Thursday, 25 April 2024
โรงกลั่นน้ำมัน

ถึงเวลายืนบนขาตัวเอง บางส่วนก็ยังดี

คอลัมน์ "เบิ่งข้ามโขง"

.

สิ้นเดือนนี้ (วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ.2563) ทางประเทศลาวได้มีการทดลองเดินเครื่องกลั่นน้ำมัน LAOPEC บริษัทปิโตรเคมี ลาว - จีน โรงกลั่นน้ำมันแห่งแรกของลาว เพื่อนำใช้ภายในประเทศ ลดการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศ และทำให้ราคาน้ำมันภายในประเทศลดลง นอกจากนี้ ยังสร้างงานให้แก่ประชาชนกว่า 200 ตำแหน่ง

ซึ่งโรงกลั่นบริษัทปิโตรเคมี ลาว- จีน จำกัด จะใช้วัตถุดิบนำเข้าจากประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเมื่อน้ำมันดิบผ่านกระบวนการกลั่นสำเร็จจะได้ผลิตภัณฑ์น้ำมันประมาณ 1 ล้านตันต่อปี ประกอบด้วย

- น้ำมันเบนซินประมาณ 2.38 แสนตัน หรือ 300 ล้านลิตร

- น้ำมันดีเซลประมาณ 3.8 แสนตัน หรือ 450 ล้านลิตร

- แก๊สหุงต้มประมาณ 15,200 ตัน

- สารเบนซินประมาณ 10,600 ตัน

ซึ่ง สปป.ลาว นำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงสำเร็จรูป หลายล้านตันต่อปี ในราคาที่สูงเกินไป ดังนั้น โรงกลั่นปิโตรเคมีนี้ จะช่วยลดการนำเข้าน้ำมันและลดราคาลงไป นาย ปานี พวงเพด รองผู้อำนวยการ บริษัท ปิโตรเคมี ลาว-จีน ได้ให้สัมภาษณ์ไว้ว่า ...

"บริษัท ปิโตรเคมีลาวออยล์ จำกัด โรงกลั่นน้ำมัน ตั้งอยู่ในเขตพัฒนา กวมลวมไชเชดถา นครหลวงเวียงจันทน์ นิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ใจกลางนครหลวงเวียงจันทน์ ได้เริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปีพ.ศ. 2558 ตั้งอยู่บนพื้นที่ 280,000 ตารางเมตร ใช้เงินลงทุน 179 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายใต้บริษัท ปิโตรเคมีลาว - ​​จีนในมณฑลยูนนาน และ กลุ่มก่อสร้างและการลงทุนยูนนาน ถือหุ้น 75% บริษัท รัฐวิสาหกิจน้ำมันเชื้อไฟลาว 20% และ บริษัทร่วมทุนลาว - ​​จีนถือหุ้น 5% 

โรงงานแห่งนี้ ยังคงมีความท้าทายมากมาย โดยเฉพาะในเรื่องของการตลาด เพราะเมื่อผลิตออกมาแล้ว แต่ยังไม่มีที่ขาย เนื่องจากทุกบริษัท ต่างแข่งขันกันในการจัดซื้อและนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง สิ่งนี้จะทำให้เรามีความท้าทายมากเพราะเป็นงานที่ยาก ดังนั้น เราต้องศึกษาตลาดอย่างรอบคอบเพื่อดูว่าอุปสงค์ในประเทศของเรามีมากน้อยเพียงใด เพื่อให้แน่ใจว่าการผลิตของเราเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

นอกจากนี้ปัญหาด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมมีความสำคัญมากเนื่องจากโรงงานของเราตั้งอยู่ใกล้กับตัวเมือง ซึ่งเราได้เอาใจใส่ดูแลในการดำเนินการและการจัดการเป็นอย่างดี โดยไม่ปล่อยควัน ออกมาในปริมาณมาก และใช้ระบบบำบัดที่มีความทันสมัย  เพื่อป้องกันมลพิษทางอากาศ ไม่ส่งผลเสียต่อประชาชนโดยรอบพื้นที่”


ที่มา  ປະເທດລາວ Pathedlao

หนุ่มโคราชคลุกคลี กับเมืองลาวทั้งด้านธุรกิจเอกชน​และภาครัฐมานานหลายปี ยินดีแนะนํา​ภาคเอกชนไทย​ บุกตลาดอินโดจีน

กลุ่มฯ โรงกลั่นฯ ชี้แจงข้อเท็จจริง หลัง 'กรณ์' เปิดประเด็น “คนไทยโดนปล้น ค่ากลั่นน้ำมันเพิ่มขึ้น 10 เท่า”

กลุ่มฯ โรงกลั่นฯ ชี้แจงข้อเท็จจริงประเด็นคุณกรณ์ จาติกวณิช “คนไทยโดนปล้น ค่ากลั่นน้ำมันเพิ่มขึ้น 10 เท่า”



ตามที่ คุณกรณ์ จาติกวณิช ได้นำเสนอประเด็น “คนไทยโดนปล้น ค่ากลั่นน้ำมันเพิ่มขึ้น 10 เท่า” ผ่านสื่อมวลชนหลายแห่ง มาตั้งแต่วันที่ (12 มิ.ย.65) โดยมีประเด็นหลักคือ ค่าการกลั่นเพิ่มขึ้น 10 เท่า จาก 0.87-0.88 บาท/ลิตร ในเดือนมิถุนายนปี 2563 และ ปี 2564 เพิ่มเป็น 8.56 บาท/ลิตร ในเดือนมิถุนายน ปี 2565 พร้อมเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาราคาพลังงาน 3 แนวทาง
1. กำหนดเพดานการกลั่น 
2. เก็บภาษีลาภลอย (windfall tax) 
3. จริงจังกับมาตรการประหยัดการใช้พลังงาน



ทั้งนี้ กลุ่มอุตสาหกรรมโรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) (กลุ่มฯ โรงกลั่นฯ) ขอเรียนชี้แจงข้อเท็จจริง ดังนี้ 

ประเด็นที่ 1 ข้อมูลที่คุณกรณ์นำเสนอเป็นการเลือกข้อมูลบางส่วนขึ้นมา เพื่อทำให้ประชาชนเกิดความเข้าใจผิด โดยค่าการกลั่นที่คุณกรณ์ยกมานั้น ไม่ใช่ค่าการกลั่นที่โรงกลั่นได้รับ (Market GRM) และยังไม่ได้หักค่าใช้จ่ายอื่น ๆ นอกจากนี้ ข้อมูลที่เลือกมาเป็นฐานในการเปรียบเทียบ เป็นข้อมูลในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด 19 (2563-2564) ซึ่งค่าการกลั่นอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าปกติมาก ๆ  เมื่อนำมาเปรียบเทียบ จะทำให้เข้าใจผิดว่าค่าการกลั่นในปัจจุบันเพิ่มสูงขึ้นมากผิดปกติ หากนำข้อมูลค่าการกลั่นที่โรงกลั่นได้รับจริง ในช่วงสถานการณ์ก่อนโควิด-19 ในปี 2561-2562 มาเปรียบเทียบ พบว่า ค่าการกลั่นที่โรงกลั่นได้รับในไตรมาสที่ 1 ปี 2565 สูงขึ้นเพียงประมาณ 0.47 บาทต่อลิตร จากช่วงสถานการณ์ปกติเท่านั้น ซึ่งไม่ได้สูงถึง 10 เท่าและสูงถึง 8 บาทต่อลิตร อย่างที่กล่าวอ้าง (ตามตารางด้านล่าง)

'กรณ์' ชี้!! ราคาน้ำมันลด เพราะกลไกตลาดโลก ยัน!! โรงกลั่นยังฟันกำไร ไม่ช่วยประชาชน

'กรณ์' ส่งจดหมาย และสติกเกอร์รณรงค์ ลดค่าการกลั่น = ลดราคาน้ำมัน ถึง นายก – รมว.พาณิชย์ - รมว.พลังงาน ชี้ลดราคาน้ำมันได้อีกมาก พร้อมระบุ  2-3 วันนี้ น้ำมันลดมาจากกลไกตลาดโลก ไม่เกี่ยวบริหารจัดการ ชี้โรงกลั่นยังฟันกำไร ไม่ช่วยประชาชน 

(8 ก.ค.65) นายกรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรคกล้า เดินทางไปยังศูนย์พัสดุสินค้า Flash Express พร้อมด้วยว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.ของพรรคกล้า ภูเก็ต นายเทมส์ ไกรทัศน์ เพื่อส่งสติกเกอร์รณรงค์ “ลดค่าการกลั่นน้ำมัน = ลดราคาน้ำมัน” ให้กับ 3 ผู้มีอำนาจในการแก้ปัญหาราคาน้ำมันแพง ได้แก่ นายกรัฐมนตรี, รมว.พาณิชย์, รมว.พลังงาน 

หัวหน้าพรรคกล้า ไลฟ์สดโดยระบุว่า วันนี้ราคาน้ำมันกลุ่มเบนซินและแก๊ซโซฮอลล์ลดลงสูงสุด 3 บาท แต่ความจริงสามารถลดได้มากกว่านี้ ซึ่งถ้าเทียบกับเมื่อเดือนมิถุนายนที่พรรคกล้าออกมาเรียกร้องให้ลดค่าการกลั่นจนถึงวันนี้ ค่าการกลั่นลดลงไปถึง 5 บาทต่อลิตรแล้ว แต่ราคาหน้าปั๊มยังไม่ลดลง 

“เมื่อเป็นเช่นนี้ ผมจึงอยากจะช่วยนำเสนอวิธีการที่จะให้พวกเรามีส่วนร่วมที่จะส่งสัญญาณต่อผู้อำนาจในเรื่องนี้ คือ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงพลังงาน และในส่วนของรัฐบาลเองว่า ราคาน้ำมันลดลงมา 3 บาทนั้น ประชาชนยังเดือดร้อน ข้าวของยังแพงอยู่มาก และราคาที่ลดก็เพราะราคาน้ำมันดิบตลาดโลกลด ยังไม่ได้ลดในส่วนของกำไรจากค่าการกลั่น และค่าการตลาดที่สูงเกินไปจากผู้ประกอบการแต่อย่างใด  

ประชาชนสอบถามมายังเพจส่วนตัวของผม และเพจของพรรคกล้าเป็นจำนวนมาก ว่าจะทำอย่างไร ที่จะส่งเสียงไปยังรัฐบาลและผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้รู้ว่าเขาเดือดร้อนกันมากจากปัญหาราคาน้ำมัน เราก็เลยเสนอง่ายๆ โดยการผลิตสติกเกอร์ ลดค่าการกลั่น=ลดค่าน้ำมัน ขึ้นมา ซี่งถ้าแฟนเพจท่านใดต้องการให้เราส่งให้ก็ขอให้ส่งชื่อที่อยู่เบอร์โทร.เข้ามาเราจะจัดส่งให้” หัวหน้าพรรคกล้า กล่าว 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายกรณ์ ได้ส่งสติกเกอร์และข้อความรณรงค์ ใส่ซอง และจ่าหน้าซองถึง 3 ผู้มีอำนาจโดยตรง ได้แก่ นายนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ โดยส่งไปที่กระทรวงพาณิชย์ เพื่อให้นำไปติดรถและกระตุ้นให้ใช้อำนาจที่กระทรวงพาณิชย์มี ด้วยกฎหมายที่มีในมือคือ พรบ.ราคาสินค้าและบริการบวกกับตำแหน่งของที่มีอยู่ในคณะกรรมการกำกับนโยบายพลังงานเพื่อช่วยขับเคลื่อนการปรับลดค่าการกลั่นในเรื่องของค่าการตลาดเพื่อนำไปลดราคาน้ำมันแบ่งเบาภาระภาระของประชาชน คนที่สองคือ นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน โดยส่งไปที่กระทรวงพลังงาน เนื่องจากมีบทบาทหน้าที่โดยตรงในการบริหารจัดการค่าการกลั่นและค่าการตลาด โดยนายกรณ์ระบุว่า ความจริงกระทรวงพลังงานก็อยู่ในบริเวณเดียวกันกับ ปตท. ซึ่งเป็นผู้ค้าน้ำมันที่เป็นรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ เพียงแค่ข้ามถนนผ่านร้านกาแฟอะเมซอนก็ถึงแล้ว ก็ขอฝากท่านรมว.พลังงาน ช่วยส่งถึง ปตท.ด้วย 

และสุดท้ายคือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี โดยส่งไปที่ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งนายกรณ์ได้แสดงความเห็นใจต่อภารกิจอันมากมายที่ท่านมี แต่ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในเรื่องข้าวของที่แพงขึ้นมาก ก็เป็นเรื่องที่ตนและนายกรัฐมนตรีคิดตรงกัน  และโดยส่วนตัวตนก็ถือเป็นหน้าที่ของนักการเมืองคนหนึ่งที่จะเสนอข้อมูลข้อเท็จจริง เพื่อให้ท่านประกอบใช้ในการตัดสินใจ วันนี้ท่านอาจจะรู้สึกคลายความกดดันเพราะราคาน้ำมันลดลงมา แต่มันสามารถลดได้มากกว่านี้ เพราะราคาที่ลดลงมันเป็นเพราะราคาน้ำมันในตลาดโลก ไม่ใช่เกิดจากการบริหารจัดการ

บิ๊ก 4 โรงกลั่นน้ำมัน ฟันกำไรพุ่งสูงสุด 1,000% !!

'กรณ์' เปิดข้อมูลบิ๊ก 4 โรงกลั่นน้ำมัน กำไรพุ่งสูงสุดถึง 1,000% จี้ลดค่าการกลั่น-ค่าการตลาด ต้นตอน้ำมันแพง ทำเงินเฟ้อกระทบประชาชน-ผู้ประกอบการ ทวงถาม รมว.พลังงาน มาตรการที่เคยประกาศ หายไปไหนหมด

นายกรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรคกล้า และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โพสต์เฟซบุ๊กเปิดเผยผลประกอบการ 4 โรงกลั่นน้ำมัน ฟันกำไรสูงสุดกว่า 1,000% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีที่แล้ว ประกอบด้วย 1.ไทยออยล์ในไตรมาส 2 กำไรเพิ่มขึ้น +1088.9% , 2. ESSO +867.1% , 3. SPRC +825.3% , 4. BCP +199.0% และเมื่อกลับไปดูผลประกอบการไตรมาส 2 ย้อนไปสี่ปีจนถึงปี 2561 เอากำไรมารวมกัน ยังไม่ถึงครึ่งของปีนี้

จำได้ไหมครับว่า สองเดือนที่ผ่านมาโรงกลั่นรวมตัวกันพยายามบอกเราว่า #ค่าการกลั่น ไม่ได้หมายถึงกำไร? ผมว่าตัวเลขมันฟ้องชัดเจนมาก !

และที่หลายคนไม่รู้ นี่คือ กำไรหลังจากที่โรงกลั่นในเครือปตท.คาดการณ์ผิด ไปขายนํ้ามันในตลาดล่วงหน้าที่ต่างประเทศไว้ถึงเกือบ 50% ของกำลังผลิตทั้งหมด ทำให้กำไรหายไปรายละเป็นหมื่นล้านบาท (แต่ประชาชนในประเทศก็ยังต้องจ่ายค่าน้ำมันราคาเต็ม!)

ปกติแล้วผู้ประกอบการมีกำไรเป็นเรื่องที่น่าชื่นชม แต่การมีกำไรที่เพิ่มขึ้นแบบผิดปกติมากถึงขนาดนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่ามาจากความทุกข์ร้อนของประชาชน และความเดือดร้อนของภาคธุรกิจอื่นๆ ทุกสาขา

‘ค่าการกลั่น’ เป็นสาเหตุสำคัญที่ราคาหน้าปั๊มเราสูงกว่าที่ควรจะเป็น และเป็นสาเหตุสำคัญที่เรายังต้องใช้ #หนี้กองทุนน้ำมัน ทุกครั้งที่เราเข้าปั้ม และจะต้องใช้หนี้นี้กันไปอีกหลายปี แต่ปัญหาไม่ได้มีแค่นี้ครับ 

ตัวเลขข้างบนคือกำไรโรงกลั่น เรามาดูผลประกอบการของบริษัทค้านํ้ามันกันบ้าง
1. PTTOR +103.7%
2. PTG +20.7% (+275.3% เทียบกับไตรมาส 1 ปีนี้)

รายได้ส่วนใหญ่ของทั้งสองบริษัทมาจากการขายนํ้ามันให้พวกเรา ซึ่งก็เป็นประเด็นกังขามาตลอดว่า ‘เวลาราคาน้ำมันจากโรงกลั่นลดลง ทำไมราคาหน้าปั๊มไม่ลดตาม?’

คำตอบอยู่ที่ #ค่าการตลาด ครับ และที่ผ่านมาหลายเดือนปัญหาอยู่ที่ค่าการตลาดกรณีน้ำมันเบนซิน ไม่ว่าจะเป็น Gasohol 95 หรือ 91 วันนี้ค่าการตลาดอยู่ที่ 3บาทต่อลิตร สูงเกินเกณฑ์ปกติอย่างมาก แต่ก็ไม่เห็นว่ากระทรวงพลังงานเดือดร้อนแทนประชาชนเลย!


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top