเราอาจจะไม่ได้เก่งไปเสียทุกอย่าง รู้ครึ่งหนึ่งไม่รู้ครึ่งหนึ่ง สำคัญคือเวลาโอกาสมาหาเราให้รีบคว้าเอาไว้ เพราะอาจจะเป็นจุดที่ทำให้เกิดโอกาสในครั้งต่อ ๆ 

คุณหนึ่งแชร์มุมมองว่า นักเขียนหลาย ๆ คนอาจจะคิดในแง่ลบว่าทำไมหนังสือของตัวเองถึงยังไม่ได้ตีพิมพ์ แต่สิ่งหนึ่งที่สำคัญสำหรับคนที่อยากมีหนังสือเป็นของตัวเอง ขั้นแรกคือ ทำต้นฉบับให้ดีที่สุดและส่งให้กับทางสำนักพิมพ์ ถ้ายังไม่ดีก็ส่งเล่มใหม่ ส่งไปเรื่อยๆ แล้วรอการตอบกลับ

สำหรับคุณหนึ่ง สิ่งที่ได้รับจากการเป็นนักเขียน คือ การฝึกวิธีคิดและวินัยในการเขียนให้จบ คุณหนึ่งมองว่า สำคัญที่สุดของการเขียนไม่ใช่เขียนดี แต่ต้องเขียนให้จบ หนังสือเล่มนึงควรเขียนให้จบดราฟแรกภายใน 3 – 4 เดือน หากนานกว่านั้นมีแนวโน้มที่จะไม่จบ เพราะสมาธิหลุด เริ่มมีไอเดียใหม่ อยากที่จะไปเขียนในเรื่องอื่น ๆ งานเขียนหนังสือเป็นงานที่ทำกับตัวเอง ต้องอยู่กับตัวเอง พูดคุยกับตัวเอง ไม่มีใครช่วยได้ 

คุณหนึ่งฝากทิ้งท้ายสำหรับน้องๆ ไว้ว่า ไม่ว่าจะกิจกรรมหรือการเรียน มีอะไรให้ทำไป ลองทุกอย่างจะได้รู้ว่าตัวเองชื่นชอบอะไร การถูกคาดหวังให้เลือกคณะที่ถูกต้องได้ใน ม.6 แทบเป็นไปไม่ได้เลย คนส่วนใหญ่ไม่ได้ทำงานตรงกับที่ตัวเองได้เรียนในระดับปริญญาตรี ถ้ามีกิจกรรมให้ไปลองให้หมด ค่อยๆ ทำไป ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะเจอจุดที่ทำงานเอนจอย ชอบ ดี และหาเงินกับมันได้ ต้องลองทำไปเรื่อย ๆ 

.

.

.

.

วิชาภาษาไทย: เรื่อง ตัวอย่างข้อสอบวิชาสามัญ (ภาษาไทย)

THE STUDY TIMES X ClassOnline

????วันเสาร์ที่ 17 กรกฎาคม

วิชาภาษาไทย: เรื่อง ตัวอย่างข้อสอบวิชาสามัญ (ภาษาไทย)

โดย ครูต้นคูน ดร.ณัฐพงศ์ ลาภบุญทรัพย์

ปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ (Ph.D. in Communication Arts) สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

#สอนวิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สังคม ระดับ ม.ต้น-ม.ปลาย

#ClassOnline

https://www.classonline.co.th/

.

.

นาวิน ตาร์ จากเด็กที่ไม่สนใจการเรียนสู่อาจารย์ในระดับมหาวิทยาลัย

หลาย ๆ คนในช่วงมัธยมอาจจะเป็นถูกสังคมหล่อหลอมให้กลายเป็นคนที่ไม่สนใจ เกเร และไม่ชื่นชอบการเรียนไปเลย แต่ก็มีอีกหลาย ๆ คนที่กลับตัวกลับใจ หันมาสนใจในด้านการศึกษาจนประสบความสำเร็จ อย่าง “นาวิน ตาร์” ดารานักแสดงที่มีดีกรีเป็นถึงอาจารย์ในระดับมหาวิทยาลัย ! 

นาวิน เยาวพลกุล หรือ นาวิน ตาร์ การศึกษาในระดับมัธยมศึกษาที่สาธิตปทุมวันและสาธิตประสานมิตรนั้น นาวิน ตาร์ เป็นเด็กที่เกเร ไม่สนใจการเรียนถึงขนาดตัวเขาเองมีปัญหากับโรงเรียน จนถูกไล่ออกจากโรงเรียนถึงสองครั้งจากโรงเรียนทั้งสองที่ !

แต่ด้วยความตั้งใจและหันกลับมาศึกษาเล่าเรียนใหม่อีกครั้ง จึงทำให้สามารถเอ็นทรานซ์ได้และจบการศึกษาระดับปริญญาตรี จากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ด้วยเกียรตินิยมอันดับหนึ่งเลยทีเดียว จากนั้นตัวนาวิน ตาร์ก็ได้รับทุนอานันทมหิดลศึกษาต่อที่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ปริญญาโทที่ Oregon State University และได้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอก ที่ University of California, Davis อีกด้วย 

นอกจากนี้ นาวิน ต้าร์ ได้รับโอกาสได้เป็นอาจารย์จากโควตาของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ให้แก่นิสิตที่สำเร็จการศึกษาด้วยคะแนนเป็นอันดับที่ 1 ของรุ่น และได้ร่วมสอนวิชาเศรษฐศาสตร์จุลภาคและคณิตศาสตร์สำหรับนักเศรษฐศาสตร์ (Mathematics for Economists) ทั้งในภาคปกติและหลักสูตรนานาชาติด้วย

เรียกได้ว่านอกจากความสามารถในการแสดงแล้ว ความรู้และความสามารถทางด้านการศึกษาก็ไม่เป็นรองใคร นับได้ว่าเป็น Idol ของใครหลาย ๆ คนเลยก็ว่าได้ 


ที่มา : https://www.sanook.com/campus/1393269/

รู้จัก “ถ้วยอนามัย” ทางเลือกใหม่ของสาวสายกรีน

สวัสดี ท่านผู้อ่าน THE STUDY TIMES ทุกท่านนะคะ วันนี้ป้าหมึกอยากจะมาแนะนำสิ่งใหม่ ของใหม่ ที่หลาย ๆ คนอายกจะรู้ อยากจะลอง วันมามากของผู้หญิงทั้งหลายจะต้องสบายขึ้นด้วย “ถ้วยอนามัย” แต่จะมีความวิเศษยังไงนั้น ตามป้าหมึกมาได้เลยค่ะ (: 

ป้าก็พึ่งรู้ว่าในโลกปัจจุบันเดี๋ยวนี้มีนวัตกรรมใหม่ มากมายเต็มไปหมด ป้าตามแทบไม่ทันแล้วล่ะคะ อย่าง “ถ้วยอนามัย” เนี่ย ก็พึ่งได้ยินชื่อมาเหมือนกัน แล้วมันมีความน่าสนใจมาก เลยอยากจะขอแบ่งปันมาให้ท่านผู้อ่านได้กระจ่างกันว่า มันคืออะไร มีหน้าตาอย่างไรค่ะ

เจ้า “ถ้วยอนามัย” เป็นถ้วยเล็ก ๆ มีปลายที่เป็นเหมือนก้าน ยื่นออกมาเล็กน้อย ตัวถ้วยทำจากซิลิโคนที่สามารถบีบ และบิดให้เล็กลง เพื่อการสอดใส่ผ่านช่องคลอดเข้าไปด้านในเพื่อรองรับเลือดประจำเดือนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพเลยค่ะ ในปัจจุบันสาว ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศหลายคนเริ่มหันมาใช้ถ้วยอนามัยกันมากขึ้น ความพิเศษมีอะไรบ้าง มาค่ะ ป้าจะเล่าให้ฟัง 

ซึ่งเจ้าตัวถ้วยอนามัยนี้มีสามารถที่จะรองรับประจำเดือนของเราได้ทั้งวันเลยค่ะ เพราะด้วยรูปทรงที่เป็นถ้วยทำให้สามารถรองรับประจำเดือนแม้จะมามากเท่าไรก็ตาม โดยส่วนใหญ่การรองรับจะอยู่ที่ประมาณ 12 ชั่วโมง ซึ่งเป็นข้อดีที่เราไม่ต้องเปลี่ยนบ่อย ๆ และที่สำคัญเหมาะมาก ๆ เลยนะคะ ในวันที่เราอาจจะต้องมีกิจกรรมพิเศษ ไปโลดเล่นเต้นระบำก็ไม่ต้องห่วงค่ะ และที่สำคัญเราสามารถใส่ถ้วยอนามัยสามารถทำกิจกรรมทางน้ำได้อีกด้วยนะคะ ไม่ต้องเป็นห่วงว่าจะหลุดระหว่างทำกิจกรรม

และข้อดีที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ สามารถนำมาใช้ซ้ำ นำกลับมาใช้ใหม่ได้ค่ะ โดยเราสามารถนำมาทำความสะอาดด้วยสบู่หรือน้ำยาที่ใช้ล้างกับตัวซิลิโคนได้ จึงเป็นข้อดีอีกอย่างหนึ่งเพราะว่าแต่ก่อนท่านผู้หญิงหลาย ๆ คนจะต้องซื้อผ้าอนามัยแบบแผ่นพอใช้เสร็จก็ต้องทิ้ง เป็นขยะย่อยสลายยากอีก ป้าว่าเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่น่าสนใจมาก ๆ เลยนะคะ นอกจาก Save เงินในกระเป๋าแล้วยัง Save โลกจากขยะผ้าอนามัยอีกค่ะ 

แต่ที่สำคัญในการใช้ถ้วยอนามัยคือ อาจจะต้องเลือกขนาดและเลือกไซส์ให้เหมาะสมกับรูปร่าง และช่วงอายุของเรา เพราะถ้าเราเลือกขนาดผิด อาจจะทำให้เราใช้ถ้วยอนามัยได้ไม่เต็มที่ ขนาดของถ้วยอนามัย จึงมีความสำคัญต่อสรีระร่างกายของเรามากเลยค่ะ โดย

- เด็กผู้หญิงอายุต่ำกว่า 18 ปี : ไซส์เล็ก (S)
- ผู้หญิงที่มีอายุระหว่าง 18 ถึง 30 ปีที่ยังไม่เคยคลอดลูก: ไซส์กลาง (M)
- ผู้หญิงทุกวัยที่มีการคลอดทางช่องคลอดอย่างน้อย 1 ครั้ง : ขนาดใหญ่ (L)

แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสรีระของแต่ละคนด้วยนะคะ เพราะสรีระ รูปร่างของแต่ละคนมีขนาดไม่เท่ากัน ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญก่อนใช้ด้วยนะคะ 

หลาย ๆ คนอาจจะเคยเจอเหตุการณ์คือในช่วงแรกมีอาการกลัวเกิดขึ้นว่า จะหลุดหายเข้าไปเลยรึเปล่า ความจริงแล้วถ้าเราสวมใส่ถูกวิธีก็จะไม่มีอะไรน่ากังวลเลยล่ะค่ะ ป้าเลยขออนุญาตแปะภาพวิธีการใส่สักหน่อยนะคะ


นอกจากนี้การพับถ้วยอนามัยเข้าไปในส่วนช่องคลอดของเราก็มีการพับหลากหลายรูปแบบเลยค่ะ 

ข้อเสียของถ้วยอนามัยอาจจะเป็นในเรื่องของการดูแลรักษาความสะอาด เพราะว่าถ้วยอนามัยเป็นการรองรับประจำเดือนของเรา อาจจะต้องมีการเททิ้งและทำความสะอาดให้ดีนะคะ เพื่อเป็นการฆ่าเชื้อโรคและแบคทีเรีย โดยเมื่อเราถอดถ้วยอนามัยแล้วให้ถ้วยอนามัยไปต้มในน้ำเดือดประมาณ 3 – 5 นาทีแล้วนำออกมาผึ่งให้แห้ง หลังจากนั้นทำความสะอาดโดยสบู่อีกรอบหนึ่งแล้วนำไปตากให้แห้ง อาจจะยุ่งยากไปสักนิดแต่รับรองว่าปลอดภัย ปลอดเชื้อโรคแน่นอนค่ะ 

และนี้ก็เป็นหนึ่งสิ่งที่ป้าอยากมาบอกเล่าเกี่ยวกับ ถ้วยอนามัย ถ้าเกิดใครสนใจอยากที่จะลองใช้ ก็ควรลองศึกษาดี ๆ ก็ใช้นะคะ ทุกสิ่งทุกอย่างควรศึกษาวิธีการใช้ เข้าใจผลิตภัณฑ์ทุกชิ้น เพื่อความปลอดภัย และความสบายใจของตัวเราเองด้วยค่ะ สำหรับครั้งหน้าป้าจะมาเล่าอะไร คอยติดตามกันด้วยนะคะ Have a nice day ค่ะ (: 


แหล่งข้อมูล 
https://undubzapp.com/ถ้วยอนามัย
https://www.sanook.com/health/24249/ 
https://www.happicup.com/
https://bestreview.asia/best-menstrual-cup/

THE STUDY TIMES X ClassOnline เสาร์อาทิตย์นี้ พบกับ LIVE วิชาภาษาไทย และวิชาภาษาอังกฤษ

????THE STUDY TIMES X ClassOnline เสาร์อาทิตย์นี้

????วันเสาร์ที่ 17 กรกฎาคม และ วันอาทิตย์ที่ 18 กรกฎาคม 2564

⏰เวลา 16.00 น.

พบกับ LIVE วิชาภาษาไทย และวิชาภาษาอังกฤษ

????วันเสาร์ที่ 17 กรกฎาคม
วิชาภาษาไทย: เรื่อง ตัวอย่างข้อสอบวิชาสามัญ (ภาษาไทย)

โดย ครูต้นคูน ดร.ณัฐพงศ์ ลาภบุญทรัพย์
ปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ (Ph.D. in Communication Arts) สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
#สอนวิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สังคม ระดับ ม.ต้น-ม.ปลาย

????วันอาทิตย์ที่ 18 กรกฎาคม
วิชาภาษาอังกฤษ: เรื่อง ตัวอย่างข้อสอบวิชาสามัญ (ภาษาอังกฤษ)

โดย ครูพี่ทาม์ย ฐานุวัชร์ รินนานนท์
ศิลปศาสตร์บัณฑิต สาขาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา (เรียนเน้นภาษาสเปน) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, อาจารย์ผู้สอนอบรม TOEIC ให้องค์กรภาครัฐและเอกชนระดับประเทศ
#สอนวิชาภาษาอังกฤษ ระดับ ม.ต้น-ม.ปลาย

????ช่องทางรับชม LIVE
Facebook และ YouTube: THE STUDY TIMES

วิชาสังคม: เรื่อง ตัวอย่างข้อสอบวิชาสามัญ (สังคม)

THE STUDY TIMES X ClassOnline

????วันศุกร์ที่ 16 กรกฎาคม

วิชาสังคม: เรื่อง ตัวอย่างข้อสอบวิชาสามัญ (สังคม)

โดย ครูต้นคูน ดร.ณัฐพงศ์ ลาภบุญทรัพย์

ปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ (Ph.D. in Communication Arts) สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

#สอนวิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สังคม ระดับ ม.ต้น-ม.ปลาย

#ClassOnline

https://www.classonline.co.th/

.

.

รู้จัก “คณะเศรษฐศาสตร์” คณะของคนที่ชอบวิเคราะห์ มีหลักการ และมีเหตุผล !

เชื่อว่าหลาย ๆ คนอาจจะรู้จักหรือเคยคุ้นชื่อ “คณะเศรษฐศาสตร์” พอได้ยินถึงชื่อคณะหลาย ๆ คนอาจจะนึกแค่ว่าเรียนเกี่ยวกับเลข การคำนวณ จบไปทำงานธนาคาร แต่แท้จริงแล้วคณะนี้เรียนอะไร THE STUDY TIMES จะขอมาแนะนำเกี่ยวกับคณะนี้กันค่ะ 

คณะเศรษฐศาสตร์ เป็นการศึกษาเกี่ยวกับวิธีการควบคุมและกระจายทรัพยากรของมนุษย์ โดยคำว่าเศรษฐศาสตร์ในภาษาอังกฤษคือ Economics มาจากคำว่า Oikonomia ในภาษากรีกโบราณ มีความหมายว่า การจัดระเบียบเรื่องในบ้าน และ การบริหารจัดการภาระหน้าที่ 

เดิมทีเศรษฐศาสตร์เป็นส่วนหนึ่งของสาขาวิชารัฐศาสตร์ ที่เพิ่งแยกออกมาเป็นวิชาของตัวเองช่วงปลายศตวรรษที่ 19 การศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์ โดยสามารถแบ่งตามเนื้อหาได้เป็น 2 สาขาหลัก ๆ คือ เศรษฐศาสตร์จุลภาคและเศรษฐศาสตร์มหาภาค 



เศรษฐศาสตร์จุลภาค เป็นการศึกษาในเรื่องของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในระดับบุคคล โครงสร้างของระบบเศรษฐกิจนั้น ๆ และบุคคล หรือหน่วยงานสำคัญ ๆ ที่มีบทบาทเกี่ยวข้องในแต่ละเรื่อง เช่น การศึกษาเกี่ยวกับตลาดแต่ละตลาด และตัวแทนทางเศรษฐกิจ ที่มีความเกี่ยวข้องกัน ไม่ว่าจะเป็นระดับครัวเรือน หน่วยธุรกิจ ผู้ซื้อ และผู้ขาย ฯลฯ

ส่วนเศรษฐศาสตร์มหภาค เป็นการศึกษาเศรษฐกิจในภาพรวม เช่น อุปทานมวลรวมและอุปสงค์มวลรวม การว่างงาน เงินเฟ้อ การเติบโตของเศรษฐกิจ นโยบายการเงินและนโยบายการคลัง เป็นต้น

ส่วนการเรียนในแต่ละชั้น ปี 1 จะได้เรียนในวิชาพื้นฐานทั้งหมด ทั้งวิชาคณิตศาสตร์ สถิติ ภาษาอังกฤษ รวมถึงจะได้เรียนวิชาเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์เบื้องต้นอีกด้วย

พอเข้าสู่ ปี 2 จะได้เรียนเข้าใจลึกมากยิ่งขึ้นในวิชาเศรษฐศาสตร์ในหลาย ๆ ระดับ เช่น เศรษฐศาสตร์จุลภาค เศรษฐศาสตร์มหาภาค และการนำความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์มาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน

ส่วน ปี 3 ปีนี้ จะได้เจอวิชาเฉพาะที่เจาะลึกมากขึ้น รวมถึงเนื้อหาที่มีความหลากหลาย เช่น  หมวดการเงิน หมวดทรัพยากรมนุษย์ หมวดสินค้าเกษตร หมวดนโยบาย หมวดการพัฒนา 

และ ปี 4 ปีสุดท้าย เนื้อหาการเรียน จะได้เลือกเรียนเฉพาะหมวด ที่ตัวเองได้เลือกและมีการทำวิจัยจบและมีการสัมมานาตามแต่ละมหาวิทยาลัย 



สำหรับสาขาในคณะเศรษฐศาสตร์มีดังต่อไปนี้ 

เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ / เศรษฐศาสตร์การจัดการ เป็นสาขาที่เรียนเกี่ยวกับการพลิกแพลงเอาความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ ไปใช้ในการบริหารจัดการในทุกๆ ด้านขององค์กร หรือธุรกิจต่าง ๆ เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ต้องการ

เศรษฐศาสตร์การเงิน เป็นสาขาที่เรียนเกี่ยวกับการจัดการด้านการเงินให้มีประสิทธิภาพ โดยอาศัยทฤษฎี และความรู้ทางเศรษฐศาสตร์

เศรษฐศาสตร์การคลัง เรียนเกี่ยวกับนโยบาย และมาตรการการคลัง การหารายได้ และการใช้จ่ายของรัฐบาล รวมถึงผลกระทบของมาตรการการคลังที่มีต่อเศรษฐกิจ

เศรษฐศาสตร์การพัฒนา และวางแผน ศึกษานโยบาย และกลยุทธ์ในการพัฒนาเศรษฐกิจ ทั้งยังศึกษาบทเรียนตัวอย่างในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ

เศรษฐศาสตร์แรงงาน และทรัพยากรมนุษย์ เน้นการเรียนเพื่อนำความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ไปแก้ปัญหาตลาดแรงงาน ปัญหาการว่างงาน และการวางแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

เศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรม เป็นสาขาที่ศึกษาเพื่อหาวิธีจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ที่ถูกนำไปใช้ในระบบเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ

เศรษฐศาสตร์ทฤษฎี และการวิจัย / เศรษฐศาสตร์เชิงปริมาณ เน้นการเรียนด้านทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์เป็นหลัก ซึ่งบัณฑิตจากสาขานี้จะเป็นคนที่มีการตัดสินใจที่แม่นยำ เพราะจะมีมุมมอง การคิดวิเคราะห์ และการเชื่อมโยง สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระดับภาพรวมได้เป็นอย่างดี

เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ สาขานี้จะผสมผสานความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ เข้ากับความรู้ด้านการค้าระหว่างประเทศ เพื่อให้นักศึกษาเติบโตไปในโลกของการค้าระหว่างประเทศได้

เศรษฐศาสตร์เกษตร เรียนเพื่อนำความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ไปใช้ในการจัดการการเกษตร

เศรษฐศาสตร์สหกรณ์ สาขานี้จะเน้นการจัดการสหกรณ์ ด้วยความรู้ทางเศรษฐศาสตร์

เศรษฐศาสตร์การพัฒนา เรียนเพื่อนำความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ไปใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมในระดับประเทศ

เศรษฐศาสตร์สาธารณะ ศึกษาบทบาทของรัฐบาลที่มีต่อสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ทั้งยังวิเคราะห์บทบาทของรัฐบาล ในการใช้จ่ายงบประมาณ ภาษีอากรของราษฎร และศึกษาถึงการใช้นโยบายการคลังในการรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจ การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ และการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจด้วย

เศรษฐศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นการนำความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ไปใช้ในการจัดการกับทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัด ให้สามารถตอบสนองความต้องการของมนุษย์ แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องคำนึงถึงปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมด้วย



ในประเทศไทยมีมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนทั้งในภาครัฐและเอกชนมีดังต่อไปนี้ 

มหาวิทยาลัยภาครัฐ
•    คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  
•    วิทยาลัยนานาชาติ หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ มหาวิทยาลัยมหิดล 
•    คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  
•    คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  
•    คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศรีราชา 
•    คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ  
•    คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
•    คณะสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย  
•    คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
•    คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  
•    คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้  
•    คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร  
•    คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา  
•    คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  
•    คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา  
•    สำนักวิชาการจัดการ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง  
•    คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ  
•    คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม  
•    คณะเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี 
•    คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 
•    คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง  
•    สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  
•    สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 

มหาวิทยาลัยภาคเอกชน 
•    คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ 
•    คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต  
•    คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก  
•    คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์  
•    คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ 
•    คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
•    คณะบริหารธุรกิจ สาขาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล  
•    คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

หลาย ๆ คนสงสัยว่าพอจบไปแล้วจะต้องทำงานที่ธนาคารอย่างเดียวหรือไม่ จริง ๆ แล้วคณะเศรษฐศาสตร์เมื่อเรียนจบแล้วสามารถทำงานได้หลากหลาย ทั้งในงานธนาคาร บริษัทด้านการเงินหรือบริษัทด้านตลาดหลักทรัพย์ ทำงานในบริษัทประกันภัย ที่ต้องการนักเศรษฐศาสตร์ เพื่อทำหน้าที่ในการวิเคราะห์และวิจัยเกี่ยวกับสภาวะของตลาด และการวางแผนในการดำเนินธุรกิจอย่างไรให้ได้กำไร บริษัทที่ต้องการฝ่ายการตลาดหรือ Marketing ก็สามารถทำงานด้านนี้ได้เช่นเดียวกัน 

ในปัจจุบันคณะเศรษฐศาสตร์ถือว่ามีความสำคัญในทุกประเทศ เพราะ เศรษฐกิจถือว่าเป็นตัวเดินเครื่องที่สำคัญ การค้าขาย ธุรกิจต่าง ๆ ส่วนใหญ่ก็ต้องใช้ศาสตร์ความรู้จากเศรษฐศาสตร์ทั้งสิ้น สุดท้ายนี้ THE STUDY TIMES ก็ขอเป็นกำลังใจให้น้อง ๆ ทุกคนเจอทางที่ตัวเองชอบกันนะคะ 


ที่มา
https://campus.campus-star.com/education/76630.html
https://tcaster.net/2021/01/about-bachelor-of-economics/
https://www.sanook.com/campus/1401708/


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top