Monday, 28 April 2025
โรงครัวพระราชทาน

ผบ.ตร.ปรุงอาหาร โรงครัวพระราชทาน 'วันพ่อแห่งชาติ' ถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

วันนี้ (5 ธันวาคม 2565) เวลา 09.45 น. ที่วัดปทุมวนารามฯ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. พร้อมด้วย พล.ต.ท.ภาณุรัตน์ หลักบุญ ผู้ช่วย ผบ.ตร, พล.ต.ท ธิติ แสงสว่าง ผบช.น., พล.ต.ท.โสภณรัชต์  สิงหจารุ พตร., พล.ต.ต.สยาม บุญสม รอง ผบช.น. และจิตอาสา 904 เข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสาพระราชทาน 'วันพ่อแห่งชาติ' เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร 5 ธันวาคม ร่วมกับเจ้าหน้าที่ส่วนราชการ ภาคเอกชน ผู้มาให้บริการประชาชนในพื้นที่

โดยจัดกิจกรรมจิตอาสา การออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ของโรงพยาบาลตำรวจ ตรวจสุขภาพทั่วไป ตรวจช่องปาก และฟัน ตรวจโรคเกี่ยวกับตา กล้ามเนื้อและกระดูก มีการทำกายภาพบำบัด และฝังเข็ม โดยกลุ่มงานเวชศาสตร์ฟื้นฟู การให้บริการคำปรึกษาด้านต่างๆ โดยกลุ่มงานพยาบาลตำรวจและกลุ่มงานเวชศาสตร์ครอบครัว และมีการสาธิตการทำ CPR

'ซูเปอร์โพล' เผย ปชช.ปลื้มปีติ 'โรงครัว-ถุงยังชีพพระราชทาน' พึงพอใจ 'ทหาร' ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมมากที่สุด

(29 ก.ย. 67) สำนักวิจัยซูเปอร์โพล เสนอผลสำรวจเรื่อง บททดสอบ ฝีมือรัฐบาล รับมือภัยน้ำท่วม กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทั่วไปทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) รวมจำนวนตัวอย่างในการวิเคราะห์ทางสถิติทั้งสิ้น 1,002 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 25-28 กันยายน 2567 ที่ผ่านมา 

พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 93.4 ความปลื้มปีติต่อโรงครัวพระราชทาน ถุงยังชีพพระราชทาน ให้ผู้ประสบภัยน้ำท่วม 

รองลงมาคือร้อยละ 87.3 ความพึงพอใจอื่น ๆ ต่อหน่วยงานภาครัฐ มูลนิธิ องค์กรต่าง ๆ ช่วยเหลือ เช่น อาหาร น้ำ ยารักษาโรค การอพยพ และส่วนใหญ่หรือร้อยละ 85.7 ความพึงพอใจอื่นๆ บุคคล/ภาคประชาสังคม จิตอาสา ร่วมบริจาคทั้งกำลังเงินและสิ่งของ

ที่น่าสนใจ คือ ความพึงพอใจต่อการทำงานของภาคประชาสังคมรับมือภัยน้ำท่วมในด้านต่าง ๆ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 87.3 มูลนิธิองค์กรทำดี รองลงมาคือร้อยละ 80.4 อาสาสมัครมูลนิธิหน่วยกู้ภัยต่าง ๆ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 79.9 มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 78.8 มูลนิธิต่าง ๆ เช่น สภากาชาดไทย มูลนิธิกระจกเงา เป็นต้น และส่วนใหญ่หรือร้อยละ 76.4 อื่น ๆ ภาคประชาสังคม บุคคล จิตอาสา

ที่น่าพิจารณาคือ ความพึงพอใจต่อเจ้าหน้าที่รัฐของหน่วยงานราชการ กระทรวงต่าง ๆ พบว่า มากที่สุด หรือร้อยละ 71.5 พอใจทหาร รองลงมาคือร้อยละ 67.5 พอใจตำรวจ ร้อยละ 66.2 พอใจระดับจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัด องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ร้อยละ 60.3 พอใจกรมชลประทาน และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และร้อยละ 59.3 พอใจอื่น ๆ กระทรวงต่าง ๆ กรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกระทรวงสาธารณสุข เป็นต้น

จากรายงานผลสำรวจของซูเปอร์โพล สรุปได้ว่า ประชาชนส่วนใหญ่มีความปลื้มปิติและพึงพอใจในหลายด้านที่มีการเข้ามาช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม เช่น โรงครัวพระราชทาน ถุงยังชีพพระราชทาน ให้ผู้ประสบภัยน้ำท่วม , การลงพื้นที่ของนายกรัฐมนตรี, การเข้าถึงการช่วยเหลือที่จำเป็น เช่น อาหาร น้ำ และยารักษาโรค รวมถึงการอพยพ ความพึงพอใจต่อเจ้าหน้าที่รัฐของหน่วยงานราชการต่าง ๆ ก็สูง โดยเฉพาะทหาร ตำรวจ องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) รวมถึงผู้ว่าราชการจังหวัด

รายงานของซูเปอร์โพล ยังระบุข้อเสนอแนะในการเพิ่มความพึงพอใจและความไว้วางใจของประชาชนต่อระบบการจัดการภัยพิบัติของประเทศ สามารถดำเนินการได้ด้วยหลายแนวทางที่มุ่งเน้นทั้งด้านการจัดการและการสื่อสาร ต่อไปนี้คือรายละเอียดของแต่ละแนวทาง

1.การเตรียมความพร้อมและการตอบสนองอย่างมีประสิทธิภาพ

- พัฒนาและปรับปรุงแผนการจัดการภัยพิบัติ ทบทวนและอัปเดตแผนป้องกันและการตอบสนองต่อภัยพิบัติอย่างสม่ำเสมอ ให้คำนึงถึงความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ

- การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ จัดให้มีการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เจ้าหน้าที่มีความสามารถในการจัดการภัยพิบัติและการช่วยเหลือที่มีประสิทธิผล

- การจัดสรรทรัพยากรอย่างเหมาะสม ต้องมีการจัดสรรทรัพยากรที่เพียงพอ ไม่ว่าจะเป็นการสำรองอาหาร น้ำดื่ม ยา และอุปกรณ์ที่จำเป็น เพื่อให้สามารถจัดส่งไปยังพื้นที่ที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว

2.การสื่อสารและการให้ข้อมูลที่ชัดเจน

- การประชาสัมพันธ์แผนการรับมือภัยพิบัติ ให้ข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับแผนการรับมือภัยพิบัติกับประชาชนอย่างกว้างขวาง เพื่อให้ประชาชนมีความเข้าใจและสามารถเตรียมตัวรับมือได้อย่างเหมาะสม

- การสื่อสารในระหว่างเกิดภัยพิบัติ มีการอัปเดตสถานการณ์และการช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง ใช้ช่องทางสื่อสารหลากหลายและชัดเจน เช่น โทรทัศน์ วิทยุ และสื่อออนไลน์

3.การมีส่วนร่วมของชุมชน

- การสร้างเครือข่ายชุมชนเพื่อการรับมือภัยพิบัติ ส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการรับมือและการฝึกซ้อม เพื่อเพิ่มความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองและชุมชน

- การจัดตั้งทีมอาสาสมัคร สนับสนุนการจัดตั้งทีมอาสาสมัครภายในชุมชนเพื่อทำหน้าที่เป็นกำลังเสริมในการรับมือกับภัยพิบัติ

4.การวางแผนและการใช้เทคโนโลยี

- การใช้เทคโนโลยีในการตรวจสอบและการเตือนภัย การใช้ระบบ GIS และดาวเทียมเพื่อการตรวจสอบสภาพอากาศและการเตือนภัยล่วงหน้า

- การใช้โดรนและเทคโนโลยีอื่น ๆ ใช้โดรนในการสำรวจพื้นที่เสี่ยงและการประเมินความเสียหายหลังเกิดภัยพิบัติ

ด้วยการปฏิบัติตามแนวทางเหล่านี้อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง จะช่วยเพิ่มความพึงพอใจและความไว้วางใจของประชาชนต่อระบบการจัดการภัยพิบัติของประเทศได้

“พิทักษ์สถาบัน ป้องกันอ่าวไทย สามัคคีรวมใจ ห่วงใยประชาชน"

(2 ธ.ค. 67) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงห่วงใยประชาชนที่ประสบอุทกภัย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จังหวัดสงขลา โดยทัพเรือภาคที่ 2 จัดตั้งโรงครัวพระราชทานขึ้น เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัย ณ วัดเกษตรชลธี ตำบลตะเครียะ  อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ในวันที่ 1 ธันวาคม 2567 พร้อมกันนี้ ยังได้จัดแพทย์และพยาบาลตรวจสุขภาพเบื้องต้น พร้อมทั้งให้คำแนะนำด้านสุขอนามัย และมอบยาสามัญประจำบ้าน รวมทั้งมอบถุงยังชีพให้พี่น้องประชาชนที่ประสบอุทกภัย ในพื้นที่ดังกล่าวและพื้นที่ใกล้เคียงด้วย

การแจ้งเหตุประสบภัย
📞074-325804  ทัพเรือภาคที่ 2  
📞1696 สายด่วนกองทัพเรือ ตลอด 24 ชั่วโมง

นิราช/นันทพล ทิพย์ศรี รายงาน 0908535645


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top